๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖
ในช่วง ๕ ปี มานี้ คนไทยน่าจะรู้จักกับเครื่องมือใหม่ของสังคมไทยที่ชื่อ "การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ" หรือ Health Impact Assessment ที่เรียกย่อ ๆ ว่า HIA หรือ เอชไอเอ มากขึ้น เพราะข้อมูลข่าวสารมีการนำเสนอว่าเครื่องมือนี้มีการนำไปใช้ในการทำงานขององค์กร หน่วยงานหรือพื้นที่ต่าง ๆ บ่อยและหนาหูขึ้นเป็นลำดับ
จุดกำเนิดที่เป็นทางการของเครื่องมือนี้ เกิดขึ้นจากการมีกฎหมายที่ชื่อพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ แต่อย่างไรก็ตาม แท้จริงแล้วในวงวิชาการได้มีการพัฒนาเครื่องมือนี้ในประเทศไทยมาก่อนหน้านี้พอสมควร และที่เป็นรูปธรรมในเชิงโครงสร้างมีการตั้งหน่วยงานระดับกองขึ้นในกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาเครื่องนี้มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ แล้ว
เหตุที่ผมหยิบเรื่องนี้มาบอกเล่าก็เนื่องมาจากในช่วงเย็นวันนี้ ผมได้มีโอกาสเข้าไปนั่งฟังคนทำงานเรื่องเอชไอเอนี้คุยกัน เป็นการคุยกันเพื่อช่วยกันออกแบบงานเอชไอเอที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) องค์กรที่ผทำงานอยู่จะทำในปีนี้
ต้องบอกตรง ๆ ว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเข้าใจยากพอสมควร แต่หากค่อย ๆ ทำความเข้าใจกับเครื่องมือนี้ ผมว่าจะเห็นคุณค่าของเครื่องมือนี้อย่างแน่นอน
ผมคงไม่ขอเล่าว่าเราคุยอะไรกันบ้างในวันนี้ แต่ผมอยากบอกเล่าความรู้พื้นฐานในเรื่องนี้ ตามสติปัญญาที่ผมพอมี เพื่อแบ่งปันความรู้ให้ขยายวงให้กว้างขึ้น เพราะผมเชื่อมั่นว่าเครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศไทยเครื่องมือหนึ่ง นำมาซึ่งความอยู่ดีมีสุขของคนไทย เป็นเครื่องมือเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนที่แท้จริง
ถ้าผมจะตั้งคำถามสั้น ๆ ว่า คุณคิดอย่างไรที่ประเทศไทยเรากำหนดไว้ว่า หากจะทำโครงการอะไรลงไป มีการวิเคราะห์วิจัยมองผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งผลดีและผลเสียอย่างรอบด้านก่อน
ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศจะเห็นด้วยแน่นอน นี่แหละคือเรื่องมือที่ผมกำลังกล่าวถึง
ในปัจจุบันประเทศไทยเราไม่มีระบบนี้หรือ มีครับ ที่เราคุ้นหูกันดีก็คือ EIA หรือ อีไอเอ ไง เป็นเครื่องมือประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อโครงการใดโครงการหนึ่ง ถูกนำมาใช้ตามกฎหมายส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนอยู่
เมื่อมีการทำอีไอเอไป ก็พบว่ายังมีช่องว่างบางประการ เพราะเป็นการประเมินเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม อาจจะไม่ครอบคลุมมิติด้านสุขภาพที่มีความหมายรวมไปถึง "สุขภาวะ" จึงต้องมีการพัฒนาเครื่องมือเพื่อปิดจุดอ่อนนั้น เอชไอเอจึงถือกำเนิดขึ้น
ขณะนี้ได้มีการวางหลักเกณฑ์โดยใช้ฐานอำนาจจากพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ในการนำเอชไอเอไปใช้ ใน ๔ รูปแบบ
รูปแบบแรก เป็นการใช้เป็นเครื่องมือตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๗ ที่กำหนดไว้ว่าเป็นโครงการหรือกิจการที่อาจเป็นอันตรายร้ายแรง ซึ่งผมทราบว่าได้กำหนดไว้ ๑๑ กิจการ ซึ่งได้มีการพัฒนาจนกลายมาเป็น EHIA ซึ่งก็หมายถึงมีการประเมินผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
รูปแบบที่สอง เป็นเครื่องมือสำหรับการดำเนินงานตามมาตรา ๑๑ ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่กำหนดไว้ว่า "บุคคลอาจมีการร้องขอให้มีการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ" ก็หมายความว่าประชาชนอาจใช้สิทธิยื่นหนังสือขอให้มีการทำเอชไอเอ เมื่อเห็นว่าโครงการนั้นสุ่มเสี่ยงในภายภาคหน้าได้
รูปแบบที่สาม ผมขอเรียกว่าเป็นแบบสมัครใจ ที่หน่วยงานหรือองค์กรมีแผนงานจะทำโครงการหนึ่งที่อยู่นอกเหนือจากรูปแบบที่หนึ่ง อยากจะทำเอชไอเอก็สามารถดำเนินการได้
รูปแบบที่สี่ เรียกกันว่าเอชไอเอชุมชน ก็ชัดเจนครับเป็นการทำในระดับชุมชน เป็นเรื่องของการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน เช่น อบต.อยากอนุมัติให้มีโครงการหนึ่งในชุมชน ก็จัดให้มีการทำเอชไอเอชุมชนเพื่อวิเคราะห์ให้เห็นผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นก่อนที่จะเดินหน้าโครงการนั้นต่อไป
ผมนั่งฟังเขาคุยกันแล้ว เกิดความรู้สึกว่า "ประเทศไทยเรานี่ดีจังเลย" เพราะถือว่ามีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ผมคิดต่อไปว่าถ้าประเทศไทยเราถือเรื่องนี่เป็นเรื่องสำคัญและใช้เป็นเงื่อนไขเชิงวัฒนธรรมว่า หากจะทำอะไรมีการทำเอชไอเอก่อน ผมว่าประเทศไทยเราจะพัฒนาก้าวไปไกลอย่างแน่นนอน
ก็นำมาแบ่งปันกันครับ และเชิญชวนทุกองค์กร หน่วยงานและทุกพื้นที่เข้ามาร่วมกันใช้เครื่องมือที่ก้าวหน้าชิ้นนี้ร่วมกัน อย่าให้เครื่องมือเป็นเพียงของสวยหรูที่ถูกกำหนดไว้ในกฎหมายเท่านั้น
วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556
การบริหารความเสี่ยง เรื่องสำคัญที่มักถูกมองข้าม
๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๖
เป็นเรื่องใกล้ตัวจริง ๆ ครับ สำหรับเรื่อง "การบริหารความเสี่ยง" ที่บางครั้งคนเรามองข้ามไป หรือไม่ค่อยให้ความสำคัญ ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญที่อยู่ทั้งในการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวัน และในชีวิตการทำงานของทุกหน่วยงานองค์กร
วันนี้เป็นนักเรียนครับ ไปเรียนเรื่อง "การบริหารความเสี่ยง" หรือ Risk Management : RM ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งหน่วยงานยุทธศาสตร์ขององค์กรจัดขึ้น
ตอนแรกผมฟังหัวข้อแล้ว ไม่ค่อยรู้สึกอยากเรียน เพราะคิดว่าเป็นงานของเจ้าหน้าที่ทางด้านงานบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็นงานการเงิน งานบัญชี งานบุคลากร งานพัสดุ ประมาณนั้น
แต่ผมคิดผิดครับ ฟังไปฟังไป เป็นเรื่องสำคัญมาก เป็นเรื่องใกล้ตัวมากที่สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตการทำงานได้ เป็นเรื่องของคนทุกคนทุกระดับจริง ๆ ไม่ว่าคุยจะเป็นผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง ผู้อำนวยการสำนัก นักวิชาการ หรือเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ระดับเล็ก ๆ ก็ตาม
ผมสรุปการเรียนรู้ในวันนี้ได้ว่า
ความเสี่ยง เป็นเรื่องของความไม่แน่นอน เป็นเรื่องของอนาคต ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องของการคาดการณ์ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นการจัดการเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงที่คาดการณ์ไว้
เมื่อเป็นเรื่องของอนาคต บางเรื่องจึงจำเป็นต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถคาดการณ์อนาคตมาร่วมวางแผนการแก้ไขความเสี่ยงนั้น ๆ ด้วย
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเป็นได้ทุกด้าน ทั้งด้านกลยุทธ์ ด้านการปฏิบัติการ ด้าน การเงิน และด้าน กฎระเบียบและข้อบังคับ
ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ เป็นความเสี่ยงอันเกิดจากการที่กำหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์ แผนดำเนินงาน และการนำไปปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม หรือไม่สอดคล้องกับปัจจัยภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ เป็นความเสี่ยงอันเกิดจากการดำเนินงานภายในองค์กร ซึ่งเป็นผลมาจากบุคลากร กระบวนการทำงาน โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการทุจริตภายในองค์กร
ความเสี่ยงด้านการเงิน เป็นความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านการเงินต่อองค์กร
และความเสี่ยงด้านกฎระเบียบและข้อบังคับ เป็นความเสี่ยงอันเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ โดยครอบคลุมถึงกฎระเบียบของทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกที่กำกับดูแลองค์กร
เกณฑ์ที่นำมาวิเคราะห์ระดับความรุนแรงของความเสี่ยง ให้มองที่ "ผลกระทบ" ที่หมายถึง หากเกิดความเสี่ยงขึ้นจะส่งผลกระทบรุนแรงมากน้อยเพียงใด และ "โอกาส" ที่หมายถึง ความเสี่ยงที่เราวิเคราะห์นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นบ่อยมากน้อยเพียงใด
วิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงก็ใช้วิธีง่าย ๆ ด้วยการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่วิเคราะห์ได้แต่ละตัวว่า หากเกิดแล้วจะเกิดผลกระทบรุนแรงไหม แะมีโอกาสเกิดขึ้นบ่อยไหม ถ้าค่าตัวคูณของคะแนนผลกระทบกับโอกาสสูงมาก ความเสี่ยงตัวนั้นต้องรีบจัดการแบบเร่งด่วน
วิธีการจัดการความเสี่ยงก็อาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น ใช้วิธีการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง หรือลดความเสี่ยง หรือร่วมจัดการความเสี่ยง หรือยอมรับความเสี่ยงนั้นเสียเลยก็ได้
ในปัจจุบันผมคิดว่าเกือบทุกหน่วยงานไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริง ๆ จัง ๆ ซึ่งถ้าคนไทยเราถือเรื่องนี้เป็นวัฒนธรรมปฏิบัติกันอย่างเป็นวิถีชีวิตทุกคน ผมว่าประเทศไทยเราจะก้าวหน้าไปไกลกว่านี้เยอะหลายเท่า โดยเฉพาะในระบบราชการหากมีการปฏิบัติกันอย่างจริงจัง งบประมาณที่ใช้ไปจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และส่งผลต่อความสำเร็จสูงสุดตามไปด้วย
หรือแม้แต่ในชีวิตประจำวันหากนำไปใช้ ก็จะเป็นคนที่ดำรงชีวิตด้วยความไม่ประมาท ชีวิตก็จะยืนยาวยิ่งขึ้นตามไปด้วย
ขอบคุณจริง ๆครับ สำหรับทีมงานยุทธศาสตร์ที่ชวนผมเข้าไปร่วมเรียนรู้ในเวทีนี้ด้วย และขอบคุณวิทยากรที่ช่วยให้ความรู้กับผมและคณะครั้งนี้
นี่แหละครับ สิบปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็นจริง ๆ ฟังชื่อแล้วอย่าเพิ่งตัดสินใจนะครับต้องเห็นด้วยตาตัวเองก่อนตัดสินใจใด ๆ ลงไป ผมขอเตือนด้วยความรักจริง ๆ ครับ เพราะอาจจะเป็นแบบที่เกิดขึ้นกับผมในเรื่องนี้ก็ได้
เป็นเรื่องใกล้ตัวจริง ๆ ครับ สำหรับเรื่อง "การบริหารความเสี่ยง" ที่บางครั้งคนเรามองข้ามไป หรือไม่ค่อยให้ความสำคัญ ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญที่อยู่ทั้งในการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวัน และในชีวิตการทำงานของทุกหน่วยงานองค์กร
วันนี้เป็นนักเรียนครับ ไปเรียนเรื่อง "การบริหารความเสี่ยง" หรือ Risk Management : RM ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งหน่วยงานยุทธศาสตร์ขององค์กรจัดขึ้น
ตอนแรกผมฟังหัวข้อแล้ว ไม่ค่อยรู้สึกอยากเรียน เพราะคิดว่าเป็นงานของเจ้าหน้าที่ทางด้านงานบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็นงานการเงิน งานบัญชี งานบุคลากร งานพัสดุ ประมาณนั้น
แต่ผมคิดผิดครับ ฟังไปฟังไป เป็นเรื่องสำคัญมาก เป็นเรื่องใกล้ตัวมากที่สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตการทำงานได้ เป็นเรื่องของคนทุกคนทุกระดับจริง ๆ ไม่ว่าคุยจะเป็นผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง ผู้อำนวยการสำนัก นักวิชาการ หรือเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ระดับเล็ก ๆ ก็ตาม
ผมสรุปการเรียนรู้ในวันนี้ได้ว่า
ความเสี่ยง เป็นเรื่องของความไม่แน่นอน เป็นเรื่องของอนาคต ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องของการคาดการณ์ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นการจัดการเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงที่คาดการณ์ไว้
เมื่อเป็นเรื่องของอนาคต บางเรื่องจึงจำเป็นต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถคาดการณ์อนาคตมาร่วมวางแผนการแก้ไขความเสี่ยงนั้น ๆ ด้วย
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเป็นได้ทุกด้าน ทั้งด้านกลยุทธ์ ด้านการปฏิบัติการ ด้าน การเงิน และด้าน กฎระเบียบและข้อบังคับ
ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ เป็นความเสี่ยงอันเกิดจากการที่กำหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์ แผนดำเนินงาน และการนำไปปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม หรือไม่สอดคล้องกับปัจจัยภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ เป็นความเสี่ยงอันเกิดจากการดำเนินงานภายในองค์กร ซึ่งเป็นผลมาจากบุคลากร กระบวนการทำงาน โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการทุจริตภายในองค์กร
ความเสี่ยงด้านการเงิน เป็นความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านการเงินต่อองค์กร
และความเสี่ยงด้านกฎระเบียบและข้อบังคับ เป็นความเสี่ยงอันเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ โดยครอบคลุมถึงกฎระเบียบของทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกที่กำกับดูแลองค์กร
เกณฑ์ที่นำมาวิเคราะห์ระดับความรุนแรงของความเสี่ยง ให้มองที่ "ผลกระทบ" ที่หมายถึง หากเกิดความเสี่ยงขึ้นจะส่งผลกระทบรุนแรงมากน้อยเพียงใด และ "โอกาส" ที่หมายถึง ความเสี่ยงที่เราวิเคราะห์นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นบ่อยมากน้อยเพียงใด
วิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงก็ใช้วิธีง่าย ๆ ด้วยการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่วิเคราะห์ได้แต่ละตัวว่า หากเกิดแล้วจะเกิดผลกระทบรุนแรงไหม แะมีโอกาสเกิดขึ้นบ่อยไหม ถ้าค่าตัวคูณของคะแนนผลกระทบกับโอกาสสูงมาก ความเสี่ยงตัวนั้นต้องรีบจัดการแบบเร่งด่วน
วิธีการจัดการความเสี่ยงก็อาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น ใช้วิธีการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง หรือลดความเสี่ยง หรือร่วมจัดการความเสี่ยง หรือยอมรับความเสี่ยงนั้นเสียเลยก็ได้
ในปัจจุบันผมคิดว่าเกือบทุกหน่วยงานไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริง ๆ จัง ๆ ซึ่งถ้าคนไทยเราถือเรื่องนี้เป็นวัฒนธรรมปฏิบัติกันอย่างเป็นวิถีชีวิตทุกคน ผมว่าประเทศไทยเราจะก้าวหน้าไปไกลกว่านี้เยอะหลายเท่า โดยเฉพาะในระบบราชการหากมีการปฏิบัติกันอย่างจริงจัง งบประมาณที่ใช้ไปจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และส่งผลต่อความสำเร็จสูงสุดตามไปด้วย
หรือแม้แต่ในชีวิตประจำวันหากนำไปใช้ ก็จะเป็นคนที่ดำรงชีวิตด้วยความไม่ประมาท ชีวิตก็จะยืนยาวยิ่งขึ้นตามไปด้วย
ขอบคุณจริง ๆครับ สำหรับทีมงานยุทธศาสตร์ที่ชวนผมเข้าไปร่วมเรียนรู้ในเวทีนี้ด้วย และขอบคุณวิทยากรที่ช่วยให้ความรู้กับผมและคณะครั้งนี้
นี่แหละครับ สิบปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็นจริง ๆ ฟังชื่อแล้วอย่าเพิ่งตัดสินใจนะครับต้องเห็นด้วยตาตัวเองก่อนตัดสินใจใด ๆ ลงไป ผมขอเตือนด้วยความรักจริง ๆ ครับ เพราะอาจจะเป็นแบบที่เกิดขึ้นกับผมในเรื่องนี้ก็ได้
วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556
กินคำเล็ก vs กินคำใหญ่
๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๖
เจอะเจอบ่อยมากกับชื่อประเด็นปัญหาที่จะพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดที่ตั้งไว้แบบที่เรียกว่า "กินคำใหญ่" ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร แต่สิ่งที่ตามมาก็คือจะหนักหนาสาหัสทีเดียวกับกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ทางวิชาการที่ต้องค้นคว้าหาข้อมูลมากมายมหาศาลมารองรับประเด็นที่กว้างอย่างกับทะเลนั้น
ผมมีโอกาสเดินทางไปช่วยแนะนำทีมทำงานด้านวิชาการที่รับผิดชอบในการพัฒนาเอกสารข้อเสนอเชิงนโยบายที่จะใช้เป็นเอกสารประกอบการประชุมสมัชชาสุขภาพจังหวัดในช่วง ๓ เดือนหลังนี้ก็อย่างน้อย ๔ จังหวัด ทั้งที่จังหวัดสระแก้ว อุบลราชธานี อำนาจเจริญ และล่าสุดคือที่จังหวัดพิษณุโลก
ได้พบเห็นชื่อประเด็นในลักษณะข้างต้นทุกเวที
ผมขออนุญาตนำมาเป็นตัวอย่างชื่อประเด็นเชิงนโยบายที่ตั้งกันไว้ เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น
ความมั่นคงทางอาหาร
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อความมั่นคงทางอาหารและชีวิต
ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง ปลอดภัยอบายมุข
สุขภาวะผู้สูงอายุ
การพัฒนาแพทย์แผนไทย
การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การจัดการทรัพยากร,น้ำ,ที่ดิน,ที่อยู่อาศัยและความมั่นคงด้านอาหาร
การสนับสนุนการฟื้นฟู สิทธิ แก่ สตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส
เป็นต้น
อ่านดูแล้ว ผมคิดว่าท่านคงคิดเหมือนผมที่เห็นว่า เป็นการตั้งชื่อประเด็นที่กว้างขวางมาก หาขอบเขตที่ชัดเจนยาก
ผมไม่รู้จะอธิบายอย่างไรให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายที่สุด ผมเลยใช้รูปภาพ ๓ ภาพ ภาพแรกเป็นภาพกำแพงเมืองจีน ภาพที่สองเป็นภาพกำแพงบ้านคอนกรีต และภาพที่สามคือภาพกำแพงบ้านที่เป็นไม้ ฉายขึ้นจอ แล้วสอบถามว่า ถ้าให้คุณเลือกคุณจะเลือกสร้างกำแพงแบบไหนที่คิดว่ามีความเป็นไปได้ว่าจะสร้างได้สำเร็จ
ได้ผลครับ ทุกเสียงจะออกเลือกภาพที่สองกับภาพที่สามทั้งหมด ไม่มีใครเลือกภาพแรกที่เป็นภาพกำแพงเมืองจีนเลย
และเมื่อผมถามต่อว่า "ทำไมไม่เลือกสร้างกำแพงเมืองจีน" คำตอบที่ได้รับก็คือ "เป็นการยากที่จะสร้างเสร็จ"
ผมนำเรื่องการสร้างกำแพง ๓ รูปแบบมาเปรียบเทียบกับการกำหนดประเด็นเชิงนโยบายในกระบวนการสมัชชาสุขภาพว่ามีแนวทางเฉกเช่นเดียวกัน ไม่ควรเลือกหัวข้อขนาดใหญ่แบบกำแพงเมืองจีน เพราะจะมีความยุ่งยากมากในการทำงานด้านข้อมูล มีผู้คนที่เข้ามาเกี่ยวข้องเยอะมาก และหากมีมติไปแล้วก็ต้องใช้เวลานับเป็นสิบ ๆ ปี หรืออาจจะต้องใช้เวลาในการทำงานยาวนานมาก จะเกิดความท้อในการทำงานได้
ฉะนั้น หลักการสำคัญในการกำหนดประเด็นเชิงนโยบายที่ดีคือ "กินคำเล็ก" หมายถึงมีขนาดของประเด็นที่เหมาะสม มีขอบเขตชัดเจน
เมื่อผมให้หลักการนี้ไป ผู้เสนอประเด็นตั้งวงคุยกันอีกรอบ ปรากฎว่าประเด็นเชิงนโยบายเปลี่ยนไป เป็น
นาข้าวปลอดภัย
การจัดการป่าชุมชน
ครอบครัวอบอุ่น
การพัฒนาความเข็มแข็งชมรมผู้สูงอายุ
การยกระดับหมอพื้นบ้านและสมุนไพร
การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังระดับชุมชน
การพัฒนาศักยภาพสภาองค์กรชุมชน
การพัฒนาความเข้มแข็งกองทุนสวัสดิการชุมชน
ตามลำดับ
ดูดีขึ้นไหมครับ มีความชัดเจนในตัวของมันเอง อ่านดูก็เข้าใจว่าจะทำอะไร และมีผลในการทำงานวิชาการเพื่อรองรับประเด็นเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น มีทิศทางการค้นคว้าที่ชัดเจน
ก็เป็นหลักคิดเล็ก ๆ ที่นำมาฝากกับคนทำงานในกระบวนการสมัชชาสุขภาพที่เป็นเครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ไว้ ณ โอกาสนี้นะครับ
หากเมื่อใดจำเป็นต้องคิดเรื่องชื่อประเด็นเชิงนโยบาย ผมก็ฝากข้อคิดเรื่องกำแพง ๓ แบบ ไว้เป็นหลักในการพิจารณาประกอบด้วยครับ
เจอะเจอบ่อยมากกับชื่อประเด็นปัญหาที่จะพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดที่ตั้งไว้แบบที่เรียกว่า "กินคำใหญ่" ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร แต่สิ่งที่ตามมาก็คือจะหนักหนาสาหัสทีเดียวกับกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ทางวิชาการที่ต้องค้นคว้าหาข้อมูลมากมายมหาศาลมารองรับประเด็นที่กว้างอย่างกับทะเลนั้น
ผมมีโอกาสเดินทางไปช่วยแนะนำทีมทำงานด้านวิชาการที่รับผิดชอบในการพัฒนาเอกสารข้อเสนอเชิงนโยบายที่จะใช้เป็นเอกสารประกอบการประชุมสมัชชาสุขภาพจังหวัดในช่วง ๓ เดือนหลังนี้ก็อย่างน้อย ๔ จังหวัด ทั้งที่จังหวัดสระแก้ว อุบลราชธานี อำนาจเจริญ และล่าสุดคือที่จังหวัดพิษณุโลก
ได้พบเห็นชื่อประเด็นในลักษณะข้างต้นทุกเวที
ผมขออนุญาตนำมาเป็นตัวอย่างชื่อประเด็นเชิงนโยบายที่ตั้งกันไว้ เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น
ความมั่นคงทางอาหาร
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อความมั่นคงทางอาหารและชีวิต
ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง ปลอดภัยอบายมุข
สุขภาวะผู้สูงอายุ
การพัฒนาแพทย์แผนไทย
การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การจัดการทรัพยากร,น้ำ,ที่ดิน,ที่อยู่อาศัยและความมั่นคงด้านอาหาร
การสนับสนุนการฟื้นฟู สิทธิ แก่ สตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส
เป็นต้น
อ่านดูแล้ว ผมคิดว่าท่านคงคิดเหมือนผมที่เห็นว่า เป็นการตั้งชื่อประเด็นที่กว้างขวางมาก หาขอบเขตที่ชัดเจนยาก
ผมไม่รู้จะอธิบายอย่างไรให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายที่สุด ผมเลยใช้รูปภาพ ๓ ภาพ ภาพแรกเป็นภาพกำแพงเมืองจีน ภาพที่สองเป็นภาพกำแพงบ้านคอนกรีต และภาพที่สามคือภาพกำแพงบ้านที่เป็นไม้ ฉายขึ้นจอ แล้วสอบถามว่า ถ้าให้คุณเลือกคุณจะเลือกสร้างกำแพงแบบไหนที่คิดว่ามีความเป็นไปได้ว่าจะสร้างได้สำเร็จ
ได้ผลครับ ทุกเสียงจะออกเลือกภาพที่สองกับภาพที่สามทั้งหมด ไม่มีใครเลือกภาพแรกที่เป็นภาพกำแพงเมืองจีนเลย
และเมื่อผมถามต่อว่า "ทำไมไม่เลือกสร้างกำแพงเมืองจีน" คำตอบที่ได้รับก็คือ "เป็นการยากที่จะสร้างเสร็จ"
ผมนำเรื่องการสร้างกำแพง ๓ รูปแบบมาเปรียบเทียบกับการกำหนดประเด็นเชิงนโยบายในกระบวนการสมัชชาสุขภาพว่ามีแนวทางเฉกเช่นเดียวกัน ไม่ควรเลือกหัวข้อขนาดใหญ่แบบกำแพงเมืองจีน เพราะจะมีความยุ่งยากมากในการทำงานด้านข้อมูล มีผู้คนที่เข้ามาเกี่ยวข้องเยอะมาก และหากมีมติไปแล้วก็ต้องใช้เวลานับเป็นสิบ ๆ ปี หรืออาจจะต้องใช้เวลาในการทำงานยาวนานมาก จะเกิดความท้อในการทำงานได้
ฉะนั้น หลักการสำคัญในการกำหนดประเด็นเชิงนโยบายที่ดีคือ "กินคำเล็ก" หมายถึงมีขนาดของประเด็นที่เหมาะสม มีขอบเขตชัดเจน
เมื่อผมให้หลักการนี้ไป ผู้เสนอประเด็นตั้งวงคุยกันอีกรอบ ปรากฎว่าประเด็นเชิงนโยบายเปลี่ยนไป เป็น
นาข้าวปลอดภัย
การจัดการป่าชุมชน
ครอบครัวอบอุ่น
การพัฒนาความเข็มแข็งชมรมผู้สูงอายุ
การยกระดับหมอพื้นบ้านและสมุนไพร
การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังระดับชุมชน
การพัฒนาศักยภาพสภาองค์กรชุมชน
การพัฒนาความเข้มแข็งกองทุนสวัสดิการชุมชน
ตามลำดับ
ดูดีขึ้นไหมครับ มีความชัดเจนในตัวของมันเอง อ่านดูก็เข้าใจว่าจะทำอะไร และมีผลในการทำงานวิชาการเพื่อรองรับประเด็นเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น มีทิศทางการค้นคว้าที่ชัดเจน
ก็เป็นหลักคิดเล็ก ๆ ที่นำมาฝากกับคนทำงานในกระบวนการสมัชชาสุขภาพที่เป็นเครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ไว้ ณ โอกาสนี้นะครับ
หากเมื่อใดจำเป็นต้องคิดเรื่องชื่อประเด็นเชิงนโยบาย ผมก็ฝากข้อคิดเรื่องกำแพง ๓ แบบ ไว้เป็นหลักในการพิจารณาประกอบด้วยครับ
วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556
สมัชชาสุขภาวะคนพิษณุโลกจัดการตนเอง
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๖
ทุกวันนี้คำว่า "สมัชชา" เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นกว่าเมื่อ ๕ ปี ก่อน มีการจัดประชุมที่ขึ้นต้นด้วยคำนี้มากมายไปในหลายองค์กรหลายหน่วยงาน แม้จะมีชื่อขึ้นต้นเหมือนกัน แต่ลีลา รูปแบบและกระบวนการมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง บางสมัชชาเป็นเวทีสาธารณะ บางสมัชชาเป็นเวทีวิชาการ ในขณะที่บางสมัชชาเป็นเวทีพัฒนานโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะ "สมัชชาสุขภาพ" ที่ยึดหลักการดังกล่าวเอย่างมั่นคง จึงถือเป็นต้นแบบที่สมัชชาชื่ออื่น ๆ ใช้ในการเรียนรู้เพื่อยกระดับสมัชชานั้นให้เป็นเครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะอย่างแท้จริง
เช้าวันนี้ รถยนต์ฮอนด้าคู่ใจพาผมเดินทางไปยังห้องประชุมที่ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ตามคำเชิญของแกนประสานงานคณะทำงานเครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัดพิษณุโลก
เขาเชิญให้ไปช่วยพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อนำเข้าสู่การประชุม "สมัชชาสุขภาวะคนพิษณุโลกจัดการตนเอง"
ผมเห็นชื่อสมัชชานี้แล้ว อดที่จะถามไม่ได้ว่ามีที่มาจากอะไรหรือ
คำตอบที่ได้คือ เป็นความเห็นร่วมกันที่แกนนำขับเคลื่อนสมัชชา ๔ สมัชชา ร่วมกันตั้งขึ้น เพื่อให้มีความหมายสื่อถึงสมัชชาที่แต่ละแกนนำขับเคลื่อนอยู่
๔ สมัชชาที่ว่า ประกอบด้วย สมัชชาสวัสดิการชุมชน สมัชชาขบวนสภาองค์กรชุมชน สมัชชาเครือข่ายขบวนสภาพัฒนาการเมือง และสมัชชาสุขภาพ
ผมถามต่อว่าทำไมถึงมีแนวคิดที่จะนำมารวมกัน
แกนนำสตรีผู้ที่คุ้นหน้าคุ้นตาในวงการขับเคลื่อนงานภาคประชาสังคมในจังหวัดพิษณุโลก เป็นผู้อธิบายให้ผมฟัง ว่ามาจากเหตุผล ๓ ข้อ
ข้อแรก อยากยกระดับสมัชชาให้เป็นสมัชชาในการพัฒนานโยบายสาธารณะที่เป็นระบบ มีข้อมูลรองรับและเป็นกระบวนการที่มีส่วนร่วมตามแบบที่ "สมัชชาสุขภาพ" ทำอยู่
ข้อที่สอง ต้องการบูรณาการเข้าด้วยกัน เพราะจากการทำงานบางเรื่องเป็นเรื่องที่อีกสมัชชาหนึ่งทำแล้ว บางเรื่องเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับอีกสมัชชาหนึ่ง จึงไม่อยากทำงานซ้ำซ้อนกัน
และข้อที่สาม อยากเห็นกระบวนการรวมพลังผู้คนให้กว้างขวางมากขึ้น เพราะแต่ละสมัชชาก็มีเครือข่ายของตน หากนำมารวมกันจะทำให้มีพลังมากขึ้น
ก่อนที่ผมจะเปลี่ยนเรื่อง แกนนำคนเดิมกล่าวต่ออีกว่า ในปีหน้ากำลังเชิญชวนแกนนำสมัชชาอื่น ๆ เช่น สมัชชาเด็ก สมัชชาครอบครัว สมัชชาสตรี สมัชชาผู้พิการ สมัชชาผู้สูงอายุ หรือสมัชชาการศึกษาที่เกิดใหม่ เข้ามาร่วมกับสมัชชาที่เรากำลังทำอยู่นี้
ณ วินาทีนั้น ผมมีความรู้สึกว่าที่จังหวัดพิษณุโลกนี้กำลังเป็นจังหวัดแรก ๆ ของประเทศที่กำลังพัฒนารูปแบบนานาสมัชชาเข้าด้วยกัน และยกระดับการทำงานแบบรวมหมู่ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่าติดตามความเคลื่อนไหวนี้ยิ่งนัก
แม้จะเกิดความรู้สึกปิติกับทิศทางที่ได้ฟังข้างต้น แต่ก็อดเสียดายไม่ได้ที่ในห้องประชุมวันนี้ ไม่มีแกนนำสมัชชาสุขภาพอยู่เลย ด้วยเหตุผลว่าได้ "ทำเสร็จแล้ว"
ผมหลับตาตั้งสติ เพื่อทำหน้าที่ตามคำเชิญเพื่อให้ "สมัชชาสุขภาวะคนพิษณุโลกจัดการตนเอง" เป็นสมัชชาที่มีคุณภาพและเป็นไปตามเจตนารมย์ของคนเชิญออกมาให้ดีที่สุด
ผมขอให้กำลังใจกับแกนนำคนพิษณุโลกในการพัฒนากระบวนการที่ก้าวหน้าครั้งนี้ มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
ทุกวันนี้คำว่า "สมัชชา" เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นกว่าเมื่อ ๕ ปี ก่อน มีการจัดประชุมที่ขึ้นต้นด้วยคำนี้มากมายไปในหลายองค์กรหลายหน่วยงาน แม้จะมีชื่อขึ้นต้นเหมือนกัน แต่ลีลา รูปแบบและกระบวนการมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง บางสมัชชาเป็นเวทีสาธารณะ บางสมัชชาเป็นเวทีวิชาการ ในขณะที่บางสมัชชาเป็นเวทีพัฒนานโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะ "สมัชชาสุขภาพ" ที่ยึดหลักการดังกล่าวเอย่างมั่นคง จึงถือเป็นต้นแบบที่สมัชชาชื่ออื่น ๆ ใช้ในการเรียนรู้เพื่อยกระดับสมัชชานั้นให้เป็นเครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะอย่างแท้จริง
เช้าวันนี้ รถยนต์ฮอนด้าคู่ใจพาผมเดินทางไปยังห้องประชุมที่ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ตามคำเชิญของแกนประสานงานคณะทำงานเครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัดพิษณุโลก
เขาเชิญให้ไปช่วยพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อนำเข้าสู่การประชุม "สมัชชาสุขภาวะคนพิษณุโลกจัดการตนเอง"
ผมเห็นชื่อสมัชชานี้แล้ว อดที่จะถามไม่ได้ว่ามีที่มาจากอะไรหรือ
คำตอบที่ได้คือ เป็นความเห็นร่วมกันที่แกนนำขับเคลื่อนสมัชชา ๔ สมัชชา ร่วมกันตั้งขึ้น เพื่อให้มีความหมายสื่อถึงสมัชชาที่แต่ละแกนนำขับเคลื่อนอยู่
๔ สมัชชาที่ว่า ประกอบด้วย สมัชชาสวัสดิการชุมชน สมัชชาขบวนสภาองค์กรชุมชน สมัชชาเครือข่ายขบวนสภาพัฒนาการเมือง และสมัชชาสุขภาพ
ผมถามต่อว่าทำไมถึงมีแนวคิดที่จะนำมารวมกัน
แกนนำสตรีผู้ที่คุ้นหน้าคุ้นตาในวงการขับเคลื่อนงานภาคประชาสังคมในจังหวัดพิษณุโลก เป็นผู้อธิบายให้ผมฟัง ว่ามาจากเหตุผล ๓ ข้อ
ข้อแรก อยากยกระดับสมัชชาให้เป็นสมัชชาในการพัฒนานโยบายสาธารณะที่เป็นระบบ มีข้อมูลรองรับและเป็นกระบวนการที่มีส่วนร่วมตามแบบที่ "สมัชชาสุขภาพ" ทำอยู่
ข้อที่สอง ต้องการบูรณาการเข้าด้วยกัน เพราะจากการทำงานบางเรื่องเป็นเรื่องที่อีกสมัชชาหนึ่งทำแล้ว บางเรื่องเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับอีกสมัชชาหนึ่ง จึงไม่อยากทำงานซ้ำซ้อนกัน
และข้อที่สาม อยากเห็นกระบวนการรวมพลังผู้คนให้กว้างขวางมากขึ้น เพราะแต่ละสมัชชาก็มีเครือข่ายของตน หากนำมารวมกันจะทำให้มีพลังมากขึ้น
ก่อนที่ผมจะเปลี่ยนเรื่อง แกนนำคนเดิมกล่าวต่ออีกว่า ในปีหน้ากำลังเชิญชวนแกนนำสมัชชาอื่น ๆ เช่น สมัชชาเด็ก สมัชชาครอบครัว สมัชชาสตรี สมัชชาผู้พิการ สมัชชาผู้สูงอายุ หรือสมัชชาการศึกษาที่เกิดใหม่ เข้ามาร่วมกับสมัชชาที่เรากำลังทำอยู่นี้
ณ วินาทีนั้น ผมมีความรู้สึกว่าที่จังหวัดพิษณุโลกนี้กำลังเป็นจังหวัดแรก ๆ ของประเทศที่กำลังพัฒนารูปแบบนานาสมัชชาเข้าด้วยกัน และยกระดับการทำงานแบบรวมหมู่ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่าติดตามความเคลื่อนไหวนี้ยิ่งนัก
แม้จะเกิดความรู้สึกปิติกับทิศทางที่ได้ฟังข้างต้น แต่ก็อดเสียดายไม่ได้ที่ในห้องประชุมวันนี้ ไม่มีแกนนำสมัชชาสุขภาพอยู่เลย ด้วยเหตุผลว่าได้ "ทำเสร็จแล้ว"
ผมหลับตาตั้งสติ เพื่อทำหน้าที่ตามคำเชิญเพื่อให้ "สมัชชาสุขภาวะคนพิษณุโลกจัดการตนเอง" เป็นสมัชชาที่มีคุณภาพและเป็นไปตามเจตนารมย์ของคนเชิญออกมาให้ดีที่สุด
ผมขอให้กำลังใจกับแกนนำคนพิษณุโลกในการพัฒนากระบวนการที่ก้าวหน้าครั้งนี้ มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556
“ค่ากลาง” เครื่องมือใหม่หวังสร้างสุขภาพระดับตำบล
๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๖
เร่เข้ามา เร่าเข้ามา เตรียมตัวทำงานภายใต้ชื่อ “ค่ากลาง” เครื่องมือใหม่สุดสด ๆ ร้อน ๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระดับพื้นที่ กันเถอะ
ที่ผมกล่าวเช่นนี้ก็เพราะผมเชื่อว่า อีกไม่นานคนไทยโดยเฉพาะคนที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติคงจะต้องรู้จักกับเครื่องมือนี้เพิ่มขึ้น และมีพื้นที่ไม่น้อยต้องเริ่มทำงานตามเครื่องมือนี้
ทำไม่ถึงเป็นเช่นนั้น ก็เพราะในขณะนี้เป็นช่วงของการพัฒนาโครงการโดยใช้ฐานทุนที่ค้นพบจากการปฏิบัติการในพื้นที่ ๕ ตำบล และจะมีการขยายผลไปยังตำบลอื่นในวงกว้าง
ทำไมผมถึงรู้เรื่องนี้ ก็เพราะผมได้มีโอกาสเดินทางไปกับกลไกหนึ่งภายใต้บอร์ดที่ สปสช. ตั้งขึ้น อันมีชื่อว่า “อนุกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค” ไปดูงานและปรึกษาหารือกันในเรื่องนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่
ทำไมต้องไปถึงเชียงใหม่ ก็เพราะที่นั่นคือพื้นที่ปฏิบัติการใน ๕ ตำบล อันได้แก่ตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย ตำบลดอนใต้ อำเภอสันกำแพง ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง และตำบลทุ่งสะโลก อำเภอสันป่าตอง
หลังจากที่ผมตั้งใจจับประเด็นจากการดูงาน การนำเสนอและการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ผมเข้าใจเองว่า “ค่ากลาง” คือค่าเป้าหมายที่ควรเป็นเป้าหมายร่วมกันของแต่ละพื้นที่ เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์งานที่ผ่านมาว่าอะไรคืองานสำคัญร่วมกันของแต่ละพื้นที่
เป้าหมายการกำหนดค่างานที่ต้องการเห็นจะอยู่ในระดับจังหวัด ที่นำมาจากการวิเคราะห์ “แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์” ของแต่ละตำบลในจังหวัดนั้น แล้วดูงานที่มีความถี่สูงมากำหนดเป็นค่ากลาง
เป้าหมายงานที่จะใช้คือแผนงานโครงการที่จะใช้จาก “กองทุนสุขภาพตำบล” หรือ “กองทุน สปสช. ระดับพื้นที่” ก็แล้วแต่ละเรียก
ในความคิดเห็นส่วนตัว มีประเด็นสำคัญที่ผมยังไม่มั่นใจ ๓ ประเด็น ซึ่งผมได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นในเวทีไปแล้วว่า
ประเด็นแรก ห่วงว่าจะไปขัดกับหลักการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. เพราะจะเป็นการไปกำหนดกรอบการทำงานในระดับจังหวัดแล้วสั่งลงไปให้ตำบลทำ
ประเด็นที่สอง ห่วงว่าค่ากลางที่เกิดขึ้นจะไม่สอดรับหรือไม่ครอบคลุมถึงปัญหาในแต่ละตำบล
ประเด็นที่สาม ในระบบปัจจุบันงานกองทุนสุขภาพตำบลนี้ ได้เปิดโอกาสให้กลุ่มคน เครือข่าย องค์กร และหน่วยงานในตำบลขอรับการสนับสนุน ตรงนี้แหละที่เกรงว่าจะไปปิดกั้นการทำงานของขบวนของกลไกต่าง ๆ เพราะต้องทำตามค่ากลาง
จากข้อเสนอทั้งหมดของผู้เข้าร่วมเวที ทาง สปสช. คงนำไปพิจารณาประกอบในการพัฒนาโครงการและเสนอต่อผู้มีอำนาจต่อไป โดยผมเชื่อว่า อีกไม่นานโครงการนี้จะต้องออกมาอย่างแน่นอน
ผมจะได้ติดตามและนำมาเสนอความก้าวหน้าให้สาธารณะได้รับทราบต่อไป (ถ้ามีโอกาส)
ก่อนจบ ผมขอปิดด้วยประโยคเด็ดที่ผู้เข้าร่วมเวทีท่านหนึ่งกล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า “ค่ากลางคืองานที่ใคร ๆ เขาก็ทำกัน แต่ต้องไม่ปิดกั้นงานใหม่ ๆ ที่ใคร ๆ เขาไม่ค่อยทำกันด้วย”
เร่เข้ามา เร่าเข้ามา เตรียมตัวทำงานภายใต้ชื่อ “ค่ากลาง” เครื่องมือใหม่สุดสด ๆ ร้อน ๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระดับพื้นที่ กันเถอะ
ที่ผมกล่าวเช่นนี้ก็เพราะผมเชื่อว่า อีกไม่นานคนไทยโดยเฉพาะคนที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติคงจะต้องรู้จักกับเครื่องมือนี้เพิ่มขึ้น และมีพื้นที่ไม่น้อยต้องเริ่มทำงานตามเครื่องมือนี้
ทำไม่ถึงเป็นเช่นนั้น ก็เพราะในขณะนี้เป็นช่วงของการพัฒนาโครงการโดยใช้ฐานทุนที่ค้นพบจากการปฏิบัติการในพื้นที่ ๕ ตำบล และจะมีการขยายผลไปยังตำบลอื่นในวงกว้าง
ทำไมผมถึงรู้เรื่องนี้ ก็เพราะผมได้มีโอกาสเดินทางไปกับกลไกหนึ่งภายใต้บอร์ดที่ สปสช. ตั้งขึ้น อันมีชื่อว่า “อนุกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค” ไปดูงานและปรึกษาหารือกันในเรื่องนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่
ทำไมต้องไปถึงเชียงใหม่ ก็เพราะที่นั่นคือพื้นที่ปฏิบัติการใน ๕ ตำบล อันได้แก่ตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย ตำบลดอนใต้ อำเภอสันกำแพง ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง และตำบลทุ่งสะโลก อำเภอสันป่าตอง
หลังจากที่ผมตั้งใจจับประเด็นจากการดูงาน การนำเสนอและการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ผมเข้าใจเองว่า “ค่ากลาง” คือค่าเป้าหมายที่ควรเป็นเป้าหมายร่วมกันของแต่ละพื้นที่ เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์งานที่ผ่านมาว่าอะไรคืองานสำคัญร่วมกันของแต่ละพื้นที่
เป้าหมายการกำหนดค่างานที่ต้องการเห็นจะอยู่ในระดับจังหวัด ที่นำมาจากการวิเคราะห์ “แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์” ของแต่ละตำบลในจังหวัดนั้น แล้วดูงานที่มีความถี่สูงมากำหนดเป็นค่ากลาง
เป้าหมายงานที่จะใช้คือแผนงานโครงการที่จะใช้จาก “กองทุนสุขภาพตำบล” หรือ “กองทุน สปสช. ระดับพื้นที่” ก็แล้วแต่ละเรียก
ในความคิดเห็นส่วนตัว มีประเด็นสำคัญที่ผมยังไม่มั่นใจ ๓ ประเด็น ซึ่งผมได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นในเวทีไปแล้วว่า
ประเด็นแรก ห่วงว่าจะไปขัดกับหลักการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. เพราะจะเป็นการไปกำหนดกรอบการทำงานในระดับจังหวัดแล้วสั่งลงไปให้ตำบลทำ
ประเด็นที่สอง ห่วงว่าค่ากลางที่เกิดขึ้นจะไม่สอดรับหรือไม่ครอบคลุมถึงปัญหาในแต่ละตำบล
ประเด็นที่สาม ในระบบปัจจุบันงานกองทุนสุขภาพตำบลนี้ ได้เปิดโอกาสให้กลุ่มคน เครือข่าย องค์กร และหน่วยงานในตำบลขอรับการสนับสนุน ตรงนี้แหละที่เกรงว่าจะไปปิดกั้นการทำงานของขบวนของกลไกต่าง ๆ เพราะต้องทำตามค่ากลาง
จากข้อเสนอทั้งหมดของผู้เข้าร่วมเวที ทาง สปสช. คงนำไปพิจารณาประกอบในการพัฒนาโครงการและเสนอต่อผู้มีอำนาจต่อไป โดยผมเชื่อว่า อีกไม่นานโครงการนี้จะต้องออกมาอย่างแน่นอน
ผมจะได้ติดตามและนำมาเสนอความก้าวหน้าให้สาธารณะได้รับทราบต่อไป (ถ้ามีโอกาส)
ก่อนจบ ผมขอปิดด้วยประโยคเด็ดที่ผู้เข้าร่วมเวทีท่านหนึ่งกล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า “ค่ากลางคืองานที่ใคร ๆ เขาก็ทำกัน แต่ต้องไม่ปิดกั้นงานใหม่ ๆ ที่ใคร ๆ เขาไม่ค่อยทำกันด้วย”
หนองตอง :ตำบลสร้างสุขภาวะผู้สูงวัย
๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๖
เป็นอีกวันหนึ่งที่ต้องตื่นตั้งแต่ตีสี่ครึ่ง เพราะต้องเดินทางไปเชียงใหม่ เพื่อร่วมการดูงานกับคณะอนุกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่เป็นกลไกภายใต้บอร์ดของ สปสช.
