๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๗
“โต....พุงเธอโตแล้วนะ”
หลังจากที่ผมยกมือไหว้และกล่าวสวัสดี นี้เป็นคำทักทายแรกจาก “พี่สง่า ดามาพงษ์” ในช่วงสายของวันศุกร์ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ ก่อนการประชุมปรึกษาหารือในงานหนึ่งที่กรมอนามัย
ผมรู้จัก “พี่สง่า” มาเกือบ ๒๐ ปี ตั้งแต่สมัยที่กระทรวงสาธารณสุขยังตั้งอยู่ที่วังเทวะเวสม์ข้างๆที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงค์ชาติ ทุกเย็นในวันทำงาน เราจะพบกันบนรถบัสระหว่างเดินทางกลับไปยังที่พักแถวๆถนนลาดพร้าว
ผมค่อนข้างตกใจกับคำทักทายดังกล่าว เนื่องจาก “พุง คือ เครื่องชี้วัดบ่งบอกภาวะสุขภาพของเรา” ฉะนั้น คำทักทายนี้จึงเหมือนสัญญาณบอกว่า “ถึงเวลาแล้วที่ผมต้องรักสุขภาพให้มากขึ้น” คำทักทายจึงกลายเป็นคำแนะนำที่สำคัญยิ่งสำหรับผม
เพราะ “โรคอ้วนลงพุง” คือ ภาวะอ้วนที่มีไขมันสะสมบริเวณช่วงเอวหรือช่องท้องหรือ “พุง” ปริมาณมากๆ และก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายหลายระบบ
ในทางการแพทย์เรียกโรคนี้ว่า “โรคเมตาบอลิคซินโดรม” หรือ Metabolic syndrome ถือเป็นกลุ่มความผิดปกติที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ ๒ ด้วย ดังนั้นภาวะอ้วนลงพุงจึงนับว่าเป็นโรคที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้
ในวงวิชาการได้ทำการศึกษาวิจัยและพบว่า ความยาวของเส้นรอบ “พุง” เป็นตัวบ่งชี้ภาวะอ้วนลงพุงที่ง่ายและชัดเจนที่สุด
มีข้อมูลทางวิชาการยืนยันแล้วว่า คนเอเชียในปัจจุบันจะใช้การวินิจฉัยว่าใครจัดอยู่ในกลุ่มโรคอ้วนลงพุงบ้าง โดยดูจาก
• เส้นรอบพุงของผู้ชายตั้งแต่ ๙๐ ซม.ขึ้นไป และสำหรับผู้หญิงตั้งแต่ ๘๐ ซม.ขึ้นไป
• มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดมากกว่า ๑๕๐ มก./ดล.
• มีระดับ HDL คอเลสเตอรอล น้อยกว่า ๔๐ มก./ดล.ในผู้ชาย หรือน้อยกว่า ๕๐ มก./ดล.ในผู้หญิง
• ความดันโลหิตมากกว่า ๑๓๐/๘๕ มม.ปรอท หรือรับประทานยาลดความดันโลหิตอยู่
• ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารมากกว่า ๑๐๐ มก./ดล.
โดยพบว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเพียง ๓ ข้อจากเกณฑ์ข้างต้น จะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น ๒ เท่า และผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ๔ ข้อจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มเป็น ๓ เท่า และเกิดโรคเบาหวานเพิ่มถึง ๒๔ เท่า
จึงเห็นได้ว่าเส้นรอบพุงเป็นตัวบ่งบอกปัจจัยเสี่ยงข้อหนึ่ง ซึ่งเราสามารถตรวจวัดได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องใช้เครื่องทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ หรือวิธีการคำนวณที่ยุ่งยากเลย
หลังจากประชุมเสร็จ ผมรีบกลับมาค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากความรู้ที่ตนเองมี ได้พบคำแนะนำแบบง่าย ๆ ว่า ถ้าเรามีเส้นรอบพุงยาวว่าเกณฑ์แล้วเราควรจะปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตเป็นอันดับแรก เช่น การลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ควบคุมอาหารที่รับประทาน บริโภคผักและผลไม้ให้มากขึ้น ลดการดื่มสุรา ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
เมื่อคุณปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคุณแล้ว หากยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล ไขมัน หรือความดันโลหิตได้ อาจจำเป็นต้องมีการใช้ยาในการควบคุมร่วมด้วย เป้าหมายในการใช้ยาก็เพื่อลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ เพิ่มระดับไขมัน HDL (เป็นไขมันที่ทำหน้าที่เก็บกวาดคอเลสเตอรอลจากหลอดเลือดไปขจัดที่ตับ นับว่าเป็นชนิดดี) และลดระดับไขมัน LDL (เป็นไขมันที่ทำหน้าที่นำคอเลสเตอรอลออกจากตับไปสะสมตามผนังหลอดเลือด ถือว่าเป็นชนิดไม่ดี) ซึ่งเหล่านี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวาน
สาเหตุของโรคอ้วนมีสาเหตุมาจากหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
• พันธุกรรม ถ้าพ่อแม่เป็นโรคอ้วน ลูกที่เกิดมาก็มีโอกาสเป็นโรคอ้วนสูง
• รับประทานอาหารมากเกินไป แล้วไม่มีเวลาออกกำลังกาย กล่าวคือ พลังงานที่ได้รับจากการรับประทานมากกว่าพลังงานที่ใช้ไปในการออกกำลังกาย เช่น ชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่สูง เช่น หนังไก่ทอด มันหมู หมูสามชั้น ขาหมู ครีม เค้ก ฯลฯ แล้วไม่ยอมหาเวลาว่างออกกำลังกายเพื่อให้มีการใช้พลังงานที่ได้รับเข้ามา
• พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม ทำให้มีการใช้พลังงานต่ำ และทำให้เสียโอกาสในการทำกิจกรรม หรือออกกำลังกายที่มีประโยชน์ต่อ สุขภาพ เช่น การจราจรติดขัดในกรุงเทพ ทำให้
คนส่วนใหญ่ต้องนั่งเฉยบนรถยนต์หลายชั่วโมงต่อวัน ลักษณะงานที่ต้องนั่งทำงานตลอดเวลา พฤติกรรมชอบรับประทานอาหารจุกจิก เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังมีโรคบางชนิด เช่น Cushings Syndrome ซึ่งจะทำให้ร่างกายของผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้อ้วน โดยสาเหตุของโรคนี้เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย จนทำให้อ้วนบริเวณใบหน้า ลำตัว ต้นคอด้านหลัง แต่แขนขาจะเล็ก และไม่มีแรง ในกรณีนี้จะต้องรักษาที่ต้นเหตุคือ ฮอร์โมนที่มีความผิดปกติจึงจะสามารถหายอ้วนได้
นอกจากนั้นแล้ว ความอ้วนนั้นสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลายชนิด และมีผลต่อระบบการทำงานในร่างกายหลายระบบด้วยกัน ได้แก่
• ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งได้แก่ โรคหลอดเลือดและหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดโคโรนารี
• โรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี (gallbladder disease)
• โรคเกี่ยวกับตับ เช่น ตับแข็ง (cirrhosis)
• มะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ปากมดลูก เยื่อบุมดลูก ต่อมลูกหมาก มดลูก รังไข่ เต้านม ถุงน้ำดี ตับอ่อน
• โรคทางเดินหายใจและปอด หายใจลำบากขณะนอนหลับ นอนกรน (snoring) เพราะทางเดินหายใจเริ่มตีบตัน ร่างกายจะขาดออกซิเจน ทำให้ ร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่ ส่งผลให้ง่วงนอนในเวลากลางวันบางคนอาจเป็นมากขนาดหลับในขณะขับรถ จนเกิดอุบัติเหตุได้
• โรคเกี่ยวกับไต เช่น นิ่ว ไตวายจากความดันโลหิตสูง
• โรคกระดูกและข้อต่อ โรคข้อต่อเสื่อม (os-teoarthritis in joints) โดยเฉพาะบริเวณสะโพก หัวเข่า ข้อศอก
• โรคเก๊าท์ (gout)
• โรคเบาหวาน (diabetes mellitus)
• เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน (stroke)
• ซึมเศร้า (depression)
• เส้นเลือดขอด (varicose vein)
• เหงื่อออกมาก (sweating)
• การเป็นหมัน (infertility)
ข้อมูลอีกตัวหนึ่งที่ทำให้ผมต้องตกตะลึงก็คือ คนอ้วนมีอัตราการเสียชีวิตแตกต่างจากคนรูปร่างปกติ โดยมีงานวิจัยยืนยันว่า “อัตราการเสียชีวิตของคนที่อ้วนมากมีสูงขึ้นถึง ๒ – ๑๒ เท่า ขึ้นกับอายุของแต่ละบุคคล”
ถ้าคนที่อ้วนหรือน้ำหนักเกินสามารถลด น้ำหนักได้เพียง ๕ – ๑๐ % ของน้ำหนักตัวเริ่มต้น ก็จะสามารถลดอัตราการพิการ และอัตราการตาย (morbidity and mortality rate)ได้ระดับหนึ่ง
แต่ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมต้องมีความพอดี การมากหรือน้อยเกินไปอาจเกิดผลเสียได้มากกว่าผลดี "น้ำหนัก" ก็เช่นกัน ถ้ามากเกินไป "อ้วน" ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากมาย แต่ถ้าสามารถลดความมากเกินไปลงมาให้ใกล้พอดีได้ก็จะเกิดการลดอัตราการเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้เช่นกัน
เมื่อปี ๒๕๔๘ ได้มีการสำรวจความชุกของโรคอ้วนของประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก รวม ๑๔ ประเทศ พบว่าประเทศไทยเรามีความชุกของโรคอ้วนอยู่ในลำดับที่ ๕ รองจากประเทศออสเตรเลีย มองโกเลีย วานุฮาตูและฮ่องกง
แต่สิ่งที่น่าตกใจมากกกว่าก็คือ มีการคาดการณ์กันว่าคนไทยมีผู้รูปร่างท้วมจนถึงระดับอ้วน ประมาณ ๑๗ ล้านคน
การสำรวจสุขภาพของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ซึ่งปรากฏว่าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันระหว่างการสำรวจเมื่อปี ๒๕๔๖ – ๒๕๔๗ กับครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๕๑ – ๒๕๕๒ พบว่า
คนไทยมีความชุกของภาวะอ้วนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเพศหญิง เพิ่มจากร้อยละ ๓๔.๔ เป็นร้อยละ ๔๐.๗ และเพศชายเพิ่มจาก ร้อยละ ๒๒.๕ เป็นร้อยละ ๒๘.๔
ฉะนั้นจึงพบว่าคนไทยเรามีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรควิถีชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นหลายเท่าตัวและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น
เราลองมาดูตัวเลขเปรียบเทียบ สถานการณ์เมื่อปี ๒๕๔๓ กับปี ๒๕๕๓ พบว่า
• อัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มจาก ๒๕๙ ราย เป็น ๑,๓๔๙ รายต่อประชากรแสนคน
• อัตราโรคหัวใจขาดเลือด เพิ่มจาก ๙๘ ราย เป็น ๓๙๗ รายต่อประชากรแสนคน
• อัตราโรคเบาหวาน เพิ่มจาก ๒๕๘ ราย เป็น ๙๕๔ รายต่อประชากรแสนคน
• อัตราโรคมะเร็ง เพิ่มจาก ๗๒ ราย เป็น ๒๐๖ รายต่อประชากรแสนคน
ที่นี้ลองมาดูพฤติกรรมสุขภาพของคนไทยกัน จากการสำรวจความชุกของพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บของประชากรไทยอายุ ๑๕ – ๗๔ ปี เมื่อปี ๒๕๕๐ กับปี ๒๕๕๓ แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน พบว่า
• คนไทยมีการเคลื่อนไหวทางกายอย่างเพียงพอ ลดลงจากร้อยละ ๙๒.๕ เหลือเพียงร้อยละ ๘๒.๒
• คนไทยมีการออกกำลังกาย ๓๐ นาที/ครั้งและอย่างน้อย ๓ ครั้ง/สัปดาห์ ลดลงจากร้อยละ ๓๗.๕ เหลือเพียงร้อยละ ๓๔.๓
• คนไทยมีการบริโภคผักและผลไม้ตามมาตรฐาน ลดลงจากร้อยละ ๒๒.๕ เหลือเพียงร้อยละ ๒๑.๗
แล้วหากถามว่า ถ้าเราเข้าข่ายเป็นโรคอ้วนลงพุงแล้ว มีคำแนะนำอะไรไหมเพื่อป้องกันโรคร้ายนี้ สูตรกำจัดมัจจุราชร้าย จำง่าย ๆ ว่า ขอให้ยึดหลัก "3 อ." นั่นก็คือ
อ.อาหาร โดยการหลีกเลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม เลือกวิธีเตรียมอาหารด้วยต้ม นึ่ง ย่าง งดของทอด ผัด ที่ใช้น้ำมันมาก เลิกดื่มเครื่องดื่มรสหวาน เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม นมเปรี้ยว กาแฟเย็น ชาเขียว น้ำผลไม้กล่อง น้ำผลไม้รสหวาน
อ.ออกกำลังกาย จงจดจำไว้เสมอว่า "กิน" ให้เท่ากับ "การเผาผลาญ" หากไม่ออกกำลังเท่าที่เรากินเข้าไป เราจะมีพลังงานเหลือเก็บไว้เป็นไขมันรอบพุงเช่นเดิม
อ.อารมณ์ ต้องมุ่งมั่น จริงจัง อดกลั้น อดทน กับนโยบายการเปลี่ยนแปลงตนเอง อย่าให้อารมณ์ความอยากกินมาทำลายนโยบายลดพุงของคุณ ดังนั้นอารมณ์ถือเป็นภารกิจแรกที่เราต้องทำให้ได้
ทั้ง 3 อ. นี้ มีความสำคัญมากเลย เพราะหากต้องการลดน้ำหนักให้ได้ผล จะต้องปฏิบัติตาม 3 อ.ไปพร้อม ๆ กัน ถ้าคิดจะออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว แต่ยังกินอาหาร โดยไม่ควบคุมอารมณ์ ต่อให้ออกกำลังกายหักโหมแค่ไหนก็ลดน้ำหนักได้แค่ ๑ % เท่านั้นเอง ส่วนคนที่คุมอาหารอย่างเดียว โดยไม่ออกกำลังกายเลย จะลดน้ำหนักได้แค่ ๙ % แต่ถ้าคุมอาหารด้วย ควบคู่กับการออกกำลังกายไปพร้อม ๆ กัน เราจะลดน้ำหนักได้ถึง ๙๐ %!!!
ได้ยินแบบนี้ หลายคนก็ยังมีข้ออ้างอยู่ในใจว่า "ก็ไม่มีเวลา จะไปออกกำลังกายได้อย่างไร" จริง ๆ แล้ว เราสามารถทำกิจกรรมอะไรที่ช่วยให้ขยับร่างกายได้ทุกเวลา อย่างเช่นถ้าคุณเป็นพนักงานออฟฟิศ ก็สามารถใช้เวลาในช่วงทำงานขยับร่างกายได้ เช่น
• ทุก ๆ ชั่วโมง ให้ลุกขึ้นมาเดินสัก ๕ นาที เป็นการพักเบรกไปในตัว
• เปลี่ยนจากการขึ้นลิฟต์มาขึ้นบันได เพียงแค่ ๕ นาที ก็จะช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้นแล้ว แถมยังช่วยเผาผลาญพลังงานที่มีอยู่ด้วย
• แกว่งแขน
• ลุกนั่ง
• เดินให้มากขึ้น ให้ได้วันละ ๑๐,๐๐๐ ก้าว
• ใช้จักรยาน หรือรถสาธารณะในการเดินทาง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมง่าย ๆ แค่นี้ ก็ช่วยให้เราเผาผลาญพลังงานไปได้มากโข ไม่ต้องเก็บพลังงานไว้เป็นไขมันหน้าท้องรอบ ๆ พุง ให้เสียสุขภาพอีกต่อไปเลยครับ
เพราะคำทักทายที่ว่า “โต....พุงเธอโตแล้วนะ” ของ "พี่สง่า ดามาพงษ์" เห็นทีผมจะต้องไปงัดจักรยานที่จอดทิ้งไว้นานที่บ้านออกมาขี่อย่างจริงจังเสียแล้ว
วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557
สมัชชาที่มีสัมฤทธิ์ผลยิ่งใหญ่เกรียงไกร
๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๗
“กลไกสมัชชาในประเทศไทย ฤาจะเป็นเพียงของเล่น ประชุมแล้วก็แล้วกันเช่นนั้นหรือ มีการประชุมสมัชชาที่บังเกิดสัมฤทธิ์ผลบ้างไหม
มติสมัชชาทั้งของสมัชชาสุขภาพและสมัชชาอื่นๆที่จัดขึ้น รัฐบาลให้ความสำคัญน้อยมาก อย่างเช่นกฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติที่เป็นมติสมัชชาผู้สูงอายุ ถึงขั้นประกาศเป็นกฎหมายแล้ว แต่รัฐบาลชุดที่แล้วก็ละเลยไม่ปฏิบัติตาม”
เป็นเสียงของบุคคลที่ผมคุ้นเคย ดึงดูดให้ผมต้องหันไปดูที่มาของต้นเสียงนั้น ภาพที่ปรากฎต่อสายตาคือ “นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน” ปรากฏขึ้นบนจอภาพขนาดใหญ่ ภายในห้องประชุมของศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร ในพิธีปิดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ เมื่อบ่ายของวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๗ ในฐานะองค์ปาฐกกล่าวปิดการประชุมในครั้งนี้
เนื้อหาของปาฐกถาชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของกระบวนการ “สมัชชาสุขภาพ” ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่กำหนดไว้ว่า “ให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) มีหน้าที่รับมติของการประชุมสมัชชาไปพิจารณาดำเนินการ ให้บรรลุผลตามควรแก่กรณี” โดยเฉพาะการสร้างกลไกเชื่อมโยงให้เกิดผลทางปฏิบัติ ให้มติสมัชชามีผลบังคับใช้ ให้หน่วยงานต่างๆ ของรัฐนำไปปฏิบัติ ผ่านการเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ
“สมัชชาที่มีสัมฤทธิ์ผลยิ่งใหญ่เกรียงไกร” คือหัวข้อที่ “นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน” ในนามกรรมการตัวแทนผู้สูงอายุในคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้แสดงปาฐกถาในครั้งนี้ไว้
โดยได้ยกตัวอย่างการประชุมสมัชชาที่สัมฤทธิ์ผล ซึ่งไม่เพียงสัมฤทธิ์ผลอย่างธรรมดา แต่เป็นสัมฤทธิ์ผลที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกร คือ การประชุมสมัชชาผู้แทนของพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยได้ไล่เรียงเนื้อหาที่ผ่านกระบวนการค้นคว้ามาอย่างดีให้ที่ประชุมรับฟัง