สายการบินนกแอร์พาคณะเราไปพบกับคณะที่เดินทางโดยสายการบินไทยที่ร้านอาหารเช้าแห่งหนึ่ง ร้านอาหารจึงคึกคึกขึ้นมาทันตาเห็น เพราะมีลูกค้ากว่า ๕๐ คน
หลังจากอาหารเช้า คณะดูงานถูกแบ่งออกเป็น ๓ คณะย่อย เพื่อดูงานใน ๓ พื้นที่ ใน ๓ ตำบลและใน ๓ อำเภอ
ผมอยู่ในคณะที่ ๓ เดินทางไปที่ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง
ภายในเวลาประมาณ ๒ ชั่วโมงเศษ ที่อัดแน่นไปด้วยการนำเสนอผลงาน การชมนวัตกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ การร่วมพิธีกรรมต่าง ๆ บ่งบอกถึงงานนี้ผ่านการเตรียมการมาเป็นอย่างดี สาระสำคัญที่เรามาดูงานก็คือ ผลของการทดลองใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “ค่ากลาง” ในการสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุของตำบลหนองตอง
โดยข้อมูลได้ชี้ว่า ที่ตำบลหนองตองมีคนที่มีอายุสูงกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป ๑,๕๖๖ คน คิดได้ประมาณ ๑๙ % ของคนทั้งตำบลที่มีอยู่ ๘,๗๖๕ คน ซึ่งนับว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศที่อยู่ราว ๆ ๑๕ % ในจำนวนนี้แบ่งเป็นกลุ่มที่ยังแข็งแรง ๑,๐๗๔ คน กลุ่มที่ต้องการให้ดูแล ๓๗๐ คน และกลุ่มคนติดเตียง ๑๒๒ คน
ภายหลังจากการนำค่ากลางมาใช้ทำให้มีงบประมาณเหลือที่สามารถนำไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ประมาณ ๒๗ %
ผมคงไม่กล้ายืนยันแบบฟันธงว่า การนำเครื่องมือ “ค่ากลาง” มาใช้ที่ตำบลหนองตอง แล้วก่อให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ เพิ่มเติมขึ้นมากมายตามที่ได้รับฟังการนำเสนอและเห็นจากนิทรรศการที่มานำเสนอให้เห็น
เพราะจากข้อมูลงบประมาณที่ลดลง ๒๗ % นั้น เป็นงบประมาณเพียง ๓๐,๕๐๐ บาท เท่านั้น เพราะไม่เชื่อว่าเงินเพียงเท่านี้จะเกิดนวัตกรรมทางสังคมได้อย่างหลากหลายขนาดนั้น แต่เชื่อว่าสิ่งที่นำมาเสนอเกิดจากกระบวนการพัฒนางานเพื่อสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุมาอย่างยาวนาน
แต่ท่ามกลางความไม่มั่นใจ ก็มีความมั่นใจในความคิดของผมอยู่ ๒ ประการ ประการแรก มั่นใจว่าถ้ามีการบูรณาการงานกันดีๆ ย่อมมีงบประมาณเหลือแน่นอน และประการที่สองมั่นใจว่าคนที่ตำบลหนองตองที่นี้มีความร่วมไม้ร่วมมือค่อนข้างดี เพราะเห็นจากกิจกรรมที่นำมาเสนอเป็นสิ่งยืนยัน
มีเรื่องหนึ่งที่ผมประทับใจในการเอาจริงของเทศบาลตำบลหนองตอง นั่นก็คือ ได้มีการตั้งศูนย์เอนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุขึ้น สนับสนุนงบประมาณและจัดทำวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือบริหารร่างกายสำหรับผู้สูงอายุต่าง ๆ มากมาย ซึ่งผมสอบถามได้ความว่าไปดูของที่ขายตามห้างตามร้านมา แล้วชวนคนในตำบลมาประดิษฐ์คิดขึ้น เพราะไม่มีงบพอที่จะซื้อมาใช้เลย น่าทึ่งไหมล่ะ
และที่สำคัญที่ศูนย์แห่งนี้ได้กำหนดให้มีอัตรากำลัง ในตำแหน่ง “นักกิจกรรมบำบัด” ๒ อัตรา มาเป็นเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา ดูแล รักษาผู้สูงอายุที่มาใช้บริการด้วย และแม้ภายหลังจะได้รับการทักท้วงจากจังหวัดว่าไม่สามารถดำเนินการได้ ก็พยายามหาทางออกทางด้านการบริหาร จนทำให้มีเจ้าหน้าที่ทำงานได้ต่อไป
นับว่าที่ตำบลหนองตองแห่งนี้ เป็นอีกตำบลหนึ่งที่น่ามาเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง หากมีโอกาสที่เหมาะสมผมคงจะขอมาวิเคราะห์เจาะลึกลง เพื่อให้เห็นรากแก่นของขบวนงานต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้คนผู้สูงอายุที่นี้มีสุขภาวะดีตามที่ผมได้ยินฟังในวันนี้อีกสักครั้ง
ในเบื้องต้น ผมขอขอบคุณคนตำบลหนองตงทุกคนที่ได้เพิ่มการเรียนรู้ให้กับผมในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุมา ณ โอกาสนี้ด้วย
เป็นอีกวันหนึ่งที่ต้องตื่นตั้งแต่ตีสี่ครึ่ง เพราะต้องเดินทางไปเชียงใหม่ เพื่อร่วมการดูงานกับคณะอนุกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่เป็นกลไกภายใต้บอร์ดของ สปสช.
สายการบินนกแอร์พาคณะเราไปพบกับคณะที่เดินทางโดยสายการบินไทยที่ร้านอาหารเช้าแห่งหนึ่ง ร้านอาหารจึงคึกคึกขึ้นมาทันตาเห็น เพราะมีลูกค้ากว่า ๕๐ คน
หลังจากอาหารเช้า คณะดูงานถูกแบ่งออกเป็น ๓ คณะย่อย เพื่อดูงานใน ๓ พื้นที่ ใน ๓ ตำบลและใน ๓ อำเภอ
ผมอยู่ในคณะที่ ๓ เดินทางไปที่ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง
ภายในเวลาประมาณ ๒ ชั่วโมงเศษ ที่อัดแน่นไปด้วยการนำเสนอผลงาน การชมนวัตกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ การร่วมพิธีกรรมต่าง ๆ บ่งบอกถึงงานนี้ผ่านการเตรียมการมาเป็นอย่างดี สาระสำคัญที่เรามาดูงานก็คือ ผลของการทดลองใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “ค่ากลาง” ในการสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุของตำบลหนองตอง
โดยข้อมูลได้ชี้ว่า ที่ตำบลหนองตองมีคนที่มีอายุสูงกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป ๑,๕๖๖ คน คิดได้ประมาณ ๑๙ % ของคนทั้งตำบลที่มีอยู่ ๘,๗๖๕ คน ซึ่งนับว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศที่อยู่ราว ๆ ๑๕ % ในจำนวนนี้แบ่งเป็นกลุ่มที่ยังแข็งแรง ๑,๐๗๔ คน กลุ่มที่ต้องการให้ดูแล ๓๗๐ คน และกลุ่มคนติดเตียง ๑๒๒ คน
ภายหลังจากการนำค่ากลางมาใช้ทำให้มีงบประมาณเหลือที่สามารถนำไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ประมาณ ๒๗ %
ผมคงไม่กล้ายืนยันแบบฟันธงว่า การนำเครื่องมือ “ค่ากลาง” มาใช้ที่ตำบลหนองตอง แล้วก่อให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ เพิ่มเติมขึ้นมากมายตามที่ได้รับฟังการนำเสนอและเห็นจากนิทรรศการที่มานำเสนอให้เห็น
เพราะจากข้อมูลงบประมาณที่ลดลง ๒๗ % นั้น เป็นงบประมาณเพียง ๓๐,๕๐๐ บาท เท่านั้น เพราะไม่เชื่อว่าเงินเพียงเท่านี้จะเกิดนวัตกรรมทางสังคมได้อย่างหลากหลายขนาดนั้น แต่เชื่อว่าสิ่งที่นำมาเสนอเกิดจากกระบวนการพัฒนางานเพื่อสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุมาอย่างยาวนาน
แต่ท่ามกลางความไม่มั่นใจ ก็มีความมั่นใจในความคิดของผมอยู่ ๒ ประการ ประการแรก มั่นใจว่าถ้ามีการบูรณาการงานกันดีๆ ย่อมมีงบประมาณเหลือแน่นอน และประการที่สองมั่นใจว่าคนที่ตำบลหนองตองที่นี้มีความร่วมไม้ร่วมมือค่อนข้างดี เพราะเห็นจากกิจกรรมที่นำมาเสนอเป็นสิ่งยืนยัน
มีเรื่องหนึ่งที่ผมประทับใจในการเอาจริงของเทศบาลตำบลหนองตอง นั่นก็คือ ได้มีการตั้งศูนย์เอนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุขึ้น สนับสนุนงบประมาณและจัดทำวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือบริหารร่างกายสำหรับผู้สูงอายุต่าง ๆ มากมาย ซึ่งผมสอบถามได้ความว่าไปดูของที่ขายตามห้างตามร้านมา แล้วชวนคนในตำบลมาประดิษฐ์คิดขึ้น เพราะไม่มีงบพอที่จะซื้อมาใช้เลย น่าทึ่งไหมล่ะ
และที่สำคัญที่ศูนย์แห่งนี้ได้กำหนดให้มีอัตรากำลัง ในตำแหน่ง “นักกิจกรรมบำบัด” ๒ อัตรา มาเป็นเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา ดูแล รักษาผู้สูงอายุที่มาใช้บริการด้วย และแม้ภายหลังจะได้รับการทักท้วงจากจังหวัดว่าไม่สามารถดำเนินการได้ ก็พยายามหาทางออกทางด้านการบริหาร จนทำให้มีเจ้าหน้าที่ทำงานได้ต่อไป
นับว่าที่ตำบลหนองตองแห่งนี้ เป็นอีกตำบลหนึ่งที่น่ามาเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง หากมีโอกาสที่เหมาะสมผมคงจะขอมาวิเคราะห์เจาะลึกลง เพื่อให้เห็นรากแก่นของขบวนงานต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้คนผู้สูงอายุที่นี้มีสุขภาวะดีตามที่ผมได้ยินฟังในวันนี้อีกสักครั้ง
ในเบื้องต้น ผมขอขอบคุณคนตำบลหนองตงทุกคนที่ได้เพิ่มการเรียนรู้ให้กับผมในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุมา ณ โอกาสนี้ด้วย
วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556
เหตุเกิดที่ตำบลหนองยาว
๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
เวลาผ่านไปประมาณ ๒ ปี จากวันจุดประกายความคิดจนถึงวันนี้ได้ก่อเกิด "ธรรมนูญสุขภาพตำบลหนองยาว" นวัตกรรมทางสังคมที่เชื่อมโยงผู้คนในตำบลหนองยาวให้เข้ามาร่วมกันคิด ร่วมกันทำและร่วมกันได้ประโยชน์ หากคุณเป็นเช่นเดียวกับผมคุณคงต้องรู้สึกมีความสุขปิติเกิดขึ้น เพราะผมได้เป็นส่วนหนึ่งเล็ก ๆ ที่เป็นผู้ร่วมจุดประกายในวันเริ่มก้าวย่างนั้น
จากการที่ได้ยกขบวน "นักสานพลัง" ไปเรียนรู้พื้นที่ที่มีการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ที่ตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ในวันนี้นั้น ทำให้ผมได้เห็นทั้งปรากฎการณ์และเบื้องหลังที่มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ไม่น้อย
วันประวัติศาสตร์เริ่มต้นเมื่อกลางปี ๒๕๕๔ ที่ได้มีการเปิดเวทีปรึกษาหารือร่วมกันที่ตำบลหนองแหน ซึ่งในวันนั้นมีผมร่วมในขบวนดังกล่าวด้วย ในวันนั้นผมจำได้ว่าเราได้คุยกันถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น และขั้นตอนที่จะดำเนินการ ในการจัดทำธรรมนูฯสุขภาพ รวม ๘ แห่ง
ตำบลหนองยาวเป็นพื้นที่ ๑ ใน ๘ ตำบลที่อยู่ในเวทีนั้นด้วย ได้รับแนวคิดมาสานต่อ ด้วย ๙ ขั้นตอน ตั้งแต่ การประกาศเจตนารมย์ร่วมกันของแกนนำคนสำคัญ การแต่งตั้งกลไกทำงาน การค้นหาศักยภาพและปัญหาของพื้นที่ การยกร่าง การจัดเวทีประชาพิจารณ์ การนำมาปรับปรุงแก้ไข การประกาศใช้ การสร้างกลไกขับเคลื่อน และการติดตามประเมินผล
เอกสารเล่มขนาดเอห้า ปกสีเขียว มีข้อความสีเขียวเข้มว่า "ธรรมนูญสุขภาพตำบลหนองยาว ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยคนตำหนองยาว เพื่อให้คนตำบลหนองยาวมีสุขภาพดีถ้วนหน้า" โดยมีข้อความสีแดงว่า "เอกสารสำคัญประจำครอบครัว ห้ามทำลาย" บ่งบอกว่าเป็นเอกสารสำคัญของคนหนองยาวจริง ๆ
เนื้อหาทั้ง ๓๓ ข้อ ถูกถ่ายทอดร่ายเรียงกันภายใต้ ๑๓ หมวด โดยมีบทเฉพาะกาลอีก ๑ หมวด ล้วนเป็นสาระที่แสดงภาพฝันที่คนหนองยาวต้องการเห็นต้องการเป็น
เมื่อถูกถามว่าข้อใดที่ยังไม่ได้ดำเนินการ คำตอบที่ได้ก็คือ ข้อ ๘ เรื่องที่กำหนดให้มีการร่วมกันสร้างตัวชี้วัดสุขภาพครัวเรือนและชุมชนในตำบล โดยยืนยันว่าจะเริ่มทำงานในเร็ววันนี้
ในช่วงประมาณ ๓ ชั่วโมงที่นักสานพลัง ๑๕ ชีวิต ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเจ้าของพื้นที่มีมาร่วมกันให้ข้อมูลเกือบ ๑๐ คน ทุกคนในพื้นที่ต่างยืนยันว่าได้ประโยชน์จากการมีธรรมนูญสุขภาพฉบับนี้อย่างยิ่ง
ผมทำหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการในวันนี้ เมื่อฟังแล้วผมคิดว่า ตำบลหนองยาวมาถึงวันนี้ได้ เป็นเพราะ
สิ่งสำคัญข้อแรก คือ การยอมรับในตัวของผู้อำนวยการ รพ.สต. และสามี ที่เป็นคนดีและทำงานใกล้ชิดกับชาวบ้านมายาวนาน จนเชื่อมั่นว่าหากเดินตามทางตามคำแนะนำของบุคคลทั้งสองนี้แล้วย่อมก่อเกิดแต่สิ่งดี ๆ ดังตัวอย่างคำพูดที่ว่า " เขาไม่ใช่คนที่นี้ ยังอยากทำ ผมเป็นคนที่นี้จะไม่ทำได้อย่างไร"
สิ่งสำคัญข้อที่สอง คือ ความร่วมมือของแกนนำคนสำคัญในพื้นที่ นอกจากทาง รพ.สต.จะหนุนเต็มที่แล้ว ทาง อบต. ผญบ. สมาชิกสภา อบต. และเครือข่ายต่าง ๆ ก็เอาด้วย แลัเอาแบบถวายหัว
สิ่งสำคัญข้อที่สาม คือ การมีศิลปะในการทำงานของกลุ่มแกนนำ ตัวอย่างเช่น ก่อนที่จะใช้คำว่าธรรมนูญสุขภาพเพราะชาวบ้านไม่เข้าใจ จึงเริ่มด้วยคำว่า "แนวปฏิบัติ" ก่อน และเมื่อเสร็จแล้วก็อ้างว่าจะไม่เป็นสากลเหมือนพื้นที่อื่น ๆ เป็นตัวอย่างในท่ามกลางศิลปะที่แยบยลในการทำงานของทีมคทำงาน
สิ่งสำคัญที่สี่ คือ การใช้เวทีประชุมปรึกษาหารือกันอย่างเป็นประจำทุกเดือนก็เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงาน
ปัจจุบันธรรมนูญสุขภาพของคนตำบลหนองยาวได้เริ่มขึ้นแล้ว แล้วมีการนำไปขับเคลื่อนมาเป็นเวลาหนึ่ง แม้นจะยังไม่มีการประเมินความสำเร็จอย่างเป็นระบบ แต่ก็ใช้เวลาประชุมเป็นเวทีติดตามความก้าวหน้าและพิจารณาเพื่อทบทวนให้เหมาะสมอยู่เสมอ ๆ ต่างยืนยันว่าเกิดออกผลที่ดี และจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ตามวันเวลาที่ผันผ่านไป
ขอเป็นหนึ่งกำลังใจให้กับคนหนองยาวครับ ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาสุขภาวะของคนที่นี้โดยใช้เครื่องมือที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ด้วยความชื่นชมอย่างยิ่ง
คำพูดหนึ่งจากปากของแกนนำคนสำคัญของตำบลหนองยาว กล่าวไว้ชัดเจนว่า "หากเราไม่ทำ แล้วลูกหลานจะอยู่กันอย่างไร"
ยังเป็นคำพูดที่ดังก้องหูผมมาจนถึงวันนี้ และผมคิดว่าจะก้องหู (และใจ)ผมตลอดไปครับ
เวลาผ่านไปประมาณ ๒ ปี จากวันจุดประกายความคิดจนถึงวันนี้ได้ก่อเกิด "ธรรมนูญสุขภาพตำบลหนองยาว" นวัตกรรมทางสังคมที่เชื่อมโยงผู้คนในตำบลหนองยาวให้เข้ามาร่วมกันคิด ร่วมกันทำและร่วมกันได้ประโยชน์ หากคุณเป็นเช่นเดียวกับผมคุณคงต้องรู้สึกมีความสุขปิติเกิดขึ้น เพราะผมได้เป็นส่วนหนึ่งเล็ก ๆ ที่เป็นผู้ร่วมจุดประกายในวันเริ่มก้าวย่างนั้น
จากการที่ได้ยกขบวน "นักสานพลัง" ไปเรียนรู้พื้นที่ที่มีการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ที่ตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ในวันนี้นั้น ทำให้ผมได้เห็นทั้งปรากฎการณ์และเบื้องหลังที่มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ไม่น้อย
วันประวัติศาสตร์เริ่มต้นเมื่อกลางปี ๒๕๕๔ ที่ได้มีการเปิดเวทีปรึกษาหารือร่วมกันที่ตำบลหนองแหน ซึ่งในวันนั้นมีผมร่วมในขบวนดังกล่าวด้วย ในวันนั้นผมจำได้ว่าเราได้คุยกันถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น และขั้นตอนที่จะดำเนินการ ในการจัดทำธรรมนูฯสุขภาพ รวม ๘ แห่ง
ตำบลหนองยาวเป็นพื้นที่ ๑ ใน ๘ ตำบลที่อยู่ในเวทีนั้นด้วย ได้รับแนวคิดมาสานต่อ ด้วย ๙ ขั้นตอน ตั้งแต่ การประกาศเจตนารมย์ร่วมกันของแกนนำคนสำคัญ การแต่งตั้งกลไกทำงาน การค้นหาศักยภาพและปัญหาของพื้นที่ การยกร่าง การจัดเวทีประชาพิจารณ์ การนำมาปรับปรุงแก้ไข การประกาศใช้ การสร้างกลไกขับเคลื่อน และการติดตามประเมินผล
เอกสารเล่มขนาดเอห้า ปกสีเขียว มีข้อความสีเขียวเข้มว่า "ธรรมนูญสุขภาพตำบลหนองยาว ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยคนตำหนองยาว เพื่อให้คนตำบลหนองยาวมีสุขภาพดีถ้วนหน้า" โดยมีข้อความสีแดงว่า "เอกสารสำคัญประจำครอบครัว ห้ามทำลาย" บ่งบอกว่าเป็นเอกสารสำคัญของคนหนองยาวจริง ๆ
เนื้อหาทั้ง ๓๓ ข้อ ถูกถ่ายทอดร่ายเรียงกันภายใต้ ๑๓ หมวด โดยมีบทเฉพาะกาลอีก ๑ หมวด ล้วนเป็นสาระที่แสดงภาพฝันที่คนหนองยาวต้องการเห็นต้องการเป็น
เมื่อถูกถามว่าข้อใดที่ยังไม่ได้ดำเนินการ คำตอบที่ได้ก็คือ ข้อ ๘ เรื่องที่กำหนดให้มีการร่วมกันสร้างตัวชี้วัดสุขภาพครัวเรือนและชุมชนในตำบล โดยยืนยันว่าจะเริ่มทำงานในเร็ววันนี้
ในช่วงประมาณ ๓ ชั่วโมงที่นักสานพลัง ๑๕ ชีวิต ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเจ้าของพื้นที่มีมาร่วมกันให้ข้อมูลเกือบ ๑๐ คน ทุกคนในพื้นที่ต่างยืนยันว่าได้ประโยชน์จากการมีธรรมนูญสุขภาพฉบับนี้อย่างยิ่ง
ผมทำหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการในวันนี้ เมื่อฟังแล้วผมคิดว่า ตำบลหนองยาวมาถึงวันนี้ได้ เป็นเพราะ
สิ่งสำคัญข้อแรก คือ การยอมรับในตัวของผู้อำนวยการ รพ.สต. และสามี ที่เป็นคนดีและทำงานใกล้ชิดกับชาวบ้านมายาวนาน จนเชื่อมั่นว่าหากเดินตามทางตามคำแนะนำของบุคคลทั้งสองนี้แล้วย่อมก่อเกิดแต่สิ่งดี ๆ ดังตัวอย่างคำพูดที่ว่า " เขาไม่ใช่คนที่นี้ ยังอยากทำ ผมเป็นคนที่นี้จะไม่ทำได้อย่างไร"
สิ่งสำคัญข้อที่สอง คือ ความร่วมมือของแกนนำคนสำคัญในพื้นที่ นอกจากทาง รพ.สต.จะหนุนเต็มที่แล้ว ทาง อบต. ผญบ. สมาชิกสภา อบต. และเครือข่ายต่าง ๆ ก็เอาด้วย แลัเอาแบบถวายหัว
สิ่งสำคัญข้อที่สาม คือ การมีศิลปะในการทำงานของกลุ่มแกนนำ ตัวอย่างเช่น ก่อนที่จะใช้คำว่าธรรมนูญสุขภาพเพราะชาวบ้านไม่เข้าใจ จึงเริ่มด้วยคำว่า "แนวปฏิบัติ" ก่อน และเมื่อเสร็จแล้วก็อ้างว่าจะไม่เป็นสากลเหมือนพื้นที่อื่น ๆ เป็นตัวอย่างในท่ามกลางศิลปะที่แยบยลในการทำงานของทีมคทำงาน
สิ่งสำคัญที่สี่ คือ การใช้เวทีประชุมปรึกษาหารือกันอย่างเป็นประจำทุกเดือนก็เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงาน
ปัจจุบันธรรมนูญสุขภาพของคนตำบลหนองยาวได้เริ่มขึ้นแล้ว แล้วมีการนำไปขับเคลื่อนมาเป็นเวลาหนึ่ง แม้นจะยังไม่มีการประเมินความสำเร็จอย่างเป็นระบบ แต่ก็ใช้เวลาประชุมเป็นเวทีติดตามความก้าวหน้าและพิจารณาเพื่อทบทวนให้เหมาะสมอยู่เสมอ ๆ ต่างยืนยันว่าเกิดออกผลที่ดี และจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ตามวันเวลาที่ผันผ่านไป
ขอเป็นหนึ่งกำลังใจให้กับคนหนองยาวครับ ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาสุขภาวะของคนที่นี้โดยใช้เครื่องมือที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ด้วยความชื่นชมอย่างยิ่ง
คำพูดหนึ่งจากปากของแกนนำคนสำคัญของตำบลหนองยาว กล่าวไว้ชัดเจนว่า "หากเราไม่ทำ แล้วลูกหลานจะอยู่กันอย่างไร"
ยังเป็นคำพูดที่ดังก้องหูผมมาจนถึงวันนี้ และผมคิดว่าจะก้องหู (และใจ)ผมตลอดไปครับ
การเรียนรู้ที่ไม่จำเป็นต้องสอน
๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
ผมขอยืนยันว่า "การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องสอน" เป็นจริงได้ ถ้ามีการออกแบบกระบวนการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ
ผมไม่ใช่นักการศึกษา ไม่ใช่ครู แต่เหตุที่ทำให้ผมกล้ากล่าวเช่นนั้นเพราะมันเกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงของผมในวันนี้
วันนี้ผมได้รับคำร้องขอแกมบังคับให้ช่วยเป็นวิทยากรประจำกลุ่ม พาผู้เข้ารับการอบรมพัฒนาศักยภาพในหลักสูตร "นักสานพลัง" ไปเรียนรู้ในเรื่อง "ธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่" ที่ตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ก่อนจะถึงวันนี้ น้องที่รับผิดชอบงานนี้ได้ให้ใจกับงานนี้เต็มที่ ออกแบบงานเสร็จก็เชิญผู้รู้และผู้แทนผู้เข้าอบรมมาขอคำปรึกษา ลงไปพูดคุยกับคนในพื้นที่เพื่อซักซ้อมบทบาท เนื้อหาและวิธีการที่จะเรียนรู้ เชิญชวนผู้คนที่จะทำหน้าที่ต่าง ๆ ในงานนี้มาพูดคุยกันอย่างละเอียดยิบ แม้กระทั่งเมื่อคืนก่อนวันทำงานจริง ก็ยังชวนผู้คนมาปรึกษาหารือกันอีกรอบ
ผมลืมบอกไปว่าผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรนี้ล้วนเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงานในพื้นที่ในบทบาททีแตกต่างกัน บ้างเป็นด๊อกเตอร์จากมหาวิทยาลัย บ้างเป็นนายก อบต. บ้างเป็นนักวิชาการ บ้างเป็นแกนประชาสังคม บ้างเป็นข้าราชการหน่วยงานรัฐ อายุก็มีตั้งแต่ ๒๐ ปีเศษ จนถึง ๖๐ เศษ จึงนับว่าทุกคนล้วนมีทุนอยู่ในตัวที่อาจจะกล่าวได้ว่า "เดินไปไหนมีรอยตามตัวเต็มไปหมด เพราะเขี้ยวลากดิน" กันทุกคน
กระบวนการที่ออกแบบไว้ไม่ยากครับ ตั้งโจทย์ที่ต้องการให้นักสานพลังได้เรียนรู้ แล้วโยนโจทย์นี้และให้เวลาไปเตรียมตัวกัน
ในวันนี้ทางพื้นที่ได้เตรียมผู้คนที่เกี่ยวข้องทั้งที่มาจากท้องถิ่น ท้องที่ ครู และห่วยงานที่เกี่ยวข้องนับ ๑๐ คน มาให้ข้อมูลด้วย
เข้าสู่กระบวนการง่ายนิดเดียวครับ ผมทำเพียงแนะนำตัวเอง แนะนำวัตถุประสงค์ และฝากตัวเป็นศิษย์ขอมาเรียนรู้ เท่านั้น ส่วนที่เหลือก็เป็นเวทีของพื้นที่นำเสนอ และการซักถามจากกลุ่มนักสานพลังตามโจทย์ที่วางแผนไว้เมื่อวาน
๓ ชั่วโมงผ่านไป ผมหยิบไมโครโฟนอีกครั้งหนึ่ง กล่าวขอบคุณ และชวนกินข้าวกลางวันกัน
ภาคบ่ายขอใช้เวลาอีก ๒ ชั่วโมง เฉพาะกลุ่มนักสานพลัง เพื่อให้ช่วยกันสรุปการเรียนรู้ตามโจทย์ที่บอกไว้ โดยผมทำหน้าที่เพียงบอกเรื่องการบรหารเวลาเท่านั้น
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับ ข้อสรุปที่ออกมาเป็นเรื่องราวที่มีคุณค่า ครอบคลุมเนื้อหาที่ออกแบบไว้อย่างครบถ้วน และบางเรื่องราวเป็นความรู้ที่เกินคาดอีกด้วย
และที่สำคัญข้อสรุปนั้นเกิดขึ้นจากผู้เข้าอบรมหาเอง ซักถามเอง จับประเด็นเอง สรุปเอง วิเคราะห์เองทั้งหมด ไม่ใช่เป็นเนื้อหาที่ใครมาบอกเพียงคนเดียว
ก่อนแยกย้ายกลับผมแวะไปสักการะพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดสมานรัตนารามเพื่อขอพรให้มีความสุขแก่ตัวเองและครอบครัว
แท้จริงแล้วความสุขได้เกิดกับผมไปแล้วจากการได้เห็นกระบวนการเรียนรู้แนวใหม่ เป็นการเรียนรู้โดยผู้เรียนเอง โดยใช้คนทำจริงเป็นครู
ผมคิดต่อไปว่าหากระบบการศึกษาไทยเรานำเอารูปแบบนี้ไปใช้บ้าง ประเทศไทยเราคงมีระดับการพัฒนาที่ไม่น่าห่วงแบบปัจจุบันที่มีรั้งตำแหน่งระดับ ๘ ในอาเซียนแน่นอน
ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าผมไม่ใช่นักการศึกษา ไม่ใช่ครู แต่ผมคิดว่า "การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องสอน" เป็นจริงได้อย่างแน่นอน ถ้าคุณเป็นมืออาชีพในการออกแบบ
ผมขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งครับ
ผมขอยืนยันว่า "การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องสอน" เป็นจริงได้ ถ้ามีการออกแบบกระบวนการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ
ผมไม่ใช่นักการศึกษา ไม่ใช่ครู แต่เหตุที่ทำให้ผมกล้ากล่าวเช่นนั้นเพราะมันเกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงของผมในวันนี้
วันนี้ผมได้รับคำร้องขอแกมบังคับให้ช่วยเป็นวิทยากรประจำกลุ่ม พาผู้เข้ารับการอบรมพัฒนาศักยภาพในหลักสูตร "นักสานพลัง" ไปเรียนรู้ในเรื่อง "ธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่" ที่ตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ก่อนจะถึงวันนี้ น้องที่รับผิดชอบงานนี้ได้ให้ใจกับงานนี้เต็มที่ ออกแบบงานเสร็จก็เชิญผู้รู้และผู้แทนผู้เข้าอบรมมาขอคำปรึกษา ลงไปพูดคุยกับคนในพื้นที่เพื่อซักซ้อมบทบาท เนื้อหาและวิธีการที่จะเรียนรู้ เชิญชวนผู้คนที่จะทำหน้าที่ต่าง ๆ ในงานนี้มาพูดคุยกันอย่างละเอียดยิบ แม้กระทั่งเมื่อคืนก่อนวันทำงานจริง ก็ยังชวนผู้คนมาปรึกษาหารือกันอีกรอบ
ผมลืมบอกไปว่าผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรนี้ล้วนเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงานในพื้นที่ในบทบาททีแตกต่างกัน บ้างเป็นด๊อกเตอร์จากมหาวิทยาลัย บ้างเป็นนายก อบต. บ้างเป็นนักวิชาการ บ้างเป็นแกนประชาสังคม บ้างเป็นข้าราชการหน่วยงานรัฐ อายุก็มีตั้งแต่ ๒๐ ปีเศษ จนถึง ๖๐ เศษ จึงนับว่าทุกคนล้วนมีทุนอยู่ในตัวที่อาจจะกล่าวได้ว่า "เดินไปไหนมีรอยตามตัวเต็มไปหมด เพราะเขี้ยวลากดิน" กันทุกคน
กระบวนการที่ออกแบบไว้ไม่ยากครับ ตั้งโจทย์ที่ต้องการให้นักสานพลังได้เรียนรู้ แล้วโยนโจทย์นี้และให้เวลาไปเตรียมตัวกัน
ในวันนี้ทางพื้นที่ได้เตรียมผู้คนที่เกี่ยวข้องทั้งที่มาจากท้องถิ่น ท้องที่ ครู และห่วยงานที่เกี่ยวข้องนับ ๑๐ คน มาให้ข้อมูลด้วย
เข้าสู่กระบวนการง่ายนิดเดียวครับ ผมทำเพียงแนะนำตัวเอง แนะนำวัตถุประสงค์ และฝากตัวเป็นศิษย์ขอมาเรียนรู้ เท่านั้น ส่วนที่เหลือก็เป็นเวทีของพื้นที่นำเสนอ และการซักถามจากกลุ่มนักสานพลังตามโจทย์ที่วางแผนไว้เมื่อวาน
๓ ชั่วโมงผ่านไป ผมหยิบไมโครโฟนอีกครั้งหนึ่ง กล่าวขอบคุณ และชวนกินข้าวกลางวันกัน
ภาคบ่ายขอใช้เวลาอีก ๒ ชั่วโมง เฉพาะกลุ่มนักสานพลัง เพื่อให้ช่วยกันสรุปการเรียนรู้ตามโจทย์ที่บอกไว้ โดยผมทำหน้าที่เพียงบอกเรื่องการบรหารเวลาเท่านั้น
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับ ข้อสรุปที่ออกมาเป็นเรื่องราวที่มีคุณค่า ครอบคลุมเนื้อหาที่ออกแบบไว้อย่างครบถ้วน และบางเรื่องราวเป็นความรู้ที่เกินคาดอีกด้วย
และที่สำคัญข้อสรุปนั้นเกิดขึ้นจากผู้เข้าอบรมหาเอง ซักถามเอง จับประเด็นเอง สรุปเอง วิเคราะห์เองทั้งหมด ไม่ใช่เป็นเนื้อหาที่ใครมาบอกเพียงคนเดียว
ก่อนแยกย้ายกลับผมแวะไปสักการะพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดสมานรัตนารามเพื่อขอพรให้มีความสุขแก่ตัวเองและครอบครัว
แท้จริงแล้วความสุขได้เกิดกับผมไปแล้วจากการได้เห็นกระบวนการเรียนรู้แนวใหม่ เป็นการเรียนรู้โดยผู้เรียนเอง โดยใช้คนทำจริงเป็นครู
ผมคิดต่อไปว่าหากระบบการศึกษาไทยเรานำเอารูปแบบนี้ไปใช้บ้าง ประเทศไทยเราคงมีระดับการพัฒนาที่ไม่น่าห่วงแบบปัจจุบันที่มีรั้งตำแหน่งระดับ ๘ ในอาเซียนแน่นอน
ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าผมไม่ใช่นักการศึกษา ไม่ใช่ครู แต่ผมคิดว่า "การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องสอน" เป็นจริงได้อย่างแน่นอน ถ้าคุณเป็นมืออาชีพในการออกแบบ
ผมขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งครับ
วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556
เริ่มก่อร่างสร้างตัวใหม่
๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๖
การจะทำอะไรสักอย่าง จุดเริ่มต้นนับเป็นสิ่งสำคัญ จะเริ่มอย่างไรดี จะเริ่มกับใคร เขาคนนั้นเขาจะไปกับเราไหม นั้นเป็นสิ่งที่ท้าทายยิ่งนัก
วันนี้น้องที่ทำงานชวนผมให้มาร่วมวงพูดคุยกับแกนนำคนสำคัญของงานพัฒนาที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นจังหวัดที่ผมพักอาศัยอยู่มาเกือบ ๒๐ ปี งานที่จะมาชวนคุยนั้นเป็นงานการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม อย่าเพิ่งงงกับศัพท์แสงทางวิชาการนะครับ แปลง่าย ๆ ก็คือ การชวนคนมาคุยกันเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ทุกข์สร้างสุขของคนนครสวรรค์นั่นเอง
เรานัดเจอกันที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง มีแกนนำที่เราเชิญมา ๓ ท่าน (ผมขออนุญาติไม่เอ่ยนามนะครับ เพราะผมไม่ได้ขออนุญาตเขาไว้)
หลังจากทานอาหารกลางวันกันอิ่มแล้ว ก็พูดคุยกันถึงภารกิจที่มาวันนี้
ข้อมูลที่ออกจากปากของบุคคลทั้ง ๓ นั้น ล้วนมีประโยชน์อย่างยิ่ง
ที่จังหวัดนครสวรรค์ได้ร่วมขบวนกับงานปฏิรูประบบสุขภาพมาตั้งแต่เริ่มต้นปี ๒๕๔๓ มาเว้นวรรคไปในช่วง ๒ - ๓ ปีหลังนี้เอง เพราะไม่มีเวลาเพียงพอ ต้องรับผิดชอบกับงานขององค์กรที่ตัวเองตั้งมาอยู่ งานขององค์กรเราค่อนข้างมีกรอบมีระเบียบ และที่สำคัญไม่คงเส้นคงวา ทุกเหตุผลล้วนฟังแล้วสะดุ้งทุกคำ แต่ไม่เป็นไรครับ เพราะนั่นเป็นอดีตที่ผ่านมาแล้ว เราไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ ที่นครสวรรค์แห่งนี้รู้จักกันหมด โทรศัพท์แก๊กเดียวก็เต็มเวทีแล้ว เป็นข้อมูลทีผมกล้ายืนยันเพราะในอดีตผมเคยจัดงานใหญ่ที่นี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากเครือข่ายของนครสวรรค์ดีมาก ๆ
"ผมอยากให้นครสวรรค์ของเรากลับมาคึกคักเหมือนเดิม " เป็นคำพูดหนึ่งที่ผมพูดออกไป สถานการณ์ดีขึ้นครับ
"เราเคยทำเอ็มโอยูกับองค์กรไว้เกือบ ๒๐ องค์กร เมื่อ ๒ ปีก่อนเพื่อพัฒนาให้เป็นจังหวัดจัดการตนเอง" เป็นข้อมูลใหม่ที่สำคัญยิ่ง
ผมจึงเสนอให้ใช้เอ็มโอยูนั่นแหละเป็นจุดเริ่มต้น ชวนมาคุยกัน แล้วค่อยปรึกษากันว่าจะเดินหน้าไปอย่างไร ซึ่งข้อเสนอนี้ทุกผ่านเห็นด้วย
ปฏิทินของแต่ละคนถูกกลางออกเพื่อลงเวลานัดหมาย ได้วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
เราคุยกันต่ออีกพักใหญ่ก่อนร่ำลากันกลับ
ผมเดินออกจากร้านอาหารแห่งนั้น ก่อนขึ้นรถผมหันไปถามน้องที่ชวนผมมาว่า "พอใจกับข้อสรุปไหม" คำตอบที่ได้คือ "พอใจครับ"
ผมขับรถกลับบ้านพัก ในใจก็คิดไปว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้นับเป็นการเริ่มก่อร่างสร้างตัวใหม่อีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ในอดีตนั้นที่จังหวัดนครสวรรค์มีการขับเคลื่อนอยู่ในลำดับต้น ๆ ของประเทศ
วันนี้จะต้องเป็นวันประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของขบวนปฏิรูประบบสุขภาพที่จังหวัดนครสวรรค์
เพราะผมคิดว่าอนาคตข้างหน้านับจากนี้เป็นต้นไปจังหวัดนครสวรรค์จะก้าวไปอย่างมั่นคงและต่อเนื่องไม่สิ้นสุด
ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมเริ่มลงหลักปักฐานอีกจังหวัดหนึ่งแล้วครับ
การจะทำอะไรสักอย่าง จุดเริ่มต้นนับเป็นสิ่งสำคัญ จะเริ่มอย่างไรดี จะเริ่มกับใคร เขาคนนั้นเขาจะไปกับเราไหม นั้นเป็นสิ่งที่ท้าทายยิ่งนัก
วันนี้น้องที่ทำงานชวนผมให้มาร่วมวงพูดคุยกับแกนนำคนสำคัญของงานพัฒนาที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นจังหวัดที่ผมพักอาศัยอยู่มาเกือบ ๒๐ ปี งานที่จะมาชวนคุยนั้นเป็นงานการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม อย่าเพิ่งงงกับศัพท์แสงทางวิชาการนะครับ แปลง่าย ๆ ก็คือ การชวนคนมาคุยกันเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ทุกข์สร้างสุขของคนนครสวรรค์นั่นเอง
เรานัดเจอกันที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง มีแกนนำที่เราเชิญมา ๓ ท่าน (ผมขออนุญาติไม่เอ่ยนามนะครับ เพราะผมไม่ได้ขออนุญาตเขาไว้)
หลังจากทานอาหารกลางวันกันอิ่มแล้ว ก็พูดคุยกันถึงภารกิจที่มาวันนี้
ข้อมูลที่ออกจากปากของบุคคลทั้ง ๓ นั้น ล้วนมีประโยชน์อย่างยิ่ง
ที่จังหวัดนครสวรรค์ได้ร่วมขบวนกับงานปฏิรูประบบสุขภาพมาตั้งแต่เริ่มต้นปี ๒๕๔๓ มาเว้นวรรคไปในช่วง ๒ - ๓ ปีหลังนี้เอง เพราะไม่มีเวลาเพียงพอ ต้องรับผิดชอบกับงานขององค์กรที่ตัวเองตั้งมาอยู่ งานขององค์กรเราค่อนข้างมีกรอบมีระเบียบ และที่สำคัญไม่คงเส้นคงวา ทุกเหตุผลล้วนฟังแล้วสะดุ้งทุกคำ แต่ไม่เป็นไรครับ เพราะนั่นเป็นอดีตที่ผ่านมาแล้ว เราไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ ที่นครสวรรค์แห่งนี้รู้จักกันหมด โทรศัพท์แก๊กเดียวก็เต็มเวทีแล้ว เป็นข้อมูลทีผมกล้ายืนยันเพราะในอดีตผมเคยจัดงานใหญ่ที่นี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากเครือข่ายของนครสวรรค์ดีมาก ๆ
"ผมอยากให้นครสวรรค์ของเรากลับมาคึกคักเหมือนเดิม " เป็นคำพูดหนึ่งที่ผมพูดออกไป สถานการณ์ดีขึ้นครับ
"เราเคยทำเอ็มโอยูกับองค์กรไว้เกือบ ๒๐ องค์กร เมื่อ ๒ ปีก่อนเพื่อพัฒนาให้เป็นจังหวัดจัดการตนเอง" เป็นข้อมูลใหม่ที่สำคัญยิ่ง
ผมจึงเสนอให้ใช้เอ็มโอยูนั่นแหละเป็นจุดเริ่มต้น ชวนมาคุยกัน แล้วค่อยปรึกษากันว่าจะเดินหน้าไปอย่างไร ซึ่งข้อเสนอนี้ทุกผ่านเห็นด้วย
ปฏิทินของแต่ละคนถูกกลางออกเพื่อลงเวลานัดหมาย ได้วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
เราคุยกันต่ออีกพักใหญ่ก่อนร่ำลากันกลับ
ผมเดินออกจากร้านอาหารแห่งนั้น ก่อนขึ้นรถผมหันไปถามน้องที่ชวนผมมาว่า "พอใจกับข้อสรุปไหม" คำตอบที่ได้คือ "พอใจครับ"
ผมขับรถกลับบ้านพัก ในใจก็คิดไปว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้นับเป็นการเริ่มก่อร่างสร้างตัวใหม่อีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ในอดีตนั้นที่จังหวัดนครสวรรค์มีการขับเคลื่อนอยู่ในลำดับต้น ๆ ของประเทศ
วันนี้จะต้องเป็นวันประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของขบวนปฏิรูประบบสุขภาพที่จังหวัดนครสวรรค์
เพราะผมคิดว่าอนาคตข้างหน้านับจากนี้เป็นต้นไปจังหวัดนครสวรรค์จะก้าวไปอย่างมั่นคงและต่อเนื่องไม่สิ้นสุด
ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมเริ่มลงหลักปักฐานอีกจังหวัดหนึ่งแล้วครับ
วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556
กองบุญสัจจะสวัสดิการไทบ้านตำบลเปือย
๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๖
คงเป็นเพราะได้มีโอกาสเข้าไปช่วยประเมินผลการจัดสวัสดิการชุมชนในเขตจังหวัดนครปฐม จึงมีให้ผมความสนใจต่อเรื่อง "สวัสดิการชุมชน" เป็นอย่างมาก เพราะเมื่อได้สัมผัสแล้วเห็นว่า เป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ ที่มีเครื่องมือในการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนในชุมชนมากกว่าจะมารอการช่วยเหลือจากรัฐหรือองค์กรภายนอกพื้นที่ ฉะนั้น เมื่อมีโอกาสก็จะลงไปเรียนรู้และทำความเข้าใจกับเรื่องนี้เพื่อทำความเข้าใจต่อเรื่องนี้ให้มากขึ้น
เฉกเช่นเดียวกับเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ที่ผ่านมา ผมได้เดินทางไปที่ตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ พบว่าที่นี้ก็มีการจัดสวัสดิการชุมชนภายใต้ชื่อ "กองทุนสัจจะสวัสดิการไทบ้านตำบลเปือย" และเป็นกองทุนที่มีเรื่องราวน่าสนใจ ผมจึงขอถือโอกาสนำมาบันทึกและบอกเล่าเพื่อแบ่งปันข้อมูลให้ขยายวงต่อไป
จากข้อมูลที่ได้ฟังและจากเอกสารที่แจก กองทุนแห่งนี้ก่อตั้งตั้งแต่วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๘ นับถึงวันนี้ก็ครบ ๑๐ ปี ย่างเข้าสู่ปีที่ ๑๑ อย่างมั่นคง
ในวันเริ่มต้นมีสมาชิกเพียง ๘๐๘ คน ด้วยเงินทุนเพียง ๓๑,๙๒๐ บาท แต่เมื่อสิบปีผ่านไปขยายสมาชิกถึง ๓,๓๖๐ คน ครอบคลุมสมาชิกถึง ๕ ตำบล มีเงินกองทุน ณ ปัจจุบัน สูงถึง ๙.๖ ล้านบาท ผมคงไม่คำนวณว่าเติบโตขึ้นกี่เท่าจากวันเริ่มต้น
เงินทั้งหมดมีที่มาจากสมาชิกสะสมวันละ ๑ บาท รวมแล้วกว่า ๖.๕ ล้านบาท ที่เหลือมาจากการสมทบของรัฐบาล อปท. และจากหน่วยงานต่าง ๆ จัดสรรสนับสนุน อีกส่วนหนึ่งมาจากการทำกิจกรรมของชุมชนเอง เช่น การทอดผ้าป่า และดอกเบี้ยเงินออม
บุคคลที่ถือว่าเป็นบุคคลที่ทำให้เกิดกองทุนแห่งนี้ได้ ก็คือ พระครูอุดมโพธิกิจ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศิลา อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนที่นี้และคนใกล้เคียง
สวัสดิการ ๗ เรื่อง ได้ถูกกำหนดไว้ในระเบียบ ตั้งแต่ เรื่อง เกิด เจ็บป่วย แก่ ตาย ทุนการศึกษา ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย
จากข้อมูลที่ผ่านมาได้แจกแจงรายจ่ายที่จ่ายไปในกว่า ๑๐ รายการ อาทิ เงินรับขวัญลูกที่เกิดใหม่ ช่วยค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาล การเสียชีวิต ให้ทุนการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ สนับสนุนกิจกรรมของชุมชน หนุนกิจกรรมเชิดชูคนดี การปล่อยให้สมาชิกกู้ การลงทุนในธุรกิจชุมชน การจัดซื้อบัตรออมทรัพย์ การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ การบริหารจัดการ รวมทั้งค่าตอบแทนกรรมการ
กลไกบริหารมี ๒๔ คน โดยแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการส่วนกลาง มี ๕ คน ทำหน้าที่ ประธาน ๑ คน เหรัญญิก ๑ คน กรรมการฝ่ายสวัสดิการ ๑ คน กรรมการฝ่ายข้อมูล ๑ คน และกรรมการฝ่ายตรวจสอบอีก ๑ คน อีกกลุ่มหนึ่ง เป็นกรรมการดูแลพื้นที่ ที่เป็นผู้แทนจากทุกหมู่บ้านและจากตำบลข้างเคียงที่มาเป็นสมาชิกด้วย โดยมีพระคุณเจ้าพระครูอุดมโพธิกิจ เป็นที่ปรึกษา
ในการบริหารกองทุนก็จะมีระเบียบวางไว้อย่างชัดเจน จะส่งเงินได้เมื่อใด จะเบิกเงินเมื่อใด ถูกอธิบายไว้อย่างละเอียด
เครื่องมือหนึ่งที่นำมาใช้นั่นก็คือวิทยุชุมชน ที่มีการตั้งสถานีวิทยุชุมเสมาพันปีตำบลเปือย คลื่นเอฟเอ็ม ๙๙ เมกกะเฮิร์ท ไว้คอยสื่อสารให้กับสมาชิกได้รับทราบข้อมูลและประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่การโฆษณา
ถ้าเราวิเคราะห์จากข้อมูลที่เห็น จะพบว่าที่นี้นับเป็นอีกกองทุนหนึ่งที่มีความเข็มแข็ง สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง มีเงินทุนที่เหมาะสม มีกลไกทำงานที่ใช้หลักการมีส่วนร่วมเป็นกรอบในการออกแบบ มีการสื่อสารที่ต่อเนื่อง มีพระเป็นศูนย์รวมดวงใจเป็นที่ปรึกษา และที่สำคัญมีการจัดสวัสดิการที่หลากหลายมากกว่าการเกิด เจ็บและตาย
ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ใฝ่ฝันอยากไปให้ถึง
ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับคนตำบลเปือยที่มีกองทุน อันเป็นปัจจัยสำคัญของ "ชุมชนเข้มแข็ง" ขอให้สมาชิกช่วยกันปกปักรักษาสิ่งดี ๆ เหล่านี้ไว้นะครับ
เขียนไปก็อดอิจฉาคนเปือยไม่ได้ เพราะผมมั่นใจว่าที่ตำบลบ้านเกิดผมยังคงไม่ถึงขนาดนี้อย่างแน่นอน
คงเป็นเพราะได้มีโอกาสเข้าไปช่วยประเมินผลการจัดสวัสดิการชุมชนในเขตจังหวัดนครปฐม จึงมีให้ผมความสนใจต่อเรื่อง "สวัสดิการชุมชน" เป็นอย่างมาก เพราะเมื่อได้สัมผัสแล้วเห็นว่า เป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ ที่มีเครื่องมือในการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนในชุมชนมากกว่าจะมารอการช่วยเหลือจากรัฐหรือองค์กรภายนอกพื้นที่ ฉะนั้น เมื่อมีโอกาสก็จะลงไปเรียนรู้และทำความเข้าใจกับเรื่องนี้เพื่อทำความเข้าใจต่อเรื่องนี้ให้มากขึ้น
เฉกเช่นเดียวกับเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ที่ผ่านมา ผมได้เดินทางไปที่ตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ พบว่าที่นี้ก็มีการจัดสวัสดิการชุมชนภายใต้ชื่อ "กองทุนสัจจะสวัสดิการไทบ้านตำบลเปือย" และเป็นกองทุนที่มีเรื่องราวน่าสนใจ ผมจึงขอถือโอกาสนำมาบันทึกและบอกเล่าเพื่อแบ่งปันข้อมูลให้ขยายวงต่อไป
จากข้อมูลที่ได้ฟังและจากเอกสารที่แจก กองทุนแห่งนี้ก่อตั้งตั้งแต่วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๘ นับถึงวันนี้ก็ครบ ๑๐ ปี ย่างเข้าสู่ปีที่ ๑๑ อย่างมั่นคง
ในวันเริ่มต้นมีสมาชิกเพียง ๘๐๘ คน ด้วยเงินทุนเพียง ๓๑,๙๒๐ บาท แต่เมื่อสิบปีผ่านไปขยายสมาชิกถึง ๓,๓๖๐ คน ครอบคลุมสมาชิกถึง ๕ ตำบล มีเงินกองทุน ณ ปัจจุบัน สูงถึง ๙.๖ ล้านบาท ผมคงไม่คำนวณว่าเติบโตขึ้นกี่เท่าจากวันเริ่มต้น
เงินทั้งหมดมีที่มาจากสมาชิกสะสมวันละ ๑ บาท รวมแล้วกว่า ๖.๕ ล้านบาท ที่เหลือมาจากการสมทบของรัฐบาล อปท. และจากหน่วยงานต่าง ๆ จัดสรรสนับสนุน อีกส่วนหนึ่งมาจากการทำกิจกรรมของชุมชนเอง เช่น การทอดผ้าป่า และดอกเบี้ยเงินออม
บุคคลที่ถือว่าเป็นบุคคลที่ทำให้เกิดกองทุนแห่งนี้ได้ ก็คือ พระครูอุดมโพธิกิจ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศิลา อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนที่นี้และคนใกล้เคียง
สวัสดิการ ๗ เรื่อง ได้ถูกกำหนดไว้ในระเบียบ ตั้งแต่ เรื่อง เกิด เจ็บป่วย แก่ ตาย ทุนการศึกษา ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย
จากข้อมูลที่ผ่านมาได้แจกแจงรายจ่ายที่จ่ายไปในกว่า ๑๐ รายการ อาทิ เงินรับขวัญลูกที่เกิดใหม่ ช่วยค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาล การเสียชีวิต ให้ทุนการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ สนับสนุนกิจกรรมของชุมชน หนุนกิจกรรมเชิดชูคนดี การปล่อยให้สมาชิกกู้ การลงทุนในธุรกิจชุมชน การจัดซื้อบัตรออมทรัพย์ การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ การบริหารจัดการ รวมทั้งค่าตอบแทนกรรมการ
กลไกบริหารมี ๒๔ คน โดยแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการส่วนกลาง มี ๕ คน ทำหน้าที่ ประธาน ๑ คน เหรัญญิก ๑ คน กรรมการฝ่ายสวัสดิการ ๑ คน กรรมการฝ่ายข้อมูล ๑ คน และกรรมการฝ่ายตรวจสอบอีก ๑ คน อีกกลุ่มหนึ่ง เป็นกรรมการดูแลพื้นที่ ที่เป็นผู้แทนจากทุกหมู่บ้านและจากตำบลข้างเคียงที่มาเป็นสมาชิกด้วย โดยมีพระคุณเจ้าพระครูอุดมโพธิกิจ เป็นที่ปรึกษา
ในการบริหารกองทุนก็จะมีระเบียบวางไว้อย่างชัดเจน จะส่งเงินได้เมื่อใด จะเบิกเงินเมื่อใด ถูกอธิบายไว้อย่างละเอียด
เครื่องมือหนึ่งที่นำมาใช้นั่นก็คือวิทยุชุมชน ที่มีการตั้งสถานีวิทยุชุมเสมาพันปีตำบลเปือย คลื่นเอฟเอ็ม ๙๙ เมกกะเฮิร์ท ไว้คอยสื่อสารให้กับสมาชิกได้รับทราบข้อมูลและประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่การโฆษณา
ถ้าเราวิเคราะห์จากข้อมูลที่เห็น จะพบว่าที่นี้นับเป็นอีกกองทุนหนึ่งที่มีความเข็มแข็ง สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง มีเงินทุนที่เหมาะสม มีกลไกทำงานที่ใช้หลักการมีส่วนร่วมเป็นกรอบในการออกแบบ มีการสื่อสารที่ต่อเนื่อง มีพระเป็นศูนย์รวมดวงใจเป็นที่ปรึกษา และที่สำคัญมีการจัดสวัสดิการที่หลากหลายมากกว่าการเกิด เจ็บและตาย
ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ใฝ่ฝันอยากไปให้ถึง
ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับคนตำบลเปือยที่มีกองทุน อันเป็นปัจจัยสำคัญของ "ชุมชนเข้มแข็ง" ขอให้สมาชิกช่วยกันปกปักรักษาสิ่งดี ๆ เหล่านี้ไว้นะครับ
เขียนไปก็อดอิจฉาคนเปือยไม่ได้ เพราะผมมั่นใจว่าที่ตำบลบ้านเกิดผมยังคงไม่ถึงขนาดนี้อย่างแน่นอน
วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556
กระบวนนโยบายเมืองไทย ก้าวหน้าไปอีกขั้น
๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๖
อยากตะโกนบอกกล่าวให้ก้องฟ้า ว่ากระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะของประเทศไทยเรานี้ก้าวหน้าไปอีกขั้น และผมกล้ากล่าวดัง ๆ ว่าก้าวหน้าไปกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วซะด้วย ไม่เชื่อคุณลองอ่านเรื่องนี้ดู
วันนี้มีการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ หรือ คสช. โดยมีรองนายกรัฐมนตรีที่ชื่อนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา เป็นประธานการประชุม มีเรื่องหนึ่งที่มีการนำเสนอให้ที่ประชุมได้รับทราบว่า ครม. ได้เห็นชอบให้มีการกำหนดมาตรการลดผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล
แล้วมันเกี่ยวอะไรกับเรื่องราวที่จั่วหัวซะหวือหวาขนาดนั้นล่ะ
มันเกี่ยวสิ ลองติดตามเรื่องที่ผมจะเล่าต่อไป
ผมขอย้อนหลังไปในราวเดือนมีนาคม-เมษายน ปี ๒๕๕๕ คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ หรือ คจ.สช. ได้แจ้งเวียนให้องค์กร หน่วยงาน เครือข่ายต่าง ๆ ในประเทศไทยเข้าร่วมเสนอประเด็นเชิงนโยบาย เพื่อจะนำมากำหนดเป็นระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในปีนั้น
ปรากฎว่ามีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการมีโรงไฟฟ้าชีวมวลที่จังหวัดสุรินทร์รวมตัวกันเสนอเรื่องเข้ามาที่ คจ.สช. และได้รับเลือกให้เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนเรื่องหนึ่ง เพราะเห็นว่าหากปล่อยไว้จะเกิดผลกระทบในวงกว้าง และเรื่องนี้ต้องใช้พลังจากหลายหน่วยงาน หลายองค์กรมาทำงานร่วมกัน จึงกำหนดให้มีการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยมีการแต่งตั้งคณะทำงานวิชาการที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้องซึ่งรวมทั้งผู้ที่เสนอเรื่องนี้เข้ามาเป็นทีมทำงานนั้น
ทีมทำงานต่างช่วยกันรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์สังเคราะห์เรื่องราว และยกร่างเป็นเอกสารขึ้นมาส่งให้ คจ.สช. ไปรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั่วประเทศ แล้วนำมาปรับปรุงนำเข้าสู่การพิจารณาของสมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ครอบคลุมทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาชนและเอกชน ที่กำหนดเป็น ๒๓๔ กลุ่มเครือข่ายในเดือนธันวาคม ปีนั้น จนได้มติร่วมกันออกมา เรื่องนี้ได้ถูกนำเสนอต่อ คสช. อีกครั้ง คสช.บอกว่าไปทำเวทีพูดคุยกับหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องอีกครั้งและให้ช่วยกันทำโรดแมปการขับเคลื่อนมาพร้อมด้วย
ผู้รับผิดชอบก็รับไปดำเนินการ จนได้ร่างแผนการขับเคลื่อนออกมา จึงได้นำเสนอ คสช. อีกรอบ คราวนี้ คสช. เห็นชอบให้เสนอเรื่องต่อ ครม.
ฝ่ายเลขานุการของ ครม. ทำเรื่องแจ้งเวียนไปยังกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สอบถามความเห็น ซึ่งทุกกระทรวงก็ให้ความเห็นด้วยกับเรื่องนี้ แต่มีประเด็นทักท้วงอยู่ ๒ ประเด็น
ทางฝ่าย ครม. จึงได้เชิญผู้เกี่ยวข้องมาประชุมเพื่อพิจารณาหาทางออกใน ๒ ประเด็นที่เป็นข้อทักท้วง จนได้ข้อสรุปร่วมกัน
เมื่อทุกฝ่ายเห็นด้วย เรื่องก็ถูกส่งเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม. และ ครม. ก็มีมติเห็นชอบตามที่ตกลงกันก่อนหน้านั้น
เรื่องราวมีเพียงเท่านี้
แต่จุดที่ผมกล่าวไว้ตอนต้นว่า เรื่องนี้เป็นกระบวนการที่ก้าวหน้า มันอยู่ตรงที่ "ที่มา" ของเรื่องครับ
ชัดเจนครับเรื่องนี้ที่มาอยู่ที่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของกิจการที่ตั้งอยู่ในชุมชน ซึ่งเปรียบเหมือนเป็นเสียงของคนเล็กคนน้อยเท่านั้น
หากเป็นกระบวนการปกติเรื่องเหล่านี้ยากมากที่จะถูกหยิบเอามาพิจารณากันในที่ประชุม ครม.
ผมไม่เชื่อว่ากระทรวงที่เป็นผู้ดูแลกิจการที่ส่งผลกระทบนี้จะเป็นผู้เสนอเรื่องนี้เข้า ครม. เอง เพราะอาจจะไปขัดกับเป้าหมายหลักขององค์กรก็ได้
แต่เพราะว่าปัจจุบันประเทศไทยเราได้กำหนดให้มีกระบวนการที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้ามาใช้ได้ โดยได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ที่ออกมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ เรียกเครื่องมือหรือกระบวนการนี้ว่า "สมัชชาสุขภาพ" ครับ
วันนี้เรื่องของโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ผมเล่ามาข้างต้น ถือเป็นอีกหลักฐานหนึ่งที่ยืนยันว่า "ประเทศไทยเราก้าวหน้าในเรื่องกระบวนการนโยบายสาธารณะ" ไปมากแล้วครับ
เรามาร่วมกันใช้ "สมัชชาสุขภาพ" เครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะที่ทุกคน ทุกองค์กร ทุกหน่วยงานต่างสามารถหยิบไปใช้ได้กันเถอะ
อยากตะโกนบอกกล่าวให้ก้องฟ้า ว่ากระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะของประเทศไทยเรานี้ก้าวหน้าไปอีกขั้น และผมกล้ากล่าวดัง ๆ ว่าก้าวหน้าไปกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วซะด้วย ไม่เชื่อคุณลองอ่านเรื่องนี้ดู
วันนี้มีการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ หรือ คสช. โดยมีรองนายกรัฐมนตรีที่ชื่อนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา เป็นประธานการประชุม มีเรื่องหนึ่งที่มีการนำเสนอให้ที่ประชุมได้รับทราบว่า ครม. ได้เห็นชอบให้มีการกำหนดมาตรการลดผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล
แล้วมันเกี่ยวอะไรกับเรื่องราวที่จั่วหัวซะหวือหวาขนาดนั้นล่ะ
มันเกี่ยวสิ ลองติดตามเรื่องที่ผมจะเล่าต่อไป
ผมขอย้อนหลังไปในราวเดือนมีนาคม-เมษายน ปี ๒๕๕๕ คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ หรือ คจ.สช. ได้แจ้งเวียนให้องค์กร หน่วยงาน เครือข่ายต่าง ๆ ในประเทศไทยเข้าร่วมเสนอประเด็นเชิงนโยบาย เพื่อจะนำมากำหนดเป็นระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในปีนั้น
ปรากฎว่ามีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการมีโรงไฟฟ้าชีวมวลที่จังหวัดสุรินทร์รวมตัวกันเสนอเรื่องเข้ามาที่ คจ.สช. และได้รับเลือกให้เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนเรื่องหนึ่ง เพราะเห็นว่าหากปล่อยไว้จะเกิดผลกระทบในวงกว้าง และเรื่องนี้ต้องใช้พลังจากหลายหน่วยงาน หลายองค์กรมาทำงานร่วมกัน จึงกำหนดให้มีการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยมีการแต่งตั้งคณะทำงานวิชาการที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้องซึ่งรวมทั้งผู้ที่เสนอเรื่องนี้เข้ามาเป็นทีมทำงานนั้น
ทีมทำงานต่างช่วยกันรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์สังเคราะห์เรื่องราว และยกร่างเป็นเอกสารขึ้นมาส่งให้ คจ.สช. ไปรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั่วประเทศ แล้วนำมาปรับปรุงนำเข้าสู่การพิจารณาของสมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ครอบคลุมทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาชนและเอกชน ที่กำหนดเป็น ๒๓๔ กลุ่มเครือข่ายในเดือนธันวาคม ปีนั้น จนได้มติร่วมกันออกมา เรื่องนี้ได้ถูกนำเสนอต่อ คสช. อีกครั้ง คสช.บอกว่าไปทำเวทีพูดคุยกับหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องอีกครั้งและให้ช่วยกันทำโรดแมปการขับเคลื่อนมาพร้อมด้วย
ผู้รับผิดชอบก็รับไปดำเนินการ จนได้ร่างแผนการขับเคลื่อนออกมา จึงได้นำเสนอ คสช. อีกรอบ คราวนี้ คสช. เห็นชอบให้เสนอเรื่องต่อ ครม.
ฝ่ายเลขานุการของ ครม. ทำเรื่องแจ้งเวียนไปยังกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สอบถามความเห็น ซึ่งทุกกระทรวงก็ให้ความเห็นด้วยกับเรื่องนี้ แต่มีประเด็นทักท้วงอยู่ ๒ ประเด็น
ทางฝ่าย ครม. จึงได้เชิญผู้เกี่ยวข้องมาประชุมเพื่อพิจารณาหาทางออกใน ๒ ประเด็นที่เป็นข้อทักท้วง จนได้ข้อสรุปร่วมกัน
เมื่อทุกฝ่ายเห็นด้วย เรื่องก็ถูกส่งเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม. และ ครม. ก็มีมติเห็นชอบตามที่ตกลงกันก่อนหน้านั้น
เรื่องราวมีเพียงเท่านี้
แต่จุดที่ผมกล่าวไว้ตอนต้นว่า เรื่องนี้เป็นกระบวนการที่ก้าวหน้า มันอยู่ตรงที่ "ที่มา" ของเรื่องครับ
ชัดเจนครับเรื่องนี้ที่มาอยู่ที่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของกิจการที่ตั้งอยู่ในชุมชน ซึ่งเปรียบเหมือนเป็นเสียงของคนเล็กคนน้อยเท่านั้น
หากเป็นกระบวนการปกติเรื่องเหล่านี้ยากมากที่จะถูกหยิบเอามาพิจารณากันในที่ประชุม ครม.
ผมไม่เชื่อว่ากระทรวงที่เป็นผู้ดูแลกิจการที่ส่งผลกระทบนี้จะเป็นผู้เสนอเรื่องนี้เข้า ครม. เอง เพราะอาจจะไปขัดกับเป้าหมายหลักขององค์กรก็ได้
แต่เพราะว่าปัจจุบันประเทศไทยเราได้กำหนดให้มีกระบวนการที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้ามาใช้ได้ โดยได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ที่ออกมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ เรียกเครื่องมือหรือกระบวนการนี้ว่า "สมัชชาสุขภาพ" ครับ
วันนี้เรื่องของโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ผมเล่ามาข้างต้น ถือเป็นอีกหลักฐานหนึ่งที่ยืนยันว่า "ประเทศไทยเราก้าวหน้าในเรื่องกระบวนการนโยบายสาธารณะ" ไปมากแล้วครับ
เรามาร่วมกันใช้ "สมัชชาสุขภาพ" เครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะที่ทุกคน ทุกองค์กร ทุกหน่วยงานต่างสามารถหยิบไปใช้ได้กันเถอะ
วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556
คุยอะไรกันใน คสช.
๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๖
มาอีกแล้ว คสช. อะไรของมั่นว่ะ คำย่อที่ไม่ค่อยคุ้นหูแบบนี้ ฉันไม่รู้จักหรอก ช่วยอธิบายให้ฉันรู้จักหน่อยได้ไหม ประเทศไทยเรานี้ชอบใช้คำย่อกันจนเคยชิน ไม่สงสารคนฟังบ้างว่าฟังแล้วจะรู้เรื่องหรือไม่
ผมคิดว่าก็เป็นแบบนั้นจริง ๆ แหละ ผมอ่านข่าว อ่านเอกสารต่าง ๆ โดยเฉพาะที่มาจากหน่วยงานของราชการ จะมีทั้งคำย่อและคำที่ไม่ค่อยคุ้นชินปรากฎอยู่ในเอกสารเยอะแยะไปหมด
ก็เห็นใจครับ
ฉะนั้นเรามารู้จักกับตัวย่อ "คสช." กันเสียหน่อย ก่อนจะลงไปในเรื่องที่ต้องการนำเสนอในวันนี้
คสช. มาจากคำว่า "คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ" เป็นกลไกที่ถูกต้ังขึ้นตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะและคำปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ รวมทั้งการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในระดับต่าง ๆ
องค์ประกอบของ คสช. ก็ใช้กรอบยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาเป็นกรอบในการออกแบบ นั่นก็คือ กลไกชุดนี้มีประมาณ ๓๙ ราย มาจาก ๓ ภาคส่วน มาจากองค์กรรัฐและ อปท. ๑๓ คน มาจากองค์กรวิชาชีพและผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๓ คน และมาจากผู้แทนภาคประชาชน อีก ๑๓ คน โดยมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน คสช.
ปัจจุบัน ประธาน คสช. คือ นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ครับ ก็ทำหน้าที่ต่อจาก ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา พอตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ ที่ผลัดกันมาทำหน้าที่ในรัฐบาลชุดนี้ กรรมการชุดนี้จะมีการประชุมทุก ๒ เดือน ในการประชุมแต่ละครั้งก็จะมีเรื่องราวต่าง ๆ ถูกนำเสนอและถกแถลงกันหลายเรื่อง
สำหรับการประชุมในวันนี้ก็เหมือนเช่นเคยครับ เพราะมีหลายเรื่องที่น่าสนใจและสำคัญ ได้แก่
เรื่องแรก เป็นการรายงานความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟ้าชีวมวล ที่นำเสนอให้ที่ประชุมทราบว่า ครม. ให้ความเห็นชอบต่อมติและแผนการขับเคลื่อน โดยมี ๒ ประเด็นที่มอบหมายให้มีการดำเนินการต่อ คือ การยกเลิกการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลง กับเรื่องการประกาศให้กิจการนี้เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
เรื่องที่สอง เป็นการนำเสนอตัวอย่างการขับเคลื่อนสมัชชาสุขภาพจังหวัด ซึ่งได้เรียนเชิญผู้แทนจากจังหวัดลำปาง ๒ ท่าน มานำเสนอกระบวนการ กลไกและเนื้อหาให้ที่ประชุมฟังได้อย่างน่าสนใจ
เรื่องที่สาม เป็นการนำเสนอความก้าวหน้าเรื่องการขับเคลื่อนประเด็นปัญหาสำคัญที่ คสช. มอบหมาย ในเรื่อง "ระบบสุขภาวะชุมชน" ที่มีความก้าวหน้าไปถึงขั้นการพัฒนาเป็นระเบียบวาระในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๖
เรื่องที่สี่ ก็เป็นเรื่องการทำงานที่เชื่อมโยงกับประเด็นปัญหาสำคัญที่ คสช. มอบหมายมาอีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่อง "อาหารกับสุขภาพ" ซึ่งเรื่องนี้ได้เชิญ อ.ไกรสิทธ์ ตันติศิรินทร์ กรรมการในคณะกรรมการอาารแห่งชาติมานำเสนอให้เห็นภาพรวมในระดับมหภาค และได้เชิญพี่สุรเดช เดชคุ้มวงศ์ กรรมการใน คสช. นำเสนอการขับเคลื่อนงานนี้ในจังหวัดพิจิติตร หรือระดับจุลภาค ให้ที่ประชุมรับทราบและช่วยกันเสนอแนะ
เรื่องที่ห้า เป็นเรื่องการแต่งตั้งประธานคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๗ ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบแต่งตั้งพี่เจษฎา มิ่งสมร กรรมการใน คสช. คนหนึ่งทำหน้าที่นี้ ซึ่งต้องบอกว่าประธาน คสช.คนใหม่นี้มาจากผู้แทนภาคประชาชน หลังจากที่ผ่านมามีผู้แทนจากหน่วยงานรัฐ จากมหาวิทยาลัยและจากภาคธุรกิจ เป็นมาแล้ว ๓ คน คนละ ๒ ปี
นอกเหนือจากนี้ก็มีเรื่องอื่น ๆ เช่นการสรุปรายงานการทำงานของ คสช. การเลือกผู้แทน คสช. แทนตำแหน่งที่ว่างลง เป็นต้น
กิจกรรมที่สำคัญที้่จัดขึ้นเสริมกับการประชุมครั้งนี้ คือ การเจาะเลือดกรรมการและเจ้าหน้าที่ เพื่อตรวจวัดความเสี่ยงต่อการมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเส้นเลือด ซึ่งปรากฎว่า พบความเสี่ยงอยู่ประมาณ ๓๓ % ของผู้ที่ถูกเจาะเลือด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ขนาดแค่บริโภคผักผลไม้เท่านั้นก็มีความเสี่ยงต่อพิษภัยจากสารคมีแล้ว
เหล่านี้คือเนื้อหาสาระที่ คสช. เขาคุยกัน ก็ขอสรุปส่งมาให้ทุกท่านได้รับทราบร่วมกัน ครับผม
มาอีกแล้ว คสช. อะไรของมั่นว่ะ คำย่อที่ไม่ค่อยคุ้นหูแบบนี้ ฉันไม่รู้จักหรอก ช่วยอธิบายให้ฉันรู้จักหน่อยได้ไหม ประเทศไทยเรานี้ชอบใช้คำย่อกันจนเคยชิน ไม่สงสารคนฟังบ้างว่าฟังแล้วจะรู้เรื่องหรือไม่
ผมคิดว่าก็เป็นแบบนั้นจริง ๆ แหละ ผมอ่านข่าว อ่านเอกสารต่าง ๆ โดยเฉพาะที่มาจากหน่วยงานของราชการ จะมีทั้งคำย่อและคำที่ไม่ค่อยคุ้นชินปรากฎอยู่ในเอกสารเยอะแยะไปหมด
ก็เห็นใจครับ
ฉะนั้นเรามารู้จักกับตัวย่อ "คสช." กันเสียหน่อย ก่อนจะลงไปในเรื่องที่ต้องการนำเสนอในวันนี้
คสช. มาจากคำว่า "คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ" เป็นกลไกที่ถูกต้ังขึ้นตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะและคำปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ รวมทั้งการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในระดับต่าง ๆ
องค์ประกอบของ คสช. ก็ใช้กรอบยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาเป็นกรอบในการออกแบบ นั่นก็คือ กลไกชุดนี้มีประมาณ ๓๙ ราย มาจาก ๓ ภาคส่วน มาจากองค์กรรัฐและ อปท. ๑๓ คน มาจากองค์กรวิชาชีพและผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๓ คน และมาจากผู้แทนภาคประชาชน อีก ๑๓ คน โดยมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน คสช.