บางตอนของปาฐกถาสร้างความฮึกเหิมให้ผมไม่รู้ตัว
“ความสำเร็จของจีน ย่อมประกอบด้วยเหตุปัจจัยมากมาย การประชุมสมัชชาผู้แทนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นเพียงกลไกหนึ่ง แต่เป็นกลไกสำคัญที่ใช้ในการกำหนดหลักการ นโยบาย เข็มมุ่ง แผนงานโครงการ และที่สำคัญคือเป็นกลไกแก้ไขปัญหาความผิดพลาด โดยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง”
เชิญชวนทุกท่านมาร่วมรับฟังปาฐกถาอันทรงคุณค่านี้ไปพร้อม ๆ กัน นะครับ
สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งถือกำเนิดโดยการประกาศของประธานเหมาเจ๋อตง ณ ประตูเทียนอันเหมิน หรือ “ประตูสรวงสวรรค์สันติ” เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๒ ปัจจุบันจีนกลายเป็นชาติยิ่งใหญ่ มีขนาดเศรษฐกิจเป็นที่ ๒ ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา แซงหน้าญี่ปุ่นซึ่งครองที่ ๒ อยู่ยาวนาน และในไม่ช้าก็คงจะแซงขึ้นเป็นที่ ๑ ของโลก โดยจีนไม่เพียงเป็นที่ ๑ ในขนาดเศรษฐกิจเท่านั้น ในด้านการกีฬา จีนก็สามารถครองตำแหน่งเจ้าเหรียญทองโอลิมปิกในบางปี และในทางวิชาการจีนก็สามารถขึ้นมาเป็นที่ ๒ ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาในด้านการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารวิชาการชั้นนำของโลก และเชื่อว่าอีกไม่นานจีนก็จะสามารถขยับขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลกได้
แน่นอนว่าองค์กรที่เป็นกลไกสำคัญทำให้จีนผงาดขึ้นมาได้เช่นนี้ ก็คือ พรรคคอมมิวนิสต์จีน ปัจจุบันพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีสมาชิกราว ๘๐ ล้าน จากประชากรกว่า ๑,๓๐๐ ล้านคน จีนเพิ่งเฉลิมฉลอง ๙๐ ปี ของพรรคไปเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ นี้เอง
ตลอดช่วงเวลา ๙๐ ปี พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีการประชุมสมัชชาผู้แทนรวม ๑๗ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๔๖๔ โดยครั้งนั้นยังมีสมาชิกเพียง ๕๔ คน ในการประชุมสมัชชาผู้บริหารครั้งที่ ๒ ในปีต่อมา มีสมาชิกพรรคทั่วประเทศเพิ่มเป็น ๑๙๕ คน และการประชุม ครั้งที่ ๓ เมื่อปี ๒๔๖๖ สมาชิกก็ยังมีเพียงหลักร้อย คือ ๔๒๐ คนเท่านั้น หลังจากการต่อสู้อย่างยืนหยัด มีผู้บาดเจ็บล้มตายไปนับล้าน ถึงปี ๒๔๘๘ หลังก่อตั้งพรรคได้ ๒๔ ปี และยังไม่ได้ชัยชนะ สมาชิกพรรคเพิ่มขึ้นเป็น ๑.๒๑ ล้านคน
การประชุมครั้งแรกจัดขึ้นที่เมืองเซี่ยงไฮ้ มีผู้เข้าร่วมประชุมเพียง ๑๓ คน ขณะนั้นประเทศจีนได้เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐจีน จากการที่ซุนยัตเซ็นสามารถได้ชัยชนะจากการ “ปฏิวัติซินไห่” โค่นล้มราชวงศ์ชิงลงได้
ปี ๒๔๕๔ พรรคบอลเชวิก สามารถโค่นล้มระบอบซาร์ในรัสเซียลงได้ เมื่อปี ๒๔๖๐ มีการตั้ง “องค์การคอมมิวนิสต์สากล” หรือโคมินเทิร์น (Comintern) ขึ้นเพื่อเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ไปทั่วโลก ลัทธิมาร์กซ์แพร่ไปสู่จีน มีการเคลื่อนไหวกรรมกร และเริ่มจัดตั้ง “หน่วย” ลัทธิคอมมิวนิสต์ขึ้นในเมืองต่างๆ ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง อู่ฮั่น ฉางซา จี่หนาน และกว่างโจว
ผู้นำลัทธิมาร์กซ์ของจีนในขณะนั้นเป็นปัญญาชน คือ ศาสตราจารย์เฉินตู๋ซิ่ว หัวหน้าคณะอักษรศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง วัย ๔๐ ปี และหลี่ต้าจ้าว ผู้อำนวยการหอสมุดมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ขณะนั้นเหมาอายุได้ ๒๗ ปี
ในเดือนมกราคม ๒๔๖๓ พรรคบอลเชวิกของรัสเซียยึดไซบีเรียตอนกลาง และสามารถสร้างช่องทางคมนาคมทางบกเชื่อมต่อกับประเทศจีนได้
โคมินเทิร์น ได้ส่ง นิคอร์สกี้ เป็นตัวแทนเข้ามาจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยตั้งศูนย์บัญชาการที่เซี่ยงไฮ้เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๔๖๔ และในวันที่ ๓ มิถุนายน มาลิน ผู้แทนคอมมิวนิสต์สากลอีกคนหนึ่งเดินทางจากยุโรปมาถึงเซี่ยงไฮ้เพื่อจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนเช่นกัน
ทั้งสองสามารถติดต่อกับหลี่ต๋า และ หลี่ฮั่นจุ้น ผู้รับผิดชอบงานแทนเฉินตู๋ซิ่ว ซึ่งขณะนั้นไม่อยู่ หลังจากขอความเห็นชอบจากเฉินตู๋ซิ่ว และ หลี่ต้าจ้าวแล้ว จึงติดต่อหน่วยลัทธิคอมมิวนิสต์ในเมืองต่างๆ ให้ส่งตัวแทนหน่วยละ ๒ คนไปร่วมประชุม
การประชุมเริ่มจากครูและนักเรียนจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งไปร่วมประชุมทางประวัติศาสตร์ ณ โรงเรียนสตรีป้อเหวิน เลขที่ ๓๘๙ ถนนไบเออร์ ในเขตเช่าฝรั่งเศส รอจนผู้แทนหน่วยลัทธิมาร์กซ์จากเมืองต่างๆ มาครบแล้ว การประชุมเตรียมการก็เริ่มขึ้น ณ ที่พักในโรงเรียนสตรีนั้น
การประชุม “สมัชชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งที่ ๑” ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เปิดขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อคืนวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๔๖๔ ณ บ้านเลขที่ ๑๐๖ ถนนว่างจื้อ ในเขตเช่าฝรั่งเศสซึ่งเป็นบ้านที่หลี่ซูเฉิงกับ หลี่ฮั่นจุ้น สองพี่น้องพักอาศัยอยู่
มีตัวแทนของจีนเข้าร่วมประชุมรวม ๑๓ คน ตัวแทนจากฉางซา คือ เหมาเจ๋อตง กับ เหอซุเหิง มีมาลิน และนิคอร์สกี้เป็นตัวแทนจากโคมินเทิร์น ทั้งสองผลักดันอย่างเร่าร้อนให้เร่งก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้น
ที่ประชุมเริ่มหารือเรื่องระเบียบวาระการประชุม ได้ข้อยุติให้เริ่มจากการรายงานสภาพงานในพื้นที่ของแต่ละหน่วย ต่อจากนั้นเป็นการอภิปรายหลักนโยบายและแผนโครงการที่จะทำต่อไป สุดท้ายเป็นการเลือกตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อเป็นองค์กรนำของพรรค
รุ่งขึ้นวันที่ ๒๔ กรกฎาคม เป็นการประชุมครั้งที่ ๒ เป็นการรายงานสภาพและความคืบหน้าในแต่ละพื้นที่ต่อ วันที่ ๒๕ – ๒๖ กรกฎาคม พักการประชุม เพื่อร่างหลักนโยบายพรรคและแผนงานโครงการ และวันที่ ๒๗, ๒๘ และ ๒๙ กรกฎาคม กลับมาประชุมอีก ๓ ครั้ง
คืนวันที่ ๓๐ กรกฎาคม การประชุมครั้งที่ ๖ เริ่มต้นได้เพียงไม่กี่นาที ก็มีสายสืบฝรั่งเศสคนหนึ่งบุกเข้ามาอย่างฉับพลัน การประชุมยุติลง สายสืบผู้นั้นต่อมาจึงทราบว่าเป็นคนจีนชื่อ เฉินจื่อซิง เป็นญาติกับมาเฟียใหญ่ในเซี่ยงไฮ้
ตำรวจฝรั่งเศส “ได้กลิ่น” การประชุมลับนี้ จากการที่มาลินถูกจับที่เวียนนา แต่ได้รับการช่วยเหลือจนหลุดมาได้ แต่ในที่สุดก็ถูกตามแกะรอยจนพบ ความจัดเจนของมาลิน รีบให้ทุกคนแยกย้ายกันหลบออกไปจากบ้านพร้อมเอกสารทั้งหมด หลังจากนั้น ๑๐ นาที ก็มีตำรวจฝรั่งเศส ๒ คันรถมาล้อมบ้านหลังนั้นไว้แล้วเข้าไปตรวจค้น แต่ไม่พบหลักฐานใดๆ จึงได้แต่เพียงข่มขู่เจ้าของบ้านแล้วกลับไป
ผู้ร่วมประชุมหลบไปที่บ้านของหลี่ต๋า ปรึกษากันเห็นว่าจะประชุมในเซี่ยงไฮ้ต่อไปไม่ได้แล้ว มีผู้เสนอให้ไปประชุมที่เมืองหังโจว แต่มีผู้คัดค้านว่าหังโจวเป็นเมืองใหญ่ ผู้คนพลุกพล่าน “ปิดลับได้ยาก”
หวังฮุ่ยอู้ ภรรยาหลี่ต๋า เสนอให้ไปประชุมที่ทะเลสาบหนานหู เมืองเจียซิง ในมณฑลเจ้อเจียง บ้านเกิดของเธอ ซึ่งเป็นที่เงียบสงบ ผู้คนไม่พลุกพล่าน และเป็นแหล่งท่องเที่ยว ผู้คนไม่สงสัย ระยะทางก็ไม่ไกลจากเซี่ยงไฮ้ เดินทางสะดวก “ปิดลับง่าย” ทุกคนเห็นด้วย