ปัจจุบัน ประธาน คสช. คือ นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ครับ ก็ทำหน้าที่ต่อจาก ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา พอตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ ที่ผลัดกันมาทำหน้าที่ในรัฐบาลชุดนี้ กรรมการชุดนี้จะมีการประชุมทุก ๒ เดือน ในการประชุมแต่ละครั้งก็จะมีเรื่องราวต่าง ๆ ถูกนำเสนอและถกแถลงกันหลายเรื่อง
สำหรับการประชุมในวันนี้ก็เหมือนเช่นเคยครับ เพราะมีหลายเรื่องที่น่าสนใจและสำคัญ ได้แก่
เรื่องแรก เป็นการรายงานความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟ้าชีวมวล ที่นำเสนอให้ที่ประชุมทราบว่า ครม. ให้ความเห็นชอบต่อมติและแผนการขับเคลื่อน โดยมี ๒ ประเด็นที่มอบหมายให้มีการดำเนินการต่อ คือ การยกเลิกการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลง กับเรื่องการประกาศให้กิจการนี้เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
เรื่องที่สอง เป็นการนำเสนอตัวอย่างการขับเคลื่อนสมัชชาสุขภาพจังหวัด ซึ่งได้เรียนเชิญผู้แทนจากจังหวัดลำปาง ๒ ท่าน มานำเสนอกระบวนการ กลไกและเนื้อหาให้ที่ประชุมฟังได้อย่างน่าสนใจ
เรื่องที่สาม เป็นการนำเสนอความก้าวหน้าเรื่องการขับเคลื่อนประเด็นปัญหาสำคัญที่ คสช. มอบหมาย ในเรื่อง "ระบบสุขภาวะชุมชน" ที่มีความก้าวหน้าไปถึงขั้นการพัฒนาเป็นระเบียบวาระในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๖
เรื่องที่สี่ ก็เป็นเรื่องการทำงานที่เชื่อมโยงกับประเด็นปัญหาสำคัญที่ คสช. มอบหมายมาอีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่อง "อาหารกับสุขภาพ" ซึ่งเรื่องนี้ได้เชิญ อ.ไกรสิทธ์ ตันติศิรินทร์ กรรมการในคณะกรรมการอาารแห่งชาติมานำเสนอให้เห็นภาพรวมในระดับมหภาค และได้เชิญพี่สุรเดช เดชคุ้มวงศ์ กรรมการใน คสช. นำเสนอการขับเคลื่อนงานนี้ในจังหวัดพิจิติตร หรือระดับจุลภาค ให้ที่ประชุมรับทราบและช่วยกันเสนอแนะ
เรื่องที่ห้า เป็นเรื่องการแต่งตั้งประธานคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๗ ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบแต่งตั้งพี่เจษฎา มิ่งสมร กรรมการใน คสช. คนหนึ่งทำหน้าที่นี้ ซึ่งต้องบอกว่าประธาน คสช.คนใหม่นี้มาจากผู้แทนภาคประชาชน หลังจากที่ผ่านมามีผู้แทนจากหน่วยงานรัฐ จากมหาวิทยาลัยและจากภาคธุรกิจ เป็นมาแล้ว ๓ คน คนละ ๒ ปี
นอกเหนือจากนี้ก็มีเรื่องอื่น ๆ เช่นการสรุปรายงานการทำงานของ คสช. การเลือกผู้แทน คสช. แทนตำแหน่งที่ว่างลง เป็นต้น
กิจกรรมที่สำคัญที้่จัดขึ้นเสริมกับการประชุมครั้งนี้ คือ การเจาะเลือดกรรมการและเจ้าหน้าที่ เพื่อตรวจวัดความเสี่ยงต่อการมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเส้นเลือด ซึ่งปรากฎว่า พบความเสี่ยงอยู่ประมาณ ๓๓ % ของผู้ที่ถูกเจาะเลือด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ขนาดแค่บริโภคผักผลไม้เท่านั้นก็มีความเสี่ยงต่อพิษภัยจากสารคมีแล้ว
เหล่านี้คือเนื้อหาสาระที่ คสช. เขาคุยกัน ก็ขอสรุปส่งมาให้ทุกท่านได้รับทราบร่วมกัน ครับผม
ระบบการตรวจสุขภาพไทยที่น่าห่วง
๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
ความรู้สึกของผมแวบแรกเมื่อได้ยินคำว่า "ตรวจสุขภาพ" ผมจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ดี หากคนไทยมีการตรวจสุขภาพกันอย่างถ้วนทั่วและสม่ำเสมอ ผมคิดว่าคนไทยเราจะมีอายุเฉลี่ยยืนยาวกว่านี้เป็นแน่ แต่ผมคิดผิดครับ เพราะภายใต้พรมแดงผืนนี้ มีอะไรซ่อนเร้นอยู่เยอะมาก
ผมได้มีโอกาสทำหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่อง "นโยบายการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน" ที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ ๑๘ - ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๖ ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินกลาง
เวทีวันนี้ถูกจัดขึ้นที่โรงแรมปรินส์พาเลซ แถว ๆ โบ้เบ้ ผู้เข้าประชุมมาจากทั่วประเทศมาจากทุกจังหวัด และจากทุกองค์กร ซึ่งในห้องที่ผมทำหน้าที่มีผู้สนใจประมาณ ๖๐ คน
ข้อมูลที่อยู่ในมือของผู้เข้าประชุม ได้ถูกเรียบเรียงโดยนักวิชาการมือหนึ่งของประเทศคนหนึ่ง บ่งบอกให้รู้ว่า
ผู้ป่วยโรคเบาหวานประมาณ ๑ ใน ๓ ไม่ทราบตัวเองมาก่อนว่าเป็นโรคนี้ ในขณะที่ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงกว่าครึ่งหนึ่งไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน และสตรีอายุ ๑๕ - ๕๙ ปี เคยได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกเพียง ๔๒.๕ %
ฟังดูแล้วน่าเป็นห่วงใช่ไหมครับ เพราะหากมีระบบที่ทำให้ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ได้รับการตรวจสุขภาพที่ดี ก็จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างทันท่วงที
ในทางตรงกันข้ามกับกลุ่มแรกที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพ แต่พบว่ายังมีคนไทยอีกกลุ่มหนึ่งได้รับการตรวจสุขภาพเกินความจำเป็นและไม่สมเหตุสมผล
ปัญหาตามมาก็คือผู้ที่ตรวจสุขภาพเกินความจำเป็นนี้ส่วนใหญ่มักเป็นการตรวจโรคโดยให้ความสำคัญกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลที่ออกมาจะมี ๒ ลักษณะ คือ "ผลบวกลวง" อันนำไปสู่ความสิ้นเปลืองและเสี่ยงต่อการที่ต้องรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมหรือต้องรักษาโดยไม่จำเป็น กับ "ผลลบลวง" ที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีทางการตรวจวินิจฉัย ทำให้เข้าใจว่าพฤติกรรมของตนเองดี จึงอาจประมาทไม่ควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่มีอยู่
ที่สำคัญก็คือในปัจจุบัน มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้มีการตรวจสุขภาพมากเกินจำเป็น ในลักษณะการตรวจแบบครอบจักรวาลหรือตรวจแบบเหวี่ยงแห ทำให้ประชาชนหลงเชื่อและจ่ายเงินโดยไม่จำเป็น ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ ยังพบว่ามีความเหลื่อมล้ำในระบบประกันสุขภาพทั้ง ๓ ระบบ บางระบบให้สิทธิ บางระบบไม่มีความชัดเจน
นี่คือปัญหาหลัก ๆ ของระบบการตรวจสุขภาพของประเทศไทยเรา
ทางออกที่สำคัญที่เป็นร่างข้อเสนอเชิงนโยบายก็คือ ประเทศไทยเราน่าจะถึงเวลาแล้วที่ควรมีกลไกระดับชาติขึ้นมาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ เป็นกลไกที่มากำหนดแนวทางที่สมเหตุสมผล คอยตรวจสอบและควบคุมมาตรฐาน รวมทั้งให้ความรู้และให้คำปรึกษากับประชาชนที่ถูกต้อง
บรรยากาศการประชุมวันนี้เป็นไปด้วยดี ทุกเสียงต่างลุกขึ้นสนับสนุนข้อเสนอนี้ มีเพียงปรับปรุงถ้อยคำและเสนอองค์กรที่สมควรเข้ามาร่วมดำเนินการด้วย เท่านั้น
ต้องบอกว่านอกเหนือจากที่ได้มาทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่แล้ว วันนี้ผมยังได้กำไรชีวิตเป็นอย่างยิ่ง เพราะได้ความรู้ที่คาดไม่ถึงต่อเรื่องที่ฟังผ่าน ๆ แล้ว เป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ สำหรับคนไทย แต่กลับพบว่าภายใต้เรื่องดี ๆ เหล่านั้นยังมีประเด็นที่ต้องขบคิดและร่วมมือกันแก้ไขในจุดที่เป็นปัญหาอยู่หลายประการ
ข้อเสนอนี้คาดว่าทุกฝ่ายจะเห็นด้วย และเป็นมติในปลายปีนี้ ก็ส่งเสียงมาล่วงหน้าเพื่อให้ทุกคนเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวนี้และถ้ามีโอกาสก็สนับสนุนข้อเสนอนี้นะครับ เพราะถ้าประเทศไทยเราทำเรื่องนี้ได้ดี ผมเชื่อว่าคนไทยเราจะอายุยืนขึ้นอย่างแน่นอน
ผมขอจบปิดท้ายด้วยคำถามเล็ก ๆ ปีนี้คุณตรวจสุขภาพประจำปีหรือยังครับ
ความรู้สึกของผมแวบแรกเมื่อได้ยินคำว่า "ตรวจสุขภาพ" ผมจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ดี หากคนไทยมีการตรวจสุขภาพกันอย่างถ้วนทั่วและสม่ำเสมอ ผมคิดว่าคนไทยเราจะมีอายุเฉลี่ยยืนยาวกว่านี้เป็นแน่ แต่ผมคิดผิดครับ เพราะภายใต้พรมแดงผืนนี้ มีอะไรซ่อนเร้นอยู่เยอะมาก
ผมได้มีโอกาสทำหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่อง "นโยบายการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน" ที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ ๑๘ - ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๖ ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินกลาง
เวทีวันนี้ถูกจัดขึ้นที่โรงแรมปรินส์พาเลซ แถว ๆ โบ้เบ้ ผู้เข้าประชุมมาจากทั่วประเทศมาจากทุกจังหวัด และจากทุกองค์กร ซึ่งในห้องที่ผมทำหน้าที่มีผู้สนใจประมาณ ๖๐ คน
ข้อมูลที่อยู่ในมือของผู้เข้าประชุม ได้ถูกเรียบเรียงโดยนักวิชาการมือหนึ่งของประเทศคนหนึ่ง บ่งบอกให้รู้ว่า
ผู้ป่วยโรคเบาหวานประมาณ ๑ ใน ๓ ไม่ทราบตัวเองมาก่อนว่าเป็นโรคนี้ ในขณะที่ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงกว่าครึ่งหนึ่งไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน และสตรีอายุ ๑๕ - ๕๙ ปี เคยได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกเพียง ๔๒.๕ %
ฟังดูแล้วน่าเป็นห่วงใช่ไหมครับ เพราะหากมีระบบที่ทำให้ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ได้รับการตรวจสุขภาพที่ดี ก็จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างทันท่วงที
ในทางตรงกันข้ามกับกลุ่มแรกที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพ แต่พบว่ายังมีคนไทยอีกกลุ่มหนึ่งได้รับการตรวจสุขภาพเกินความจำเป็นและไม่สมเหตุสมผล
ปัญหาตามมาก็คือผู้ที่ตรวจสุขภาพเกินความจำเป็นนี้ส่วนใหญ่มักเป็นการตรวจโรคโดยให้ความสำคัญกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลที่ออกมาจะมี ๒ ลักษณะ คือ "ผลบวกลวง" อันนำไปสู่ความสิ้นเปลืองและเสี่ยงต่อการที่ต้องรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมหรือต้องรักษาโดยไม่จำเป็น กับ "ผลลบลวง" ที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีทางการตรวจวินิจฉัย ทำให้เข้าใจว่าพฤติกรรมของตนเองดี จึงอาจประมาทไม่ควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่มีอยู่
ที่สำคัญก็คือในปัจจุบัน มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้มีการตรวจสุขภาพมากเกินจำเป็น ในลักษณะการตรวจแบบครอบจักรวาลหรือตรวจแบบเหวี่ยงแห ทำให้ประชาชนหลงเชื่อและจ่ายเงินโดยไม่จำเป็น ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ ยังพบว่ามีความเหลื่อมล้ำในระบบประกันสุขภาพทั้ง ๓ ระบบ บางระบบให้สิทธิ บางระบบไม่มีความชัดเจน
นี่คือปัญหาหลัก ๆ ของระบบการตรวจสุขภาพของประเทศไทยเรา
ทางออกที่สำคัญที่เป็นร่างข้อเสนอเชิงนโยบายก็คือ ประเทศไทยเราน่าจะถึงเวลาแล้วที่ควรมีกลไกระดับชาติขึ้นมาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ เป็นกลไกที่มากำหนดแนวทางที่สมเหตุสมผล คอยตรวจสอบและควบคุมมาตรฐาน รวมทั้งให้ความรู้และให้คำปรึกษากับประชาชนที่ถูกต้อง
บรรยากาศการประชุมวันนี้เป็นไปด้วยดี ทุกเสียงต่างลุกขึ้นสนับสนุนข้อเสนอนี้ มีเพียงปรับปรุงถ้อยคำและเสนอองค์กรที่สมควรเข้ามาร่วมดำเนินการด้วย เท่านั้น
ต้องบอกว่านอกเหนือจากที่ได้มาทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่แล้ว วันนี้ผมยังได้กำไรชีวิตเป็นอย่างยิ่ง เพราะได้ความรู้ที่คาดไม่ถึงต่อเรื่องที่ฟังผ่าน ๆ แล้ว เป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ สำหรับคนไทย แต่กลับพบว่าภายใต้เรื่องดี ๆ เหล่านั้นยังมีประเด็นที่ต้องขบคิดและร่วมมือกันแก้ไขในจุดที่เป็นปัญหาอยู่หลายประการ
ข้อเสนอนี้คาดว่าทุกฝ่ายจะเห็นด้วย และเป็นมติในปลายปีนี้ ก็ส่งเสียงมาล่วงหน้าเพื่อให้ทุกคนเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวนี้และถ้ามีโอกาสก็สนับสนุนข้อเสนอนี้นะครับ เพราะถ้าประเทศไทยเราทำเรื่องนี้ได้ดี ผมเชื่อว่าคนไทยเราจะอายุยืนขึ้นอย่างแน่นอน
ผมขอจบปิดท้ายด้วยคำถามเล็ก ๆ ปีนี้คุณตรวจสุขภาพประจำปีหรือยังครับ
วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556
สมัชชาสุขภาพเครื่องมืออภิบาลระบบสุขภาพไทย
๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๖
โอ้ย อะไรของมันว่ะ อ่านแล้วงงฉิบ ภาษาแปลก ๆ ไม่เคยได้ยิน นักวิชาการนี้ชอบหาคำมาใช้ อ่านแล้วไม่รู้เรื่อง
ผมจั่วหัวแบบนี้ก็เพราะว่าวันนี้ผมจะเขียนเรื่องที่พอเอ่ยคำ ๆ นี้ออกมา จะต้องมีความรู้สึกใกล้เคียงกับข้อความบรรทัดแรกแน่นอน
ใช่ครับ ผมกำลังจะพูดถึงความว่า "การอภิบาลระบบ" งงและมึนไปเลยไหมล่ะ แต่ใจเย็น ๆ ครับ ลองอ่านต่อไปอีกสักนิด แล้วความรู้สึกนั้นจะจางหายไป
เหตุที่ผมหยิบเอามาเป็นประเด็น เพราะผมได้ยินคำนี้มานาน แต่ก็มึนและงงกับคำนี้เช่นกัน แต่ผมเริ่มจะเข้าใจกับคำ ๆ นี้มากขึ้น หลังจากที่ผมได้ฟังการพูดถึงเรื่องนี้ในเวที "เตรียมความพร้อมจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖" ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมปริ้นส์พาเลส กรุงเทพมหานคร ในวันนี้
คุณหมออำพล จินดาวัฒนะ ซีอีโอของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้อธิบายเรื่องนี้ให้ที่ประชุมฟัง
ท่านบอกว่าในสังคมโลก มีนักวิชาการได้เฝ้ามองกระบวนการประชาธิปไตยที่ประเทศต่าง ๆ ใช้อยู่ และจำแนกได้เป็น ๓ รูปแบบ
แบบที่หนึ่ง ก็คือประชาธิปไตยที่ยึดโยงกับอำนาจรัฐ
แบบที่สอง คือประชาธิปไตยที่ยึดโยงกับทุนหรือเงิน
ซึ่งในปัจจุบันนี้ ประเทศต่าง ๆ จะนิยมกับรูปแบบที่หนึ่ง และที่สองเป็นส่วนใหญ่
และหลายประเทศก็ใช้ทั้งอำนาจรัฐกับอำนาจทุนควบคู่ไปพร้อมกัน ดังจะเห็นได้จากแนวทางที่ประเทศไทยกำลังดำเนินนโยบายในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะโครงการประชานิยม
คุณหมออำพล กล่าวย้ำว่าเราไม่สามารถหลีกหนีประชาธิปไตยทั้ง ๒ รูปแบบนี้ไปได้ แต่จะใช้หรือเชิ่อมโยงกับอำนาจรัฐและอำนาจทุนนี้อย่างไร
ที่นี้มาถึงประชาธิปไตยรูปแบบที่สาม ซึ่งก็คือประชาธิปไตยแบบเครือข่าย ซึ่งใช้พลังของการทำงานร่วมกันของสังคมเป็นตัวขับเคลื่อน
และรูปแบบที่สามนี่แหละคือแนวทางการทำงานที่สอดคล้องกับแนวคิดพื้นฐานของกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ที่แบบเสมือน "อำนาจอ่อน" ที่หมายถึงการใช้อำนาจความรู้คู่ความรักเป็นเครื่องมือ
ฉะนั้น จึงอย่ากังวลกับข้อเสนอเชิงนโยบายที่เป็นผลผลิตจากสมัชชาสุขภาพที่อำนาจทุนและอำนาจรัฐอาจไม่ให้ความสนใจ เพราะฐานคิดต่างกัน เมื่อคนมีฐานคิดต่างกันการกระทำจึงต่างกันไปด้วย ฉะนั้นการปรึกษาหารือเพื่อปรับจูนความคิดเข้าหากันจึงเป็นเรื่องสำคัญ
แจ่มแจ้งครับ กับคำอธิบายที่ได้ฟังจากคุณหมออำพล
แล้วที่เล่ามามันเกี่ยวกับหัวเรื่องผมอย่างไร มันเกี่ยวกันตรงที่คำว่า "การอภิบาลระบบ" กับคำว่า "ประชาธิปไตย" มันเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกัน
การอภิบาลระบบก็จะมี ๓ รูปแบบเฉกเช่นเดียวกับ ๓ รูปแบบของประชาธิปไตยนั่นเอง
ถ้าการอภิบาลระบบเป็นอย่างไรประชาธิปไตยก็จะออกในลักษณะนั้น หากยึดรัฐ วิธีการบริหารบ้านเมืองก็จะออกมาในรูปที่รัฐเป็นใหญ่ แต่หากยึดโยงกับทุน การบริหารงานบ้านเมืองก็จะอิงกับทุนเป็นหลักแต่ถ้าเป็นแบบเครือข่ายก็จะมีกระบวนการที่เน้นการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเป็นหลัก
ผมคิดว่าคงพอเข้าใจขึ้นบ้างนะครับ และคงไม่บ่นว่าไม่รู้เรื่องเหมือนข้อความในบรรทัดเปิดเรื่องนี้อีกต่อไปนะครับ
อย่างไรก็ตาม ผมขอปิดเรื่องด้วยกาพย์ยานี ๑๑ ที่ผมได้แต่งขึ้นหลังจากฟังคุณหมออำพลพูดและได้อ่านในเวทีนี้ช่วงหนึ่ง อาจจะทำให้มีความเข้าใจต่อคำว่า "การอภิบาลระบบ" มากขึ้น ว่า
"เป้าหมายที่สร้างสรรค์ ความมุ่งมั่นคือปัจจัย
เส้นทางประชาธิปไตย เราเครือข่าย (ต้อง) จับมือกัน
อำนาจรัฐอำนาจทุน ต้องชวนหมุนชวนแบ่งปัน
ความรู้ความรักนั้น คือพื้นฐานงานพัฒนา
เพื่อพ้องและแม่พ่อ งานสืบต่อพระศาสนา
สานรักสานปัญญา คือมรรคาสู่ปลายทาง
(เรา) จะเดินไปด้วยกัน ด้วยผูกพันข้ามสิ่งขวาง
เป้าใหญ่ที่วาดหวัง คือการสร้างประชาธิปไตย"
ด้วยจิตคารวะครับ
โอ้ย อะไรของมันว่ะ อ่านแล้วงงฉิบ ภาษาแปลก ๆ ไม่เคยได้ยิน นักวิชาการนี้ชอบหาคำมาใช้ อ่านแล้วไม่รู้เรื่อง
ผมจั่วหัวแบบนี้ก็เพราะว่าวันนี้ผมจะเขียนเรื่องที่พอเอ่ยคำ ๆ นี้ออกมา จะต้องมีความรู้สึกใกล้เคียงกับข้อความบรรทัดแรกแน่นอน
ใช่ครับ ผมกำลังจะพูดถึงความว่า "การอภิบาลระบบ" งงและมึนไปเลยไหมล่ะ แต่ใจเย็น ๆ ครับ ลองอ่านต่อไปอีกสักนิด แล้วความรู้สึกนั้นจะจางหายไป
เหตุที่ผมหยิบเอามาเป็นประเด็น เพราะผมได้ยินคำนี้มานาน แต่ก็มึนและงงกับคำนี้เช่นกัน แต่ผมเริ่มจะเข้าใจกับคำ ๆ นี้มากขึ้น หลังจากที่ผมได้ฟังการพูดถึงเรื่องนี้ในเวที "เตรียมความพร้อมจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖" ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมปริ้นส์พาเลส กรุงเทพมหานคร ในวันนี้
คุณหมออำพล จินดาวัฒนะ ซีอีโอของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้อธิบายเรื่องนี้ให้ที่ประชุมฟัง
ท่านบอกว่าในสังคมโลก มีนักวิชาการได้เฝ้ามองกระบวนการประชาธิปไตยที่ประเทศต่าง ๆ ใช้อยู่ และจำแนกได้เป็น ๓ รูปแบบ
แบบที่หนึ่ง ก็คือประชาธิปไตยที่ยึดโยงกับอำนาจรัฐ
แบบที่สอง คือประชาธิปไตยที่ยึดโยงกับทุนหรือเงิน
ซึ่งในปัจจุบันนี้ ประเทศต่าง ๆ จะนิยมกับรูปแบบที่หนึ่ง และที่สองเป็นส่วนใหญ่
และหลายประเทศก็ใช้ทั้งอำนาจรัฐกับอำนาจทุนควบคู่ไปพร้อมกัน ดังจะเห็นได้จากแนวทางที่ประเทศไทยกำลังดำเนินนโยบายในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะโครงการประชานิยม
คุณหมออำพล กล่าวย้ำว่าเราไม่สามารถหลีกหนีประชาธิปไตยทั้ง ๒ รูปแบบนี้ไปได้ แต่จะใช้หรือเชิ่อมโยงกับอำนาจรัฐและอำนาจทุนนี้อย่างไร
ที่นี้มาถึงประชาธิปไตยรูปแบบที่สาม ซึ่งก็คือประชาธิปไตยแบบเครือข่าย ซึ่งใช้พลังของการทำงานร่วมกันของสังคมเป็นตัวขับเคลื่อน
และรูปแบบที่สามนี่แหละคือแนวทางการทำงานที่สอดคล้องกับแนวคิดพื้นฐานของกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ที่แบบเสมือน "อำนาจอ่อน" ที่หมายถึงการใช้อำนาจความรู้คู่ความรักเป็นเครื่องมือ
ฉะนั้น จึงอย่ากังวลกับข้อเสนอเชิงนโยบายที่เป็นผลผลิตจากสมัชชาสุขภาพที่อำนาจทุนและอำนาจรัฐอาจไม่ให้ความสนใจ เพราะฐานคิดต่างกัน เมื่อคนมีฐานคิดต่างกันการกระทำจึงต่างกันไปด้วย ฉะนั้นการปรึกษาหารือเพื่อปรับจูนความคิดเข้าหากันจึงเป็นเรื่องสำคัญ
แจ่มแจ้งครับ กับคำอธิบายที่ได้ฟังจากคุณหมออำพล
แล้วที่เล่ามามันเกี่ยวกับหัวเรื่องผมอย่างไร มันเกี่ยวกันตรงที่คำว่า "การอภิบาลระบบ" กับคำว่า "ประชาธิปไตย" มันเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกัน
การอภิบาลระบบก็จะมี ๓ รูปแบบเฉกเช่นเดียวกับ ๓ รูปแบบของประชาธิปไตยนั่นเอง
ถ้าการอภิบาลระบบเป็นอย่างไรประชาธิปไตยก็จะออกในลักษณะนั้น หากยึดรัฐ วิธีการบริหารบ้านเมืองก็จะออกมาในรูปที่รัฐเป็นใหญ่ แต่หากยึดโยงกับทุน การบริหารงานบ้านเมืองก็จะอิงกับทุนเป็นหลักแต่ถ้าเป็นแบบเครือข่ายก็จะมีกระบวนการที่เน้นการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเป็นหลัก
ผมคิดว่าคงพอเข้าใจขึ้นบ้างนะครับ และคงไม่บ่นว่าไม่รู้เรื่องเหมือนข้อความในบรรทัดเปิดเรื่องนี้อีกต่อไปนะครับ
อย่างไรก็ตาม ผมขอปิดเรื่องด้วยกาพย์ยานี ๑๑ ที่ผมได้แต่งขึ้นหลังจากฟังคุณหมออำพลพูดและได้อ่านในเวทีนี้ช่วงหนึ่ง อาจจะทำให้มีความเข้าใจต่อคำว่า "การอภิบาลระบบ" มากขึ้น ว่า
"เป้าหมายที่สร้างสรรค์ ความมุ่งมั่นคือปัจจัย
เส้นทางประชาธิปไตย เราเครือข่าย (ต้อง) จับมือกัน
อำนาจรัฐอำนาจทุน ต้องชวนหมุนชวนแบ่งปัน
ความรู้ความรักนั้น คือพื้นฐานงานพัฒนา
เพื่อพ้องและแม่พ่อ งานสืบต่อพระศาสนา
สานรักสานปัญญา คือมรรคาสู่ปลายทาง
(เรา) จะเดินไปด้วยกัน ด้วยผูกพันข้ามสิ่งขวาง
เป้าใหญ่ที่วาดหวัง คือการสร้างประชาธิปไตย"
ด้วยจิตคารวะครับ
วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556
สื่อสารอย่างไรให้ติดหนึบ
๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๖
คุณลองทำตามผมนะครับ
ให้คุณนึกถึงเพลง ๆ หนึ่งที่คนไทยรู้จักดี ไม่ว่าจะเป็นเพลงชาติ เพลงสรรเสริญบารมี หรือแม้แต่เพลงสมัยเด็กที่เรานิยมร้องกัน เช่น เพลงช้าง ก็ได้
"ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง น้องเคยเห็นช้างหรือปล่าว ช้างมันตัวโตไม่เบา จมูกยาว ๆ เรียกว่างวง มีเขี้ยวใต้งวงเรียกว่างา มีหูมีตาหางยาว"
เมื่อนึกขึ้นได้แล้วให้เก็บไว้ในใจ อย่าบอกใคร แล้วลอง ๆ มองหาไม้อะไรก็ได้ขนาดเท่าตะเกียบสัก ๑ อัน
เมื่อได้แล้ว หาคนที่พอรู้จักมาฟัง แล้วเริ่มเคาะจังหวะเพลงนั้น โดยไม่ต้องออกเสียงใด ๆ ทางปากเลย
คุณคิดว่าเพื่อนที่ชวนมานั่งฟังเราเคาะ เพื่อนคนนั้นจะรู้ไหมว่าเราเคาะเพลงอะไร
นักวิชาการชาวตะวันตกเคยทำวิจัยเรื่องนี้มาแล้ว พบว่าน้อยมากที่จะรู้ว่าเคาะเพลงอะไรให้ฟัง
เขาทำการทดลองเคาะเพลงที่คนส่วนใหญ่รู้จักต่อหน้าคน ๑๐๐ คน มีเพียงประมาณ ๑๐ คนเท่านั้นที่รู้ว่าเขากำลังเคาะเพลงอะไร ส่วนที่เหลือจะตอบว่า ไม่รู้
ข้อค้นพบนี้บอกอะไรกับเรา
เขากำลังสอนผู้ที่ทำหน้าที่ผู้ส่งสารทุกอาชีพครับ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารที่ทำหน้าที่มอบหมายงาน วิทยากรที่ทำหน้าที่บรรยายให้ความรู้ หรือแม้แต่คู่สนทนากันธรรมดา
เขาสอนอะไร
เขาสอนว่าคนที่มีหน้าที่ส่งสารส่วนใหญ่คิดว่า ที่ส่งสารไปนั้นคนจะเข้าใจ เพราะเรื่องนี้ง่ายนิดเดียว แต่ในทางตรงกันข้าม อาจคิดผิดครับ คนรับสารอาจไม่รู้ไม่เข้าใจเลยว่า สารที่ส่งมานั้นคืออะไร
หากคนรับสารบอกว่าไม่รู้ว่าสารที่ส่งมานั้นคืออะไร ก็จะไปสร้างความหงุดหงิดให้กับคนส่งสาร เพราะคิดว่าเรื่องนี้ง่ายมากทำไมไม่รู้เรื่อง
นี้แหละคือจุดอับของผู้รู้ครับ เขาบอกว่าถ้าผู้รู้มองข้ามสิ่งเหล่านี้สิ่งที่ได้พยายามอรรถาธิบายไปนั้นก็สูญปล่าว
เหตุที่เป็นแบบนี้ก็เพราะ คนที่ทำหน้าที่ส่งสารคิดแต่เพียงว่า เรื่องนี้ง่าย และง่ายมาก ๆ เสียด้วย เรื่องนี้คนทั่วไปรู้จัก เรื่องนี้ได้อธิบายแบบช้า ๆ ไปแล้ว และอีกนานาเหตุผลที่จะคิดไป
แต่เขาลืมคิดไปว่าคนรับสารจะรู้เรื่องไหม เขาอาจจะไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อน เขาไม่มีสติในการฟังในขณะที่เราจะส่งสาร เขาอาจจะกำลังไม่สบาย และ จุด จุด จุด ก็ได้
ผมอ่านเรื่องราวข้อคิดนี้จากหนังสือ "สื่อสารอย่างไรให้ติดหนึบ" อาจแล้วชัดเลยครับ ชัดตรงที่ว่า มันเป็นข้อเตือนใจให้แก่ผมได้อย่างดียิ่ง และเป็นข้อเตือนใจที่ทำให้ผมต้องปรับปรุงวิธีการนำเสนอในวาระต่าง ๆ ใหม่หมด ให้กระชับ สั้น และเข้าใจง่าย
โดยเฉพาะงานที่ผมทำเป็นงานที่บอกได้ว่า "โค-ตระ-ระ ยาก" อีกด้วย ยิ่งต้องให้ความใส่ใจในเรื่องการสื่อสารเป็นสองเท่าสามเท่า
ก็เอามาฝากกับทุกท่านครับ ผมว่าเป็นแง่คิดในการนำไปพิจารณาตรวจสอบดูสิ่งที่ตนเองปฏิบัติดูสิว่า ในการสื่อสารทุกครั้งคนฟังท่านเขาเข้าใจเนื้อหาสาระในสารที่ท่านส่งไปให้หรือไม่
บอสผมเคยเล่าให้ผมฟังว่า มีคนมาทักแกว่านิทานที่เล่าตอนบรรยายทุกครั้งสนุกดี และเมื่อถามกลับไปว่าบรรยายเรื่องอะไร คนนั้นตอบว่าจำไม่ได้ จำได้แต่นิทาน ฮาไหมล่ะ
คุณลองทำตามผมนะครับ
ให้คุณนึกถึงเพลง ๆ หนึ่งที่คนไทยรู้จักดี ไม่ว่าจะเป็นเพลงชาติ เพลงสรรเสริญบารมี หรือแม้แต่เพลงสมัยเด็กที่เรานิยมร้องกัน เช่น เพลงช้าง ก็ได้
"ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง น้องเคยเห็นช้างหรือปล่าว ช้างมันตัวโตไม่เบา จมูกยาว ๆ เรียกว่างวง มีเขี้ยวใต้งวงเรียกว่างา มีหูมีตาหางยาว"
เมื่อนึกขึ้นได้แล้วให้เก็บไว้ในใจ อย่าบอกใคร แล้วลอง ๆ มองหาไม้อะไรก็ได้ขนาดเท่าตะเกียบสัก ๑ อัน
เมื่อได้แล้ว หาคนที่พอรู้จักมาฟัง แล้วเริ่มเคาะจังหวะเพลงนั้น โดยไม่ต้องออกเสียงใด ๆ ทางปากเลย
คุณคิดว่าเพื่อนที่ชวนมานั่งฟังเราเคาะ เพื่อนคนนั้นจะรู้ไหมว่าเราเคาะเพลงอะไร
นักวิชาการชาวตะวันตกเคยทำวิจัยเรื่องนี้มาแล้ว พบว่าน้อยมากที่จะรู้ว่าเคาะเพลงอะไรให้ฟัง
เขาทำการทดลองเคาะเพลงที่คนส่วนใหญ่รู้จักต่อหน้าคน ๑๐๐ คน มีเพียงประมาณ ๑๐ คนเท่านั้นที่รู้ว่าเขากำลังเคาะเพลงอะไร ส่วนที่เหลือจะตอบว่า ไม่รู้
ข้อค้นพบนี้บอกอะไรกับเรา
เขากำลังสอนผู้ที่ทำหน้าที่ผู้ส่งสารทุกอาชีพครับ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารที่ทำหน้าที่มอบหมายงาน วิทยากรที่ทำหน้าที่บรรยายให้ความรู้ หรือแม้แต่คู่สนทนากันธรรมดา
เขาสอนอะไร
เขาสอนว่าคนที่มีหน้าที่ส่งสารส่วนใหญ่คิดว่า ที่ส่งสารไปนั้นคนจะเข้าใจ เพราะเรื่องนี้ง่ายนิดเดียว แต่ในทางตรงกันข้าม อาจคิดผิดครับ คนรับสารอาจไม่รู้ไม่เข้าใจเลยว่า สารที่ส่งมานั้นคืออะไร
หากคนรับสารบอกว่าไม่รู้ว่าสารที่ส่งมานั้นคืออะไร ก็จะไปสร้างความหงุดหงิดให้กับคนส่งสาร เพราะคิดว่าเรื่องนี้ง่ายมากทำไมไม่รู้เรื่อง
นี้แหละคือจุดอับของผู้รู้ครับ เขาบอกว่าถ้าผู้รู้มองข้ามสิ่งเหล่านี้สิ่งที่ได้พยายามอรรถาธิบายไปนั้นก็สูญปล่าว
เหตุที่เป็นแบบนี้ก็เพราะ คนที่ทำหน้าที่ส่งสารคิดแต่เพียงว่า เรื่องนี้ง่าย และง่ายมาก ๆ เสียด้วย เรื่องนี้คนทั่วไปรู้จัก เรื่องนี้ได้อธิบายแบบช้า ๆ ไปแล้ว และอีกนานาเหตุผลที่จะคิดไป
แต่เขาลืมคิดไปว่าคนรับสารจะรู้เรื่องไหม เขาอาจจะไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อน เขาไม่มีสติในการฟังในขณะที่เราจะส่งสาร เขาอาจจะกำลังไม่สบาย และ จุด จุด จุด ก็ได้
ผมอ่านเรื่องราวข้อคิดนี้จากหนังสือ "สื่อสารอย่างไรให้ติดหนึบ" อาจแล้วชัดเลยครับ ชัดตรงที่ว่า มันเป็นข้อเตือนใจให้แก่ผมได้อย่างดียิ่ง และเป็นข้อเตือนใจที่ทำให้ผมต้องปรับปรุงวิธีการนำเสนอในวาระต่าง ๆ ใหม่หมด ให้กระชับ สั้น และเข้าใจง่าย
โดยเฉพาะงานที่ผมทำเป็นงานที่บอกได้ว่า "โค-ตระ-ระ ยาก" อีกด้วย ยิ่งต้องให้ความใส่ใจในเรื่องการสื่อสารเป็นสองเท่าสามเท่า
ก็เอามาฝากกับทุกท่านครับ ผมว่าเป็นแง่คิดในการนำไปพิจารณาตรวจสอบดูสิ่งที่ตนเองปฏิบัติดูสิว่า ในการสื่อสารทุกครั้งคนฟังท่านเขาเข้าใจเนื้อหาสาระในสารที่ท่านส่งไปให้หรือไม่
บอสผมเคยเล่าให้ผมฟังว่า มีคนมาทักแกว่านิทานที่เล่าตอนบรรยายทุกครั้งสนุกดี และเมื่อถามกลับไปว่าบรรยายเรื่องอะไร คนนั้นตอบว่าจำไม่ได้ จำได้แต่นิทาน ฮาไหมล่ะ
วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556
รัฐบาลยิ่งลักษณ์กับกองทุนสวัสดิการชุมชน
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
ตกใจเป็นที่สุดที่เพิ่งรู้ข้อมูลจากรายการ "เปิดปม" ทาง TPBS เมื่อสักครู่ว่า รัฐบาลภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ได้ตัดงบประมาณสำหรับสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนในปี ๒๕๕๗ จนเหลือศูนย์บาท จากที่ทาง พอช.ขอตั้งไป ๑,๒๐๐ ล้านบาท
ที่ผมตกใจก็เพราะ ในช่วงเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมเวทีถอดบทเรียนการจัดสวัสดิการชุมชนของจังหวัดนครปฐม ซึ่งมีทั้งหมด ๑๐๑ กองทุน และได้เห็นคุณค่าและประโยชน์ที่เกิดจากกองทุนนี้อย่างหลากหลาย เป็นกองทุนที่ทำให้คนมีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน นำความเป็นพี่เป็นน้องกับคืนมา สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน
ผมยังจำเสียงของผู้อาวุโสรายหนึ่งที่พูดขึ้นระหว่างการจัดเวทีในครั้งนั้นได้ว่า "สิ่งที่กลัวที่สุดในตอนนี้คือความไม่ต่อเนื่องของนโยบายของรัฐบาล"
วันนั้นเมื่อผมได้ยินแล้ว ไม่เคยคิดว่าจะเป็นจริงชนิดถอนรากถอนโคน เพราะคิดเพียงว่าคงไม่ถึงกับตัดงบจนไม่เหลือเลย แต่อาจจะปรับลดงบประมาณลงมาบ้างเท่านั้น แต่ปรากฎว่าผมคาดผิด
ต้องบอกว่าเงินที่นำมาจัดสวัสดิการชุมชนมาจาก ๓ ส่วนที่เรียกว่า งบ ๓ ขา ขาแรกมาจากการออมของสมาชิกกองทุน ขาที่สองมาจาก อปท. และขาที่สามมาจากงบประมาณจากรัฐบาล ผ่านทางสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชร หรือ พอช.
แท้จริงแล้วจุดเริ่มต้นของกองทุนสวัสดิการชุมชนนั้นมีมานานแล้ว แต่เป็นการทำกันเองของคนในชุมชน ที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็ได้แก่ ที่บ้านคลองเปี๊ยะ สงขลา เป็นต้น
รัฐบาลในสมัยนายกสุรยุทธ จุลานนท์ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม. ที่ชื่อ อาจารย์ไพบูลย์ ศิริวัฒนธรรม เป็นผู้ผลักดันจนรัฐบาลมีการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อความมั่นคงและขยายสวัสดิการให้กว้างขวางมากขึ้น
รัฐบาลในยุคนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ให้การสนับสนุนนโยบายนี้มาอย่างต่อเนื่อง หรือแม้แต่รัฐบาลชุดปัจจุบันใน ๒ ปีแรกที่มาบริหารประเทศ
ผมไม่รู้สาเหตุของการไม่สนับสนุนงบประมาณของรัฐในครั้งนี้ ซึ่งผมคิดว่ารัฐบาลน่าจะอธิบายให้กับสังคมได้รับรู้โดยทั่วกัน เพราะไม่เช่นนั้น ชาวบ้านจะคิดไปว่า รัฐบาลถังแตก รัฐบาลให้ความสำคัญนโยบายประชานิยมมากกว่า ตามที่สื่อตั้งประเด็นจริง
ในเวทีที่ผมได้ไปเรียนรู้ในครั้งนั้น ผมเห็นหลายกองทุนที่นครปฐมสามารถดูแลคนในชุมชนได้อย่างเข็มแข็ง สามารถจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกกว่า ๑๐ รายการ บางกองทุนสามารถนำไปทำนุบำรุงวัฒนธรรมประเพณี ดูแลสิ่งแวดล้อม แม้แต่คนยากไร้ คนพิการ แทนรัฐบาล
อยากกล่าวซ้ำอีกครั้งว่า ผมตกใจกับข่าววนี้ จริง ๆ และนอกจากตกใจแล้วยังเสียดายต่อการที่รัฐบาลไม่ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนฐานล่างของประเทศครั้งนี้
สิ่งที่เกิดขึ้นครั้งนี้ทำให้ผมคิดถึงคำกล่าวของคุณหมอประเวศ วะสี ที่เคยกล่าวไว้ว่า หากจะสร้างประเทศให้มั่นคง ต้องสร้างให้ชุมชนเข้มแข็ง เปรียบเหมือนการก่อเจดีย์ที่ต้องสร้างจากฐานขึ้นมาจนถึงยอด ไม่ควรสร้างเจดีย์จากยอดไปหาฐาน
แต่รัฐบาลกำลังสร้างเจดีย์จากยอดลงไปหาฐาน ซึ่งวันหนึ่งเจดีย์องค์นี้จะล้มครืน
ผมขอกราบวิงวอนอีกครั้งครับท่านรัฐบาล ขอให้ทบทวนนโยบายเรื่องนี้โดยเร่งด่วนเถิด เพราะนอกจากจะสร้างความมั่นคงให้กับประเทศในระยะยาวแล้ว หากท่านทำจริงท่านจะได้เสียงจากประชาชนทั่วประเทศไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านโยบายประชานิยมที่ท่านกำลังดำเนินการอยู่ อย่างแน่นอน
ตกใจเป็นที่สุดที่เพิ่งรู้ข้อมูลจากรายการ "เปิดปม" ทาง TPBS เมื่อสักครู่ว่า รัฐบาลภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ได้ตัดงบประมาณสำหรับสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนในปี ๒๕๕๗ จนเหลือศูนย์บาท จากที่ทาง พอช.ขอตั้งไป ๑,๒๐๐ ล้านบาท
ที่ผมตกใจก็เพราะ ในช่วงเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมเวทีถอดบทเรียนการจัดสวัสดิการชุมชนของจังหวัดนครปฐม ซึ่งมีทั้งหมด ๑๐๑ กองทุน และได้เห็นคุณค่าและประโยชน์ที่เกิดจากกองทุนนี้อย่างหลากหลาย เป็นกองทุนที่ทำให้คนมีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน นำความเป็นพี่เป็นน้องกับคืนมา สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน
ผมยังจำเสียงของผู้อาวุโสรายหนึ่งที่พูดขึ้นระหว่างการจัดเวทีในครั้งนั้นได้ว่า "สิ่งที่กลัวที่สุดในตอนนี้คือความไม่ต่อเนื่องของนโยบายของรัฐบาล"
วันนั้นเมื่อผมได้ยินแล้ว ไม่เคยคิดว่าจะเป็นจริงชนิดถอนรากถอนโคน เพราะคิดเพียงว่าคงไม่ถึงกับตัดงบจนไม่เหลือเลย แต่อาจจะปรับลดงบประมาณลงมาบ้างเท่านั้น แต่ปรากฎว่าผมคาดผิด
ต้องบอกว่าเงินที่นำมาจัดสวัสดิการชุมชนมาจาก ๓ ส่วนที่เรียกว่า งบ ๓ ขา ขาแรกมาจากการออมของสมาชิกกองทุน ขาที่สองมาจาก อปท. และขาที่สามมาจากงบประมาณจากรัฐบาล ผ่านทางสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชร หรือ พอช.