รุ่งขึ้นผู้เข้าประชุมแยกย้ายเป็น ๒ กลุ่ม ขึ้นรถไฟไปเจียซิง มาลินกับนิคอร์สกี้เป็นชาวต่างชาติถูกเพ่งเล็งง่าย จึงงด ไม่ไปร่วม หลี่ฮั่นจุ้น ผู้แทนจากเซี่ยงไฮ้กับเฉินกงป๋อจากกว่างโจวยังตกใจไม่หายขอไม่ไป จึงมีผู้แทนไปร่วมประชุม ๑๑ คน เวลา ๑๐.๐๐ น.เศษ เดินทางถึงเจียซิง เข้าพักที่โรงแรมยวนหู เช่าเรือท่องเที่ยวลำหนึ่งออกท่องทะเลสาบ ราว ๑๑.๐๐ น. การประชุมก็เริ่มต้นอีกครั้ง ต่อจากการประชุมเมื่อคืน
เริ่มจากการอภิปราย “หลักนโยบายฉบับแรกของพรรคคอมมิวนิสต์จีน” เป็นนโยบาย ๑๕ ข้อ เขียนด้วยตัวอักษรราว ๗๐๐ ตัว กำหนดชื่อพรรค เป้าหมายการต่อสู้ นโยบายพื้นฐาน กำหนดให้ขยายการรับสมัครสมาชิกพรรค สร้างระบบการจัดตั้งองค์กรท้องถิ่นและองค์กรส่วนกลางของพรรค และระเบียบการของพรรค
ที่ประชุมมีมติผ่านความเห็นชอบ “มติฉบับที่หนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีน” จากนั้นอภิปรายสรุปความเห็นว่า กำลังของพรรคยังเล็กและอ่อนแออยู่ จึงตัดสินใจใช้กำลังทั้งหมดไปจัดตั้งสหบาลกรรมกร ชี้นำการเคลื่อนไหวของกรรมกร เน้นนโยบายความอิสระในการสัมพันธ์กับพรรคอื่นๆ และเน้นความสัมพันธ์กับคอมมิวนิสต์สากล ซึ่งขณะนั้นคือสากลที่สาม
ในแถลงการณ์ มีการประกาศ “กองทัพปฏิวัติจะต้องร่วมกับชนชั้นกรรมาชีพโค่นอำนาจรัฐของชนชั้นนายทุน” “ยอมรับเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ จวบจนการต่อสู้ทางชนชั้นยุติ” “ทำลายระบบกรรมสิทธิ์ของชนชั้นนายทุน” เป็นต้น
ห้าโมงเย็น มีเรือติดเครื่องยนต์แล่นเข้ามาใกล้ ผู้เข้าประชุมรีบเก็บซ่อนเอกสาร เอาไพ่นกกระจอกขึ้นมาเล่นกัน แต่พบว่าเป็นเรือนักท่องเที่ยว การประชุมจึงดำเนินต่อไปได้ และจบลงด้วยการเลือกตั้งองค์กรนำ โดยยังไม่ตั้งคณะกรรมการกลาง แต่จัดตั้งเป็นศูนย์กลาง ตัวแทน ๓ คน มี เฉินตู๋ซิ่วเป็นเลขาธิการ จางกว๋อเทาเป็นหัวหน้าแผนกจัดตั้ง และหลี่ต๋าเป็นหัวหน้าแผนกโฆษณา
สุดท้ายผู้ร่วมประชุมประกาศยุติการประชุมสมัชชาผู้แทนครั้งที่ ๑ ด้วยการเปล่งเสียง “สากลที่สามจงเจริญ” “พรรคคอมมิวนิสต์จีนจงเจริญ”
พรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้เวลา ๒๘ ปี ผ่านความทุกข์ยากแสนสาหัส สมาชิกจำนวนมากสละชีพไปคนแล้วคนเล่า ปรับปรุงยุทธวิธี เปลี่ยนผู้นำจนได้ผู้นำที่ยิ่งใหญ่คือ เหมาเจ๋อตง ในที่สุดก็ได้ชัยชนะ สถาปนา “จีนใหม่” ขึ้นจนได้
หลังจากนั้นก็ยังต้องเผชิญปัญหามากมายหลายครั้ง ทั้งภัยธรรมชาติ ภัยสงคราม และนโยบายที่ผิดพลาด ทั้งนโยบายก้าวกระโดดไกล และการปฏิวัติวัฒนธรรม
หลังผ่านยุคเหมาเจ๋อตง จีนก็เริ่มเดินถูกทาง จากนโยบายสี่ทันสมัย สู่เศรษฐกิจการตลาด โดยยังคงระบอบประชาธิปไตยรวมศูนย์ไว้ จนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกรทุกวันนี้
ความสำเร็จของจีน ย่อมประกอบด้วยเหตุปัจจัยมากมาย การประชุมสมัชชาผู้แทนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นเพียงกลไกหนึ่ง แต่เป็นกลไกสำคัญที่ใช้ในการกำหนดหลักการ นโยบาย เข็มมุ่ง แผนงานโครงการ และที่สำคัญคือเป็นกลไกแก้ไขปัญหาความผิดพลาด โดยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง
เริ่มจากผู้แทนเพียง ๑๓ คน จากจำนวนสมาชิก ๕๔ คนเท่านั้น จนปัจจุบันสมาชิกขยายออกไปอย่างมากมายถึง ๘๐ ล้าน โดยแต่ละคนจะเป็นสมาชิกได้ จะต้องผ่านการบ่มเพาะ หล่อหลอม ตรวจสอบ และสร้างผลงานจนถึงขั้น จึงจะเป็นสมาชิกได้
ด้วยการมุ่งมั่น ศึกษา ต่อสู้ ยืนหยัด พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ใช้กลไกสมัชชาผู้แทนเป็นเครื่องมือสำคัญ จนบรรลุภารกิจยิ่งใหญ่
ปัจจัยสำคัญ คือ การที่มีพรรคเป็นองค์กรนำที่รับผิดชอบอย่างแท้จริง นำมติไปผลักดันขับเคลื่อนปฏิบัติจนสำเร็จ ด้วยการยืนหยัดยาวนานถึง ๒๘ ปี จึงบรรลุเป้าหมายใหญ่ในการสถาปนาจีนใหม่ขึ้นได้ หลังจากนั้นก็ยังต่อสู้ ยืนหยัด แก้ไขสิ่งผิดพลาด ผ่านความทุกข์ยากลำบากจนสามารถสะสมความสำเร็จ ผ่านวันเวลาอันยาวนาน กว่า ๙๐ ปี แล้ว
ขบวนการสุขภาพของเราได้ใช้กลไกสมัชชามานานกว่าทศวรรษ เราอาจยังไม่บรรลุความสำเร็จยิ่งใหญ่ แต่ตลอดขบวนการสมัชชา เราย่อมสามารถเรียนรู้สั่งสมประสบการณ์ สร้างรากฐานประชาธิปไตยที่แท้จริง ด้วยการพัฒนาระบบอำนาจอ่อน ขอเพียงยืนหยัด มุ่งมั่น ศึกษา เรียนรู้ และต่อสู้ต่อไป อำนาจอ่อนย่อมสามารถพัฒนาเป็นพลังที่แท้จริงของสังคมไทยได้อย่างแน่นอน”
ในตอนท้าย องค์ปาฐกได้กระตุกให้ผู้ฟังได้คิดตามต่อว่า
“ประสบการณ์สมัชชาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีน ย่อมไม่สามารถลอกแบบมาทั้งดุ้น แต่ย่อมสามารถเป็น “บทเรียน” หรือ “กรณีศึกษา” ที่มีคุณค่า ซึ่งประโยชน์จะบังเกิด ก็เมื่อมีการศึกษาเล่าเรียนให้รู้จริง และครุ่นคิดพิจารณาอย่างลึกซึ้ง จนเห็นลู่ทางที่จะนำมาปรับใช้กับการประชุมสมัชชาของเราได้ ถ้าไม่เรียน-ไม่คิด ก็ไร้ประโยชน์ ต้องทั้งเรียน-ทั้งคิด ดังขงจื้อได้กล่าวไว้เมื่อราวสองพันห้าร้อยปีมาแล้วว่า “คิดแล้วไม่เรียนอันตราย เรียนแล้วไม่คิดเสียเวลาเปล่า”
และนี้คือปาฐกถาที่ยิ่งใหญ่ ผ่านบุคคลที่ยิ่งใหญ่ (ในใจผม) เป็นเครื่องชโลมใจให้กับสมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ได้ร่วมกันยกระดับกระบวนการ “สมัชชา” ของประเทศไทยร่วมกัน เพื่อให้เป็น “สมัชชาที่มีสัมฤทธิ์ผลยิ่งใหญ่เกรียงไกร” เฉกเช่นเดียวกับสมัชชาของประเทศจีนต่อไปครับ
“กลไกสมัชชาในประเทศไทย ฤาจะเป็นเพียงของเล่น ประชุมแล้วก็แล้วกันเช่นนั้นหรือ มีการประชุมสมัชชาที่บังเกิดสัมฤทธิ์ผลบ้างไหม
มติสมัชชาทั้งของสมัชชาสุขภาพและสมัชชาอื่นๆที่จัดขึ้น รัฐบาลให้ความสำคัญน้อยมาก อย่างเช่นกฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติที่เป็นมติสมัชชาผู้สูงอายุ ถึงขั้นประกาศเป็นกฎหมายแล้ว แต่รัฐบาลชุดที่แล้วก็ละเลยไม่ปฏิบัติตาม”
เป็นเสียงของบุคคลที่ผมคุ้นเคย ดึงดูดให้ผมต้องหันไปดูที่มาของต้นเสียงนั้น ภาพที่ปรากฎต่อสายตาคือ “นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน” ปรากฏขึ้นบนจอภาพขนาดใหญ่ ภายในห้องประชุมของศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร ในพิธีปิดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ เมื่อบ่ายของวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๗ ในฐานะองค์ปาฐกกล่าวปิดการประชุมในครั้งนี้
เนื้อหาของปาฐกถาชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของกระบวนการ “สมัชชาสุขภาพ” ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่กำหนดไว้ว่า “ให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) มีหน้าที่รับมติของการประชุมสมัชชาไปพิจารณาดำเนินการ ให้บรรลุผลตามควรแก่กรณี” โดยเฉพาะการสร้างกลไกเชื่อมโยงให้เกิดผลทางปฏิบัติ ให้มติสมัชชามีผลบังคับใช้ ให้หน่วยงานต่างๆ ของรัฐนำไปปฏิบัติ ผ่านการเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ
“สมัชชาที่มีสัมฤทธิ์ผลยิ่งใหญ่เกรียงไกร” คือหัวข้อที่ “นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน” ในนามกรรมการตัวแทนผู้สูงอายุในคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้แสดงปาฐกถาในครั้งนี้ไว้