แท้จริงแล้วจุดเริ่มต้นของกองทุนสวัสดิการชุมชนนั้นมีมานานแล้ว แต่เป็นการทำกันเองของคนในชุมชน ที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็ได้แก่ ที่บ้านคลองเปี๊ยะ สงขลา เป็นต้น
รัฐบาลในสมัยนายกสุรยุทธ จุลานนท์ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม. ที่ชื่อ อาจารย์ไพบูลย์ ศิริวัฒนธรรม เป็นผู้ผลักดันจนรัฐบาลมีการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อความมั่นคงและขยายสวัสดิการให้กว้างขวางมากขึ้น
รัฐบาลในยุคนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ให้การสนับสนุนนโยบายนี้มาอย่างต่อเนื่อง หรือแม้แต่รัฐบาลชุดปัจจุบันใน ๒ ปีแรกที่มาบริหารประเทศ
ผมไม่รู้สาเหตุของการไม่สนับสนุนงบประมาณของรัฐในครั้งนี้ ซึ่งผมคิดว่ารัฐบาลน่าจะอธิบายให้กับสังคมได้รับรู้โดยทั่วกัน เพราะไม่เช่นนั้น ชาวบ้านจะคิดไปว่า รัฐบาลถังแตก รัฐบาลให้ความสำคัญนโยบายประชานิยมมากกว่า ตามที่สื่อตั้งประเด็นจริง
ในเวทีที่ผมได้ไปเรียนรู้ในครั้งนั้น ผมเห็นหลายกองทุนที่นครปฐมสามารถดูแลคนในชุมชนได้อย่างเข็มแข็ง สามารถจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกกว่า ๑๐ รายการ บางกองทุนสามารถนำไปทำนุบำรุงวัฒนธรรมประเพณี ดูแลสิ่งแวดล้อม แม้แต่คนยากไร้ คนพิการ แทนรัฐบาล
อยากกล่าวซ้ำอีกครั้งว่า ผมตกใจกับข่าววนี้ จริง ๆ และนอกจากตกใจแล้วยังเสียดายต่อการที่รัฐบาลไม่ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนฐานล่างของประเทศครั้งนี้
สิ่งที่เกิดขึ้นครั้งนี้ทำให้ผมคิดถึงคำกล่าวของคุณหมอประเวศ วะสี ที่เคยกล่าวไว้ว่า หากจะสร้างประเทศให้มั่นคง ต้องสร้างให้ชุมชนเข้มแข็ง เปรียบเหมือนการก่อเจดีย์ที่ต้องสร้างจากฐานขึ้นมาจนถึงยอด ไม่ควรสร้างเจดีย์จากยอดไปหาฐาน
แต่รัฐบาลกำลังสร้างเจดีย์จากยอดลงไปหาฐาน ซึ่งวันหนึ่งเจดีย์องค์นี้จะล้มครืน
ผมขอกราบวิงวอนอีกครั้งครับท่านรัฐบาล ขอให้ทบทวนนโยบายเรื่องนี้โดยเร่งด่วนเถิด เพราะนอกจากจะสร้างความมั่นคงให้กับประเทศในระยะยาวแล้ว หากท่านทำจริงท่านจะได้เสียงจากประชาชนทั่วประเทศไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านโยบายประชานิยมที่ท่านกำลังดำเนินการอยู่ อย่างแน่นอน
เปือยรุ่งโรจน์
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมไปมากกับการพัฒนางานภายใต้การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ข้อตกลงร่วมที่คนเปือยได้ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ภายใต้การหนุนเสริมขององค์กรปกครองท้องถิ่นระดับเทศบาลตำบล และองค์กรในชุมชนอย่างถ้วนทั่ว นับเป็น "ชุมชนเข้มแข็ง" อีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย หรือก้อนอิฐก้อนหนึ่งที่วางรากฐานองค์เจดีย์ให้มั่นคง
ผมได้มีโอกาสร่วมไปเรียนรู้งานการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพที่ตำบลเปือยกับ "คณะอนุกรรมการพิจารณารางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปี ๒๕๕๖" ในเช้าวันนี้ จึงทำให้ได้เห็นพัฒนาการการทำงานของคนที่นั่นอย่างชัดเจน
คณะเราได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นด้วยช่อดอกไม้ ผ้าขาวม้า พร้อมกับการพาไปกราบไหว้ศาลปู่ตาและการชมการแสดงของชมรมผู้สูงอายุที่น่าประทับใจ
ได้รับฟังการนำธรรมนูญสุขภาพไปขับเคลื่อนที่ชัดเจน โดยการนำเสนอของนายกเทศมนตรีที่ชื่อ "รุ่งโรจน์ โฉมรักษ์" นายกหนุ่มวัย ๔๘ ที่แต่งตัวภูมิฐาน และแกนนำจากองค์กรต่าง ๆ ในตำบล ทั้ง รพ.สต. สภาวัฒนธรรม กล่มเครือข่ายแผนแม่บท ผู้แทนท้องที่ สื่อชุมชนและพระครูอุดม โพธิกิจ ที่เป็นศูนย์รวมใจของคนที่นี้
ธรรมนูญสุขภาพตำบลเปือย ภายใต้สโลแกน "เปือยรุ่งโรจน์" มีทั้งสิ้น ๔๑ ข้อ ถูกชำแหละว่าแต่ละข้อได้มีการนำไปขับเคลื่อนอะไร และเกิดผลอะไรบ้าง
งบประมาณที่เทศบาลตำบลเปือยสนับสนุนไปกว่า ๑๒ ล้านบาท เพิ่มจากปีที่แล้วกว่า ๒ ล้านบาท เป็นเครื่องยืนยันว่าได้ทำจริง
นอกจากนั้นยังชี้ให้เห็นว่ามีองค์กรภายนอกได้มาสนับสนุนการดำเนินตามธรรมนูญสุขภาพอีกมากมาย นับเป็นงบประมาณกว่า ๓๐ ล้านบาท
รางวัลที่ได้รับอย่างมากมาย อาทิ จากกรมศาสนา จากกระทรวงวัฒนธรรม จากกระทรวงสาธารณสุข จาก สปสช. จาก กอ.รมน. จากจังหวัด และอื่น ๆ อีกเพียบ
การเป็นพื้นที่ดูงานทั้งจากพื้นที่อื่น จากสถาบันวิชาการ อาทิมหาวิทยาลับมหิดล จากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ อีกนับสิบรายการ
รายงานต่าง ๆ ถูกบันทึกไว้เป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าและเรียนรู้
เหล่านี้คือหลักฐานของการพัฒนาที่เกิดขึ้นที่ชัดเจนที่ผมได้เห็นแตกต่างไปจากปีที่แล้วที่ผมก็ได้มีโอกาสมาร่วมด้วย
ผลงานเหล่านี้ได้สร้างความประทับใจให้กับคณะของเรา และต่างก็กล่าวชื่นชมกันถ้วนทั่ว
แม้กระทั่งผมเองที่ได้มีโอกาสกล่าวต่อที่ประชุม ว่าเป็นรูปธรรมของการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เป็นการขับเคลื่อนที่เชื่อมโยงกับมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในหลายเรื่อง ทั้งเรื่อง อุบัติเหตุ ผู้สูงอายุ สุขภาวะพระสงฆ์ การลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และที่สำคัญก็คือการพัฒนา "ชุมชนเข้มแข็ง" ที่จะเป็นระเบียบวาระหนึ่งในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปลายปีนี้
ข้อเสนอที่ผมให้ไว้คือ การทบทวนธรรมนูญสุขภาพโดยการใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพ ซึ่งคำตอบที่ได้ก็คือเทศบาลกำลังจัดธรรมนูญสัญจรไปตามหมู่บ้านทุกหมู่
คำตอบต่อคำถามที่ผมถามว่า "หากนายกรุ่งโรจน์ไม่ได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามารับตำแหน่งต่อจะทำอย่างไร" ที่ได้รับคือ "ธรรมนูญสุขภาพเป็นของคนเปือยไม่ใช่ของนายกรุ่งโรจน" เป็นสัญญะบ่งบอกให้เห็นถึงความดำรงอยู่ของธรรมนูญสุขภาพที่ตำบลเปือยแห่งนี้
ท้ายสุด ผมได้อ่านบทกลอนที่ผมแต่งขึ้นสด ๆ ระหว่างที่นั่งอยู่ในห้องประชุม เป็นบทกลอนที่แทนความรู้สึกของผมที่ขอมอบให้กับคนตำบลเปือยทุกคน
"ขอก้มกราบคุณพ่อและคุณแม่ น่ารักแท้การต้อนรับให้สุขี
เห็นความรักความเอื้อเฟื้อสามัคคี มิตรไมตรียื่นต่อทีมของเรา
๑ ปีผ่านเห็นขบวนที่ก้าวหน้า โน้มนำพาธรรมนูญเป็นหลักเสา
คิดอยากเฮ็ดเสร็จแล้วก็ยึดเอา หล่อหลอมเข้ารวมผู้คนตุ้มโฮมกัน
นำมาขับขยับเคลื่อนออกดอกผล เปือยทุกคนได้รับผลที่สุขสันต์
พลังร่วมรวมพลังสร้างสรรงาน เชื่อมประสานความร่วมมืออย่างจริงจัง
ณ วันนี้ขอขอบคุณทุก ๆ ท่าน ที่ชวยดันธรรมนูญจนกว้างขวาง
หลายพื้นที่ตื่นตัวร่วมแนวทาง ด้วยหนึ่งพลังของคนตำบลเปือย"
เชื่อมือ เชื่อมั่นและเชื่อถือในคนตำบลเปือยครับ
เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมไปมากกับการพัฒนางานภายใต้การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ข้อตกลงร่วมที่คนเปือยได้ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ภายใต้การหนุนเสริมขององค์กรปกครองท้องถิ่นระดับเทศบาลตำบล และองค์กรในชุมชนอย่างถ้วนทั่ว นับเป็น "ชุมชนเข้มแข็ง" อีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย หรือก้อนอิฐก้อนหนึ่งที่วางรากฐานองค์เจดีย์ให้มั่นคง
ผมได้มีโอกาสร่วมไปเรียนรู้งานการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพที่ตำบลเปือยกับ "คณะอนุกรรมการพิจารณารางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปี ๒๕๕๖" ในเช้าวันนี้ จึงทำให้ได้เห็นพัฒนาการการทำงานของคนที่นั่นอย่างชัดเจน
คณะเราได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นด้วยช่อดอกไม้ ผ้าขาวม้า พร้อมกับการพาไปกราบไหว้ศาลปู่ตาและการชมการแสดงของชมรมผู้สูงอายุที่น่าประทับใจ
ได้รับฟังการนำธรรมนูญสุขภาพไปขับเคลื่อนที่ชัดเจน โดยการนำเสนอของนายกเทศมนตรีที่ชื่อ "รุ่งโรจน์ โฉมรักษ์" นายกหนุ่มวัย ๔๘ ที่แต่งตัวภูมิฐาน และแกนนำจากองค์กรต่าง ๆ ในตำบล ทั้ง รพ.สต. สภาวัฒนธรรม กล่มเครือข่ายแผนแม่บท ผู้แทนท้องที่ สื่อชุมชนและพระครูอุดม โพธิกิจ ที่เป็นศูนย์รวมใจของคนที่นี้
ธรรมนูญสุขภาพตำบลเปือย ภายใต้สโลแกน "เปือยรุ่งโรจน์" มีทั้งสิ้น ๔๑ ข้อ ถูกชำแหละว่าแต่ละข้อได้มีการนำไปขับเคลื่อนอะไร และเกิดผลอะไรบ้าง
งบประมาณที่เทศบาลตำบลเปือยสนับสนุนไปกว่า ๑๒ ล้านบาท เพิ่มจากปีที่แล้วกว่า ๒ ล้านบาท เป็นเครื่องยืนยันว่าได้ทำจริง
นอกจากนั้นยังชี้ให้เห็นว่ามีองค์กรภายนอกได้มาสนับสนุนการดำเนินตามธรรมนูญสุขภาพอีกมากมาย นับเป็นงบประมาณกว่า ๓๐ ล้านบาท
รางวัลที่ได้รับอย่างมากมาย อาทิ จากกรมศาสนา จากกระทรวงวัฒนธรรม จากกระทรวงสาธารณสุข จาก สปสช. จาก กอ.รมน. จากจังหวัด และอื่น ๆ อีกเพียบ
การเป็นพื้นที่ดูงานทั้งจากพื้นที่อื่น จากสถาบันวิชาการ อาทิมหาวิทยาลับมหิดล จากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ อีกนับสิบรายการ
รายงานต่าง ๆ ถูกบันทึกไว้เป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าและเรียนรู้
เหล่านี้คือหลักฐานของการพัฒนาที่เกิดขึ้นที่ชัดเจนที่ผมได้เห็นแตกต่างไปจากปีที่แล้วที่ผมก็ได้มีโอกาสมาร่วมด้วย
ผลงานเหล่านี้ได้สร้างความประทับใจให้กับคณะของเรา และต่างก็กล่าวชื่นชมกันถ้วนทั่ว
แม้กระทั่งผมเองที่ได้มีโอกาสกล่าวต่อที่ประชุม ว่าเป็นรูปธรรมของการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เป็นการขับเคลื่อนที่เชื่อมโยงกับมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในหลายเรื่อง ทั้งเรื่อง อุบัติเหตุ ผู้สูงอายุ สุขภาวะพระสงฆ์ การลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และที่สำคัญก็คือการพัฒนา "ชุมชนเข้มแข็ง" ที่จะเป็นระเบียบวาระหนึ่งในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปลายปีนี้
ข้อเสนอที่ผมให้ไว้คือ การทบทวนธรรมนูญสุขภาพโดยการใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพ ซึ่งคำตอบที่ได้ก็คือเทศบาลกำลังจัดธรรมนูญสัญจรไปตามหมู่บ้านทุกหมู่
คำตอบต่อคำถามที่ผมถามว่า "หากนายกรุ่งโรจน์ไม่ได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามารับตำแหน่งต่อจะทำอย่างไร" ที่ได้รับคือ "ธรรมนูญสุขภาพเป็นของคนเปือยไม่ใช่ของนายกรุ่งโรจน" เป็นสัญญะบ่งบอกให้เห็นถึงความดำรงอยู่ของธรรมนูญสุขภาพที่ตำบลเปือยแห่งนี้
ท้ายสุด ผมได้อ่านบทกลอนที่ผมแต่งขึ้นสด ๆ ระหว่างที่นั่งอยู่ในห้องประชุม เป็นบทกลอนที่แทนความรู้สึกของผมที่ขอมอบให้กับคนตำบลเปือยทุกคน
"ขอก้มกราบคุณพ่อและคุณแม่ น่ารักแท้การต้อนรับให้สุขี
เห็นความรักความเอื้อเฟื้อสามัคคี มิตรไมตรียื่นต่อทีมของเรา
๑ ปีผ่านเห็นขบวนที่ก้าวหน้า โน้มนำพาธรรมนูญเป็นหลักเสา
คิดอยากเฮ็ดเสร็จแล้วก็ยึดเอา หล่อหลอมเข้ารวมผู้คนตุ้มโฮมกัน
นำมาขับขยับเคลื่อนออกดอกผล เปือยทุกคนได้รับผลที่สุขสันต์
พลังร่วมรวมพลังสร้างสรรงาน เชื่อมประสานความร่วมมืออย่างจริงจัง
ณ วันนี้ขอขอบคุณทุก ๆ ท่าน ที่ชวยดันธรรมนูญจนกว้างขวาง
หลายพื้นที่ตื่นตัวร่วมแนวทาง ด้วยหนึ่งพลังของคนตำบลเปือย"
เชื่อมือ เชื่อมั่นและเชื่อถือในคนตำบลเปือยครับ
วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556
สบาย ๆ วันหยุดที่อุบลราชธานี
๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๖
นาน ๆ จะได้มีโอกาสใช้ชีวิตวันหยุดไปกับการขับรถท่องเที่ยวสักที ทำให้รู้สึกกระชุ่มกระชวยขึ้นเยอะเชียว ได้เห็นบ้านเมืองต่างถิ่นที่แตกต่างจากวิถีที่เคยสัมผัสอยู่เป็นประจำ
วันนี้ผมใช้ชีวิตอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ขี้เกียจกลับเพราะวันพรุ่งนี้ผมมีภาระกิจที่จังหวัดอำนาจเจริญ
ด้วยความน่ารักของพี่สาวที่คุ้นเคยในวงทำงานด้วยกัน ได้ให้รถยนต์ไว้ใช้หนึ่งคัน ก็เลยได้ขับรถยนต์ไปท่องเที่ยวพร้อมกับการถ่ายภาพที่กำลังฝึกหัดอยู่ตลอดวัน
เช้าขึ้นมาแวะไปกราบพระที่วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ หรือวัดใต้เทิง ซึ่งตั้งอยู่กลางใจเมือง ซึ่งมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่และองค์เล็กเต็มไปหมด และที่สำคัญอยู่ระหว่างการก่อสร้างอยู่หลายจุด
เดินข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งก็พบวัดเลียบ เลยเข้าไปเดินชมต้นไม้สวย ๆ ภายในวัด ไปพบรถขบวนตอนแห่เทียนเข้าพรรษาเก็บรักษาไว้ แต่ยังสวยงามมาก
เดินลัดเลาะตามถนนมาสักเกือบกิโล ก็พบทุ่งศรีเมือง เลยขอเข้าไปถ่ายรูปอภิมหาเทียนเข้าพรรษาที่ตั้งอยู่ใจกลางสนาม เดินชมแผงพระเครื่องที่มาตั้งนับสิบร้าน
เดินได้สักครู่พี่ขับรถมารับ และมอบหน้าที่ให้ผมทำหน้าที่สารถีขับพากันไป ๓ ชีวิต มุ่งหน้าสู่อำเภอพิบูลมังสาหาร
จุดแรกที่แวะคือแก่งสะพือ แต่เสียดายมากที่ช่วงนี้น้ำเยอะเลยมองไม่เห็นเกาะแก่ง ที่นี้จำได้ว่าเคยมานานกว่า ๑๐ ปีแล้ว ก่อนจากแวะซื้อซาลาเปาเจ้าอร่อยติดมือมาด้วย
ขับรถต่อไปยังอำเภอโขงเจียม แวะไหว้พระที่วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ได้มีโอกาสกราบสังขารของหลวงปู่คำคะนิง ที่ตั้งอยู่ในโลงแก้วในบริเวณหน้าถ้ำ
แวะกินอาหารกลางวันด้วยเมนูปลาแม่น้ำโขง บนแพที่จอดลอยอยู่บริเวณแม่น้ำสองสี ด้วยบริกรสาวที่มีบ้านเกิดอยู่ประเทศตรงข้ามแม่น้ำ
อิ่มดีแล้วก็มุ่งหน้าสู่เขื่อนปากมูล ซึ่งเป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ ในใจคิดว่าคงเจอหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบตามข่าวที่ได้ยินมาก่อนหน้า แต่ปรากฎว่าไม่เจอ
ขับรถต่อไปยังเขื่อนสิรินธร ซึ่งก็เป็นเขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเช่นกัน ขับรถเข้าไปในที่ทำการได้เห็นบรรยากาศที่ร่มรื่นดี แต่พอออกมาหน้าเขื่อนพบเวทีม็อบตั้งเด่นอยู่ด้านหน้า ผู้คนยังไม่มีแต่เดาว่าเย็น ๆ คงมารวมตัวกัน หรือคิดอีกทีไปรวมกับม็อบที่อุรุพงษ์หรือปล่าวก็ไม่รู้
เวลาล่วงเข้าช่วงเย็นจึงหันหน้ารถกลับเข้าเมืองอุบล ผ่านอำเภอวารินชำราบแวะ "ซืนวาน" ชมบรรยากาศที่ตกแต่งแบบสมัยก่อน เห็นหนุ่มสาวเกี่ยวก้อยกันมาถ่ายรูปกันค่อนข้างแน่น
สดชื่นกับ "กาแฟนัวเย็น" ไปหนึ่งแก้ว ก่อนขับรถกลับที่พัก "เป็น ตา ฮัก" โรงแรมเล็ก ๆ แต่ตกแต่งได้น่ารักดี
กฝากท้องกับห้องครัวที่โรงแรมก่อนที่จะขึ้นมาพัก
รวมเวลาเกือบ ๙ ชั่วโมงสำหรับการสัญจรท่องเที่ยวพร้อมกับบันทึกภาพกว่า ๒๐๐ รูป ครั้งนี้
รู้สึกเมื่อยมากครับกับการขับรถ แต่บอกได้คำเดียวว่าสนุกมากครับ
นีคือวันสบาย ๆ ในวันหยุดที่จังหวัดอุบลราชธานี เมืองดอกบัวที่มีอะไรดี ๆ จังหวัดหนึ่งครับ
นาน ๆ จะได้มีโอกาสใช้ชีวิตวันหยุดไปกับการขับรถท่องเที่ยวสักที ทำให้รู้สึกกระชุ่มกระชวยขึ้นเยอะเชียว ได้เห็นบ้านเมืองต่างถิ่นที่แตกต่างจากวิถีที่เคยสัมผัสอยู่เป็นประจำ
วันนี้ผมใช้ชีวิตอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ขี้เกียจกลับเพราะวันพรุ่งนี้ผมมีภาระกิจที่จังหวัดอำนาจเจริญ
ด้วยความน่ารักของพี่สาวที่คุ้นเคยในวงทำงานด้วยกัน ได้ให้รถยนต์ไว้ใช้หนึ่งคัน ก็เลยได้ขับรถยนต์ไปท่องเที่ยวพร้อมกับการถ่ายภาพที่กำลังฝึกหัดอยู่ตลอดวัน
เช้าขึ้นมาแวะไปกราบพระที่วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ หรือวัดใต้เทิง ซึ่งตั้งอยู่กลางใจเมือง ซึ่งมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่และองค์เล็กเต็มไปหมด และที่สำคัญอยู่ระหว่างการก่อสร้างอยู่หลายจุด
เดินข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งก็พบวัดเลียบ เลยเข้าไปเดินชมต้นไม้สวย ๆ ภายในวัด ไปพบรถขบวนตอนแห่เทียนเข้าพรรษาเก็บรักษาไว้ แต่ยังสวยงามมาก
เดินลัดเลาะตามถนนมาสักเกือบกิโล ก็พบทุ่งศรีเมือง เลยขอเข้าไปถ่ายรูปอภิมหาเทียนเข้าพรรษาที่ตั้งอยู่ใจกลางสนาม เดินชมแผงพระเครื่องที่มาตั้งนับสิบร้าน
เดินได้สักครู่พี่ขับรถมารับ และมอบหน้าที่ให้ผมทำหน้าที่สารถีขับพากันไป ๓ ชีวิต มุ่งหน้าสู่อำเภอพิบูลมังสาหาร
จุดแรกที่แวะคือแก่งสะพือ แต่เสียดายมากที่ช่วงนี้น้ำเยอะเลยมองไม่เห็นเกาะแก่ง ที่นี้จำได้ว่าเคยมานานกว่า ๑๐ ปีแล้ว ก่อนจากแวะซื้อซาลาเปาเจ้าอร่อยติดมือมาด้วย
ขับรถต่อไปยังอำเภอโขงเจียม แวะไหว้พระที่วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ได้มีโอกาสกราบสังขารของหลวงปู่คำคะนิง ที่ตั้งอยู่ในโลงแก้วในบริเวณหน้าถ้ำ
แวะกินอาหารกลางวันด้วยเมนูปลาแม่น้ำโขง บนแพที่จอดลอยอยู่บริเวณแม่น้ำสองสี ด้วยบริกรสาวที่มีบ้านเกิดอยู่ประเทศตรงข้ามแม่น้ำ
อิ่มดีแล้วก็มุ่งหน้าสู่เขื่อนปากมูล ซึ่งเป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ ในใจคิดว่าคงเจอหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบตามข่าวที่ได้ยินมาก่อนหน้า แต่ปรากฎว่าไม่เจอ
ขับรถต่อไปยังเขื่อนสิรินธร ซึ่งก็เป็นเขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเช่นกัน ขับรถเข้าไปในที่ทำการได้เห็นบรรยากาศที่ร่มรื่นดี แต่พอออกมาหน้าเขื่อนพบเวทีม็อบตั้งเด่นอยู่ด้านหน้า ผู้คนยังไม่มีแต่เดาว่าเย็น ๆ คงมารวมตัวกัน หรือคิดอีกทีไปรวมกับม็อบที่อุรุพงษ์หรือปล่าวก็ไม่รู้
เวลาล่วงเข้าช่วงเย็นจึงหันหน้ารถกลับเข้าเมืองอุบล ผ่านอำเภอวารินชำราบแวะ "ซืนวาน" ชมบรรยากาศที่ตกแต่งแบบสมัยก่อน เห็นหนุ่มสาวเกี่ยวก้อยกันมาถ่ายรูปกันค่อนข้างแน่น
สดชื่นกับ "กาแฟนัวเย็น" ไปหนึ่งแก้ว ก่อนขับรถกลับที่พัก "เป็น ตา ฮัก" โรงแรมเล็ก ๆ แต่ตกแต่งได้น่ารักดี
กฝากท้องกับห้องครัวที่โรงแรมก่อนที่จะขึ้นมาพัก
รวมเวลาเกือบ ๙ ชั่วโมงสำหรับการสัญจรท่องเที่ยวพร้อมกับบันทึกภาพกว่า ๒๐๐ รูป ครั้งนี้
รู้สึกเมื่อยมากครับกับการขับรถ แต่บอกได้คำเดียวว่าสนุกมากครับ
นีคือวันสบาย ๆ ในวันหยุดที่จังหวัดอุบลราชธานี เมืองดอกบัวที่มีอะไรดี ๆ จังหวัดหนึ่งครับ
วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556
อ้อย : สาวน้อยนักพัฒนาที่ตำบลปทุม
๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๖
ไม่น่าเชื่อว่า ภาพลักษณ์ของผู้หญิงคนหนึ่งที่ผมเคยมองว่าเป็นเด็กชอบสนุกสนานไร้สาระ เมื่อ ๕ ปีก่อน ปัจจุบันได้กลายมาเป็นสตรีที่มีบุคลิกของนักวิชาการที่เต็มเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์ของนักพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับพลังของการมีส่วนร่วมไปได้ นี่คือบทพิสูจน์หนึ่งของกระบวนการพัฒนาผ่านการทำจริงว่าสามารถหล่อหลอมให้มนุษย์เกิดความเข้มแข็งขึ้นได้
ผมรู้จัก "อ้อย" สาวน้อยชาวจังหวัดอุบลราชธานีมากว่า ๕ ปี ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ผมทำงานอยู่ที่กรมอนามัย โบ่อยครั้งที่ผมเดินทางลงพื้นที่เพื่อร่วมเรียนรู้การทำงานของศูนย์อนามัยที่ ๗ อุบลราชธาน ก็จะพบกับสาวน้อยคนนี้ ภาพที่ผมจำได้ในสมองของผมมาโดยตลอด "อ้อย" คือเป็นสาวน้อยที่ร่าเริงสนุกสนาน กระโดกกระเดก
เมื่อเวลาผ่านไป ผมมาเจอะ "อ้อย" นาน ๆ ครั้งในเวทีที่องค์กรผมมาทำงานด้วย ทราบว่าเธอได้ย้ายจากกรมอนามัยไปทำงานที่เทศบาลใกล้บ้านเธอแล้ว ก็ไม่ค่อยได้ยินได้ฟังความคิดความเห็นในเวทีที่พบกันเท่าไหร่
แต่วันนี้เป็นวันที่ผมได้เห็นพัฒนาการของเธอ เป็นภาพที่ผมคาดไม่ถึงว่าในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ไม่ถึง ๕ ปี ภาพเก่า ๆ เหล่านั้นได้เปลี่ยนไปหมดแล้ว
ในบ่ายวันนี้ ผมได้มีโอกาสร่วมไปกับขบวนของ "คณะอนุกรรมการรางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ" ลงไปเรียนรู้ผลของการนำแนวคิดของเครื่องมือที่เรียกว่า "สมัชชาสุขภาพ" ไปขับเคลื่อนในพื้นที่ของเทศบาลตำบลปทุม
ในห้องประชุมถูกจัดไว้ด้วยโต๊ะรูปตัวยู มีเก้าอี้วางเรียงซ้อนอยู่ ๒ แถว มีผู้ที่เกี่ยวข้องนั่งเต็มทุกที่
หนึ่งในคณะของทีมพื้นที่ที่มาให้ข้อมูลต่อคณะอนุกรรมการฯ ไม่ใช่ใครครับ คือ "อ้อย" บุคคลที่ผมกล่าวถึง
"อ้อย" อยู่ในชุดเสื้อซาฟารีสีชมพูที่ถักทอจากผ้าพื้นเมืองของจังหวัดอุบลราชธานี ดูท่าทางเธอเคร่งขรึม ข้างหน้าเธอคือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมไปยังเครื่องฉาย ปรากฎตัวอักษรและภาพบนจอว่า "ขอต้อนรับคณะผู้มาเยือน"
ภายหลังจากรองนายกเทศมนตรีกล่าวต้อนรับคณะของเราแล้ว "อ้อย" ในบทบาทของผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ก็ขยับตัวให้เข้าที่พร้อมกดไมโครโฟนตั้งโต๊ะ กล่าวสวัสดีและเริ่มอธิบายผลการทำงานจากจุดเริ่มต้นเมื่อราว ๓ ปีก่อน แล้วค่อย ๆ ไล่เรียงมาจนถึงปัจจุบัน อย่างช้า ๆ แม้ในตอนต้นจะแสดงถึงความตื่นเต้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปความมีสติก็สามารถควบคุมการนำเสนอได้อย่างสั้น กระชับ ได้สาระและสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟัง
เรื่องเด่นที่ "อ้อย" ได้นำเสนอก็คือ การนำแนวคิดสมัชชาสุขภาพมาพัฒนาสุขภาวะของเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของตำบลปทุม
สิ่งที่บ่งบอกเป็นรูปธรรมของการทำงานตามแนวคิดสมัชชาสุขภาพก็คือ การประสานความร่วมมือจากทุกองค์กร หน่วยงาน เครือข่ายทั้งในและนอกพื้นที่มาร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนในตำบลปทุม แม้จะไม่สำเร็จครบ ๑๐๐ % แต่ผู้ที่มาร่วมชี้แจงว่า ปัญหาลดน้อยลง และที่สำคัญที่สุดก็คือ เป็นพื้นฐานของการทำงานในโครงการอื่น ๆ ที่ได้ใช้พลังความร่วมมือนี้ไปต่อยอด
คณะอนุกรรมการฯ ทุกคนที่ไปร่วมในวันนั้น ต่างกล่าวชื่นชมในทีมงานของตำบลปทุม ซึ่งรวมถึง "อ้อย" ที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ด้วย
บทกลอนเล็ก ๆ ที่ผุดขึ้นในสมองของผม ได้ถูกนำเสนอในตอนท้ายของเวที เป็นบทกลอนที่ผมแต่งขึ้นโดยสมมุติว่าเป็นความรู้สึกของ "อ้อย" ต่อการทำงานในช่วง ๓ - ๔ ปีที่ผ่านมา
"จากวันนั้นถึงวันนี้สามปีกว่า
ที่อ้อยฝ่าอุปสรรคที่กั้นขวาง
ความอดทนคือเครื่องมือที่กรุยทาง
ค่อยก้าวย่างค่อยเรียนรู้คู่ทำจริง
ปัจจุบันต้นไม้นี้เริ่มผลิดอก
อ้อยอยากบอกคือรากฐานที่ใหญ่ยิ่ง
ร้อยประสานรวมพลังเกิดขึ้นจริง
นี่คือสิ่งตอบแทนการลงทุน"
ก่อนที่ผมจะก้าวขึ้นรถกลับออกมาจากตำบลปทุม "อ้อย" ได้วิ่งมาหาผม พร้อมกับขอบทกลอนบทนี้จากผม ผมส่งกระดาษที่เขียนด้วยลายมือของผมให้กับเธอไป สิ่งตอบแทนที่ผมได้รับคือรอยยิ้มที่เต็มไปด้วยความสุข
ผมเชื่อมั่นว่าคำชื่นชมของคณะอนุกรรมการทุกท่านที่มีต่อเธอจะเป็นพลังในการทำงานให้กับเธอต่อไป
ผมขอเป็นกำลังใจให้กับ "อ้อย" ด้วยคนหนึ่ง และขอฝากให้ "อ้อย" ยึดหลักการของ "สมัชชาสุขภาพ" ในการทำงานต่อไป เพราะผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ "อ้อย" ทำมาในช่วง ๓ ปีกว่าเป็นสิ่งยืนยันแล้วว่า มันใช้ได้ผลจริง ๆ
ไม่น่าเชื่อว่า ภาพลักษณ์ของผู้หญิงคนหนึ่งที่ผมเคยมองว่าเป็นเด็กชอบสนุกสนานไร้สาระ เมื่อ ๕ ปีก่อน ปัจจุบันได้กลายมาเป็นสตรีที่มีบุคลิกของนักวิชาการที่เต็มเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์ของนักพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับพลังของการมีส่วนร่วมไปได้ นี่คือบทพิสูจน์หนึ่งของกระบวนการพัฒนาผ่านการทำจริงว่าสามารถหล่อหลอมให้มนุษย์เกิดความเข้มแข็งขึ้นได้
ผมรู้จัก "อ้อย" สาวน้อยชาวจังหวัดอุบลราชธานีมากว่า ๕ ปี ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ผมทำงานอยู่ที่กรมอนามัย โบ่อยครั้งที่ผมเดินทางลงพื้นที่เพื่อร่วมเรียนรู้การทำงานของศูนย์อนามัยที่ ๗ อุบลราชธาน ก็จะพบกับสาวน้อยคนนี้ ภาพที่ผมจำได้ในสมองของผมมาโดยตลอด "อ้อย" คือเป็นสาวน้อยที่ร่าเริงสนุกสนาน กระโดกกระเดก
เมื่อเวลาผ่านไป ผมมาเจอะ "อ้อย" นาน ๆ ครั้งในเวทีที่องค์กรผมมาทำงานด้วย ทราบว่าเธอได้ย้ายจากกรมอนามัยไปทำงานที่เทศบาลใกล้บ้านเธอแล้ว ก็ไม่ค่อยได้ยินได้ฟังความคิดความเห็นในเวทีที่พบกันเท่าไหร่
แต่วันนี้เป็นวันที่ผมได้เห็นพัฒนาการของเธอ เป็นภาพที่ผมคาดไม่ถึงว่าในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ไม่ถึง ๕ ปี ภาพเก่า ๆ เหล่านั้นได้เปลี่ยนไปหมดแล้ว
ในบ่ายวันนี้ ผมได้มีโอกาสร่วมไปกับขบวนของ "คณะอนุกรรมการรางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ" ลงไปเรียนรู้ผลของการนำแนวคิดของเครื่องมือที่เรียกว่า "สมัชชาสุขภาพ" ไปขับเคลื่อนในพื้นที่ของเทศบาลตำบลปทุม
ในห้องประชุมถูกจัดไว้ด้วยโต๊ะรูปตัวยู มีเก้าอี้วางเรียงซ้อนอยู่ ๒ แถว มีผู้ที่เกี่ยวข้องนั่งเต็มทุกที่
หนึ่งในคณะของทีมพื้นที่ที่มาให้ข้อมูลต่อคณะอนุกรรมการฯ ไม่ใช่ใครครับ คือ "อ้อย" บุคคลที่ผมกล่าวถึง
"อ้อย" อยู่ในชุดเสื้อซาฟารีสีชมพูที่ถักทอจากผ้าพื้นเมืองของจังหวัดอุบลราชธานี ดูท่าทางเธอเคร่งขรึม ข้างหน้าเธอคือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมไปยังเครื่องฉาย ปรากฎตัวอักษรและภาพบนจอว่า "ขอต้อนรับคณะผู้มาเยือน"
ภายหลังจากรองนายกเทศมนตรีกล่าวต้อนรับคณะของเราแล้ว "อ้อย" ในบทบาทของผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ก็ขยับตัวให้เข้าที่พร้อมกดไมโครโฟนตั้งโต๊ะ กล่าวสวัสดีและเริ่มอธิบายผลการทำงานจากจุดเริ่มต้นเมื่อราว ๓ ปีก่อน แล้วค่อย ๆ ไล่เรียงมาจนถึงปัจจุบัน อย่างช้า ๆ แม้ในตอนต้นจะแสดงถึงความตื่นเต้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปความมีสติก็สามารถควบคุมการนำเสนอได้อย่างสั้น กระชับ ได้สาระและสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟัง
เรื่องเด่นที่ "อ้อย" ได้นำเสนอก็คือ การนำแนวคิดสมัชชาสุขภาพมาพัฒนาสุขภาวะของเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของตำบลปทุม
สิ่งที่บ่งบอกเป็นรูปธรรมของการทำงานตามแนวคิดสมัชชาสุขภาพก็คือ การประสานความร่วมมือจากทุกองค์กร หน่วยงาน เครือข่ายทั้งในและนอกพื้นที่มาร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนในตำบลปทุม แม้จะไม่สำเร็จครบ ๑๐๐ % แต่ผู้ที่มาร่วมชี้แจงว่า ปัญหาลดน้อยลง และที่สำคัญที่สุดก็คือ เป็นพื้นฐานของการทำงานในโครงการอื่น ๆ ที่ได้ใช้พลังความร่วมมือนี้ไปต่อยอด
คณะอนุกรรมการฯ ทุกคนที่ไปร่วมในวันนั้น ต่างกล่าวชื่นชมในทีมงานของตำบลปทุม ซึ่งรวมถึง "อ้อย" ที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ด้วย
บทกลอนเล็ก ๆ ที่ผุดขึ้นในสมองของผม ได้ถูกนำเสนอในตอนท้ายของเวที เป็นบทกลอนที่ผมแต่งขึ้นโดยสมมุติว่าเป็นความรู้สึกของ "อ้อย" ต่อการทำงานในช่วง ๓ - ๔ ปีที่ผ่านมา
"จากวันนั้นถึงวันนี้สามปีกว่า
ที่อ้อยฝ่าอุปสรรคที่กั้นขวาง
ความอดทนคือเครื่องมือที่กรุยทาง
ค่อยก้าวย่างค่อยเรียนรู้คู่ทำจริง
ปัจจุบันต้นไม้นี้เริ่มผลิดอก
อ้อยอยากบอกคือรากฐานที่ใหญ่ยิ่ง
ร้อยประสานรวมพลังเกิดขึ้นจริง
นี่คือสิ่งตอบแทนการลงทุน"
ก่อนที่ผมจะก้าวขึ้นรถกลับออกมาจากตำบลปทุม "อ้อย" ได้วิ่งมาหาผม พร้อมกับขอบทกลอนบทนี้จากผม ผมส่งกระดาษที่เขียนด้วยลายมือของผมให้กับเธอไป สิ่งตอบแทนที่ผมได้รับคือรอยยิ้มที่เต็มไปด้วยความสุข
ผมเชื่อมั่นว่าคำชื่นชมของคณะอนุกรรมการทุกท่านที่มีต่อเธอจะเป็นพลังในการทำงานให้กับเธอต่อไป
ผมขอเป็นกำลังใจให้กับ "อ้อย" ด้วยคนหนึ่ง และขอฝากให้ "อ้อย" ยึดหลักการของ "สมัชชาสุขภาพ" ในการทำงานต่อไป เพราะผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ "อ้อย" ทำมาในช่วง ๓ ปีกว่าเป็นสิ่งยืนยันแล้วว่า มันใช้ได้ผลจริง ๆ
เยือนยลอุบลราชธานี
๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๖
"มาอุบล คราใด ใจเป็นสุข
แสนสนุก ได้เรียนรู้ ในวิถี
พลังร่วมพลังรักสามัคคี
ทุกผู้มี มิตรจิต มิตรสัมพันธ์
ฉันได้เห็น ก้าวย่าง จากเริ่มต้น
ฉันได้เห็น ผู้คน ที่มุ่งมั่น
ฉันได้เห็น สิ่งริเริ่ม ที่เบ่งบาน
ฉันได้เห็น สิ่งสร้างสรรค์ อย่างมากมาย
จึงเชื่อมั่น อนาคต วันข้างหน้า
เหล่าปัญหา ถาโถม ที่หลากหลาย
พลังร่วม รวมคน เป็นเกาะกาย
จะทำลาย ด้วยน้ำมือ คนดอกบัว"
เป็นบทกลอนที่ผมแต่งขึ้นแบบฉับพลัน หลังจากที่ได้รับฟังการเล่าเรื่องการขับเคลื่อนกระบวนการมัชชาสุขภาพของจังหวัดอุบลราชธานี ในวันนี้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
ผมเชื่อว่าทีมงานพิจารณารางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่มาด้วยกันคงคิดเช่นเดียวกับผม
ทำไมผมถึงกล้ากล่าวเช่นนั้น ที่ผมกล้ากล่าวก็เพราะผมเห็นผมได้ยินเรื่องราวที่บ่งบอกถึงความเข้มแข็งของการขับเคลื่อนงานจากเวทีในวันนี้จริง ๆ
ผมเห็นพัฒนาการที่สืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องจากจุดเริ่มต้นในปี ๒๕๔๓ นับถึงวันนี้ก็เกิน ๑ ทศวรรษ
ผมเห็นการส่งต่องานของผู้ที่ถูกขานนามว่า "ประธาน" จากคนแรกสู่คนที่ ๒ คนที่ ๓ และคนที่ ๔ ที่แสดงถึงความต่อเนื่องไม่ขาดตอน
ผมเห็นผู้คนตั้งแต่ผู้หลักผู้ใหญ่มาจนถึงกลุ่มคนวัยทำงานที่หลากหลาย และต่างเข้ามาร่วมกันทำงานด้วยหัวใจ
ผมเห็นกระบวนการที่มีการใช้งานวิชาการมาเสริมงานอย่างชัดแจ่ม โดยเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่อย่างกลมกลืน
ผมเห็นรูปธรรมที่เป็นผลจากการขับเคลื่อนงานที่ชัดเจน ทั้งงานในระดับชุมชน หมู่บ้าน จังหวัด ตลอดจนเป็นฐานสู่งานระดับชาติ
ผมเห็นการเชื่อมโยงงานระหว่างงานระดับพื้นที่กับระดับชาติ ทั้งขาขึ้นและขาเคลื่อน
ผมเห็นการนำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ถือเป็นนโยบายระดับชาติมาปฏิบัติในระดับพื้นที่
ผมเห็นการใช้สื่อที่มีอยู่เข้ามาเสริมการทำงานอย่างสร้างสรรค์
ผมเห็นการขยายแนวคิดสมัชชาสุขภาพไปสู่งานอื่น ทั้งสมัชชาพิจารณ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และการขยายเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนในรั้วมหาวิทยาลัย
ผมเห็นการเป็นพี่ใหญ่ที่คอยสนับสนุนจังหวัดข้างเคียงในกลุ่มจังหวัดที่เรียกขานว่า กลุ่มจังหวัดศรีโสธรเจริญธานี
ผมเห็นการให้เกียรติกับทุกคนที่เข้าร่วมเวที โดยการกล่าวแนะนำให้รู้จักไม่ว่าเขาจะเป็นใคร
ผมเห็นแววตาคนทำงานที่มุ่งมั่น แต่แฝงไปด้วยความอ่อนโยน เป็นมิตรมีไมตรี
ผมเห็นการค่อย ๆ ขยายวงจากวงเล็ก ๆ ไปสู่วงที่กว้างขึ้น โดยไมปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด
และผมเห็นพลังของความสามัคคีในหมู่ผู้คนที่เข้ามาทำงานร่วมกัน
สิ่งที่ผมเห็นเหล่านี้จึงทำให้ผมทนนิ่งอยู่เฉยไม่ได้ เพราะได้บันดาลให้ผมต้องหยิบปากกาขึ้นมาถ่ายทอดความรู้สึกผ่านบทกลอนแปด ๓ บทข้างต้น
และดีใจอย่างมากที่ผมได้มีโอกาสอ่านบทกลอนนี้ให้คนอุบลราชธานีได้รับฟังเพื่อเข้าใจความชื่นชมที่ผมมีอยู่ในใจ