โดยได้ยกตัวอย่างการประชุมสมัชชาที่สัมฤทธิ์ผล ซึ่งไม่เพียงสัมฤทธิ์ผลอย่างธรรมดา แต่เป็นสัมฤทธิ์ผลที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกร คือ การประชุมสมัชชาผู้แทนของพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยได้ไล่เรียงเนื้อหาที่ผ่านกระบวนการค้นคว้ามาอย่างดีให้ที่ประชุมรับฟัง
บางตอนของปาฐกถาสร้างความฮึกเหิมให้ผมไม่รู้ตัว
“ความสำเร็จของจีน ย่อมประกอบด้วยเหตุปัจจัยมากมาย การประชุมสมัชชาผู้แทนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นเพียงกลไกหนึ่ง แต่เป็นกลไกสำคัญที่ใช้ในการกำหนดหลักการ นโยบาย เข็มมุ่ง แผนงานโครงการ และที่สำคัญคือเป็นกลไกแก้ไขปัญหาความผิดพลาด โดยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง”
เชิญชวนทุกท่านมาร่วมรับฟังปาฐกถาอันทรงคุณค่านี้ไปพร้อม ๆ กัน นะครับ
สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งถือกำเนิดโดยการประกาศของประธานเหมาเจ๋อตง ณ ประตูเทียนอันเหมิน หรือ “ประตูสรวงสวรรค์สันติ” เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๒ ปัจจุบันจีนกลายเป็นชาติยิ่งใหญ่ มีขนาดเศรษฐกิจเป็นที่ ๒ ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา แซงหน้าญี่ปุ่นซึ่งครองที่ ๒ อยู่ยาวนาน และในไม่ช้าก็คงจะแซงขึ้นเป็นที่ ๑ ของโลก โดยจีนไม่เพียงเป็นที่ ๑ ในขนาดเศรษฐกิจเท่านั้น ในด้านการกีฬา จีนก็สามารถครองตำแหน่งเจ้าเหรียญทองโอลิมปิกในบางปี และในทางวิชาการจีนก็สามารถขึ้นมาเป็นที่ ๒ ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาในด้านการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารวิชาการชั้นนำของโลก และเชื่อว่าอีกไม่นานจีนก็จะสามารถขยับขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลกได้
แน่นอนว่าองค์กรที่เป็นกลไกสำคัญทำให้จีนผงาดขึ้นมาได้เช่นนี้ ก็คือ พรรคคอมมิวนิสต์จีน ปัจจุบันพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีสมาชิกราว ๘๐ ล้าน จากประชากรกว่า ๑,๓๐๐ ล้านคน จีนเพิ่งเฉลิมฉลอง ๙๐ ปี ของพรรคไปเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ นี้เอง
ตลอดช่วงเวลา ๙๐ ปี พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีการประชุมสมัชชาผู้แทนรวม ๑๗ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๔๖๔ โดยครั้งนั้นยังมีสมาชิกเพียง ๕๔ คน ในการประชุมสมัชชาผู้บริหารครั้งที่ ๒ ในปีต่อมา มีสมาชิกพรรคทั่วประเทศเพิ่มเป็น ๑๙๕ คน และการประชุม ครั้งที่ ๓ เมื่อปี ๒๔๖๖ สมาชิกก็ยังมีเพียงหลักร้อย คือ ๔๒๐ คนเท่านั้น หลังจากการต่อสู้อย่างยืนหยัด มีผู้บาดเจ็บล้มตายไปนับล้าน ถึงปี ๒๔๘๘ หลังก่อตั้งพรรคได้ ๒๔ ปี และยังไม่ได้ชัยชนะ สมาชิกพรรคเพิ่มขึ้นเป็น ๑.๒๑ ล้านคน
การประชุมครั้งแรกจัดขึ้นที่เมืองเซี่ยงไฮ้ มีผู้เข้าร่วมประชุมเพียง ๑๓ คน ขณะนั้นประเทศจีนได้เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐจีน จากการที่ซุนยัตเซ็นสามารถได้ชัยชนะจากการ “ปฏิวัติซินไห่” โค่นล้มราชวงศ์ชิงลงได้
ปี ๒๔๕๔ พรรคบอลเชวิก สามารถโค่นล้มระบอบซาร์ในรัสเซียลงได้ เมื่อปี ๒๔๖๐ มีการตั้ง “องค์การคอมมิวนิสต์สากล” หรือโคมินเทิร์น (Comintern) ขึ้นเพื่อเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ไปทั่วโลก ลัทธิมาร์กซ์แพร่ไปสู่จีน มีการเคลื่อนไหวกรรมกร และเริ่มจัดตั้ง “หน่วย” ลัทธิคอมมิวนิสต์ขึ้นในเมืองต่างๆ ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง อู่ฮั่น ฉางซา จี่หนาน และกว่างโจว
ผู้นำลัทธิมาร์กซ์ของจีนในขณะนั้นเป็นปัญญาชน คือ ศาสตราจารย์เฉินตู๋ซิ่ว หัวหน้าคณะอักษรศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง วัย ๔๐ ปี และหลี่ต้าจ้าว ผู้อำนวยการหอสมุดมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ขณะนั้นเหมาอายุได้ ๒๗ ปี
ในเดือนมกราคม ๒๔๖๓ พรรคบอลเชวิกของรัสเซียยึดไซบีเรียตอนกลาง และสามารถสร้างช่องทางคมนาคมทางบกเชื่อมต่อกับประเทศจีนได้
โคมินเทิร์น ได้ส่ง นิคอร์สกี้ เป็นตัวแทนเข้ามาจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยตั้งศูนย์บัญชาการที่เซี่ยงไฮ้เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๔๖๔ และในวันที่ ๓ มิถุนายน มาลิน ผู้แทนคอมมิวนิสต์สากลอีกคนหนึ่งเดินทางจากยุโรปมาถึงเซี่ยงไฮ้เพื่อจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนเช่นกัน
ทั้งสองสามารถติดต่อกับหลี่ต๋า และ หลี่ฮั่นจุ้น ผู้รับผิดชอบงานแทนเฉินตู๋ซิ่ว ซึ่งขณะนั้นไม่อยู่ หลังจากขอความเห็นชอบจากเฉินตู๋ซิ่ว และ หลี่ต้าจ้าวแล้ว จึงติดต่อหน่วยลัทธิคอมมิวนิสต์ในเมืองต่างๆ ให้ส่งตัวแทนหน่วยละ ๒ คนไปร่วมประชุม
การประชุมเริ่มจากครูและนักเรียนจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งไปร่วมประชุมทางประวัติศาสตร์ ณ โรงเรียนสตรีป้อเหวิน เลขที่ ๓๘๙ ถนนไบเออร์ ในเขตเช่าฝรั่งเศส รอจนผู้แทนหน่วยลัทธิมาร์กซ์จากเมืองต่างๆ มาครบแล้ว การประชุมเตรียมการก็เริ่มขึ้น ณ ที่พักในโรงเรียนสตรีนั้น
การประชุม “สมัชชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งที่ ๑” ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เปิดขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อคืนวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๔๖๔ ณ บ้านเลขที่ ๑๐๖ ถนนว่างจื้อ ในเขตเช่าฝรั่งเศสซึ่งเป็นบ้านที่หลี่ซูเฉิงกับ หลี่ฮั่นจุ้น สองพี่น้องพักอาศัยอยู่
มีตัวแทนของจีนเข้าร่วมประชุมรวม ๑๓ คน ตัวแทนจากฉางซา คือ เหมาเจ๋อตง กับ เหอซุเหิง มีมาลิน และนิคอร์สกี้เป็นตัวแทนจากโคมินเทิร์น ทั้งสองผลักดันอย่างเร่าร้อนให้เร่งก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้น
ที่ประชุมเริ่มหารือเรื่องระเบียบวาระการประชุม ได้ข้อยุติให้เริ่มจากการรายงานสภาพงานในพื้นที่ของแต่ละหน่วย ต่อจากนั้นเป็นการอภิปรายหลักนโยบายและแผนโครงการที่จะทำต่อไป สุดท้ายเป็นการเลือกตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อเป็นองค์กรนำของพรรค
รุ่งขึ้นวันที่ ๒๔ กรกฎาคม เป็นการประชุมครั้งที่ ๒ เป็นการรายงานสภาพและความคืบหน้าในแต่ละพื้นที่ต่อ วันที่ ๒๕ – ๒๖ กรกฎาคม พักการประชุม เพื่อร่างหลักนโยบายพรรคและแผนงานโครงการ และวันที่ ๒๗, ๒๘ และ ๒๙ กรกฎาคม กลับมาประชุมอีก ๓ ครั้ง
คืนวันที่ ๓๐ กรกฎาคม การประชุมครั้งที่ ๖ เริ่มต้นได้เพียงไม่กี่นาที ก็มีสายสืบฝรั่งเศสคนหนึ่งบุกเข้ามาอย่างฉับพลัน การประชุมยุติลง สายสืบผู้นั้นต่อมาจึงทราบว่าเป็นคนจีนชื่อ เฉินจื่อซิง เป็นญาติกับมาเฟียใหญ่ในเซี่ยงไฮ้
ตำรวจฝรั่งเศส “ได้กลิ่น” การประชุมลับนี้ จากการที่มาลินถูกจับที่เวียนนา แต่ได้รับการช่วยเหลือจนหลุดมาได้ แต่ในที่สุดก็ถูกตามแกะรอยจนพบ ความจัดเจนของมาลิน รีบให้ทุกคนแยกย้ายกันหลบออกไปจากบ้านพร้อมเอกสารทั้งหมด หลังจากนั้น ๑๐ นาที ก็มีตำรวจฝรั่งเศส ๒ คันรถมาล้อมบ้านหลังนั้นไว้แล้วเข้าไปตรวจค้น แต่ไม่พบหลักฐานใดๆ จึงได้แต่เพียงข่มขู่เจ้าของบ้านแล้วกลับไป
ผู้ร่วมประชุมหลบไปที่บ้านของหลี่ต๋า ปรึกษากันเห็นว่าจะประชุมในเซี่ยงไฮ้ต่อไปไม่ได้แล้ว มีผู้เสนอให้ไปประชุมที่เมืองหังโจว แต่มีผู้คัดค้านว่าหังโจวเป็นเมืองใหญ่ ผู้คนพลุกพล่าน “ปิดลับได้ยาก”
หวังฮุ่ยอู้ ภรรยาหลี่ต๋า เสนอให้ไปประชุมที่ทะเลสาบหนานหู เมืองเจียซิง ในมณฑลเจ้อเจียง บ้านเกิดของเธอ ซึ่งเป็นที่เงียบสงบ ผู้คนไม่พลุกพล่าน และเป็นแหล่งท่องเที่ยว ผู้คนไม่สงสัย ระยะทางก็ไม่ไกลจากเซี่ยงไฮ้ เดินทางสะดวก “ปิดลับง่าย” ทุกคนเห็นด้วย