เสาร์นี้เป็นเสารที่ผมได้กำไรในชีวิตอีกวันหนึ่ง เป็นวันที่ได้เรียนรู้การทำงานของผู้คนกลุ่มหนึ่งที่รักบ้านรักเมืองแล้วลวมือทำจริงผ่านกระบวนการที่เรียกว่า "สมัชชาสุขภาพ"
ดีใจและมีความสุขครับที่ได้เป็นส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของขบวนที่ยิ่งใหญ่นี้ด้วยคนหนึ่ง
"มาอุบล คราใด ใจเป็นสุข
แสนสนุก ได้เรียนรู้ ในวิถี
พลังร่วมพลังรักสามัคคี
ทุกผู้มี มิตรจิต มิตรสัมพันธ์
ฉันได้เห็น ก้าวย่าง จากเริ่มต้น
ฉันได้เห็น ผู้คน ที่มุ่งมั่น
ฉันได้เห็น สิ่งริเริ่ม ที่เบ่งบาน
ฉันได้เห็น สิ่งสร้างสรรค์ อย่างมากมาย
จึงเชื่อมั่น อนาคต วันข้างหน้า
เหล่าปัญหา ถาโถม ที่หลากหลาย
พลังร่วม รวมคน เป็นเกาะกาย
จะทำลาย ด้วยน้ำมือ คนดอกบัว"
เป็นบทกลอนที่ผมแต่งขึ้นแบบฉับพลัน หลังจากที่ได้รับฟังการเล่าเรื่องการขับเคลื่อนกระบวนการมัชชาสุขภาพของจังหวัดอุบลราชธานี ในวันนี้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
ผมเชื่อว่าทีมงานพิจารณารางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่มาด้วยกันคงคิดเช่นเดียวกับผม
ทำไมผมถึงกล้ากล่าวเช่นนั้น ที่ผมกล้ากล่าวก็เพราะผมเห็นผมได้ยินเรื่องราวที่บ่งบอกถึงความเข้มแข็งของการขับเคลื่อนงานจากเวทีในวันนี้จริง ๆ
ผมเห็นพัฒนาการที่สืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องจากจุดเริ่มต้นในปี ๒๕๔๓ นับถึงวันนี้ก็เกิน ๑ ทศวรรษ
ผมเห็นการส่งต่องานของผู้ที่ถูกขานนามว่า "ประธาน" จากคนแรกสู่คนที่ ๒ คนที่ ๓ และคนที่ ๔ ที่แสดงถึงความต่อเนื่องไม่ขาดตอน
ผมเห็นผู้คนตั้งแต่ผู้หลักผู้ใหญ่มาจนถึงกลุ่มคนวัยทำงานที่หลากหลาย และต่างเข้ามาร่วมกันทำงานด้วยหัวใจ
ผมเห็นกระบวนการที่มีการใช้งานวิชาการมาเสริมงานอย่างชัดแจ่ม โดยเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่อย่างกลมกลืน
ผมเห็นรูปธรรมที่เป็นผลจากการขับเคลื่อนงานที่ชัดเจน ทั้งงานในระดับชุมชน หมู่บ้าน จังหวัด ตลอดจนเป็นฐานสู่งานระดับชาติ
ผมเห็นการเชื่อมโยงงานระหว่างงานระดับพื้นที่กับระดับชาติ ทั้งขาขึ้นและขาเคลื่อน
ผมเห็นการนำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ถือเป็นนโยบายระดับชาติมาปฏิบัติในระดับพื้นที่
ผมเห็นการใช้สื่อที่มีอยู่เข้ามาเสริมการทำงานอย่างสร้างสรรค์
ผมเห็นการขยายแนวคิดสมัชชาสุขภาพไปสู่งานอื่น ทั้งสมัชชาพิจารณ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และการขยายเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนในรั้วมหาวิทยาลัย
ผมเห็นการเป็นพี่ใหญ่ที่คอยสนับสนุนจังหวัดข้างเคียงในกลุ่มจังหวัดที่เรียกขานว่า กลุ่มจังหวัดศรีโสธรเจริญธานี
ผมเห็นการให้เกียรติกับทุกคนที่เข้าร่วมเวที โดยการกล่าวแนะนำให้รู้จักไม่ว่าเขาจะเป็นใคร
ผมเห็นแววตาคนทำงานที่มุ่งมั่น แต่แฝงไปด้วยความอ่อนโยน เป็นมิตรมีไมตรี
ผมเห็นการค่อย ๆ ขยายวงจากวงเล็ก ๆ ไปสู่วงที่กว้างขึ้น โดยไมปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด
และผมเห็นพลังของความสามัคคีในหมู่ผู้คนที่เข้ามาทำงานร่วมกัน
สิ่งที่ผมเห็นเหล่านี้จึงทำให้ผมทนนิ่งอยู่เฉยไม่ได้ เพราะได้บันดาลให้ผมต้องหยิบปากกาขึ้นมาถ่ายทอดความรู้สึกผ่านบทกลอนแปด ๓ บทข้างต้น
และดีใจอย่างมากที่ผมได้มีโอกาสอ่านบทกลอนนี้ให้คนอุบลราชธานีได้รับฟังเพื่อเข้าใจความชื่นชมที่ผมมีอยู่ในใจ
เสาร์นี้เป็นเสารที่ผมได้กำไรในชีวิตอีกวันหนึ่ง เป็นวันที่ได้เรียนรู้การทำงานของผู้คนกลุ่มหนึ่งที่รักบ้านรักเมืองแล้วลวมือทำจริงผ่านกระบวนการที่เรียกว่า "สมัชชาสุขภาพ"
ดีใจและมีความสุขครับที่ได้เป็นส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของขบวนที่ยิ่งใหญ่นี้ด้วยคนหนึ่ง
วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556
สุขภาพคนไทย
๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๖
พวกเรารู้ไหมว่าคนไทยเรามีอายุคาดเฉลี่ยเท่าไร เพศไหนตายช้ากว่ากัน และคนวัยแรงงานตายด้วยสาเหตุใดมากน้อยอย่างไร
โชคดีมากครับที่ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมประชุมเรื่องตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาปรึกษาหารือกัน
เอกสารปึกใหญ่ที่ได้รับ เปิดไปเห็นตัวเลข กราฟรูปแบบต่าง ๆ เต็มไปหมด เล่นเอามึนเหมือนกัน
ตั้งสติค่อย ๆ อ่าน ความเข้าใจเริ่มเกิด ความมึนงงค่อยจางหายไป ข้อมูลแต่ละตัวบ่งบอกสถานะคนไทยได้อย่างชัดเจน และที่สำคัญข้อมูลหลายตัวผมไม่เคยเห็นเลย
วันนี้ผมขอนำเสนอเฉพาะข้อมูลตามที่จั่วหัวไว้ข้างต้นเท่านั้น
ปัจจุบัน ชายไทยมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดอยู่ที่ ๗๑ ปี ในขณะที่สตรีไทยอยู่ที่ ๗๗.๕ ปี ตัวเลขนี้กระมังจึงเป็นที่มาของคำเปรียบเปรยที่ได้ยินบ่อย ๆ ว่า "แก่ง่ายตายช้า" กระมัง
แต่หากดูอายุคาดเฉลี่ยการมีสุขภาพดี เพศชายจะอยู่ที่ ๖๕ ปี ส่วนเพศหญิงอยู่ที่ ๖๘ ปี
ข้อมูลยังบอกอีกว่า คนภาคใต้มีอายุคาดเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคเหนือตามลำดับ ที่สำคัญคือคนในเมืองมีอายุคาดเฉลี่ยสูงกว่าคนในชนบท
ที่นี้ลองมาดูเรื่องการตายกันบ้าง โดยเฉพาะการตายของวัยแรงงานที่มีอยุระหว่าง ๑๕ - ๕๙ ปี
เขาแบ่งช่วงอายุเป็น ๒ กลุ่ม คือกลุ่ม ๑๕ - ๒๙ ปี กลุ่ม ๓๐ - ๕๙ ปี โดยจำแนกการตายเป็นรายเพศ ซึ่งแต่ละเพศมีสาเหตุการตายแตกต่างกัน
พวกเรารู้ไหมว่ากลุ่มอายุ ๑๕ - ๒๙ ปีนั้น ในกลุ่มเพศชาย สาเหตุการตายสูงสุดอยู่ที่อุบัติเหตุจราจร รองลงมาคือ การถูกทำร้าย โรคเอดส์ การฆ่าตัวตาย และการจมน้ำ ส่วนเพศหญิงสูงสุดจะเป็นโรคเอดส์ รองลงมาคืออุบัติเหตุจราจร การฆ่าตัวตาย ไตอักเสบ และการถูกทำร้าย
ส่วนกลุ่ม ๓๐ - ๕๙ ปี เพศชายสูงสุดยังคงอยู่ที่อุบัติเหตุจราจร โรคเอดส์ มะเร็งตับ หลอดเลือดสมอง และโรคตับแข็ง ส่วนเพศสตรีสูงสุดจะเป็นโรคเอดส์เช่นเดิม รองลงมาคือโรคเบาหวาน หลอดเลือดสมอง มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งตับ
หากเราพินิจพิเคราะห์ดู จะพบว่าคนไทยเราตายจากอุบัติเหตุจราจรเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งเป็นการตายที่ไม่สมเหตุสมผลหรือพูดง่าย ๆ ก็คือสามารถลดอัตราการตายด้วยสาเหตุนี้ได้ หากเอาจริงเอาจังกับมัน
ที่น่าสนใจก็คือ การฆ่าตัวตาย ที่จะพบเฉพาะในคนกลุ่ม ๑๕ - ๒๙ ปี เท่านั้น แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ใหญ่สามารถควบคุมตัวเองได้มากกว่าคนอายุน้อย ๆ นั่นเอง
คงพอเห็นภาพตัวเลขบางตัวนะครับ หากสนใจในรายละเอียดก็ติดต่อมาที่ สช. ได้ครับ
นำเสนอมาทั้งหมดก็ฝากคนอ่านนะครับ หากท่านเป็นผู้มีบาทหนึ่งบทบาทใดที่เกี่ยวข้องก็ช่วยกันป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นครับ ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนไทยเราอายุยืนขึ้น สัก ๑๐๐ ปีดีไหม
โดยเฉพาะอยากเห็นผู้ชายอายุคาดเฉลี่ยไล่มาทันผู้หญิงสักที จะได้ไม่ทิ้งให้ผู้หญิงโดดเดี่ยวอยู่ตามลำพังไง
พวกเรารู้ไหมว่าคนไทยเรามีอายุคาดเฉลี่ยเท่าไร เพศไหนตายช้ากว่ากัน และคนวัยแรงงานตายด้วยสาเหตุใดมากน้อยอย่างไร
โชคดีมากครับที่ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมประชุมเรื่องตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาปรึกษาหารือกัน
เอกสารปึกใหญ่ที่ได้รับ เปิดไปเห็นตัวเลข กราฟรูปแบบต่าง ๆ เต็มไปหมด เล่นเอามึนเหมือนกัน
ตั้งสติค่อย ๆ อ่าน ความเข้าใจเริ่มเกิด ความมึนงงค่อยจางหายไป ข้อมูลแต่ละตัวบ่งบอกสถานะคนไทยได้อย่างชัดเจน และที่สำคัญข้อมูลหลายตัวผมไม่เคยเห็นเลย
วันนี้ผมขอนำเสนอเฉพาะข้อมูลตามที่จั่วหัวไว้ข้างต้นเท่านั้น
ปัจจุบัน ชายไทยมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดอยู่ที่ ๗๑ ปี ในขณะที่สตรีไทยอยู่ที่ ๗๗.๕ ปี ตัวเลขนี้กระมังจึงเป็นที่มาของคำเปรียบเปรยที่ได้ยินบ่อย ๆ ว่า "แก่ง่ายตายช้า" กระมัง
แต่หากดูอายุคาดเฉลี่ยการมีสุขภาพดี เพศชายจะอยู่ที่ ๖๕ ปี ส่วนเพศหญิงอยู่ที่ ๖๘ ปี
ข้อมูลยังบอกอีกว่า คนภาคใต้มีอายุคาดเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคเหนือตามลำดับ ที่สำคัญคือคนในเมืองมีอายุคาดเฉลี่ยสูงกว่าคนในชนบท
ที่นี้ลองมาดูเรื่องการตายกันบ้าง โดยเฉพาะการตายของวัยแรงงานที่มีอยุระหว่าง ๑๕ - ๕๙ ปี
เขาแบ่งช่วงอายุเป็น ๒ กลุ่ม คือกลุ่ม ๑๕ - ๒๙ ปี กลุ่ม ๓๐ - ๕๙ ปี โดยจำแนกการตายเป็นรายเพศ ซึ่งแต่ละเพศมีสาเหตุการตายแตกต่างกัน
พวกเรารู้ไหมว่ากลุ่มอายุ ๑๕ - ๒๙ ปีนั้น ในกลุ่มเพศชาย สาเหตุการตายสูงสุดอยู่ที่อุบัติเหตุจราจร รองลงมาคือ การถูกทำร้าย โรคเอดส์ การฆ่าตัวตาย และการจมน้ำ ส่วนเพศหญิงสูงสุดจะเป็นโรคเอดส์ รองลงมาคืออุบัติเหตุจราจร การฆ่าตัวตาย ไตอักเสบ และการถูกทำร้าย
ส่วนกลุ่ม ๓๐ - ๕๙ ปี เพศชายสูงสุดยังคงอยู่ที่อุบัติเหตุจราจร โรคเอดส์ มะเร็งตับ หลอดเลือดสมอง และโรคตับแข็ง ส่วนเพศสตรีสูงสุดจะเป็นโรคเอดส์เช่นเดิม รองลงมาคือโรคเบาหวาน หลอดเลือดสมอง มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งตับ
หากเราพินิจพิเคราะห์ดู จะพบว่าคนไทยเราตายจากอุบัติเหตุจราจรเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งเป็นการตายที่ไม่สมเหตุสมผลหรือพูดง่าย ๆ ก็คือสามารถลดอัตราการตายด้วยสาเหตุนี้ได้ หากเอาจริงเอาจังกับมัน
ที่น่าสนใจก็คือ การฆ่าตัวตาย ที่จะพบเฉพาะในคนกลุ่ม ๑๕ - ๒๙ ปี เท่านั้น แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ใหญ่สามารถควบคุมตัวเองได้มากกว่าคนอายุน้อย ๆ นั่นเอง
คงพอเห็นภาพตัวเลขบางตัวนะครับ หากสนใจในรายละเอียดก็ติดต่อมาที่ สช. ได้ครับ
นำเสนอมาทั้งหมดก็ฝากคนอ่านนะครับ หากท่านเป็นผู้มีบาทหนึ่งบทบาทใดที่เกี่ยวข้องก็ช่วยกันป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นครับ ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนไทยเราอายุยืนขึ้น สัก ๑๐๐ ปีดีไหม
โดยเฉพาะอยากเห็นผู้ชายอายุคาดเฉลี่ยไล่มาทันผู้หญิงสักที จะได้ไม่ทิ้งให้ผู้หญิงโดดเดี่ยวอยู่ตามลำพังไง
วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556
คนอุบลขอพึ่งตนเอง
๑๐ตุลาคม ๒๕๕๖
ชัดเจนครับกับความคิดของคนอุบลราชธานีที่ต้องการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยคนอุบลราชธานีเอง ด้วยวจีเด็ด "ขอพึ่งตนเอง" ในเวทีพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายที่จะนำเข้าเวทีการประชุมสมัชชาสุขภาพจังหวัด ที่จะจัดในวันที่ ๕ - ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ นี้
วันนี้ผมต้องรีบลุกจากที่นอนเมื่อเสียงนาฬิกาปลุกตอน ๐๔.๑๕ น. เพราะผมต้องรบไปขึ้นเครื่องบินตอน ๐๖.๐๕ น. เหินฟ้าไปจังหวัดอุบลราชธานี ตามคำเชิญชวนของแกนประสานสมัชชาสุขภาพของจังหวัดอุบลราชธานี
ไปทำอะไรที่นั่นหรือ
ไปช่วยแนะนำการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายตามกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดครับ
ซึ่งคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพจังหวัดได้เคาะออกมาแล้ว ๖ เรื่อง แต่ละเรื่องล้วนเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งนัก ไล่เรียงตั้งแต่เรื่อง เด็กและเยาวชน การจัดการน้ำ การจัดการขยะ เกษตรอินทรีย์ อุบัติเหตุและการศึกษา ซึ่งวันนี้มีผู้เข้าร่วมเวทีใน ๕ เรื่อง ยกเว้นเรื่องอุบัติเหตุเพราะได้ดำเนินการเสร็จไปแล้ว
ในแต่ละวงมีผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเวทีมากบ้างน้อยบ้างลดหลั่นกันลงไป ที่คึกคักเป็นพิเศษก็น่าจะเป็นวงการศึกษาที่วันนี้ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคยเป็นครูใหญ่ครูน้อย ผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหาร มรภ.ต่างเข้าร่วมวงกันพร้อมหน้าและคึกคักยิ่งนัก ขนาดบอกให้หยุดพักบ้างก็ยังไม่ยอมหยุด บรรยากาศดีจริง ๆ ครับ
ต้องบอกว่านี่แหละครับเวทีแห่งการแบ่งปัน ทุกคนต่างช่วยกันขบคิดแสดงความคิดความเห็นตามโจทย์ที่ผมตั้งขึ้น
โจทย์สำคัญ ๔ ข้อที่ผมออกแบบ คือ ประเด็นปัญหาคืออะะไร ปัญหาเหล่านั้นมีสาเหตุจากอะไร แล้วเราจะแก้ไขอย่างไร และใครล่ะจะเป็นผู้ดำเนินการ
สนุกมากครับกับเวทีที่เกิดขึ้นภายในห้องประชุมของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานีในช่วงประมาณ ๕ ชั่วโมงที่เราอยู่ร่วมกัน
ไม่น่าเชื่อครับที่ทั้ง ๕ เรื่อง ผู้เข้าร่วมวงต่างมีข้อสรุปตรงกันบนกรอบแนวคิดเรื่อง "ขอพึ่งตนเอง" โดยกล่าวสอดคล้องกันว่า ใครจะรู้ปัญหาดีกว่าคนในพื้นที่ จริง ๆ แล้ว บางประโยคยังมีการกล่าวพาดพิงไปถึงหน่วยงานรัฐส่วนกลางว่าอย่าไปหวังอะไรมากนัก ดังคำล้อเลียนที่เรียกเสียงฮา เช่น นโยบายบอกว่า "ประชาชนต้องมาก่อน" เลยทำให้ข้าราชการมาสายเพราะต้องรอให้ประชาชนมาก่อน หรือแม้แต่คำว่า "เที่ยงธรรม" ก็กลายมาเป็น "เที่ยงแล้วจึงทำ" เป็นต้น
ผมว่ากรอบความคิดนี้ตรงกับทิศทางการทำงานของกลุ่มคนที่ทำงานด้านการพัฒนาอย่างยิ่ง และที่สำคัญผมจำได้ว่าไปสอดคล้องกับมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปีหนึ่งในเรื่อง "พื้นที่จัดการตนเอง" ที่เป็นกระแสใหญ่ในการขับเคลื่อนสังคมอยู่ในขณะนี้
ผมเดินทางกลับบ้านด้วยความสุขครับ ที่เป้าหมายที่ผมคาดหวังก่อนออกเดินทางเสร็จตามที่วางไว้ ก็ต้องรอดูผลต่อไปว่าคำแนะนำทีให้ไว้จะออกมาในรูปใด
อย่างไรก็ตามนอกจากได้ไปทำหน้าที่ตามที่เล่าบอกข้างต้นแล้ว ผมยังได้แง่คิดจากผู้เข้าเข้าร่วมอาวุโสอย่างมากมาย โดยเฉพาะกรอบแนวคิดที่ รศ.ประจักษ์ เอื้ออารีย์ ได้กล่าวไว้ก่อนจบไว้ว่า
จะปลูกพืชต้องเตรียมพื้นที่
จะพัฒนาเทคโนโลยีต้องเตรียมวิทยาศาสตร์
จะพัฒนาชาติต้องเตรียมประชาชน
จะพัฒนาคนต้องเริ่มพัฒนาจิตใจ
จะพัฒนาใครเขาต้องพัฒนาตนเองก่อน
สู่การพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
น้อมนำสู่การพัฒนาการเมืองและเศรษฐกิจ
โดยมีคุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมาย
เป็นแนวคิดที่ลึกซึ้งจริง ๆ ครับ และที่สำคัญสามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานพัฒนาได้เป็นอย่างดี
นีแหละคือความท้าทายร่วมกันของนักพัฒนาชุมชนครับ
ชัดเจนครับกับความคิดของคนอุบลราชธานีที่ต้องการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยคนอุบลราชธานีเอง ด้วยวจีเด็ด "ขอพึ่งตนเอง" ในเวทีพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายที่จะนำเข้าเวทีการประชุมสมัชชาสุขภาพจังหวัด ที่จะจัดในวันที่ ๕ - ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ นี้
วันนี้ผมต้องรีบลุกจากที่นอนเมื่อเสียงนาฬิกาปลุกตอน ๐๔.๑๕ น. เพราะผมต้องรบไปขึ้นเครื่องบินตอน ๐๖.๐๕ น. เหินฟ้าไปจังหวัดอุบลราชธานี ตามคำเชิญชวนของแกนประสานสมัชชาสุขภาพของจังหวัดอุบลราชธานี
ไปทำอะไรที่นั่นหรือ
ไปช่วยแนะนำการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายตามกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดครับ
ซึ่งคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพจังหวัดได้เคาะออกมาแล้ว ๖ เรื่อง แต่ละเรื่องล้วนเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งนัก ไล่เรียงตั้งแต่เรื่อง เด็กและเยาวชน การจัดการน้ำ การจัดการขยะ เกษตรอินทรีย์ อุบัติเหตุและการศึกษา ซึ่งวันนี้มีผู้เข้าร่วมเวทีใน ๕ เรื่อง ยกเว้นเรื่องอุบัติเหตุเพราะได้ดำเนินการเสร็จไปแล้ว
ในแต่ละวงมีผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเวทีมากบ้างน้อยบ้างลดหลั่นกันลงไป ที่คึกคักเป็นพิเศษก็น่าจะเป็นวงการศึกษาที่วันนี้ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคยเป็นครูใหญ่ครูน้อย ผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหาร มรภ.ต่างเข้าร่วมวงกันพร้อมหน้าและคึกคักยิ่งนัก ขนาดบอกให้หยุดพักบ้างก็ยังไม่ยอมหยุด บรรยากาศดีจริง ๆ ครับ
ต้องบอกว่านี่แหละครับเวทีแห่งการแบ่งปัน ทุกคนต่างช่วยกันขบคิดแสดงความคิดความเห็นตามโจทย์ที่ผมตั้งขึ้น
โจทย์สำคัญ ๔ ข้อที่ผมออกแบบ คือ ประเด็นปัญหาคืออะะไร ปัญหาเหล่านั้นมีสาเหตุจากอะไร แล้วเราจะแก้ไขอย่างไร และใครล่ะจะเป็นผู้ดำเนินการ
สนุกมากครับกับเวทีที่เกิดขึ้นภายในห้องประชุมของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานีในช่วงประมาณ ๕ ชั่วโมงที่เราอยู่ร่วมกัน
ไม่น่าเชื่อครับที่ทั้ง ๕ เรื่อง ผู้เข้าร่วมวงต่างมีข้อสรุปตรงกันบนกรอบแนวคิดเรื่อง "ขอพึ่งตนเอง" โดยกล่าวสอดคล้องกันว่า ใครจะรู้ปัญหาดีกว่าคนในพื้นที่ จริง ๆ แล้ว บางประโยคยังมีการกล่าวพาดพิงไปถึงหน่วยงานรัฐส่วนกลางว่าอย่าไปหวังอะไรมากนัก ดังคำล้อเลียนที่เรียกเสียงฮา เช่น นโยบายบอกว่า "ประชาชนต้องมาก่อน" เลยทำให้ข้าราชการมาสายเพราะต้องรอให้ประชาชนมาก่อน หรือแม้แต่คำว่า "เที่ยงธรรม" ก็กลายมาเป็น "เที่ยงแล้วจึงทำ" เป็นต้น
ผมว่ากรอบความคิดนี้ตรงกับทิศทางการทำงานของกลุ่มคนที่ทำงานด้านการพัฒนาอย่างยิ่ง และที่สำคัญผมจำได้ว่าไปสอดคล้องกับมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปีหนึ่งในเรื่อง "พื้นที่จัดการตนเอง" ที่เป็นกระแสใหญ่ในการขับเคลื่อนสังคมอยู่ในขณะนี้
ผมเดินทางกลับบ้านด้วยความสุขครับ ที่เป้าหมายที่ผมคาดหวังก่อนออกเดินทางเสร็จตามที่วางไว้ ก็ต้องรอดูผลต่อไปว่าคำแนะนำทีให้ไว้จะออกมาในรูปใด
อย่างไรก็ตามนอกจากได้ไปทำหน้าที่ตามที่เล่าบอกข้างต้นแล้ว ผมยังได้แง่คิดจากผู้เข้าเข้าร่วมอาวุโสอย่างมากมาย โดยเฉพาะกรอบแนวคิดที่ รศ.ประจักษ์ เอื้ออารีย์ ได้กล่าวไว้ก่อนจบไว้ว่า
จะปลูกพืชต้องเตรียมพื้นที่
จะพัฒนาเทคโนโลยีต้องเตรียมวิทยาศาสตร์
จะพัฒนาชาติต้องเตรียมประชาชน
จะพัฒนาคนต้องเริ่มพัฒนาจิตใจ
จะพัฒนาใครเขาต้องพัฒนาตนเองก่อน
สู่การพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
น้อมนำสู่การพัฒนาการเมืองและเศรษฐกิจ
โดยมีคุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมาย
เป็นแนวคิดที่ลึกซึ้งจริง ๆ ครับ และที่สำคัญสามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานพัฒนาได้เป็นอย่างดี
นีแหละคือความท้าทายร่วมกันของนักพัฒนาชุมชนครับ
วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ธูป อันตรายเกินคาด
๙ ตุลาคม ๒๕๕๖
ใครจะคิดบางว่า สิ่งของที่ชาวพุทธใช้เพื่อสักการะพระพุทธรูป หรือประกอบกิจกรรมทางศาสนา ความเชื่อต่าง ๆ เช่น ไหว้เจ้า การระลึกถึงบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว อย่าง "ธูป" จะกลายเป็นมัจจุราชร้ายที่คอยคร่าชีวิตมนุษย์ไปได้
เย็นวันนี้ ผมมีนัดกับหมอที่โรงพยาบาลรามาธิบดีตอน ๑๗.๓๐ น. ผมจึงออกจากที่ทำงานก่อนเวลาเล็กน้อยแล้วรีบบึ่งรถยนต์คู่ใจไปยังเป้าหมาย รถราไม่ค่อยติดเท่าไหร่ คงเพราะยังไม่ถึงเวลาเลิกงาน จึงทำให้ไปถึงโรงพยาบาลก่อนเวลาคาดหมายมากพอสมควร
หลังจากชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันเรียบร้อยแล้ว จึงไปยื่
นบัตรนัดกับเจ้าหน้าที่ เสียงพยาบาลบอกว่าให้นั่งรอที่ห้องหมายเลข ๒ ได้เลย
ผมมองไปยังบริเวณที่นั่งรอ มีผู้คนที่มานั่งรอหมอค่อนข้างหนาตา ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนวัยทำงานไปจนถึงผู้สูงอายุ คงเป็นเพราะโรคที่ผมมาหาหมอครั้งนี้เป็นโรคที่เกี่ยวกับ ตา หู จมูก คนวัยเดียวกับผมกระมังจึงจะเป็นโรคนี้
ผมหาที่นั่งได้ที่เก้าอี้แถวหนึ่ง นั่งไปได้สักครู่ ตาเหลือบไปเห็นนิตยสารชีวจิตเล่มหนึ่งปี ๒๕๕๑ วางอยู่ เลยหยิบมาพลิกอ่านฆ่าเวลา
พลิกไปเรื่อย จนพลิกมาถึงหน้าหนึ่ง ตัวหนังสือตัวหนา ๆ "ควันธูปอัตราย สารก่อมะเร็งอื้อ" สะดุดตาผมมาก ทำให้ผมต้องหยุดอ่านรายละเอียดของเนื้อหาในคอลัมภ์นี้
ผมจับประเด็นได้ว่า
เรื่องนี้เป็นการค้นพบของ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียู โรงพยาบาลวิชัยยุทธ และ น.ส.พนิดา นวสัมฤทธิ์ นักวิจัยห้องปฏิบัติการพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ที่ได้วิจัยเกี่ยวกับอันตรายของควันธูป เพราะสงสัยว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดบางส่วนไม่พบประวัติสูบบุหรี่หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้สูบบุหรี่ อีกทั้งไม่มีประวัติสัมผัสสารก่อมะเร็งจากการประกอบอาชีพเลย แต่กลับเป็นมะเร็งปอด ซึ่งข้อค้นพบของเหตุนั้นก็คือ จากควันธูป นั่นเอง
ผลการศึกษาพบว่าควันธูปมีสารก่อมะเร็ง 3 ชนิด ได้แก่ เบนซิน บิวทาไดอีน และเบนโซเอไพรีน ที่มาจากกาว ขี้เลื่อย น้ำมันหอมและสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม สารก่อมะเร็งเกิดจากการเผาไหม้ของกาวและน้ำหอม เป็นสำคัญ โดยจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน และสารพิษอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งมีส่วนในการก่อให้เกิดมะเร็งชนิดต่างๆ อาทิ มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งในระบบเลือด มะเร็งปอด และมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ
คนที่เสี่ยงมากก็คือคนงานที่ทำงานในวัดหรือศาลเจ้าและประชาชนที่นิยมจุดธูปภายในบ้าน
ข้อมูลพบว่า การจุดธูป ๓ ดอก สามารถปล่อยมลพิษและสารก่อมะเร็งได้เทียบเท่าสี่แยกไฟแดงที่มีการจราจรคับคั่ง
และธูปทุกชนิดล้วนมีสารก่อมะเร็งทั้งสิ้น
ผมอ่านแล้วรู้สึกขนลุกซู่ขึ้นมาทันที เพราะคาดไม่ถึงครับ ผมไม่แน่ใจว่าคนไทยเรารู้อันตรายนี้มากน้อยแค่ไหน
นี่แหละคือเป็นเหตุผลทีผมเก็บเอาเรื่องนี้มาเขียนในวันนี้ ก็เพื่อเผยแพร่ข้อมูลนี้ให้ขยายวงมากขึ้น ใครอ่านพบเข้าก็สะกิดบอกคนข้างเคียงด้วยนะครับ
หากให้ผมแนะนำก็คือพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่ทีมีควันธูป หากจะต้องจุดธูปในบ้านผมอยากแนะนำว่าเมื่อกราบไหว้แล้วก็ดับซะ ผมว่าคงไม่ผิดกติกากระมัง
ได้ประโยชน์จริง ๆ ครับกับการไปหาหมอครั้งนี้ เพราะนอกจากข่วดีที่หมอได้บอกกับผมว่าอาการของผมดีขึ้นมากแล้ว ยังได้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับมหันตภัยใกล้ตัวอย่าง "ธูป" ติดตัวมาด้วยครับ
ใครจะคิดบางว่า สิ่งของที่ชาวพุทธใช้เพื่อสักการะพระพุทธรูป หรือประกอบกิจกรรมทางศาสนา ความเชื่อต่าง ๆ เช่น ไหว้เจ้า การระลึกถึงบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว อย่าง "ธูป" จะกลายเป็นมัจจุราชร้ายที่คอยคร่าชีวิตมนุษย์ไปได้
เย็นวันนี้ ผมมีนัดกับหมอที่โรงพยาบาลรามาธิบดีตอน ๑๗.๓๐ น. ผมจึงออกจากที่ทำงานก่อนเวลาเล็กน้อยแล้วรีบบึ่งรถยนต์คู่ใจไปยังเป้าหมาย รถราไม่ค่อยติดเท่าไหร่ คงเพราะยังไม่ถึงเวลาเลิกงาน จึงทำให้ไปถึงโรงพยาบาลก่อนเวลาคาดหมายมากพอสมควร
หลังจากชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันเรียบร้อยแล้ว จึงไปยื่
นบัตรนัดกับเจ้าหน้าที่ เสียงพยาบาลบอกว่าให้นั่งรอที่ห้องหมายเลข ๒ ได้เลย
ผมมองไปยังบริเวณที่นั่งรอ มีผู้คนที่มานั่งรอหมอค่อนข้างหนาตา ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนวัยทำงานไปจนถึงผู้สูงอายุ คงเป็นเพราะโรคที่ผมมาหาหมอครั้งนี้เป็นโรคที่เกี่ยวกับ ตา หู จมูก คนวัยเดียวกับผมกระมังจึงจะเป็นโรคนี้
ผมหาที่นั่งได้ที่เก้าอี้แถวหนึ่ง นั่งไปได้สักครู่ ตาเหลือบไปเห็นนิตยสารชีวจิตเล่มหนึ่งปี ๒๕๕๑ วางอยู่ เลยหยิบมาพลิกอ่านฆ่าเวลา
พลิกไปเรื่อย จนพลิกมาถึงหน้าหนึ่ง ตัวหนังสือตัวหนา ๆ "ควันธูปอัตราย สารก่อมะเร็งอื้อ" สะดุดตาผมมาก ทำให้ผมต้องหยุดอ่านรายละเอียดของเนื้อหาในคอลัมภ์นี้
ผมจับประเด็นได้ว่า
เรื่องนี้เป็นการค้นพบของ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียู โรงพยาบาลวิชัยยุทธ และ น.ส.พนิดา นวสัมฤทธิ์ นักวิจัยห้องปฏิบัติการพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ที่ได้วิจัยเกี่ยวกับอันตรายของควันธูป เพราะสงสัยว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดบางส่วนไม่พบประวัติสูบบุหรี่หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้สูบบุหรี่ อีกทั้งไม่มีประวัติสัมผัสสารก่อมะเร็งจากการประกอบอาชีพเลย แต่กลับเป็นมะเร็งปอด ซึ่งข้อค้นพบของเหตุนั้นก็คือ จากควันธูป นั่นเอง
ผลการศึกษาพบว่าควันธูปมีสารก่อมะเร็ง 3 ชนิด ได้แก่ เบนซิน บิวทาไดอีน และเบนโซเอไพรีน ที่มาจากกาว ขี้เลื่อย น้ำมันหอมและสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม สารก่อมะเร็งเกิดจากการเผาไหม้ของกาวและน้ำหอม เป็นสำคัญ โดยจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน และสารพิษอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งมีส่วนในการก่อให้เกิดมะเร็งชนิดต่างๆ อาทิ มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งในระบบเลือด มะเร็งปอด และมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ
คนที่เสี่ยงมากก็คือคนงานที่ทำงานในวัดหรือศาลเจ้าและประชาชนที่นิยมจุดธูปภายในบ้าน
ข้อมูลพบว่า การจุดธูป ๓ ดอก สามารถปล่อยมลพิษและสารก่อมะเร็งได้เทียบเท่าสี่แยกไฟแดงที่มีการจราจรคับคั่ง
และธูปทุกชนิดล้วนมีสารก่อมะเร็งทั้งสิ้น
ผมอ่านแล้วรู้สึกขนลุกซู่ขึ้นมาทันที เพราะคาดไม่ถึงครับ ผมไม่แน่ใจว่าคนไทยเรารู้อันตรายนี้มากน้อยแค่ไหน
นี่แหละคือเป็นเหตุผลทีผมเก็บเอาเรื่องนี้มาเขียนในวันนี้ ก็เพื่อเผยแพร่ข้อมูลนี้ให้ขยายวงมากขึ้น ใครอ่านพบเข้าก็สะกิดบอกคนข้างเคียงด้วยนะครับ
หากให้ผมแนะนำก็คือพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่ทีมีควันธูป หากจะต้องจุดธูปในบ้านผมอยากแนะนำว่าเมื่อกราบไหว้แล้วก็ดับซะ ผมว่าคงไม่ผิดกติกากระมัง
ได้ประโยชน์จริง ๆ ครับกับการไปหาหมอครั้งนี้ เพราะนอกจากข่วดีที่หมอได้บอกกับผมว่าอาการของผมดีขึ้นมากแล้ว ยังได้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับมหันตภัยใกล้ตัวอย่าง "ธูป" ติดตัวมาด้วยครับ
วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ทำไมผมคิดถึงประชาเสวนาจัง
๘ ตุลาคม ๒๕๕๖
ไม่รู้เป็นอะไรครับ อยู่ ๆ สมองของผมแวบไปคิดถึงประชาเสวนาขึ้นมา งงกับตัวเองอยู่เหมือนกัน
ในช่วง ๕ - ๖ ปี ผมมีโอกาสนำเอาเครื่องมือที่เรียกว่า "ประชาเสวนา" ไปใช้ ๒ ครั้ง
ครั้งแรก ราวปี ๒๕๕๑ นำมาใช้เป็นเครื่องมือจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ตามกฎหมายที่ชื่อพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐
ครั้งที่สอง เป็นอีก ๒ ปีถัดมา นำมาใช้เป็นเครื่องมือกำหนดระบบสวัสดิการสังคมของคนไทย ซึ่งทำงานร่วมกับ สสส. และทีดีอาร์ไอ
ทั้ง ๒ ครั้ง อยู่ภายใต้การดูแลของ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ผมขอสรุปสั้น ๆ ว่า "ประชาเสวนา" มาจากภาษาอังกฤษว่า "citicen dialoge" ถ้าให้ผมแปลก็แปลตามตัวว่า เป็นเครื่องมือที่เชิญชวนประชาชนมาพูดคุยแลกเปลี่ยนและหาข้อสรุปต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ประชาชนที่เข้าร่วมเวลามาจากระบบสุ่มครับ ประมาณเวทีละไม่เกิน ๕๐ คน
วิธีการก็คือจะมีการทำฉากทัศน์ หรือ scenario ของเรื่องที่ต้องการรู้ขึ้นมา อย่างเช่นเรื่องธรรมนูญสุขภาพฯ เราสร้างฉากทัศน์ขึ้นมา ๓ แบบ คือแบบดำเนินการโดยรัฐ ดำเนินการโดยเอกชน และดำเนินการโดยชุมชน เมื่อได้ฉากทัศน์แล้วเราก็โยนเข้ากลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ ๑๐ -๑๕ คน โดยมีผู้อำนวยการกลุ่มดำเนินการด้วยคำถาม what why how who เมื่อทุกกลุ่มได้คำตอบก็มานำเสนอและหาฉันทามติร่วมกันกับกลุ่มอื่น ข้อไหนที่เห็นไม่ตรงกันวิทยากรกลางก็โยนเข้าเวทีขอปรึกษาโดยให้แต่ละกลุ่มแสดงเหตุผลที่กลุ่มตนคิด แล้ววิทยากรก็จะสอบถามว่าสรุปเวทีนั้นจะเอาแบบใด ซึ่งประสบการณ์ที่ผ่านมาเมื่อฟังเหตุผลกันแล้ว ความคิดจะเปลี่ยนไปจนได้ข้อสรุปร่วมกัน
นั่นคือขั้นตอนหลัก ๆ ครับ อีกกิจกรรมหนึ่งที่เราใช้โอกาสการที่ประชาชนมาอยู่ด้วยกัน คือเราจะทำแบบสอบถามวัดมุมมองก่อนและหลังกระบวนการ ซึ่งปรากฎว่ามุมมองทุกคนจะเปลี่ยน เพราะได้รับข้อมูลจากเวทีและผู้เข้าร่วมเวทีคนอื่น ๆ
ก็ต้องบอกว่าเป็นเครื่องมือที่ปิดจุดอ่อนหลายประการของเครื่องมืออื่น
ปิดจุดอ่อนเรื่องคนเข้าประชุมที่มาจากระบบสุ่ม ไม่ใช่เป็นการเลือกจากคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง กันข้อครหาได้
ปิดจุดอ่อนเรื่องการให้เวลากับคนเข้าเวทีที่มีเวลาแสดงความคิดความเห็นได้อย่างเต็มที่ และเมื่อแสดงความคิดเห็นแล้วก็ฟังคนอื่นบ้าง และหาข้อสรุปร่วมกัน
ปิดจุดอ่อนเรื่องได้ข้อสรุปต่อเรื่องนั้นว่าต้องการอะไร ทำไมถึงต้องการแบบนั้น มีวิธีการให้บรรลุอย่างไร และใครจะเป็นคนทำ ไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ใดผู้หนึ่งไปสรุปเองในภายหลัง
และที่สำคัญเครื่องมือนี้ยังเป็นเครื่องมือที่เปิดโอกาสให้กับคนทุกกลุ่มทุกวัย ทุกอาชีพ ทั้งเสียงใหญ่และเสียงเล็กเสียงน้อย เพราะมาจากระบบสุ่ม เป็นพื้นฐานของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เขียนถึงตรงนี้ ผมหาคำตอบให้กับตัวเองได้แล้วครับว่าทำไมผมจึงคิดถึงเครื่องมือนี้ในช่วงนี้
เพราะในช่วงนี้รัฐบาลกำลังจะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อโครงการน้ำ ๓.๕ แสนล้าน ไปทั่วประเทศ นั่นเอง ผมคิดไปว่าถ้ารัฐบาลนำเครื่องมือนี้ไปใช้ ผมว่าจะปิดจุดอ่อนที่อาจโดนข้อครหาได้ครับ ก็ขอเสนอความคิดความเห็นเล็ก ๆ น้อย ๆ มาทางนี้ เผื่อมีคนสนใจบ้าง ก็เท่านั้นแหละ
ไม่รู้เป็นอะไรครับ อยู่ ๆ สมองของผมแวบไปคิดถึงประชาเสวนาขึ้นมา งงกับตัวเองอยู่เหมือนกัน
ในช่วง ๕ - ๖ ปี ผมมีโอกาสนำเอาเครื่องมือที่เรียกว่า "ประชาเสวนา" ไปใช้ ๒ ครั้ง
ครั้งแรก ราวปี ๒๕๕๑ นำมาใช้เป็นเครื่องมือจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ตามกฎหมายที่ชื่อพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐
ครั้งที่สอง เป็นอีก ๒ ปีถัดมา นำมาใช้เป็นเครื่องมือกำหนดระบบสวัสดิการสังคมของคนไทย ซึ่งทำงานร่วมกับ สสส. และทีดีอาร์ไอ
ทั้ง ๒ ครั้ง อยู่ภายใต้การดูแลของ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ผมขอสรุปสั้น ๆ ว่า "ประชาเสวนา" มาจากภาษาอังกฤษว่า "citicen dialoge" ถ้าให้ผมแปลก็แปลตามตัวว่า เป็นเครื่องมือที่เชิญชวนประชาชนมาพูดคุยแลกเปลี่ยนและหาข้อสรุปต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ประชาชนที่เข้าร่วมเวลามาจากระบบสุ่มครับ ประมาณเวทีละไม่เกิน ๕๐ คน