รุ่งขึ้นผู้เข้าประชุมแยกย้ายเป็น ๒ กลุ่ม ขึ้นรถไฟไปเจียซิง มาลินกับนิคอร์สกี้เป็นชาวต่างชาติถูกเพ่งเล็งง่าย จึงงด ไม่ไปร่วม หลี่ฮั่นจุ้น ผู้แทนจากเซี่ยงไฮ้กับเฉินกงป๋อจากกว่างโจวยังตกใจไม่หายขอไม่ไป จึงมีผู้แทนไปร่วมประชุม ๑๑ คน เวลา ๑๐.๐๐ น.เศษ เดินทางถึงเจียซิง เข้าพักที่โรงแรมยวนหู เช่าเรือท่องเที่ยวลำหนึ่งออกท่องทะเลสาบ ราว ๑๑.๐๐ น. การประชุมก็เริ่มต้นอีกครั้ง ต่อจากการประชุมเมื่อคืน
เริ่มจากการอภิปราย “หลักนโยบายฉบับแรกของพรรคคอมมิวนิสต์จีน” เป็นนโยบาย ๑๕ ข้อ เขียนด้วยตัวอักษรราว ๗๐๐ ตัว กำหนดชื่อพรรค เป้าหมายการต่อสู้ นโยบายพื้นฐาน กำหนดให้ขยายการรับสมัครสมาชิกพรรค สร้างระบบการจัดตั้งองค์กรท้องถิ่นและองค์กรส่วนกลางของพรรค และระเบียบการของพรรค
ที่ประชุมมีมติผ่านความเห็นชอบ “มติฉบับที่หนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีน” จากนั้นอภิปรายสรุปความเห็นว่า กำลังของพรรคยังเล็กและอ่อนแออยู่ จึงตัดสินใจใช้กำลังทั้งหมดไปจัดตั้งสหบาลกรรมกร ชี้นำการเคลื่อนไหวของกรรมกร เน้นนโยบายความอิสระในการสัมพันธ์กับพรรคอื่นๆ และเน้นความสัมพันธ์กับคอมมิวนิสต์สากล ซึ่งขณะนั้นคือสากลที่สาม
ในแถลงการณ์ มีการประกาศ “กองทัพปฏิวัติจะต้องร่วมกับชนชั้นกรรมาชีพโค่นอำนาจรัฐของชนชั้นนายทุน” “ยอมรับเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ จวบจนการต่อสู้ทางชนชั้นยุติ” “ทำลายระบบกรรมสิทธิ์ของชนชั้นนายทุน” เป็นต้น
ห้าโมงเย็น มีเรือติดเครื่องยนต์แล่นเข้ามาใกล้ ผู้เข้าประชุมรีบเก็บซ่อนเอกสาร เอาไพ่นกกระจอกขึ้นมาเล่นกัน แต่พบว่าเป็นเรือนักท่องเที่ยว การประชุมจึงดำเนินต่อไปได้ และจบลงด้วยการเลือกตั้งองค์กรนำ โดยยังไม่ตั้งคณะกรรมการกลาง แต่จัดตั้งเป็นศูนย์กลาง ตัวแทน ๓ คน มี เฉินตู๋ซิ่วเป็นเลขาธิการ จางกว๋อเทาเป็นหัวหน้าแผนกจัดตั้ง และหลี่ต๋าเป็นหัวหน้าแผนกโฆษณา
สุดท้ายผู้ร่วมประชุมประกาศยุติการประชุมสมัชชาผู้แทนครั้งที่ ๑ ด้วยการเปล่งเสียง “สากลที่สามจงเจริญ” “พรรคคอมมิวนิสต์จีนจงเจริญ”
พรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้เวลา ๒๘ ปี ผ่านความทุกข์ยากแสนสาหัส สมาชิกจำนวนมากสละชีพไปคนแล้วคนเล่า ปรับปรุงยุทธวิธี เปลี่ยนผู้นำจนได้ผู้นำที่ยิ่งใหญ่คือ เหมาเจ๋อตง ในที่สุดก็ได้ชัยชนะ สถาปนา “จีนใหม่” ขึ้นจนได้
หลังจากนั้นก็ยังต้องเผชิญปัญหามากมายหลายครั้ง ทั้งภัยธรรมชาติ ภัยสงคราม และนโยบายที่ผิดพลาด ทั้งนโยบายก้าวกระโดดไกล และการปฏิวัติวัฒนธรรม
หลังผ่านยุคเหมาเจ๋อตง จีนก็เริ่มเดินถูกทาง จากนโยบายสี่ทันสมัย สู่เศรษฐกิจการตลาด โดยยังคงระบอบประชาธิปไตยรวมศูนย์ไว้ จนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกรทุกวันนี้
ความสำเร็จของจีน ย่อมประกอบด้วยเหตุปัจจัยมากมาย การประชุมสมัชชาผู้แทนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นเพียงกลไกหนึ่ง แต่เป็นกลไกสำคัญที่ใช้ในการกำหนดหลักการ นโยบาย เข็มมุ่ง แผนงานโครงการ และที่สำคัญคือเป็นกลไกแก้ไขปัญหาความผิดพลาด โดยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง
เริ่มจากผู้แทนเพียง ๑๓ คน จากจำนวนสมาชิก ๕๔ คนเท่านั้น จนปัจจุบันสมาชิกขยายออกไปอย่างมากมายถึง ๘๐ ล้าน โดยแต่ละคนจะเป็นสมาชิกได้ จะต้องผ่านการบ่มเพาะ หล่อหลอม ตรวจสอบ และสร้างผลงานจนถึงขั้น จึงจะเป็นสมาชิกได้
ด้วยการมุ่งมั่น ศึกษา ต่อสู้ ยืนหยัด พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ใช้กลไกสมัชชาผู้แทนเป็นเครื่องมือสำคัญ จนบรรลุภารกิจยิ่งใหญ่
ปัจจัยสำคัญ คือ การที่มีพรรคเป็นองค์กรนำที่รับผิดชอบอย่างแท้จริง นำมติไปผลักดันขับเคลื่อนปฏิบัติจนสำเร็จ ด้วยการยืนหยัดยาวนานถึง ๒๘ ปี จึงบรรลุเป้าหมายใหญ่ในการสถาปนาจีนใหม่ขึ้นได้ หลังจากนั้นก็ยังต่อสู้ ยืนหยัด แก้ไขสิ่งผิดพลาด ผ่านความทุกข์ยากลำบากจนสามารถสะสมความสำเร็จ ผ่านวันเวลาอันยาวนาน กว่า ๙๐ ปี แล้ว
ขบวนการสุขภาพของเราได้ใช้กลไกสมัชชามานานกว่าทศวรรษ เราอาจยังไม่บรรลุความสำเร็จยิ่งใหญ่ แต่ตลอดขบวนการสมัชชา เราย่อมสามารถเรียนรู้สั่งสมประสบการณ์ สร้างรากฐานประชาธิปไตยที่แท้จริง ด้วยการพัฒนาระบบอำนาจอ่อน ขอเพียงยืนหยัด มุ่งมั่น ศึกษา เรียนรู้ และต่อสู้ต่อไป อำนาจอ่อนย่อมสามารถพัฒนาเป็นพลังที่แท้จริงของสังคมไทยได้อย่างแน่นอน”
ในตอนท้าย องค์ปาฐกได้กระตุกให้ผู้ฟังได้คิดตามต่อว่า
“ประสบการณ์สมัชชาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีน ย่อมไม่สามารถลอกแบบมาทั้งดุ้น แต่ย่อมสามารถเป็น “บทเรียน” หรือ “กรณีศึกษา” ที่มีคุณค่า ซึ่งประโยชน์จะบังเกิด ก็เมื่อมีการศึกษาเล่าเรียนให้รู้จริง และครุ่นคิดพิจารณาอย่างลึกซึ้ง จนเห็นลู่ทางที่จะนำมาปรับใช้กับการประชุมสมัชชาของเราได้ ถ้าไม่เรียน-ไม่คิด ก็ไร้ประโยชน์ ต้องทั้งเรียน-ทั้งคิด ดังขงจื้อได้กล่าวไว้เมื่อราวสองพันห้าร้อยปีมาแล้วว่า “คิดแล้วไม่เรียนอันตราย เรียนแล้วไม่คิดเสียเวลาเปล่า”
และนี้คือปาฐกถาที่ยิ่งใหญ่ ผ่านบุคคลที่ยิ่งใหญ่ (ในใจผม) เป็นเครื่องชโลมใจให้กับสมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ได้ร่วมกันยกระดับกระบวนการ “สมัชชา” ของประเทศไทยร่วมกัน เพื่อให้เป็น “สมัชชาที่มีสัมฤทธิ์ผลยิ่งใหญ่เกรียงไกร” เฉกเช่นเดียวกับสมัชชาของประเทศจีนต่อไปครับ
วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557
“มีของต้องสำแดง” : จิตวิญญาณสมัชชาสุขภาพ
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๗
นอกเหนือจากเวทีในห้องประชุมแต่ละห้องแล้ว บรรยากาศนอกห้องประชุมของงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๗ ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร ยังมีความน่าสนใจไม่แพ้กัน โดยเฉพาะบริเวณกลาง “ลานสมัชชาสุขภาพ” ที่มีบอร์ด “บอกข่าวเล่าเรื่อง” วางไว้ เพื่อให้ภาคีจากทั่วทุกสารทิศมา “บอกกล่าวเล่าสิบ” เรื่องของตนเองกระจายสู่คนอื่น ๆ
“สมัชชา คือ เวทีของเราที่จะแสดง” คือ ข้อความบนกระดาษแผ่นเล็กสีส้มแผ่นหนึ่ง ที่เขียนด้วยลายมือตนเอง และแปะติดไว้ที่บอร์ดดังกล่าว ภายใต้ตัวอักษรไม่กี่คำที่นำมาร้อยเรียงต่อกัน ในความคิดของผมแล้ว ประโยคสั้นๆนี้อธิบายความหมายของคำว่า “สมัชชาสุขภาพ” ได้ดีและลึกซึ้งยิ่งนัก
เพราะความหมายตามตัวอักษรบอกว่า “สมัชชาสุขภาพ” เป็นของ “พวกเรา” ไม่ใช่เพียง “ของเธอ” หรือ “ของฉัน” เพียงเท่านั้น เป็น “พื้นที่สาธารณะ” หรือพื้นที่ที่ทุกคนมีสิทธิและโอกาสที่จะเข้าไปใช้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งแยก ไม่กีดกันกัน เพื่อ “แสดงออกซึ่งความคิดความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง”
ซึ่งก็ตรงกับความหมายอย่างเป็นทางการของ “สมัชชาสุขภาพ” ที่ว่า “เป็นกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (หรือนโยบายสาธารณะที่ดี) แบบมีส่วนร่วม”
นอกจากกระดาษแผ่นนี้แล้ว ยังมีกระดาษอีกนับร้อยแผ่นติดอยู่บนบอร์ดนี้ ข้อความแต่ละข้อความถ่ายทอดความรู้สึกของคนเขียน ที่มีทั้งแสดงความขอบคุณ ความรู้สึก ความมุ่งมั่น และให้ข้อเสนอแนะต่อการทำงานไว้อย่างหลากหลาย ผมได้เดินอ่านแต่ละแผ่นๆ ที่ล้วนมีคุณค่า และอยากนำมาแบ่งปันกับทุกท่านร่วมกันครับ