วิธีการก็คือจะมีการทำฉากทัศน์ หรือ scenario ของเรื่องที่ต้องการรู้ขึ้นมา อย่างเช่นเรื่องธรรมนูญสุขภาพฯ เราสร้างฉากทัศน์ขึ้นมา ๓ แบบ คือแบบดำเนินการโดยรัฐ ดำเนินการโดยเอกชน และดำเนินการโดยชุมชน เมื่อได้ฉากทัศน์แล้วเราก็โยนเข้ากลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ ๑๐ -๑๕ คน โดยมีผู้อำนวยการกลุ่มดำเนินการด้วยคำถาม what why how who เมื่อทุกกลุ่มได้คำตอบก็มานำเสนอและหาฉันทามติร่วมกันกับกลุ่มอื่น ข้อไหนที่เห็นไม่ตรงกันวิทยากรกลางก็โยนเข้าเวทีขอปรึกษาโดยให้แต่ละกลุ่มแสดงเหตุผลที่กลุ่มตนคิด แล้ววิทยากรก็จะสอบถามว่าสรุปเวทีนั้นจะเอาแบบใด ซึ่งประสบการณ์ที่ผ่านมาเมื่อฟังเหตุผลกันแล้ว ความคิดจะเปลี่ยนไปจนได้ข้อสรุปร่วมกัน
นั่นคือขั้นตอนหลัก ๆ ครับ อีกกิจกรรมหนึ่งที่เราใช้โอกาสการที่ประชาชนมาอยู่ด้วยกัน คือเราจะทำแบบสอบถามวัดมุมมองก่อนและหลังกระบวนการ ซึ่งปรากฎว่ามุมมองทุกคนจะเปลี่ยน เพราะได้รับข้อมูลจากเวทีและผู้เข้าร่วมเวทีคนอื่น ๆ
ก็ต้องบอกว่าเป็นเครื่องมือที่ปิดจุดอ่อนหลายประการของเครื่องมืออื่น
ปิดจุดอ่อนเรื่องคนเข้าประชุมที่มาจากระบบสุ่ม ไม่ใช่เป็นการเลือกจากคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง กันข้อครหาได้
ปิดจุดอ่อนเรื่องการให้เวลากับคนเข้าเวทีที่มีเวลาแสดงความคิดความเห็นได้อย่างเต็มที่ และเมื่อแสดงความคิดเห็นแล้วก็ฟังคนอื่นบ้าง และหาข้อสรุปร่วมกัน
ปิดจุดอ่อนเรื่องได้ข้อสรุปต่อเรื่องนั้นว่าต้องการอะไร ทำไมถึงต้องการแบบนั้น มีวิธีการให้บรรลุอย่างไร และใครจะเป็นคนทำ ไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ใดผู้หนึ่งไปสรุปเองในภายหลัง
และที่สำคัญเครื่องมือนี้ยังเป็นเครื่องมือที่เปิดโอกาสให้กับคนทุกกลุ่มทุกวัย ทุกอาชีพ ทั้งเสียงใหญ่และเสียงเล็กเสียงน้อย เพราะมาจากระบบสุ่ม เป็นพื้นฐานของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เขียนถึงตรงนี้ ผมหาคำตอบให้กับตัวเองได้แล้วครับว่าทำไมผมจึงคิดถึงเครื่องมือนี้ในช่วงนี้
เพราะในช่วงนี้รัฐบาลกำลังจะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อโครงการน้ำ ๓.๕ แสนล้าน ไปทั่วประเทศ นั่นเอง ผมคิดไปว่าถ้ารัฐบาลนำเครื่องมือนี้ไปใช้ ผมว่าจะปิดจุดอ่อนที่อาจโดนข้อครหาได้ครับ ก็ขอเสนอความคิดความเห็นเล็ก ๆ น้อย ๆ มาทางนี้ เผื่อมีคนสนใจบ้าง ก็เท่านั้นแหละ
วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556
สานพลัง สร้างสุขภาวะชุมชน
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
การสร้างองค์เจดีย์ให้เข้มแข็ง สามารถตั้งมั่นทนต่อลมพายุฟ้าฝนที่ถาโถมได้อย่างยาวนาน จำเป็นจะต้องมีรากฐานที่มั่นคง ต้งลงเสาเข็มที่มั่นคง แล้วจึงค่อย ๆ ก่ออิฐถือปูนขึ้นจากฐานขึ้นสู่ตัวองค์และยอดเจดีย์อย่างพิถีพิถัน ประเทศก็เช่นเดียวกับองค์เจดีย์ที่ต้องมีการวางรากฐานจากชุมชนท้องถิ่นให้มั่นคงก่อนฉันใดก็ฉันนั้น
“สานพลัง สร้างสุขภาวะชุมชน” คือประเด็นหลักของการจัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ ที่จะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๖ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยยึดแนวคิดใหญ่ของการให้ความสำคัญกับชุมชนอันเป็นฐานของเจดีย์ที่ชื่อประเทศไทย
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม จากหน่วยงาน องค์กร ภาคีเครือข่ายจาก ๓ ภาคส่วน ด้วยฐานของความรู้คู่ความรัก เป้าหมายเพื่อการลดทุกข์สร้างสุขให้กับคนไทย
เราจัดมาแล้ว ๕ ครั้ง ในปีนี้จะเป็นการจัดครั้งที่ ๖ จะมีกิจกรรมใน ๒ ลักษณะ ลักษณะแรกเป็นการพิจารณาข้อเสนอเชิงนโยบาย และลักษณะที่สองเป็นการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าประชุม
ปีนี้มีข้อเสนอเชิงนโยบายที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสมาชิก รวม ๘ เรื่อง
เรื่องแรก เป็นเรื่องหลักที่สอดคล้องกับประเด็นหลัก นั้นคือเรื่อง การพัฒนาชุมชนเข็มแข็ง ที่มีเจตจำนงในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติระหว่างหน่วยงาน กว่า ๔๖ องค์กร ที่มีภารกิจลงไปสนับสนุนชุมชน แบบ “รวมแสงเลเซอร์”
เรื่องที่สอง เป็นเรื่อง การจัดอาหารในโรงเรียน ที่มุ่งเน้นต้องการการจัดอาหารในโรงเรียนเพื่อสุขภาพที่ดีให้กับเด็กนักเรียน
เรื่องที่สาม เป็นเรื่อง การดูแลสื่อในการเผยแพร่ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสุราและยาสูบ วัตถุประสงค์ก็ชัดเจนตามชื่อ
เรื่องที่สี่ เป็นเรื่อง การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายยา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต มุ่งเน้นให้มีการรับรองแผนยุทธศาสตร์ในเรื่องนี้
เรื่องที่ห้า เป็นเรื่อง นโยบายการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน ที่มุ่งเน้นให้มีกลไกกลางในการกำหนดมาตรฐาน ควบคุมคุณภาพ และให้คำแนะนำในการตรวจสุขภาพ ด้วยพบว่าในปัจจุบันยังมีความแตกต่างในการตรวจสุขภาพของ ๓ กองทุนหลัก ที่ยังมีทั้งส่วนเกินและส่วนขาดในการตรวจสุขภาพในปัจจุบัน
เรื่องที่หก เป็นเรื่องกรอบการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ ที่ต้องการให้มีการทำงานแบบสอดคล้องกันระหว่างหน่วยงาน องค์กรที่ทำงานด้านนี้ จึงเสนอให้มีการทำกรอบงานที่ถูกกำหนดมาตั้งแต่ระดับสากล
เรื่องที่เจ็ด เป็นเรื่องการสร้างความร่วมมือระหว่างสาขาในการดูแลสุขภาพคน สัตว์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน ก็มุ่งเน้นตามชื่อเรื่อง เพราะปัจจุบันมีความเชื่อมโยงของโรคที่เกิดจากสัตว์และสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่ทำงานในแต่ละด้านเข้าด้วยกัน เรื่องนี้สำคัญมาก โดยจะเห็นได้จากเป็นประเด็นหลักในการจัดประชุมรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา
เรื่องที่แปด เป็นเรื่อง การป้องกันผลกระทบต่อสุขภาวะและสังคมจากการเจรจาการค้าเสรีระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการทบทวนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ออกมาในปี ๒๕๕๔
วันนี้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ที่มีพี่ศิรินา (นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา) เป็นประธาน ได้พิจารณาเอกสารร่างแรกทั้ง ๘ เรื่อง มีข้อเสนอและเห็นชอบให้มีการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในวันที่ ๑๖ – ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖ นี้ และเมื่อได้ความคิดเห็นกลับมา จะนำมาพิจารณาปรับปรุงร่างเอกสารและจัดทำเป็นเอกสารร่างสอง ส่งให้กับสมาชิกผ่านกลุ่มครือข่ายที่มีอยู่ ๒๓๔ กลุ่ม เพื่อนำไปปรึกษาหารือกันและนำความคิดเห็นของกลุ่มมาประชุมในวันจัดงานต่อไป
ผมได้ยินได้ฟังกรรมการที่เข้าประชุมร่วมกันแล้ว ผมสรุปได้ว่าทุกฝ่ายเห็นร่วมกันว่า ระเบียบวาระเกือบทุกเรื่องมีความเชื่อมโยงกันและบทบาทสำคัญอยู่ชุมชนท้องถิ่นในการลุกขึ้นมาจัดการกับภัยในแต่ละด้านที่ถาโถมลงไป
มาร่วมไม้ร่วมมือกันด้วย "สานพลังสร้างสุขภาวะชุมชน" กันเถอะ
การสร้างองค์เจดีย์ให้เข้มแข็ง สามารถตั้งมั่นทนต่อลมพายุฟ้าฝนที่ถาโถมได้อย่างยาวนาน จำเป็นจะต้องมีรากฐานที่มั่นคง ต้งลงเสาเข็มที่มั่นคง แล้วจึงค่อย ๆ ก่ออิฐถือปูนขึ้นจากฐานขึ้นสู่ตัวองค์และยอดเจดีย์อย่างพิถีพิถัน ประเทศก็เช่นเดียวกับองค์เจดีย์ที่ต้องมีการวางรากฐานจากชุมชนท้องถิ่นให้มั่นคงก่อนฉันใดก็ฉันนั้น
“สานพลัง สร้างสุขภาวะชุมชน” คือประเด็นหลักของการจัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ ที่จะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๖ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยยึดแนวคิดใหญ่ของการให้ความสำคัญกับชุมชนอันเป็นฐานของเจดีย์ที่ชื่อประเทศไทย
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม จากหน่วยงาน องค์กร ภาคีเครือข่ายจาก ๓ ภาคส่วน ด้วยฐานของความรู้คู่ความรัก เป้าหมายเพื่อการลดทุกข์สร้างสุขให้กับคนไทย
เราจัดมาแล้ว ๕ ครั้ง ในปีนี้จะเป็นการจัดครั้งที่ ๖ จะมีกิจกรรมใน ๒ ลักษณะ ลักษณะแรกเป็นการพิจารณาข้อเสนอเชิงนโยบาย และลักษณะที่สองเป็นการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าประชุม
ปีนี้มีข้อเสนอเชิงนโยบายที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสมาชิก รวม ๘ เรื่อง
เรื่องแรก เป็นเรื่องหลักที่สอดคล้องกับประเด็นหลัก นั้นคือเรื่อง การพัฒนาชุมชนเข็มแข็ง ที่มีเจตจำนงในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติระหว่างหน่วยงาน กว่า ๔๖ องค์กร ที่มีภารกิจลงไปสนับสนุนชุมชน แบบ “รวมแสงเลเซอร์”
เรื่องที่สอง เป็นเรื่อง การจัดอาหารในโรงเรียน ที่มุ่งเน้นต้องการการจัดอาหารในโรงเรียนเพื่อสุขภาพที่ดีให้กับเด็กนักเรียน
เรื่องที่สาม เป็นเรื่อง การดูแลสื่อในการเผยแพร่ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสุราและยาสูบ วัตถุประสงค์ก็ชัดเจนตามชื่อ
เรื่องที่สี่ เป็นเรื่อง การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายยา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต มุ่งเน้นให้มีการรับรองแผนยุทธศาสตร์ในเรื่องนี้
เรื่องที่ห้า เป็นเรื่อง นโยบายการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน ที่มุ่งเน้นให้มีกลไกกลางในการกำหนดมาตรฐาน ควบคุมคุณภาพ และให้คำแนะนำในการตรวจสุขภาพ ด้วยพบว่าในปัจจุบันยังมีความแตกต่างในการตรวจสุขภาพของ ๓ กองทุนหลัก ที่ยังมีทั้งส่วนเกินและส่วนขาดในการตรวจสุขภาพในปัจจุบัน
เรื่องที่หก เป็นเรื่องกรอบการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ ที่ต้องการให้มีการทำงานแบบสอดคล้องกันระหว่างหน่วยงาน องค์กรที่ทำงานด้านนี้ จึงเสนอให้มีการทำกรอบงานที่ถูกกำหนดมาตั้งแต่ระดับสากล
เรื่องที่เจ็ด เป็นเรื่องการสร้างความร่วมมือระหว่างสาขาในการดูแลสุขภาพคน สัตว์และสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน ก็มุ่งเน้นตามชื่อเรื่อง เพราะปัจจุบันมีความเชื่อมโยงของโรคที่เกิดจากสัตว์และสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่ทำงานในแต่ละด้านเข้าด้วยกัน เรื่องนี้สำคัญมาก โดยจะเห็นได้จากเป็นประเด็นหลักในการจัดประชุมรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา
เรื่องที่แปด เป็นเรื่อง การป้องกันผลกระทบต่อสุขภาวะและสังคมจากการเจรจาการค้าเสรีระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการทบทวนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ออกมาในปี ๒๕๕๔
วันนี้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ที่มีพี่ศิรินา (นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา) เป็นประธาน ได้พิจารณาเอกสารร่างแรกทั้ง ๘ เรื่อง มีข้อเสนอและเห็นชอบให้มีการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในวันที่ ๑๖ – ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖ นี้ และเมื่อได้ความคิดเห็นกลับมา จะนำมาพิจารณาปรับปรุงร่างเอกสารและจัดทำเป็นเอกสารร่างสอง ส่งให้กับสมาชิกผ่านกลุ่มครือข่ายที่มีอยู่ ๒๓๔ กลุ่ม เพื่อนำไปปรึกษาหารือกันและนำความคิดเห็นของกลุ่มมาประชุมในวันจัดงานต่อไป
ผมได้ยินได้ฟังกรรมการที่เข้าประชุมร่วมกันแล้ว ผมสรุปได้ว่าทุกฝ่ายเห็นร่วมกันว่า ระเบียบวาระเกือบทุกเรื่องมีความเชื่อมโยงกันและบทบาทสำคัญอยู่ชุมชนท้องถิ่นในการลุกขึ้นมาจัดการกับภัยในแต่ละด้านที่ถาโถมลงไป
มาร่วมไม้ร่วมมือกันด้วย "สานพลังสร้างสุขภาวะชุมชน" กันเถอะ
วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556
สตร๊อคโฟโต้วิถีอิสระ
๖ ตุลาคม ๒๕๕๖
ไม่น่าเชื่อเลยว่า จะมาบ้าตอนแก่ วัน ๆ ในหัวมีแต่เรื่องนี้ เห็นอะไรก็คิดไปว่าจะสามารถบันดาลออกมาเป็นสิ่งนั้นได้หรือไม่ ตื่นเช้าขึ้นมาก็ต้องรีบตรวจสอบว่าผลงานของตัวเองเป็นอย่างไร มีลูกค้าเข้ามาใช้ฝีมือเรามากน้อยแค่ไหน นี่ผมบ้าจริง ๆ นะ
ราวเดือนกุมภาพันธ์ ปีนี้ ผมได้รู้จักกับกิจกรรมหนึ่งด้วยความบังเอิญ
ผมได้รับการชวนไปกินข้าวกลางวันที่ห้างสรรพสินค้าแห่งนึ่ง ผมโอเคโดยขอติดรถไปกับน้องที่มาชวนเรา ผมได้ที่นั่งที่เบาะหลังซ้ายมือ นั่งไปได้สักครู่ตาเจ้ากรรมก็เหลือบไปเห็นหนังสือเล่มหนึ่งวางอยู่บนเบาะ ผมหยิบขึ้นมาดูเป็นหนังสือเกี่ยวกับ "การขายรูปออนไลน์"
ผมพลิก ๆ หนังสือเล่มนั้น เออน่าสนใจแฮะ เลยเอ่ยปากคุยกับน้องที่ชวนมา จึงทราบว่าน้องคนนั้นเข้าสู่วงการนี้เรียบร้อยแล้ว
อีก ๒ วันต่อมา ผมมีโอกาสเข้าร้านขายหนังสือ จึงซื้อหนังสือเล่มนั้นติดมือกลับมานอนอ่านที่บ้าน เชื่อไหมครับ ผมอ่านคืนเดียวจบเล่ม
กลับไปบ้านที่ต่างจังหวัด เลยขอยืมกล้องยี่ห้อแคนนอน ที่ซื้อเป็นของขวัญให้กับลูก เมื่อปีก่อน มาใช้ ทดลองทำตามที่หนังสือแนะนำ
ตื่นเช้าก็แวะไปคุยกับน้องที่ถือเป็นครูผมไปแล้วทุกวัน แต่ก็ยังไม่ได้ผลครับ
อีก ๑ เดือนถัดมา องค์กรเราจัดกิจกรรมโอดีที่เกาะแห่งหนึ่งที่จังหวัดระยอง โอโอกาสมาถึงเราแล้ว กล้องที่ยืมมาจากลูกชายเป็นสิ่งของชิ้นแรกที่ถูกบรรจุใส่กระเป๋าเตรียมไปโอดีครั้งนี้
สามวันสองคืนบนเกาะแห่งนั้น เป็นช่วงเวลาแห่งการฝึกหัดการถ่ายรูป โดยมีน้องที่กลายเป็นครูคอยแนะนำตั้งแต่การสมัคร การปรับแต่งรูป การตั้งชื่อและกรใส่คำสำคัญให้กับรูป จนเริ่มเป็นครับ
กลับมาถึงบ้าน เราก็เริ่มสมัครขายภาพตามเว็ปไซด์ต่าง ๆ ตามที่ครูและหนังสือแนะนำ โดยมุ่งเน้นไปที่เว็ปไซด์ขายภาพอันดับหนึ่งของวงการ
การเข้าสู่วงการไม่ใช่ทำกันง่าย ๆ ครับ ต้องสอบให้ผ่าน โดยการส่งภาพไปสอบ ๑๐ ภาพ โดยต้องสอบให้ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ ๗ ภาพ
ด้วยความเป็นมือใหม่ ผมใช้เวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม จนถึงเดือนมิถุนายน รวมแล้ว ๔ เดือน กับการสอบกับเว็ปไซด์นี้
ผมจำได้ว่า วันที่ ๓ กรกฎาคม ผมได้รับเมลล์บอกผลการสอบว่าผมสบผ่านด้วย ๘ ภาพใน ๑๐ ภาพ และได้กลายเป็นนักขายภาพทางออนไลน์นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ยามว่างในแต่ละวันผมใช้เวลากับการถ่ายรูป แต่งรูป อ่านหนังสือเกี่ยวกับการถ่ายรูป อัพโหลดรูป ติดตามผลการสอบและผลการโหลดภาพจากชุมชนทั่วโลก
ภาพแรกที่ทำให้ผมกระโดดตัวลอยคือภาพกระถางดอกไม้พลาสติกสีเหลือง ที่ผมยืมจากที่ทำงานไปถ่าย ได้ค่าตอบแทน ๐.๒๔ เหรียญสหรัฐอเมริกา หากเทียบกับเงินไทยก็ประมาณ ๘ บาทไทย แต่ไม่รู้เป็นอย่างไรผมเหมือนได้เงินเป็นหมื่น ผมดีใจจริง ๆ
ทุกวันกิจวัตรประจำวันก็จะวนเวียนกับเรื่องนี้ สิ่งของในบ้าน ต้นไม้รอบบ้าน ผมหยิบมาถ่าย เป็นภาพทั้งหมด
ผลงานในตอนต้น ขอบอกแบบไม่อายครับ ส่ง ๔ ภาพ ผ่าน ๑ ภาพ
๘๕ วันผ่านไป ในขณะที่ผมอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อไปทำงานที่นั่น ราวตีหนึ่งก่อนที่ผมจะปิดไฟนอน ผมขอเปิดดูผลงานทางเว็ปไซด์ซะหน่อย ภาพที่ปรากฎต่อหน้าเล่นเอาผมตะลึงเลยครับ เพราะมีคนที่ทวีปแอฟริกาใต้โหลดภาพสระว่ายน้ำของผมไป ๒ ภาพซ้อน โดยราคาค่าตอบแทนภาพละ ๒๘ เหรียญทำให้ยอดเงินสะสมทะลุ ๑๐๐ เหรียญทันที
อีก ๒ วันถัดมาก็มีเมลล์ส่งมาหาผมบอกผมว่าได้โอนเงินดังกล่วเข้าบัญชีของผมเรียบร้อยแล้ว
นี่คือเรื่องราวที่ผมได้สัมผัสจริงในช่วงวัยกว่า ๕๐ ขวบปีของผม จากคนที่ไม่มีความรู้เรื่องการถ่ายรูปมาก่อน แต่ผมทน ทน ทน ต้องภ่ายภาพ ต้องอัพโหลดภาพทุกวันให้ได้ ปัจจุบันในพอร์ตภาพของผมมีภาพกว่า ๕๐๐ ภาพแล้ว ทุกวันนี้ผมยังทำงานชิ้นนี้ด้วยความสุข โดยมีแรงบันดาลใจจากชุมชนคนขายภาพอนนไลน์ที่มีเว็ปไซด์แลกเปลี่ยนกัน ซึ่งสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวผมได้อย่างดีมาก ๆ ผมคงเพียงอยากบอกกับทุกคนว่า
"ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั่น"
เฉกเช่นเดียงกับประสบการณ์ที่ผมได้ทำด้วยตัวของผมเองกับกิจกรรมที่แสนสนุกชิ้นนี้ครับ
สุดท้ายผมต้องขอบขอบคุณน้องผู้เป็นครู เจ้าของหนังสือ สมาชิกชุมชนขายภาพออนไลน์ ตลอดจนครอบครัว และคน สัตว์ สิ่งของที่เป็นนายแบบให้ผมถ่ายภาพ รวมทั้งกล้องแคนนอนคู่ใจที่เคยเป็นของลูกชายกล้องนั้น ที่ทำให้ผมมายืน ณ จุดนี้ได้
ไม่น่าเชื่อเลยว่า จะมาบ้าตอนแก่ วัน ๆ ในหัวมีแต่เรื่องนี้ เห็นอะไรก็คิดไปว่าจะสามารถบันดาลออกมาเป็นสิ่งนั้นได้หรือไม่ ตื่นเช้าขึ้นมาก็ต้องรีบตรวจสอบว่าผลงานของตัวเองเป็นอย่างไร มีลูกค้าเข้ามาใช้ฝีมือเรามากน้อยแค่ไหน นี่ผมบ้าจริง ๆ นะ
ราวเดือนกุมภาพันธ์ ปีนี้ ผมได้รู้จักกับกิจกรรมหนึ่งด้วยความบังเอิญ
ผมได้รับการชวนไปกินข้าวกลางวันที่ห้างสรรพสินค้าแห่งนึ่ง ผมโอเคโดยขอติดรถไปกับน้องที่มาชวนเรา ผมได้ที่นั่งที่เบาะหลังซ้ายมือ นั่งไปได้สักครู่ตาเจ้ากรรมก็เหลือบไปเห็นหนังสือเล่มหนึ่งวางอยู่บนเบาะ ผมหยิบขึ้นมาดูเป็นหนังสือเกี่ยวกับ "การขายรูปออนไลน์"
ผมพลิก ๆ หนังสือเล่มนั้น เออน่าสนใจแฮะ เลยเอ่ยปากคุยกับน้องที่ชวนมา จึงทราบว่าน้องคนนั้นเข้าสู่วงการนี้เรียบร้อยแล้ว
อีก ๒ วันต่อมา ผมมีโอกาสเข้าร้านขายหนังสือ จึงซื้อหนังสือเล่มนั้นติดมือกลับมานอนอ่านที่บ้าน เชื่อไหมครับ ผมอ่านคืนเดียวจบเล่ม
กลับไปบ้านที่ต่างจังหวัด เลยขอยืมกล้องยี่ห้อแคนนอน ที่ซื้อเป็นของขวัญให้กับลูก เมื่อปีก่อน มาใช้ ทดลองทำตามที่หนังสือแนะนำ
ตื่นเช้าก็แวะไปคุยกับน้องที่ถือเป็นครูผมไปแล้วทุกวัน แต่ก็ยังไม่ได้ผลครับ
อีก ๑ เดือนถัดมา องค์กรเราจัดกิจกรรมโอดีที่เกาะแห่งหนึ่งที่จังหวัดระยอง โอโอกาสมาถึงเราแล้ว กล้องที่ยืมมาจากลูกชายเป็นสิ่งของชิ้นแรกที่ถูกบรรจุใส่กระเป๋าเตรียมไปโอดีครั้งนี้
สามวันสองคืนบนเกาะแห่งนั้น เป็นช่วงเวลาแห่งการฝึกหัดการถ่ายรูป โดยมีน้องที่กลายเป็นครูคอยแนะนำตั้งแต่การสมัคร การปรับแต่งรูป การตั้งชื่อและกรใส่คำสำคัญให้กับรูป จนเริ่มเป็นครับ
กลับมาถึงบ้าน เราก็เริ่มสมัครขายภาพตามเว็ปไซด์ต่าง ๆ ตามที่ครูและหนังสือแนะนำ โดยมุ่งเน้นไปที่เว็ปไซด์ขายภาพอันดับหนึ่งของวงการ
การเข้าสู่วงการไม่ใช่ทำกันง่าย ๆ ครับ ต้องสอบให้ผ่าน โดยการส่งภาพไปสอบ ๑๐ ภาพ โดยต้องสอบให้ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ ๗ ภาพ
ด้วยความเป็นมือใหม่ ผมใช้เวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม จนถึงเดือนมิถุนายน รวมแล้ว ๔ เดือน กับการสอบกับเว็ปไซด์นี้
ผมจำได้ว่า วันที่ ๓ กรกฎาคม ผมได้รับเมลล์บอกผลการสอบว่าผมสบผ่านด้วย ๘ ภาพใน ๑๐ ภาพ และได้กลายเป็นนักขายภาพทางออนไลน์นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ยามว่างในแต่ละวันผมใช้เวลากับการถ่ายรูป แต่งรูป อ่านหนังสือเกี่ยวกับการถ่ายรูป อัพโหลดรูป ติดตามผลการสอบและผลการโหลดภาพจากชุมชนทั่วโลก
ภาพแรกที่ทำให้ผมกระโดดตัวลอยคือภาพกระถางดอกไม้พลาสติกสีเหลือง ที่ผมยืมจากที่ทำงานไปถ่าย ได้ค่าตอบแทน ๐.๒๔ เหรียญสหรัฐอเมริกา หากเทียบกับเงินไทยก็ประมาณ ๘ บาทไทย แต่ไม่รู้เป็นอย่างไรผมเหมือนได้เงินเป็นหมื่น ผมดีใจจริง ๆ
ทุกวันกิจวัตรประจำวันก็จะวนเวียนกับเรื่องนี้ สิ่งของในบ้าน ต้นไม้รอบบ้าน ผมหยิบมาถ่าย เป็นภาพทั้งหมด
ผลงานในตอนต้น ขอบอกแบบไม่อายครับ ส่ง ๔ ภาพ ผ่าน ๑ ภาพ
๘๕ วันผ่านไป ในขณะที่ผมอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อไปทำงานที่นั่น ราวตีหนึ่งก่อนที่ผมจะปิดไฟนอน ผมขอเปิดดูผลงานทางเว็ปไซด์ซะหน่อย ภาพที่ปรากฎต่อหน้าเล่นเอาผมตะลึงเลยครับ เพราะมีคนที่ทวีปแอฟริกาใต้โหลดภาพสระว่ายน้ำของผมไป ๒ ภาพซ้อน โดยราคาค่าตอบแทนภาพละ ๒๘ เหรียญทำให้ยอดเงินสะสมทะลุ ๑๐๐ เหรียญทันที
อีก ๒ วันถัดมาก็มีเมลล์ส่งมาหาผมบอกผมว่าได้โอนเงินดังกล่วเข้าบัญชีของผมเรียบร้อยแล้ว
นี่คือเรื่องราวที่ผมได้สัมผัสจริงในช่วงวัยกว่า ๕๐ ขวบปีของผม จากคนที่ไม่มีความรู้เรื่องการถ่ายรูปมาก่อน แต่ผมทน ทน ทน ต้องภ่ายภาพ ต้องอัพโหลดภาพทุกวันให้ได้ ปัจจุบันในพอร์ตภาพของผมมีภาพกว่า ๕๐๐ ภาพแล้ว ทุกวันนี้ผมยังทำงานชิ้นนี้ด้วยความสุข โดยมีแรงบันดาลใจจากชุมชนคนขายภาพอนนไลน์ที่มีเว็ปไซด์แลกเปลี่ยนกัน ซึ่งสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวผมได้อย่างดีมาก ๆ ผมคงเพียงอยากบอกกับทุกคนว่า
"ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั่น"
เฉกเช่นเดียงกับประสบการณ์ที่ผมได้ทำด้วยตัวของผมเองกับกิจกรรมที่แสนสนุกชิ้นนี้ครับ
สุดท้ายผมต้องขอบขอบคุณน้องผู้เป็นครู เจ้าของหนังสือ สมาชิกชุมชนขายภาพออนไลน์ ตลอดจนครอบครัว และคน สัตว์ สิ่งของที่เป็นนายแบบให้ผมถ่ายภาพ รวมทั้งกล้องแคนนอนคู่ใจที่เคยเป็นของลูกชายกล้องนั้น ที่ทำให้ผมมายืน ณ จุดนี้ได้
วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ยุทธศิลป์สานพลังเครือข่าย
๕ ตุลาคม ๒๕๕๖
หากผมตั้งคำถามว่า คำว่า "ยุทธศิลป์" มีความหมายว่าอย่างไร และยุทธศิลป์การสานพลังกับภาคีเครือข่าย มีอะไรบ้าง ผมว่าคำตอบที่ได้คงออกมาแตกต่างกันอย่างมากมาย
มาเริ่มต้นที่คำแรกกับคำว่า "ยุทธศิลป์" กันก่อน โดยผมอยากให้อ่านคำกล่าวของขงเบ้งจากหนังสือ "สามก๊ก" ที่ผมค้นได้จากอินเตอร์เน็ตมาบอกเล่า
“สิ่งกุมชะตาชีวิตของกองทัพ คือ สิ่งกำหนดศักดานุภาพของตัวแม่ทัพ หากนายทัพกุมศิลปะแห่งการนำทัพได้ กุมสถานการณ์ได้เมื่อนำทัพ กองทัพนั้นก็เปรียบประดุจพยัคฆ์ติดปีก เหินไปได้ทั้งสี่สมุทร สามารถปฏิบัติการพลิกแพลงไปตามภาวะที่ประสบ แต่หากแม่ทัพนายกองไร้ศิลปะแห่งการนำทัพ กุมสภาวะการณ์ไม่มั่น ก็เปรียบประดุจปลาและมังกรแยกห่างจากท้องน้ำ แม้ปรารถนาจะโล้คลื่นคะนองสมุทรสำแดงศักดา แต่จะทำได้อย่างไรเล่า”
แม้นจะไม่เข้าใจมากนักกับข้อความข้างต้น แต่หากเราค่อย ๆ อ่านและค่อย ๆ วิเคราะห์ก็จะพอเข้าใจกับคำว่า “ยุทธศิลป์” ว่ามีความหมายถึงศิลปะในการนำทัพของตัวแม่ทัพนายกองนั่นเอง
ผมหาข้อมูลต่อจากอาจารย์กู (เกิ้ล) ก็ได้รับคำอรรถาธิบายว่า คำว่า “ยุทธศิลป์” ภาษาอังกฤษ ใช้ว่า Operational Art“ เป็นคำที่มีจุดเริ่มต้นที่ใช้กันในวงการทหาร เป็นคำที่อยู่ระหว่างคำว่า ยุทธศาสตร์ (Strategy) กับยุทธวิธี (Tactic)”
แล้วมันคืออะไรว่ะ อ่านแล้วยังงงเลยใช่ไหมล่ะ ก็อย่าไปสนใจจนนอนไม่หลับนะครับ ผมอยากชวนมาสนใจในการค้นหาคำตอบกับคำถามที่สองกันดีกว่า
ผมได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการจัดเวทีการจัดการความรู้ขององค์กร ตั้งชื่อเสียเก๋ต้อนรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนว่า เวที “We Can Do เรียนรู้ร่วมกัน” เป็นเวทีที่คนทำงานในองค์กรผมจะมาเล่าเรื่องจากการทำงานจริงแล้วแลกเปลี่ยนและช่วยกันสกัดแก่นความรู้ร่วมกัน
ผมจึงใช้โอกาสนี้ในการค้นหา "ยุทธศิลป์การสานพลังเครือข่าย" เสียเลย
วิธีการที่ผมกับทีมช่วยกันออกแบบก็คือ ชวนคนต้นเรื่อง ๓ คนที่ทำงานในภาระกิจที่แตกต่างกัน มาเล่าประสบการณ์การทำงานให้ผู้เข้าร่วมเวทีได้ฟัง แล้วช่วยกันกระเทาะแก่นแกนความรู้ที่พบจากเรื่องเล่าเหล่านั้น
ไม่น่าเชื่อครับ ภายในเวลา ๒ ชั่วโมง เราได้ขุดค้นพบแก่นความรู้ที่ต้องการอย่างง่ายดาย เพราะทุกคนช่วยกันชี้ช่วยกันแชร์ได้อย่างสนุก และที่สำคัญก็คือ เป็นแก่นความรู้จากการปฏิบัติงานจริงไม่ใช่ความรู้จากทฤษฎีของใครหรือจากเอกสารตำราต่าง ๆ
ผมจับประเด็นจากเรื่องเล่าและจากมุมมองคนเข้าร่วใเวทีที่ได้ช่วยกันเติมเต็มนั้นออกมาได้ ๑๑ ยุทธศิลป์ในการสานพลังเครือข่าย
ผมเอาประเด็นเหล่านั้นมาเติมสีสันด้วยการจัดหาคำให้สัมผัสกัน จึงปรากฎออกมาเป็น "ยุทธศิลป์สานพลังเครือข่ายว่า" ว่าต้อง
กำหนดเป้าหมายการทำงานให้ชัด
จัดกระบวนงานเป็นขั้นเป็นตอน
ใช้ลูกอ้อนที่เหมาะสม
ระดมสานในสานนอก
ช่วยเหลือเล่าบอกสร้างยอมรับ
ขับเคลื่อนงานด้วยหัวใจ
ให้เวลาและมุ่งมั่น
ไม่ทิ้งสัมพันธ์กับเพื่อนเก่า
กระตุ้นเร่งเร้าสร้างความเป็นเจ้าของ
อย่าลืมมองผู้มีบารมีมาช่วยสาน
ยึดมั่นในหลักการยอมผ่อนปรนวิธีทำ
ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์ จึงขอนำเอามาฝากให้ทุกคนที่มีหน้าที่ต้องทำงานกับคนอื่นนำไปใช้ในการทำงานกับเพื่อนให้ได้ใจพร้อมงานร่วมกันครับ
หากผมตั้งคำถามว่า คำว่า "ยุทธศิลป์" มีความหมายว่าอย่างไร และยุทธศิลป์การสานพลังกับภาคีเครือข่าย มีอะไรบ้าง ผมว่าคำตอบที่ได้คงออกมาแตกต่างกันอย่างมากมาย
มาเริ่มต้นที่คำแรกกับคำว่า "ยุทธศิลป์" กันก่อน โดยผมอยากให้อ่านคำกล่าวของขงเบ้งจากหนังสือ "สามก๊ก" ที่ผมค้นได้จากอินเตอร์เน็ตมาบอกเล่า
“สิ่งกุมชะตาชีวิตของกองทัพ คือ สิ่งกำหนดศักดานุภาพของตัวแม่ทัพ หากนายทัพกุมศิลปะแห่งการนำทัพได้ กุมสถานการณ์ได้เมื่อนำทัพ กองทัพนั้นก็เปรียบประดุจพยัคฆ์ติดปีก เหินไปได้ทั้งสี่สมุทร สามารถปฏิบัติการพลิกแพลงไปตามภาวะที่ประสบ แต่หากแม่ทัพนายกองไร้ศิลปะแห่งการนำทัพ กุมสภาวะการณ์ไม่มั่น ก็เปรียบประดุจปลาและมังกรแยกห่างจากท้องน้ำ แม้ปรารถนาจะโล้คลื่นคะนองสมุทรสำแดงศักดา แต่จะทำได้อย่างไรเล่า”
แม้นจะไม่เข้าใจมากนักกับข้อความข้างต้น แต่หากเราค่อย ๆ อ่านและค่อย ๆ วิเคราะห์ก็จะพอเข้าใจกับคำว่า “ยุทธศิลป์” ว่ามีความหมายถึงศิลปะในการนำทัพของตัวแม่ทัพนายกองนั่นเอง
ผมหาข้อมูลต่อจากอาจารย์กู (เกิ้ล) ก็ได้รับคำอรรถาธิบายว่า คำว่า “ยุทธศิลป์” ภาษาอังกฤษ ใช้ว่า Operational Art“ เป็นคำที่มีจุดเริ่มต้นที่ใช้กันในวงการทหาร เป็นคำที่อยู่ระหว่างคำว่า ยุทธศาสตร์ (Strategy) กับยุทธวิธี (Tactic)”
แล้วมันคืออะไรว่ะ อ่านแล้วยังงงเลยใช่ไหมล่ะ ก็อย่าไปสนใจจนนอนไม่หลับนะครับ ผมอยากชวนมาสนใจในการค้นหาคำตอบกับคำถามที่สองกันดีกว่า
ผมได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการจัดเวทีการจัดการความรู้ขององค์กร ตั้งชื่อเสียเก๋ต้อนรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนว่า เวที “We Can Do เรียนรู้ร่วมกัน” เป็นเวทีที่คนทำงานในองค์กรผมจะมาเล่าเรื่องจากการทำงานจริงแล้วแลกเปลี่ยนและช่วยกันสกัดแก่นความรู้ร่วมกัน
ผมจึงใช้โอกาสนี้ในการค้นหา "ยุทธศิลป์การสานพลังเครือข่าย" เสียเลย
วิธีการที่ผมกับทีมช่วยกันออกแบบก็คือ ชวนคนต้นเรื่อง ๓ คนที่ทำงานในภาระกิจที่แตกต่างกัน มาเล่าประสบการณ์การทำงานให้ผู้เข้าร่วมเวทีได้ฟัง แล้วช่วยกันกระเทาะแก่นแกนความรู้ที่พบจากเรื่องเล่าเหล่านั้น
ไม่น่าเชื่อครับ ภายในเวลา ๒ ชั่วโมง เราได้ขุดค้นพบแก่นความรู้ที่ต้องการอย่างง่ายดาย เพราะทุกคนช่วยกันชี้ช่วยกันแชร์ได้อย่างสนุก และที่สำคัญก็คือ เป็นแก่นความรู้จากการปฏิบัติงานจริงไม่ใช่ความรู้จากทฤษฎีของใครหรือจากเอกสารตำราต่าง ๆ
ผมจับประเด็นจากเรื่องเล่าและจากมุมมองคนเข้าร่วใเวทีที่ได้ช่วยกันเติมเต็มนั้นออกมาได้ ๑๑ ยุทธศิลป์ในการสานพลังเครือข่าย
ผมเอาประเด็นเหล่านั้นมาเติมสีสันด้วยการจัดหาคำให้สัมผัสกัน จึงปรากฎออกมาเป็น "ยุทธศิลป์สานพลังเครือข่ายว่า" ว่าต้อง
กำหนดเป้าหมายการทำงานให้ชัด
จัดกระบวนงานเป็นขั้นเป็นตอน
ใช้ลูกอ้อนที่เหมาะสม
ระดมสานในสานนอก
ช่วยเหลือเล่าบอกสร้างยอมรับ
ขับเคลื่อนงานด้วยหัวใจ
ให้เวลาและมุ่งมั่น
ไม่ทิ้งสัมพันธ์กับเพื่อนเก่า
กระตุ้นเร่งเร้าสร้างความเป็นเจ้าของ
อย่าลืมมองผู้มีบารมีมาช่วยสาน
ยึดมั่นในหลักการยอมผ่อนปรนวิธีทำ
ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์ จึงขอนำเอามาฝากให้ทุกคนที่มีหน้าที่ต้องทำงานกับคนอื่นนำไปใช้ในการทำงานกับเพื่อนให้ได้ใจพร้อมงานร่วมกันครับ
วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556
เมืองไทยครัวอาหารโลก
๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
หากผมกล่าวว่าเมืองไทยคือครัวโลก ผมเชื่อว่าทุกคนต้องพยักหน้ายอมรับกับประโยคนี้ แต่คุณเชื่อไหมว่าท่ามกลางความเป็นครัวโลกนั้น เมืองไทยเรากำลังประสบปัญหาทีเป็นมะเร็งร้ายรอบด้าน ไม่เชื่อคุณลองสัมผัสข้อมูลเหล่านี้ดูครับ
เรารู้ไหมว่า ที่ดินทำการเกษตรของไทยเรา ประมาณ ๑๑๒.๖ ล้านไร่ อยู่ในมือคน ๕.๘ ล้านราย โดย ๑ ใน ๔ มีพื้นที่ไม่ถึง ๖ ไร่ ในขณะที่เกษตรกรร้อยละ ๘.๔ ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง
เรารู้ไหมว่า ที่ดินเกษตรกรอยู่นอกเขตชลประทาน มากกว่า ๗๐ ล้านไร่
เรารู้ไหมว่า ประเทศไทยเราใช้ปุ๋ยปีละ ๔.๒ ล้านตัน และสารเคมีมีการนำเข้ากว่า ๑.๒ แสนตัน และนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์มูลค่ากว่า ๕ หมื่นล้านบาทต่อปี
เรารู้ไหมว่า ประเทศไทยเรามีคนจน ๒.๘ ล้านคน เกือบร้อยละ ๗๐ อยู่ในภาคเกษตร เกษตรกรร้อยละ ๖๐ มีหนี้สิ้นกับแหล่งทุนต่าง ๆ
เรารู้ไหมว่า เกษตรกรมีสัดส่วนลดลงทุกปี อายุเฉลี่ยของเกษตรกรมีแนวโน้มสูงขึ้น ระหว่าง ๔๕ - ๕๑ ปี
เรารู้ไหมว่า ยังมีคนไทยที่ยังขาดสารอาหาร ราว ๑๐.๗ ล้านคน
เรารู้ไหมว่า พบการปนเปื้อนในอาหาร เนื้อไก่ สุกร ในอัตราที่สูง
เรารู้ไหมว่า นมที่เราดื่มกันทุกวัน มีปริมาณโปรตีนต่ำกว่ามาตรฐาน ราวร้อยละ ๓๕
เรารู้ไหมว่า ยังพบการปนเปื้อนแอลฟาทอกซินในกลุ่มธัญพืช ถั่วเมล็ดและผลิตภัณฑ์ ร้อยละ ๑๑.๔
เรารู้ไหมว่า พบสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ สูงกว่า ๑ ใน ๓
เรารู้ไหมว่า ประเทศไทยส่งออกอาหารสูงกว่านำเขา ราวปีละ ๖ แสนล้านบาท
เรารู้ไหมว่า คนไทยกว่า ๑๐ ล้านคนมีภาวะโรคอ้วน
เรารู้ไหมว่า คนไทยบริโภคผักและผลไม้ตามปริมาณที่กำหนด เพียงร้อยละ ๑๗.๗ หรือ ๙ ล้านคน
เรารู้ไหมว่า คนไทยยังบริโภคอาหารที่มีรสหวาน เค็ม มัน มากเกินไป ในอัตราส่วนที่สูงมาก
เรารู้ไหมว่า คนไทยเพศหญิง ร้อยละ ๔๕ เพศชายร้อยละ ๑๘.๖ มีภาวะลงพุง
เรารู้ไหมว่า ประเทศไทยเรามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหารกว่า ๑๐ ฉบับ มีแผนยุทธศาสตร์กว่า ๑๐ ฉบับ มีหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกว่า ๓๐ หน่วยงาน
คงพอเห็นภาพของสถานการณ์ของระบบอาหารของประเทศไทยเรานะครับ
เรื่องนี้เป็นเร่องหนึ่งที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้กำหนดให้เป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการแก้ไขและวางระบบให้ดี ซึ่งผมก็เห็นด้วย เพราะอาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์เรา
ผมคิดเล่น ๆ ว่า หากรัฐบาลจัดสรรงบประมาณสัก ๑๐ % จากโครงการเงินกู้ ๒.๒ ล้านบาท มาลงทุนกับเรื่องอาหารอย่างจริง ๆ จัง ๆ ประเทศไทยเราก็จะกลายเป็น "ครัวอาหารโลก" อย่างแท้จริง แต่ก็เป็นเพียงแค่ความฝันลม ๆ แล้ง ๆ เท่านั้น จริงไหมครับพี่น้อง
หากผมกล่าวว่าเมืองไทยคือครัวโลก ผมเชื่อว่าทุกคนต้องพยักหน้ายอมรับกับประโยคนี้ แต่คุณเชื่อไหมว่าท่ามกลางความเป็นครัวโลกนั้น เมืองไทยเรากำลังประสบปัญหาทีเป็นมะเร็งร้ายรอบด้าน ไม่เชื่อคุณลองสัมผัสข้อมูลเหล่านี้ดูครับ
เรารู้ไหมว่า ที่ดินทำการเกษตรของไทยเรา ประมาณ ๑๑๒.๖ ล้านไร่ อยู่ในมือคน ๕.๘ ล้านราย โดย ๑ ใน ๔ มีพื้นที่ไม่ถึง ๖ ไร่ ในขณะที่เกษตรกรร้อยละ ๘.๔ ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง
เรารู้ไหมว่า ที่ดินเกษตรกรอยู่นอกเขตชลประทาน มากกว่า ๗๐ ล้านไร่
เรารู้ไหมว่า ประเทศไทยเราใช้ปุ๋ยปีละ ๔.๒ ล้านตัน และสารเคมีมีการนำเข้ากว่า ๑.๒ แสนตัน และนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์มูลค่ากว่า ๕ หมื่นล้านบาทต่อปี
เรารู้ไหมว่า ประเทศไทยเรามีคนจน ๒.๘ ล้านคน เกือบร้อยละ ๗๐ อยู่ในภาคเกษตร เกษตรกรร้อยละ ๖๐ มีหนี้สิ้นกับแหล่งทุนต่าง ๆ
เรารู้ไหมว่า เกษตรกรมีสัดส่วนลดลงทุกปี อายุเฉลี่ยของเกษตรกรมีแนวโน้มสูงขึ้น ระหว่าง ๔๕ - ๕๑ ปี
เรารู้ไหมว่า ยังมีคนไทยที่ยังขาดสารอาหาร ราว ๑๐.๗ ล้านคน
เรารู้ไหมว่า พบการปนเปื้อนในอาหาร เนื้อไก่ สุกร ในอัตราที่สูง
เรารู้ไหมว่า นมที่เราดื่มกันทุกวัน มีปริมาณโปรตีนต่ำกว่ามาตรฐาน ราวร้อยละ ๓๕
เรารู้ไหมว่า ยังพบการปนเปื้อนแอลฟาทอกซินในกลุ่มธัญพืช ถั่วเมล็ดและผลิตภัณฑ์ ร้อยละ ๑๑.๔
เรารู้ไหมว่า พบสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ สูงกว่า ๑ ใน ๓
เรารู้ไหมว่า ประเทศไทยส่งออกอาหารสูงกว่านำเขา ราวปีละ ๖ แสนล้านบาท
เรารู้ไหมว่า คนไทยกว่า ๑๐ ล้านคนมีภาวะโรคอ้วน
เรารู้ไหมว่า คนไทยบริโภคผักและผลไม้ตามปริมาณที่กำหนด เพียงร้อยละ ๑๗.๗ หรือ ๙ ล้านคน
เรารู้ไหมว่า คนไทยยังบริโภคอาหารที่มีรสหวาน เค็ม มัน มากเกินไป ในอัตราส่วนที่สูงมาก
เรารู้ไหมว่า คนไทยเพศหญิง ร้อยละ ๔๕ เพศชายร้อยละ ๑๘.๖ มีภาวะลงพุง
เรารู้ไหมว่า ประเทศไทยเรามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหารกว่า ๑๐ ฉบับ มีแผนยุทธศาสตร์กว่า ๑๐ ฉบับ มีหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกว่า ๓๐ หน่วยงาน
คงพอเห็นภาพของสถานการณ์ของระบบอาหารของประเทศไทยเรานะครับ
เรื่องนี้เป็นเร่องหนึ่งที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้กำหนดให้เป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการแก้ไขและวางระบบให้ดี ซึ่งผมก็เห็นด้วย เพราะอาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์เรา
ผมคิดเล่น ๆ ว่า หากรัฐบาลจัดสรรงบประมาณสัก ๑๐ % จากโครงการเงินกู้ ๒.๒ ล้านบาท มาลงทุนกับเรื่องอาหารอย่างจริง ๆ จัง ๆ ประเทศไทยเราก็จะกลายเป็น "ครัวอาหารโลก" อย่างแท้จริง แต่ก็เป็นเพียงแค่ความฝันลม ๆ แล้ง ๆ เท่านั้น จริงไหมครับพี่น้อง
วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556
สูงเม่นเมืองแห่งไมตรีจิต
๓ ตุลาคม ๒๕๕๖
เวลา ๔ ปีที่ผ่านไป ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างเกินคาด จากอดีตที่ผู้คนสูงเม่นไม่รู้จักกับธรรมนูญสุขภาพ ปัจจุบันคำนี้ได้กลายเป็นคำติดปากของคนที่นั่นอย่างถ้วนทั่ว จะทำอะไรก็ถามว่าในธรรมนูญสุขภาพเขียนไว้อย่างไร โอ้มันเป็นไปได้อย่างไรกัน
ผมจำได้ว่าในปลายปี ๒๕๕๒ ผมได้ร่วมคณะเดินทางไปที่อำเภอสูงเม่น ร่วมกับผู้บริหารองค์กร เพื่อเข้าร่วมพิธีลงนามระหว่างนายอำเภอกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งในอำเภอ เพื่อสัญญากันว่าจะร่วมกันขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามธรรมนูญสุขภาพอำเภอสูงเม่น
ธรรมนูญสุขภาพอำเภอสูงเม่น ถือเป็นธรรมนูญสุขภาพระดับอำเภอแห่งแรกของประเทศไทย เกิดขึ้นจากดำริของผู้อำนวยการโรงพยาบาลสูงเม่น หรือชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "หมอแสงชัย" ซึ่งผมเคยได้ยินหมอแสงชัยเล่าให้ฟังว่า ได้รับเอกสารเล่มเล็ก ๆ ที่ สช. ส่งไปให้ นั่งอ่านดูเลยเกิดความคิดอยากจะทำธรรมนูญสุขภาพเพื่อสร้างความเป็นเจ้าของสุขภาพของคนสูงเม่นร่วมกัน เพราะในขณะนั้นชาวบ้านคิดอะไรไม่ออกก็คิดถึงโรงพยาบาล
เมื่อเหลาความคิดได้คมชัดก็เดินไปปรึกษานายอำเภอ ชวนคนที่รู้จักมาปรึกษา ทุกฝ่ายเห็นด้วยพร้อมเดินหน้าสู่เป้ามหมายที่ตั้งใจไว้ กลไกทำงานต่าง ๆ เกิดขึ้น ทั้งฝ่ายยกร่างสาระ ฝ่ายรับฟังความคิดเห็น ฝ่ายสื่อสารประชาสัมพันธ์ เวลาเกือบ ๑ ปีที่ทุกฝ่ายต่างทุ่มเทกำลังกายและใจทำงานกันอย่างหนัก ลงไปพบชาวบ้านทุกตำบล เพื่อฟังความต้องการของชาวบ้านว่า สุขภาพที่พวกเขาต้องการเป็นอย่างไร และใครจะเป็นผู้รับปิดชอบ
ทุกอย่างเปลี่ยนไปอย่างไม่น่าเชื่อ จากเดิมที่อะไรก็ต้องโรงพยาบาล เปลี่ยนมาเป็นการกำหนดบทบาทที่ถูกกระจายกันออกไป อบต. ต้องทำอะไร โรงพยาบาลต้องทำอะไร และที่สำคัญชาวบ้านต้องทำอะไร ถูกเขียนไว้ในธรรมนูญสุขภาพฉบับนั้น
เวลาผ่านไป ๔ ปี วันนี้ผมได้เดินทางไปที่นั่นอีกครั้งหนึ่ง ไปฟังคนที่นั่นเขาคุยกันว่า เขาใช้ธรรมนูญสุขภาพไปทำอะไรบ้าง
ทุกถ้อยคำที่ได้ถูกถ่ายทอดออกมา เมื่อฟังแล้วช่างสร้างความสุขให้กับตัวผมเองเป็นอย่างยิ่ง มันเป็นไปได้เพียงนั้นเชียวหรือ
ตัวอย่างที่อยากยกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม
ที่ อบต.ดอนมูล ตัวนายกได้อ่านธรรมนูญสุขภาพที่เขียนไว้ข้อหนึ่งว่าทุกตำบลต้องมี รพ.สต. ย้อนกับมาดูในตำบลตัวเอง มันยังไม่มีนี่หว่า คนในตำบลเมื่อเกิดเจ็บป่วยต้องเดินทางไปโรงพยาบาลต่างตำบลสร้างความลำบากให้กับลูกบ้าน นั่งคิดนอนคิดเลยตัดสินใจย้ายนักเรียนที่มีเพียง ๔ คน ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในตำบลให้ไปเรียนที่โรงเรียนอีกแห่งหนึ่งในตำบลเดียวกัน แล้วปรับปรุงโรงเรียนแห่งนั้นเป็น รพ.สต. ประสานกับทางโรงพยาบาลสูงเม่นขอเจ้าหน้าที่ไปประจำ ทาง ผอ.รพ. ก็ใจดีจัดเจ้าหน้าที่ด้านส่งเสริมสุขภาพไปประจำ ๔ คน
ชาวบ้านดอนมูลเล่าให้ฟังว่า มีคนพิการอยู่คนหนึ่งอยู่บ้านที่หน้าโรงเรียน ชาวบ้านมาชวนให้ไปให้หมอตรวจที่โรงพยาบาล คนพิการปฏิเสธเพราะต้องเดินทางไกล แต่ทุกวันนี้คนพิการรายนั้นข้ามถนนมาที่โรงพยาบาลที่เปลี่ยนมาจากโรงเรียนแห่งนั้นเป็นประจำ คนพิการคนนั้นได้ฝากขอบคุณทุกฝ่ายมาจนทุกวันนี้
นี่เป็นเพียงเรื่องเดียวในหลายสิบเรื่องที่เป็นผลจากการมีธรรมนูญสุขภาพ
หมอแสงชัยกล่าวในที่ประชุมว่า เดี๋ยวนี้คนสูงเม่นรู้จักธรรมนูญและใช้ธรรมนูญเป็นกรอบการประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ส่วนทาง อบต.ก็ใช้ธรรมนูญนี่แหละที่ใช้เป็นกอบในการจัดทำแผนงานโครงการ แม้นกระทั่งกองทุน สปสช. ระดับตำบล ก็ใช้ธรรมนูญเป็นกรอบในการกำหนดกิจกรรม
อะไรมันจะวิเศษขนาดนี้ ผมไม่เคยคาดคิดว่าคุณค่าของธรรมนูญสุขภาพจะมากมายขนาดนี้ นี่ถ้าไม่ได้ยินกับหูตัวเองผมคงไม่เชื่อ
หลักฐานยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็นของจริงชิ้นหนึ่ง นั่นคือวิทยานิพนธ์ที่หมอแสงชัยทำขึ้นในสมัยเรียนระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ทำการวิจัยเรื่องการนำธรรมนูญสุขภาพไปปฏิบัติในตำบลหนึ่ง ผลการวิจัยออกว่าว่าชาวบ้านเห็นความสำคัญ และเกิดความเป็นเจ้าของในสุขภาพของตนของสังคมอย่างแท้จริง
เพียง ๔ ปีที่ผ่านไป ความรุ่งเรืองในกระบวนการพัฒนาจากฝีมิของผู้คนที่สูงเม่น ได้ปรากฎขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยพลังส่วนหนึ่งจากเครื่องมือที่ถูกเรียกขานว่า "ธรรมนูญสุขภาพอำเภอสูงเม่น"
คำพูดหนึ่งของหมอแสงชัยกล่าวไว้ในตอนท้ายของการนำเสนอก็คือ เป้าหมายการทำงานร่วมกันของคนสูงเม่นตามธรรมนูญสุขภาพที่พวกเขาได้ร่วมเขียนก็คือ "สูงเม่นจะต้องเป็นเมืองแห่งไมตรีจิต"
โอ้ นี่ผมฝันไปหรือเปล่าครับ
เวลา ๔ ปีที่ผ่านไป ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างเกินคาด จากอดีตที่ผู้คนสูงเม่นไม่รู้จักกับธรรมนูญสุขภาพ ปัจจุบันคำนี้ได้กลายเป็นคำติดปากของคนที่นั่นอย่างถ้วนทั่ว จะทำอะไรก็ถามว่าในธรรมนูญสุขภาพเขียนไว้อย่างไร โอ้มันเป็นไปได้อย่างไรกัน
ผมจำได้ว่าในปลายปี ๒๕๕๒ ผมได้ร่วมคณะเดินทางไปที่อำเภอสูงเม่น ร่วมกับผู้บริหารองค์กร เพื่อเข้าร่วมพิธีลงนามระหว่างนายอำเภอกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งในอำเภอ เพื่อสัญญากันว่าจะร่วมกันขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามธรรมนูญสุขภาพอำเภอสูงเม่น
ธรรมนูญสุขภาพอำเภอสูงเม่น ถือเป็นธรรมนูญสุขภาพระดับอำเภอแห่งแรกของประเทศไทย เกิดขึ้นจากดำริของผู้อำนวยการโรงพยาบาลสูงเม่น หรือชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "หมอแสงชัย" ซึ่งผมเคยได้ยินหมอแสงชัยเล่าให้ฟังว่า ได้รับเอกสารเล่มเล็ก ๆ ที่ สช. ส่งไปให้ นั่งอ่านดูเลยเกิดความคิดอยากจะทำธรรมนูญสุขภาพเพื่อสร้างความเป็นเจ้าของสุขภาพของคนสูงเม่นร่วมกัน เพราะในขณะนั้นชาวบ้านคิดอะไรไม่ออกก็คิดถึงโรงพยาบาล
เมื่อเหลาความคิดได้คมชัดก็เดินไปปรึกษานายอำเภอ ชวนคนที่รู้จักมาปรึกษา ทุกฝ่ายเห็นด้วยพร้อมเดินหน้าสู่เป้ามหมายที่ตั้งใจไว้ กลไกทำงานต่าง ๆ เกิดขึ้น ทั้งฝ่ายยกร่างสาระ ฝ่ายรับฟังความคิดเห็น ฝ่ายสื่อสารประชาสัมพันธ์ เวลาเกือบ ๑ ปีที่ทุกฝ่ายต่างทุ่มเทกำลังกายและใจทำงานกันอย่างหนัก ลงไปพบชาวบ้านทุกตำบล เพื่อฟังความต้องการของชาวบ้านว่า สุขภาพที่พวกเขาต้องการเป็นอย่างไร และใครจะเป็นผู้รับปิดชอบ
ทุกอย่างเปลี่ยนไปอย่างไม่น่าเชื่อ จากเดิมที่อะไรก็ต้องโรงพยาบาล เปลี่ยนมาเป็นการกำหนดบทบาทที่ถูกกระจายกันออกไป อบต. ต้องทำอะไร โรงพยาบาลต้องทำอะไร และที่สำคัญชาวบ้านต้องทำอะไร ถูกเขียนไว้ในธรรมนูญสุขภาพฉบับนั้น
เวลาผ่านไป ๔ ปี วันนี้ผมได้เดินทางไปที่นั่นอีกครั้งหนึ่ง ไปฟังคนที่นั่นเขาคุยกันว่า เขาใช้ธรรมนูญสุขภาพไปทำอะไรบ้าง
ทุกถ้อยคำที่ได้ถูกถ่ายทอดออกมา เมื่อฟังแล้วช่างสร้างความสุขให้กับตัวผมเองเป็นอย่างยิ่ง มันเป็นไปได้เพียงนั้นเชียวหรือ
ตัวอย่างที่อยากยกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม
ที่ อบต.ดอนมูล ตัวนายกได้อ่านธรรมนูญสุขภาพที่เขียนไว้ข้อหนึ่งว่าทุกตำบลต้องมี รพ.สต. ย้อนกับมาดูในตำบลตัวเอง มันยังไม่มีนี่หว่า คนในตำบลเมื่อเกิดเจ็บป่วยต้องเดินทางไปโรงพยาบาลต่างตำบลสร้างความลำบากให้กับลูกบ้าน นั่งคิดนอนคิดเลยตัดสินใจย้ายนักเรียนที่มีเพียง ๔ คน ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในตำบลให้ไปเรียนที่โรงเรียนอีกแห่งหนึ่งในตำบลเดียวกัน แล้วปรับปรุงโรงเรียนแห่งนั้นเป็น รพ.สต. ประสานกับทางโรงพยาบาลสูงเม่นขอเจ้าหน้าที่ไปประจำ ทาง ผอ.รพ. ก็ใจดีจัดเจ้าหน้าที่ด้านส่งเสริมสุขภาพไปประจำ ๔ คน
ชาวบ้านดอนมูลเล่าให้ฟังว่า มีคนพิการอยู่คนหนึ่งอยู่บ้านที่หน้าโรงเรียน ชาวบ้านมาชวนให้ไปให้หมอตรวจที่โรงพยาบาล คนพิการปฏิเสธเพราะต้องเดินทางไกล แต่ทุกวันนี้คนพิการรายนั้นข้ามถนนมาที่โรงพยาบาลที่เปลี่ยนมาจากโรงเรียนแห่งนั้นเป็นประจำ คนพิการคนนั้นได้ฝากขอบคุณทุกฝ่ายมาจนทุกวันนี้
นี่เป็นเพียงเรื่องเดียวในหลายสิบเรื่องที่เป็นผลจากการมีธรรมนูญสุขภาพ
หมอแสงชัยกล่าวในที่ประชุมว่า เดี๋ยวนี้คนสูงเม่นรู้จักธรรมนูญและใช้ธรรมนูญเป็นกรอบการประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ส่วนทาง อบต.ก็ใช้ธรรมนูญนี่แหละที่ใช้เป็นกอบในการจัดทำแผนงานโครงการ แม้นกระทั่งกองทุน สปสช. ระดับตำบล ก็ใช้ธรรมนูญเป็นกรอบในการกำหนดกิจกรรม
อะไรมันจะวิเศษขนาดนี้ ผมไม่เคยคาดคิดว่าคุณค่าของธรรมนูญสุขภาพจะมากมายขนาดนี้ นี่ถ้าไม่ได้ยินกับหูตัวเองผมคงไม่เชื่อ
หลักฐานยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็นของจริงชิ้นหนึ่ง นั่นคือวิทยานิพนธ์ที่หมอแสงชัยทำขึ้นในสมัยเรียนระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ทำการวิจัยเรื่องการนำธรรมนูญสุขภาพไปปฏิบัติในตำบลหนึ่ง ผลการวิจัยออกว่าว่าชาวบ้านเห็นความสำคัญ และเกิดความเป็นเจ้าของในสุขภาพของตนของสังคมอย่างแท้จริง
เพียง ๔ ปีที่ผ่านไป ความรุ่งเรืองในกระบวนการพัฒนาจากฝีมิของผู้คนที่สูงเม่น ได้ปรากฎขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยพลังส่วนหนึ่งจากเครื่องมือที่ถูกเรียกขานว่า "ธรรมนูญสุขภาพอำเภอสูงเม่น"
คำพูดหนึ่งของหมอแสงชัยกล่าวไว้ในตอนท้ายของการนำเสนอก็คือ เป้าหมายการทำงานร่วมกันของคนสูงเม่นตามธรรมนูญสุขภาพที่พวกเขาได้ร่วมเขียนก็คือ "สูงเม่นจะต้องเป็นเมืองแห่งไมตรีจิต"
โอ้ นี่ผมฝันไปหรือเปล่าครับ
วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ธรรมนูญชีวิตคนริมปิง
วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๖
การได้รับฟังอะไรดี ๆ ที่สร้างมุมมองใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง และยิ่งเรื่องได้ฟังนั้นเป็นเรื่องที่เป็นผลอันเกิดจากงานที่องค์กรเราเข้าไปมีส่วนด้วย มันช่างสร้างความปิติทางจิตใจยิ่งนัก
เสียงนาฬิกาปลุกตอนตีสี่สิบห้านาทีตามที่ตั้งไว้ก่อนนอน เป็นตัวกระตุกให้ผมต้องรีบลุกขึ้นอาบน้ำแต่งตัว เก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋า รีบเดินทางสู่ปากซอยจับรถแท๊กซี่รีบเดินทางไปยังสนามบินดอนเมือง เพื่อจะเดินทางไปพร้อมคณะไปยังจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งกำหนดเวลาเหินฟ้าตอน ๐๖.๓๐ น. ถึงสนามบินดอนเมือง พบคณะ ๘ ชีวิต พร้อมหน้า เดินทางโดยสายการบินแอร์เอเซีย ถึงเชียงใหม่ตรงเวลา แล้วเดินทางต่อโดยรถตู้ปรับอากาศเบาะอันแสนนุ่มเดินทางสูงเทศบาลตำบลริมปิง จังหวัดลำพูน
คณะของเราเดินทางมาที่นี้ ก็ด้วยเหตุผลเรื่องการจัดให้มีการมอบรางวัลที่มีชื่อว่า "รางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ" ให้แก่พื้นที่ที่มีการจัดทำ "ธรรมนูญสุขภาพ" ค่อย ๆ อ่านนะครับ เพราะคำที่ผมใช้ ค่อนข้างจะเป็นคำใหม่ ๆ ไม่คุ้นหูนัก
คำว่า "ธรรมนูญสุขภาพ" เป็นชื่อที่เกิดจากกฎหมายฉบับหนึ่งคือ "พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐" ที่มีการกำหนดให้มีการจัดทำ "ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ" เพื่อใช้เป็นกรอบอ้างอิงของสังคมไทย ในคำปรารถของธรรมนูญสุขภาพระดับชาติ ได้เขียนไว้ว่า พื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดสามารถนำแนวทางไปทำเป็น "ธรรมนูญสุขภาพ" ของพื้นที่ตนได้ นี่แหละจึงเป็นที่มาของคำดังกล่าว
หลังจากที่ีการประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพระดับชาติในอีก ๒ ปี ถัดจากการประกาศใช้กฎหมายเมื่อปี ๒๕๕๐ ก็มีพื้นที่หลายสิบแห่งได้จัดทำ "ธรรมนูญสุขภาพ" กัน และที่ตำบลริมปิงก็เป็นหนึ่งในหลายพื้นที่นั้น
เมื่อมีหลายพื้นที่ทางองค์กรผมก็เลยดำริว่าน่าจะมีการยกย่องเชิดชูพื้นที่ทำงานเหล่านี้กัน จึงกำหนดให้มีรางวัลสำหรับมอบให้กับพื้นที่ที่มีผลงานดีเด่นขึ้น โดยจะไปมอบในเวทีประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่จัดขึ้นทุกปี ก็เลยเรียกรางวัลนี้ว่า "รางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ"
คงถึงบางอ้อแล้วนะครับ
ที่นี้ผมอยากเล่าถึงสิ่งที่ผมได้ฟังจากการนำเสนอกระบวนการทำงานของคนริมปิง ซึ่งวันนี้ภายในห้องประชุมเทศบาลตำบลริมปิง มีผู้คนเกือบยี่สิบคนมาร่วมประชุม ภายใต้การนำของนายกเทศมนตรีตำบลริมปิง อันมีนามว่า "เอนก มหาเกียรติคุณ" ชายร่างท้วมผิวขาวสายตาดูมีความสุข นอกนั้นก็มีเจ้าหน้าที่ของเทศบาล และจากหน่วยงานอื่นในตำบล ทั้ง รพ.สต. เกษตรตำบล โรงเรียน และที่สำคัญก็คือมีผู้หลักผู้ใหญ๋ที่เป็นแกนนำขับเคลื่อนงานในพื้นที่เข้าร่วมวงด้วย
หมอหมู หรือผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เล่าให้ทีมเราฟัง เราฟังไปก็รู้สึกสนุกที่ได้ยินได้ฟังกระบวนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพของคนริมปิงที่ใช้กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง มีการจัดเวทีระดับหมู่บ้านทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน ก่อนจะนำเอาข้อมูลมายกร่าง รวมผสมเข้ากับประสบการณ์ที่ลงไปดูงานที่ตำบลชะแล้ จังหวัดสงขลา และที่อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เมื่อยกร่างแล้วก็จัดเวทีรับฟังใหญ่อีกรอบ เมื่อทุกฝ่ายเห็นชอบก็มีการประกาศใช้เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๔
เมื่อมีธรรมนูญฯ ฉบับนี้แล้ว ก็นำไปเป็นกรอบในการทำงานของทุกองค์กร หน่วยานในตำบล และที่สำคัญก็คือใช้เป็นสัญญาใจกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลด้วย
หนึ่งในหลายเรื่องที่ฟังแล้วประทับใจก็คือ มีผู้ประกอบการตั้งโรงงานลิตเหล้าพื้นบ้านในตำบล ปรากฎว่าได้นำเรื่องนี้มาคุยกันแล้วพบว่าขัดกับธรรมนูญฯ ที่เขียนไว้ เลยอธิบายให้กับผู้ประกอบการรายนั้นจนเข้าใจ จนทำให้เลิกการขออนุญาตไปเลย
อีกเรื่องหนึ่งที่น่าประทับใจกคือ นำธรรมนูญไปเชื่อมโยงกับงานตำบลนมแม่ขององค์พระศรีรัช โดยบัญญัติไว้ในธรรมนูญเลยว่าต้องส่งเสริมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
นี่แค่ ๒ ตัวอย่างในหลายสิบเรื่องที่ผมยกเอามาเป็นตัวอย่าง
ในตอนบ่าย ทีมงานเราเดินทางไปดูงานรณรงค์การลดละเลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ซึ่งก็ได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ อย่างมากมายครับ
ก็อย่างที่บอกครับ ว่าความปิติจะเกิด หากได้รับฟังเรื่องราวที่เป็นเรื่องดี ๆ แบบนี้
ผมและทีมงานกราบลาทีมงานตำบลริมปิงมาด้วยความสุข ขณะนั่งรถตู้เดินทางออกจากพื้นที่อดคิดไปถึงคำพูดของอดีตกำนันคนหนึ่งที่ลุกขึ้นกล่าวแบบสั้น ๆ แต่มีความหมายที่ลึกซึ้งว่า
"เราใช้ธรรมนูญสุขภาพปกครองตัวเอง เหมือนกับเราใช้รัฐธรรมนูญปกครองบ้านเมือง"
นี่คือวจีเด็ดจากปราชญ์ชาวบ้าน ที่ฟังแล้วช่างลึกซึ้งจริง ๆ ครับ
แหละนี่คือเสี้ยวหนึ่งของคนริมปิงที่ลุกขึ้นมาทำ "ธรรมนูญสุขภาพตำบลริมปิง" ซึ่งผมอยากจะเรียกว่า "ธรรมนูญชีวิตคนริมปิง"
การได้รับฟังอะไรดี ๆ ที่สร้างมุมมองใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง และยิ่งเรื่องได้ฟังนั้นเป็นเรื่องที่เป็นผลอันเกิดจากงานที่องค์กรเราเข้าไปมีส่วนด้วย มันช่างสร้างความปิติทางจิตใจยิ่งนัก
เสียงนาฬิกาปลุกตอนตีสี่สิบห้านาทีตามที่ตั้งไว้ก่อนนอน เป็นตัวกระตุกให้ผมต้องรีบลุกขึ้นอาบน้ำแต่งตัว เก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋า รีบเดินทางสู่ปากซอยจับรถแท๊กซี่รีบเดินทางไปยังสนามบินดอนเมือง เพื่อจะเดินทางไปพร้อมคณะไปยังจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งกำหนดเวลาเหินฟ้าตอน ๐๖.๓๐ น. ถึงสนามบินดอนเมือง พบคณะ ๘ ชีวิต พร้อมหน้า เดินทางโดยสายการบินแอร์เอเซีย ถึงเชียงใหม่ตรงเวลา แล้วเดินทางต่อโดยรถตู้ปรับอากาศเบาะอันแสนนุ่มเดินทางสูงเทศบาลตำบลริมปิง จังหวัดลำพูน
คณะของเราเดินทางมาที่นี้ ก็ด้วยเหตุผลเรื่องการจัดให้มีการมอบรางวัลที่มีชื่อว่า "รางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ" ให้แก่พื้นที่ที่มีการจัดทำ "ธรรมนูญสุขภาพ" ค่อย ๆ อ่านนะครับ เพราะคำที่ผมใช้ ค่อนข้างจะเป็นคำใหม่ ๆ ไม่คุ้นหูนัก
คำว่า "ธรรมนูญสุขภาพ" เป็นชื่อที่เกิดจากกฎหมายฉบับหนึ่งคือ "พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐" ที่มีการกำหนดให้มีการจัดทำ "ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ" เพื่อใช้เป็นกรอบอ้างอิงของสังคมไทย ในคำปรารถของธรรมนูญสุขภาพระดับชาติ ได้เขียนไว้ว่า พื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดสามารถนำแนวทางไปทำเป็น "ธรรมนูญสุขภาพ" ของพื้นที่ตนได้ นี่แหละจึงเป็นที่มาของคำดังกล่าว
หลังจากที่ีการประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพระดับชาติในอีก ๒ ปี ถัดจากการประกาศใช้กฎหมายเมื่อปี ๒๕๕๐ ก็มีพื้นที่หลายสิบแห่งได้จัดทำ "ธรรมนูญสุขภาพ" กัน และที่ตำบลริมปิงก็เป็นหนึ่งในหลายพื้นที่นั้น
เมื่อมีหลายพื้นที่ทางองค์กรผมก็เลยดำริว่าน่าจะมีการยกย่องเชิดชูพื้นที่ทำงานเหล่านี้กัน จึงกำหนดให้มีรางวัลสำหรับมอบให้กับพื้นที่ที่มีผลงานดีเด่นขึ้น โดยจะไปมอบในเวทีประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่จัดขึ้นทุกปี ก็เลยเรียกรางวัลนี้ว่า "รางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ"
คงถึงบางอ้อแล้วนะครับ
ที่นี้ผมอยากเล่าถึงสิ่งที่ผมได้ฟังจากการนำเสนอกระบวนการทำงานของคนริมปิง ซึ่งวันนี้ภายในห้องประชุมเทศบาลตำบลริมปิง มีผู้คนเกือบยี่สิบคนมาร่วมประชุม ภายใต้การนำของนายกเทศมนตรีตำบลริมปิง อันมีนามว่า "เอนก มหาเกียรติคุณ" ชายร่างท้วมผิวขาวสายตาดูมีความสุข นอกนั้นก็มีเจ้าหน้าที่ของเทศบาล และจากหน่วยงานอื่นในตำบล ทั้ง รพ.สต. เกษตรตำบล โรงเรียน และที่สำคัญก็คือมีผู้หลักผู้ใหญ๋ที่เป็นแกนนำขับเคลื่อนงานในพื้นที่เข้าร่วมวงด้วย
หมอหมู หรือผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เล่าให้ทีมเราฟัง เราฟังไปก็รู้สึกสนุกที่ได้ยินได้ฟังกระบวนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพของคนริมปิงที่ใช้กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง มีการจัดเวทีระดับหมู่บ้านทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน ก่อนจะนำเอาข้อมูลมายกร่าง รวมผสมเข้ากับประสบการณ์ที่ลงไปดูงานที่ตำบลชะแล้ จังหวัดสงขลา และที่อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เมื่อยกร่างแล้วก็จัดเวทีรับฟังใหญ่อีกรอบ เมื่อทุกฝ่ายเห็นชอบก็มีการประกาศใช้เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๔
เมื่อมีธรรมนูญฯ ฉบับนี้แล้ว ก็นำไปเป็นกรอบในการทำงานของทุกองค์กร หน่วยานในตำบล และที่สำคัญก็คือใช้เป็นสัญญาใจกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลด้วย
หนึ่งในหลายเรื่องที่ฟังแล้วประทับใจก็คือ มีผู้ประกอบการตั้งโรงงานลิตเหล้าพื้นบ้านในตำบล ปรากฎว่าได้นำเรื่องนี้มาคุยกันแล้วพบว่าขัดกับธรรมนูญฯ ที่เขียนไว้ เลยอธิบายให้กับผู้ประกอบการรายนั้นจนเข้าใจ จนทำให้เลิกการขออนุญาตไปเลย
อีกเรื่องหนึ่งที่น่าประทับใจกคือ นำธรรมนูญไปเชื่อมโยงกับงานตำบลนมแม่ขององค์พระศรีรัช โดยบัญญัติไว้ในธรรมนูญเลยว่าต้องส่งเสริมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
นี่แค่ ๒ ตัวอย่างในหลายสิบเรื่องที่ผมยกเอามาเป็นตัวอย่าง
ในตอนบ่าย ทีมงานเราเดินทางไปดูงานรณรงค์การลดละเลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ซึ่งก็ได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ อย่างมากมายครับ
ก็อย่างที่บอกครับ ว่าความปิติจะเกิด หากได้รับฟังเรื่องราวที่เป็นเรื่องดี ๆ แบบนี้
ผมและทีมงานกราบลาทีมงานตำบลริมปิงมาด้วยความสุข ขณะนั่งรถตู้เดินทางออกจากพื้นที่อดคิดไปถึงคำพูดของอดีตกำนันคนหนึ่งที่ลุกขึ้นกล่าวแบบสั้น ๆ แต่มีความหมายที่ลึกซึ้งว่า
"เราใช้ธรรมนูญสุขภาพปกครองตัวเอง เหมือนกับเราใช้รัฐธรรมนูญปกครองบ้านเมือง"
นี่คือวจีเด็ดจากปราชญ์ชาวบ้าน ที่ฟังแล้วช่างลึกซึ้งจริง ๆ ครับ
แหละนี่คือเสี้ยวหนึ่งของคนริมปิงที่ลุกขึ้นมาทำ "ธรรมนูญสุขภาพตำบลริมปิง" ซึ่งผมอยากจะเรียกว่า "ธรรมนูญชีวิตคนริมปิง"
วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ปีใหม่ความท้าทายใหม่
๑ ตุลาคม ๒๕๕๖
ในวงการราชการเขาบอกว่า วันนี้คือวันขึ้นปีใหม่ของปีงบประมาณใหม่ หรือปี ๒๕๕๗ ผมจึงตั้งหัวข้อว่า "ปีใหม่ความท้าทายใหม่" สำหรับการเริ่มต้นการกลับมาเขียนบล๊อกอีกครั้งหนึ่ง
หากถามว่าแล้ว "ความท้าทายใหม่" ที่ตั้งไว้ในชื่อตอนนะมันคืออะไรล่ะ ก็อยากจะบอกว่าไม่ถึงกับเป็นความท้าทายใหม่อะไรหรอก แต่ได้ทำอะไรใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง ก็แค่นั้นเอง
เริ่มปีใหม่ปีนี้ผมรับงานใหญ่เลยครับ ได้รับมอบหมายให้เดินทางไปกับผู้บริหารท่านหนึ่ง ไปร่วมชี้แจงการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล ใหญ่ไหมล่ะงานนี้
จริง ๆ แล้วจะว่าไปชี้แจงก็ไม่ถูกนักหรอก เพราะได้แค่นั่งรออยู่หน้าห้องประชุม หากมีเรื่องที่ต้องการคำชี้แจงถึงจะมีโอกาสเข้าไปชี้แจง และก็เป็นดั่งว่า พอถึงเรื่องที่ผมเตรียมตัวไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ ๙ นั่งรอประมาณ ๕ นาที เจ้าหน้าที่ก็เดินออกจากห้องประชุมมาบอกว่า "ระเบียบวาระที่ ๙ ผ่านแล้วค่ะ" ทุกคนที่ไปด้วยก็เดินทางกลับ อย่างนี้เขาเรียกว่าไปชี้แจงหรือปล่าวก็ไม่รู้
ก็ดีแล้วล่ะครับที่ไม่ต้องเข้าไปชี้แจง เพราะเรื่องนี้คุยกันมานานมากเกือบปีแล้วครับ คุยกันเองระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปประชุมชี้แจงคณะกรรมการกลั่นกรองก็ครั้งหนึ่ง จึงไม่มีประเด็นอะไรที่ขัดแย้งกัน
ที่เล่ามาทั้งหมดนี้เพื่อชี้ให้เห็นถึงกระบวนการทำงานในเรื่องที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี พูดง่าย ๆ ก็คือกว่าจะเสนอเข้าที่ประชุมได้นั้นมีการปรึกษาหารือจนได้ข้อสรุปกันมาเป็นอย่างดีแล้ว ฉะนั้นเวลาพิจารณาของที่ประชุม ครม. จึงใช้เวลาสั้นมากจริง ๆ ครับ
จะยังไงก็ช่างถือว่าผมได้ทำงานใหญ่ในวันขึ้นปีงบประมาณใหม่ ได้สร้างผลงานบรรลุเป้าหมายขององค์กรไปอีกส่วนหนึ่ง ก็น่าจะดีใจครับ
ผมอยากจะเขียนถึงเรื่องที่เกี่ยวกับความท้าทายใหม่สักหน่อย เรื่องมีอยู่ว่า ๓ เดือนมาแล้วที่ผมเปลี่ยนตำแหน่งมาทำหน้าที่ผู้ช่วยซีอีโอ ทดลองทำมา ๓ เดือน รู้สึกลอย ๆ ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ใครให้ทำอะไรก็ทำ เลยมาคิดว่าจะปล่อยไปแบบนี้หรือ เลยคิดถึงสมัยก่อนที่ผมเคยทำที่องค์กรเดิม เขามีการทำคำรับรองการปฏิบัติงาน พูดง่าย ๆ ก็คือ สัญญาผลงาน ทำตอนต้นปีแล้ววัดผลปลายปี
ผมเอาแนวคิดนี้มาใช้ ยกร่างเป็นเป้าหมายของผมขึ้น เป็นงาน ๓ ส่วน คือ งานที่ซีอีโอมอบหมาย งานหนุนเสริมตามคำร้องขอและงานที่ริเริ่มใหม เสร็จแล้วก็ทำบันทึกถึงซีอีโอเพื่อสัญญาว่าในปี ๒๕๕๗ นี้จะทำงานอะไรบ้าง
ผมเขียนเหตุผลในบันทึกว่าเพื่อความเป็นระบบ ไม่ซ้ำซ้อน และใช้ในการทำงานร่วมกับคนอื่น จริง ๆ แล้วจะได้ใช้เป็นกรอบในการประเมินผลปลายปีอีกด้วย
ก็ไม่รู้ผลจะออกมาอย่างไร เพราะเรื่องได้เสนอให้กับเลขานุการของซีอีโอไปแล้ว
นอกจากผมจะทำแล้ว ผมได้ชวนผู้ช่วยซีอีโออีกคนทำเหมือนกันซึ่งก็ได้เสนอแผนนั้นไปพร้อมกับผม
ผมว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญนะครับ การทำงานต้องมีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน ไม่เช่นนั้นจะหลักลอย วัน ๆ ทำไปแบบไร้จุดหมาย
ก็ถือว่าเริ่มต้นปีใหม่ได้สร้างความท้าทายใหม่ให้กับตัวเอง ด้วยการสัญญากับหัวหน้าว่าจะทำโน้นทำนี่ที่ชัดเจนครับ
แค่นี่แหละที่อยากจะเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่ ด้วยการตั้งเป้าหมายการทำงานให้กับตนเอง
เพราะคนต้องมีเป้าหมาย และเป้าหมายมีไว้ให้พุ่งชนครับ
ในวงการราชการเขาบอกว่า วันนี้คือวันขึ้นปีใหม่ของปีงบประมาณใหม่ หรือปี ๒๕๕๗ ผมจึงตั้งหัวข้อว่า "ปีใหม่ความท้าทายใหม่" สำหรับการเริ่มต้นการกลับมาเขียนบล๊อกอีกครั้งหนึ่ง
หากถามว่าแล้ว "ความท้าทายใหม่" ที่ตั้งไว้ในชื่อตอนนะมันคืออะไรล่ะ ก็อยากจะบอกว่าไม่ถึงกับเป็นความท้าทายใหม่อะไรหรอก แต่ได้ทำอะไรใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง ก็แค่นั้นเอง
เริ่มปีใหม่ปีนี้ผมรับงานใหญ่เลยครับ ได้รับมอบหมายให้เดินทางไปกับผู้บริหารท่านหนึ่ง ไปร่วมชี้แจงการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล ใหญ่ไหมล่ะงานนี้
จริง ๆ แล้วจะว่าไปชี้แจงก็ไม่ถูกนักหรอก เพราะได้แค่นั่งรออยู่หน้าห้องประชุม หากมีเรื่องที่ต้องการคำชี้แจงถึงจะมีโอกาสเข้าไปชี้แจง และก็เป็นดั่งว่า พอถึงเรื่องที่ผมเตรียมตัวไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ ๙ นั่งรอประมาณ ๕ นาที เจ้าหน้าที่ก็เดินออกจากห้องประชุมมาบอกว่า "ระเบียบวาระที่ ๙ ผ่านแล้วค่ะ" ทุกคนที่ไปด้วยก็เดินทางกลับ อย่างนี้เขาเรียกว่าไปชี้แจงหรือปล่าวก็ไม่รู้
ก็ดีแล้วล่ะครับที่ไม่ต้องเข้าไปชี้แจง เพราะเรื่องนี้คุยกันมานานมากเกือบปีแล้วครับ คุยกันเองระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปประชุมชี้แจงคณะกรรมการกลั่นกรองก็ครั้งหนึ่ง จึงไม่มีประเด็นอะไรที่ขัดแย้งกัน
ที่เล่ามาทั้งหมดนี้เพื่อชี้ให้เห็นถึงกระบวนการทำงานในเรื่องที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี พูดง่าย ๆ ก็คือกว่าจะเสนอเข้าที่ประชุมได้นั้นมีการปรึกษาหารือจนได้ข้อสรุปกันมาเป็นอย่างดีแล้ว ฉะนั้นเวลาพิจารณาของที่ประชุม ครม. จึงใช้เวลาสั้นมากจริง ๆ ครับ
จะยังไงก็ช่างถือว่าผมได้ทำงานใหญ่ในวันขึ้นปีงบประมาณใหม่ ได้สร้างผลงานบรรลุเป้าหมายขององค์กรไปอีกส่วนหนึ่ง ก็น่าจะดีใจครับ
ผมอยากจะเขียนถึงเรื่องที่เกี่ยวกับความท้าทายใหม่สักหน่อย เรื่องมีอยู่ว่า ๓ เดือนมาแล้วที่ผมเปลี่ยนตำแหน่งมาทำหน้าที่ผู้ช่วยซีอีโอ ทดลองทำมา ๓ เดือน รู้สึกลอย ๆ ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ใครให้ทำอะไรก็ทำ เลยมาคิดว่าจะปล่อยไปแบบนี้หรือ เลยคิดถึงสมัยก่อนที่ผมเคยทำที่องค์กรเดิม เขามีการทำคำรับรองการปฏิบัติงาน พูดง่าย ๆ ก็คือ สัญญาผลงาน ทำตอนต้นปีแล้ววัดผลปลายปี
ผมเอาแนวคิดนี้มาใช้ ยกร่างเป็นเป้าหมายของผมขึ้น เป็นงาน ๓ ส่วน คือ งานที่ซีอีโอมอบหมาย งานหนุนเสริมตามคำร้องขอและงานที่ริเริ่มใหม เสร็จแล้วก็ทำบันทึกถึงซีอีโอเพื่อสัญญาว่าในปี ๒๕๕๗ นี้จะทำงานอะไรบ้าง
ผมเขียนเหตุผลในบันทึกว่าเพื่อความเป็นระบบ ไม่ซ้ำซ้อน และใช้ในการทำงานร่วมกับคนอื่น จริง ๆ แล้วจะได้ใช้เป็นกรอบในการประเมินผลปลายปีอีกด้วย
ก็ไม่รู้ผลจะออกมาอย่างไร เพราะเรื่องได้เสนอให้กับเลขานุการของซีอีโอไปแล้ว
นอกจากผมจะทำแล้ว ผมได้ชวนผู้ช่วยซีอีโออีกคนทำเหมือนกันซึ่งก็ได้เสนอแผนนั้นไปพร้อมกับผม
ผมว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญนะครับ การทำงานต้องมีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน ไม่เช่นนั้นจะหลักลอย วัน ๆ ทำไปแบบไร้จุดหมาย
ก็ถือว่าเริ่มต้นปีใหม่ได้สร้างความท้าทายใหม่ให้กับตัวเอง ด้วยการสัญญากับหัวหน้าว่าจะทำโน้นทำนี่ที่ชัดเจนครับ
แค่นี่แหละที่อยากจะเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่ ด้วยการตั้งเป้าหมายการทำงานให้กับตนเอง
เพราะคนต้องมีเป้าหมาย และเป้าหมายมีไว้ให้พุ่งชนครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)