บางกลุ่มสะท้อนความดีใจที่ได้เจอกัลยาณมิตรที่มี “หัวใจเดียวกัน” และอยากให้มีการจัดงานที่มี “คุณค่า”ลักษณะนี้ไปอย่างต่อเนื่อง
• “ครั้งแรกที่ได้มา แต่อบอุ่นมากกว่าพันครั้ง”
• “ได้มาร่วมงานสมัชชาสุขภาพระดับชาติ ครั้งแรกดีใจ ตื่นเต้น ได้พบกัลยาณมิตร คนรักสุขภาพมากมาย”
• “ดีจัง งานดีดี..อย่างนี้ ขอให้มีตลอดไป มากันเยอะ ๆ อบอุ่นค่ะ”
• “มาครั้งแรกค่ะ ดีใจมากเลย ครั้งต่อไปอยากมาอีก ได้มีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของสมัชชาสุขภาพ ครั้งต่อไปขอได้มาอีก”
• “ไม่มีอะไรที่ไม่เกี่ยวกับสุขภาวะ”
• “ขอบคุณ มิตรภาพที่สวยงาม ผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพ ทำให้เราได้เจอกันอีกครั้ง ด้วยรักและผูกพัน”
• “เครือข่ายได้เจอกันก็เพราะมีสมัชชาสุขภาพ มีอีกนะคะ”
• “คิดถึงนะสมัชชา ชื่นชมทุกภาคส่วนที่ร่วมทำงานและสร้างสรรค์สามัคคี”
• “ดีใจที่มีโอกาสมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานสมัชชา ๕๖ รวมพลังทำดี”
• “ขอบคุณที่นำสิ่งดี ๆ มาปฏิรูปกันใหม่ เพื่อประเทศชาติ
• “มานี่ดีนะ พบญาติมิตร ชีวิตชีวาบังเกิดแน่นหนัก”
• “ถึงสมัชชาสุขภาพ ดีใจที่เรารู้จักกัน”
• “ดีใจที่ได้มาเจอเครือข่ายที่หลากหลายอีกครั้ง แต่ปีนี้เหงาไปนิด”
• “เพิ่งได้มีโอกาสเข้ามาประชุมสมัชชาครั้งแรก ก็ตื่นเต้น รู้สึกดี จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ พกพากลับบ้าน”
• “คิดถึงเครือข่ายทุก ๆ คน ทั้งคนเก่าคนใหม่”
• “เป็นเวทีที่ได้มีโอกาสได้พบและพูดคุยกับสมาชิกจังหวัดอื่น”
• “มีความสุขที่ได้มีเวทีบอกข่าวสารที่ทำดีในพื้นที่ตามบริบทแก่เพื่อน ๆ”
• “ดีใจที่ให้โอกาสมาร่วมงานนี้”
• “ดีใจได้มาพบหน้าพี่น้องสมัชชาจากทั่วประเทศ”
• “ดีใจที่มีเวทีแลกเปลี่ยนความคิดในแง่มุมต่าง ๆ”
• “ประทับใจในกิจกรรมและเอกสารที่มีประโยชน์แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมาก”
• “ดีใจครับที่ได้เข้าร่วมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พบเห็นพี่น้องเครือข่ายมากมาย ทุกคนดูสดใสมีชีวิตชีวา ประเด็นสมัชชาก็มีแต่ประเด็นที่น่าติดตาม”
• “สมัชชา NICE TO MEET YOU”
บางกลุ่มสะท้อน “พลังจิตอาสา” “พลังใจที่มาร้อยรวมกัน เพื่อร่วมขับเคลื่อน “สังคมสุขภาวะ”
• “วันแห่งความหลากหลายทางวิถีวัฒนธรรม ระบบการจัดการสุขภาพแบบกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน”
• “ร่วมคิด ร่วมสร้าง สังคมสุขภาวะ”
• “ขอมาเรียนรู้อีก ๑ ปี แล้วจะกลับไปพัฒนาให้พื้นที่มีกระบวนการสมัชชา”
• “ร่วมกันสร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะของคนทั้งชาติ”
• “ได้มีโอกาสมาร่วม “สมัชชาข้ามปี” มาครั้งที่ ๒ ยินดีมากกับการมาเรียนรู้และซึมซับบรรยากาศ และนำกลับไปพัฒนาในพื้นที่ต่อไป ขอให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น”
• “ดีใจที่ได้มีโอกาสมาเรียนรู้ครั้งนี้ จะนำความรู้ การสังเกตการณ์ไปใช้ในพื้นที่”
• “พบผู้คนที่มีจิตอาสาที่หลากหลาย ร่วมกันขับเคลื่อนสุขภาวะของชุมชน”
• “ดีใจที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นสมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ ๖ คิดว่าเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมที่เป็นรูปธรรม ชัดเจนและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนตื่นตัว”
• “ดีใจที่ได้มาพบเห็นพลังมวลชนจากหลากหลายแขนงมารวมกันเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะ”
• “สานรัก สานพลัง สานใจ ใกล้กัน”
• “คุณธรรมสื่อคุณค่าของความเป็นมนุษย์มากกว่าความฉลาด”
• “สานพลัง สร้างคุณค่า สมัชชาสุขภาพ สู่นโยบาย”
• “รวมพลังเครือข่ายคนทำงานด้านสุขภาพเพื่อสร้างสุขภาวะชุมชน”
• “ทำอย่างไร ให้ประชาชนรู้จัก “สมัชชาสุขภาพ” สมัชชาเข้มแข็ง คนไทยแข็งแรง”
• “บรรยากาศเป็นกันเอง แต่หนักแน่นด้านนโยบายสาธารณะ”
• “เหมือนแหล่งเรียนรู้ ฉบับย่อ”
• “สมัชชา สู้สู้ รวมสร้างพลัง สร้างความรู้”
• “เรื่องอะไรที่ไม่ดีกับสุขภาวะ ต้องการหาคำตอบก็ต้องใช้เวทีสมัชชาช่วยหาคำตอบได้ รู้แล้วก็ร่วมกันวางแผนลงมือปฏิบัติ ดีจังเลย”
• “สมัชชาครั้งที่ ๖ คำนึงถึงเครือข่ายมีส่วนร่วมของทุกจังหวัดในการเสนอความคิดเห็น และในการนำเสนอร่างมติต่อในที่ประชุมแต่ละจังหวัดอย่างมีส่วนร่วม ทั้งวิทยากรและผู้นำเสนอ”
• “แม้อุปสรรคจะมากมาย แต่เราก็มาพบกันจนได้ “สมัชชาสุขภาพ” เพื่อสุขภาวะของปวงชน “ทำได้ระดับดีแล้วค่ะ”
• “สานพลังและคุณค่าคนทำงาน”
• “สดชื่น สดใส น้ำใจงามน้องพี่มีสุขถ้วนหน้า สมัชชาสุขภาพยั่งยืน”
• “สานรักสานสัมพันธ์ เข้มแข็ง พลังใจ สู่ความสุขที่เป็นจริง”
• “เรียนรู้คู่พัฒนา คนเก่งรู้จักที่จะแก้ไข คนฉลาดรู้จักที่จะป้องกัน”
• “ประทับใจที่ได้เห็นเยาวชน (นักศึกษา) จำนวนมากเป็นอาสาสมัครช่วยงานอย่างเข้มแข็ง”
• “ประทับใจที่ได้เห็นสมาชิกสมัชชาที่มาจากจังหวัดต่าง ๆ มีความกระตือรือร้นและมีสีหน้าอย่างมีความสุข”
บางกลุ่มสะท้อน “ความรู้เชิงนโยบาย” ที่ได้ซึมซับจาก “กระบวนการในงาน”
• “ขยายความรู้นโยบายสาธารณะให้กับเครือข่ายตนเอง”
• “ถือว่าคุ้มค่ามากที่ได้มาร่วมงานในครั้งนี้ ได้รับความรู้ที่หลากหลายและได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มาร่วมงาน”
• “ห้องพิจารณามติเยี่ยมมาก ควบคุมกำกับอย่างมืออาชีพ”
• “มาวันนี้เห็นความก้าวหน้าของสมัชชาสุขภาพครั้งนี้ “ขอให้ก้าวหน้าทั้งคุณภาพและประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมครับ”
• “ไม่ว่าถึงจุดใด เมื่อนับหนึ่งสองสามแล้ว อย่างลืมคนแต่ละพื้นถิ่นให้เข้าใจตรงกันก่อนเดินหน้า เพื่อความยั่งยืน ยืนยัน”
เหล่านี้คือข้อความที่แสดงถึง “จิตวิญญาณของสมัชชาสุขภาพ” ของเพื่อนภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย อีกไม่กี่เดือนข้างหน้า พวกเราจะกลับมาเจอกันอีกครั้งในสมัชชาสุขภาพครั้งที่ ๗ เพราะ “สมัชชาคือเวทีของเราที่จะสำแดง (ของ)” ออกมานั่นเองครับ
นอกเหนือจากเวทีในห้องประชุมแต่ละห้องแล้ว บรรยากาศนอกห้องประชุมของงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๗ ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร ยังมีความน่าสนใจไม่แพ้กัน โดยเฉพาะบริเวณกลาง “ลานสมัชชาสุขภาพ” ที่มีบอร์ด “บอกข่าวเล่าเรื่อง” วางไว้ เพื่อให้ภาคีจากทั่วทุกสารทิศมา “บอกกล่าวเล่าสิบ” เรื่องของตนเองกระจายสู่คนอื่น ๆ
“สมัชชา คือ เวทีของเราที่จะแสดง” คือ ข้อความบนกระดาษแผ่นเล็กสีส้มแผ่นหนึ่ง ที่เขียนด้วยลายมือตนเอง และแปะติดไว้ที่บอร์ดดังกล่าว ภายใต้ตัวอักษรไม่กี่คำที่นำมาร้อยเรียงต่อกัน ในความคิดของผมแล้ว ประโยคสั้นๆนี้อธิบายความหมายของคำว่า “สมัชชาสุขภาพ” ได้ดีและลึกซึ้งยิ่งนัก
เพราะความหมายตามตัวอักษรบอกว่า “สมัชชาสุขภาพ” เป็นของ “พวกเรา” ไม่ใช่เพียง “ของเธอ” หรือ “ของฉัน” เพียงเท่านั้น เป็น “พื้นที่สาธารณะ” หรือพื้นที่ที่ทุกคนมีสิทธิและโอกาสที่จะเข้าไปใช้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งแยก ไม่กีดกันกัน เพื่อ “แสดงออกซึ่งความคิดความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง”
ซึ่งก็ตรงกับความหมายอย่างเป็นทางการของ “สมัชชาสุขภาพ” ที่ว่า “เป็นกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (หรือนโยบายสาธารณะที่ดี) แบบมีส่วนร่วม”
นอกจากกระดาษแผ่นนี้แล้ว ยังมีกระดาษอีกนับร้อยแผ่นติดอยู่บนบอร์ดนี้ ข้อความแต่ละข้อความถ่ายทอดความรู้สึกของคนเขียน ที่มีทั้งแสดงความขอบคุณ ความรู้สึก ความมุ่งมั่น และให้ข้อเสนอแนะต่อการทำงานไว้อย่างหลากหลาย ผมได้เดินอ่านแต่ละแผ่นๆ ที่ล้วนมีคุณค่า และอยากนำมาแบ่งปันกับทุกท่านร่วมกันครับ
บางกลุ่มสะท้อนความดีใจที่ได้เจอกัลยาณมิตรที่มี “หัวใจเดียวกัน” และอยากให้มีการจัดงานที่มี “คุณค่า”ลักษณะนี้ไปอย่างต่อเนื่อง
• “ครั้งแรกที่ได้มา แต่อบอุ่นมากกว่าพันครั้ง”
• “ได้มาร่วมงานสมัชชาสุขภาพระดับชาติ ครั้งแรกดีใจ ตื่นเต้น ได้พบกัลยาณมิตร คนรักสุขภาพมากมาย”
• “ดีจัง งานดีดี..อย่างนี้ ขอให้มีตลอดไป มากันเยอะ ๆ อบอุ่นค่ะ”
• “มาครั้งแรกค่ะ ดีใจมากเลย ครั้งต่อไปอยากมาอีก ได้มีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของสมัชชาสุขภาพ ครั้งต่อไปขอได้มาอีก”
• “ไม่มีอะไรที่ไม่เกี่ยวกับสุขภาวะ”
• “ขอบคุณ มิตรภาพที่สวยงาม ผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพ ทำให้เราได้เจอกันอีกครั้ง ด้วยรักและผูกพัน”
• “เครือข่ายได้เจอกันก็เพราะมีสมัชชาสุขภาพ มีอีกนะคะ”
• “คิดถึงนะสมัชชา ชื่นชมทุกภาคส่วนที่ร่วมทำงานและสร้างสรรค์สามัคคี”
• “ดีใจที่มีโอกาสมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานสมัชชา ๕๖ รวมพลังทำดี”
• “ขอบคุณที่นำสิ่งดี ๆ มาปฏิรูปกันใหม่ เพื่อประเทศชาติ
• “มานี่ดีนะ พบญาติมิตร ชีวิตชีวาบังเกิดแน่นหนัก”
• “ถึงสมัชชาสุขภาพ ดีใจที่เรารู้จักกัน”
• “ดีใจที่ได้มาเจอเครือข่ายที่หลากหลายอีกครั้ง แต่ปีนี้เหงาไปนิด”
• “เพิ่งได้มีโอกาสเข้ามาประชุมสมัชชาครั้งแรก ก็ตื่นเต้น รู้สึกดี จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ พกพากลับบ้าน”
• “คิดถึงเครือข่ายทุก ๆ คน ทั้งคนเก่าคนใหม่”
• “เป็นเวทีที่ได้มีโอกาสได้พบและพูดคุยกับสมาชิกจังหวัดอื่น”
• “มีความสุขที่ได้มีเวทีบอกข่าวสารที่ทำดีในพื้นที่ตามบริบทแก่เพื่อน ๆ”
• “ดีใจที่ให้โอกาสมาร่วมงานนี้”
• “ดีใจได้มาพบหน้าพี่น้องสมัชชาจากทั่วประเทศ”
• “ดีใจที่มีเวทีแลกเปลี่ยนความคิดในแง่มุมต่าง ๆ”
• “ประทับใจในกิจกรรมและเอกสารที่มีประโยชน์แจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมาก”
• “ดีใจครับที่ได้เข้าร่วมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พบเห็นพี่น้องเครือข่ายมากมาย ทุกคนดูสดใสมีชีวิตชีวา ประเด็นสมัชชาก็มีแต่ประเด็นที่น่าติดตาม”
• “สมัชชา NICE TO MEET YOU”
บางกลุ่มสะท้อน “พลังจิตอาสา” “พลังใจที่มาร้อยรวมกัน เพื่อร่วมขับเคลื่อน “สังคมสุขภาวะ”
• “วันแห่งความหลากหลายทางวิถีวัฒนธรรม ระบบการจัดการสุขภาพแบบกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน”
• “ร่วมคิด ร่วมสร้าง สังคมสุขภาวะ”
• “ขอมาเรียนรู้อีก ๑ ปี แล้วจะกลับไปพัฒนาให้พื้นที่มีกระบวนการสมัชชา”
• “ร่วมกันสร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะของคนทั้งชาติ”
• “ได้มีโอกาสมาร่วม “สมัชชาข้ามปี” มาครั้งที่ ๒ ยินดีมากกับการมาเรียนรู้และซึมซับบรรยากาศ และนำกลับไปพัฒนาในพื้นที่ต่อไป ขอให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น”
• “ดีใจที่ได้มีโอกาสมาเรียนรู้ครั้งนี้ จะนำความรู้ การสังเกตการณ์ไปใช้ในพื้นที่”
• “พบผู้คนที่มีจิตอาสาที่หลากหลาย ร่วมกันขับเคลื่อนสุขภาวะของชุมชน”
• “ดีใจที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นสมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ ๖ คิดว่าเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมที่เป็นรูปธรรม ชัดเจนและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนตื่นตัว”
• “ดีใจที่ได้มาพบเห็นพลังมวลชนจากหลากหลายแขนงมารวมกันเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะ”
• “สานรัก สานพลัง สานใจ ใกล้กัน”
• “คุณธรรมสื่อคุณค่าของความเป็นมนุษย์มากกว่าความฉลาด”
• “สานพลัง สร้างคุณค่า สมัชชาสุขภาพ สู่นโยบาย”
• “รวมพลังเครือข่ายคนทำงานด้านสุขภาพเพื่อสร้างสุขภาวะชุมชน”
• “ทำอย่างไร ให้ประชาชนรู้จัก “สมัชชาสุขภาพ” สมัชชาเข้มแข็ง คนไทยแข็งแรง”
• “บรรยากาศเป็นกันเอง แต่หนักแน่นด้านนโยบายสาธารณะ”
• “เหมือนแหล่งเรียนรู้ ฉบับย่อ”
• “สมัชชา สู้สู้ รวมสร้างพลัง สร้างความรู้”
• “เรื่องอะไรที่ไม่ดีกับสุขภาวะ ต้องการหาคำตอบก็ต้องใช้เวทีสมัชชาช่วยหาคำตอบได้ รู้แล้วก็ร่วมกันวางแผนลงมือปฏิบัติ ดีจังเลย”
• “สมัชชาครั้งที่ ๖ คำนึงถึงเครือข่ายมีส่วนร่วมของทุกจังหวัดในการเสนอความคิดเห็น และในการนำเสนอร่างมติต่อในที่ประชุมแต่ละจังหวัดอย่างมีส่วนร่วม ทั้งวิทยากรและผู้นำเสนอ”
• “แม้อุปสรรคจะมากมาย แต่เราก็มาพบกันจนได้ “สมัชชาสุขภาพ” เพื่อสุขภาวะของปวงชน “ทำได้ระดับดีแล้วค่ะ”
• “สานพลังและคุณค่าคนทำงาน”
• “สดชื่น สดใส น้ำใจงามน้องพี่มีสุขถ้วนหน้า สมัชชาสุขภาพยั่งยืน”
• “สานรักสานสัมพันธ์ เข้มแข็ง พลังใจ สู่ความสุขที่เป็นจริง”
• “เรียนรู้คู่พัฒนา คนเก่งรู้จักที่จะแก้ไข คนฉลาดรู้จักที่จะป้องกัน”
• “ประทับใจที่ได้เห็นเยาวชน (นักศึกษา) จำนวนมากเป็นอาสาสมัครช่วยงานอย่างเข้มแข็ง”
• “ประทับใจที่ได้เห็นสมาชิกสมัชชาที่มาจากจังหวัดต่าง ๆ มีความกระตือรือร้นและมีสีหน้าอย่างมีความสุข”
บางกลุ่มสะท้อน “ความรู้เชิงนโยบาย” ที่ได้ซึมซับจาก “กระบวนการในงาน”
• “ขยายความรู้นโยบายสาธารณะให้กับเครือข่ายตนเอง”
• “ถือว่าคุ้มค่ามากที่ได้มาร่วมงานในครั้งนี้ ได้รับความรู้ที่หลากหลายและได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มาร่วมงาน”
• “ห้องพิจารณามติเยี่ยมมาก ควบคุมกำกับอย่างมืออาชีพ”
• “มาวันนี้เห็นความก้าวหน้าของสมัชชาสุขภาพครั้งนี้ “ขอให้ก้าวหน้าทั้งคุณภาพและประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมครับ”
• “ไม่ว่าถึงจุดใด เมื่อนับหนึ่งสองสามแล้ว อย่างลืมคนแต่ละพื้นถิ่นให้เข้าใจตรงกันก่อนเดินหน้า เพื่อความยั่งยืน ยืนยัน”
เหล่านี้คือข้อความที่แสดงถึง “จิตวิญญาณของสมัชชาสุขภาพ” ของเพื่อนภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย อีกไม่กี่เดือนข้างหน้า พวกเราจะกลับมาเจอกันอีกครั้งในสมัชชาสุขภาพครั้งที่ ๗ เพราะ “สมัชชาคือเวทีของเราที่จะสำแดง (ของ)” ออกมานั่นเองครับ
วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557
“เบิกโรง-คลี่ม่าน สานพลัง สร้างสุขภาวะชุมชน” เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๗
"จึงอยากจะขอ ส่งเพลงนี้แทนพลัง ว่าอย่ากลับหลัง ขอให้เดินต่อไป สักวันต้องถึง จุดหมายที่เธอตั้งใจเอาไว้..."
เสียงเพลง "ชัยชนะ" โดย "กิตตินันท์ ชินสำราญ" กระหึ่มก้องดังห้องประชุมของศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร สร้างพลังให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าสู่เป้าหมายแม้นจะมีปัญหาอุปสรรคมาขวางกั้นได้อย่างดียิ่ง
นับตั้งแต่เวลา ๙ โมงเช้าเป็นต้นมาของวันนี้ (๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๗) พิธีเปิดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการนับแต่วินาทีนั้นจนถึงวันพรุ่งนี้ หลังจากเสียงเพลง “ชัยชนะ” จบลง นับเป็นช่วงเวลาอันสำคัญยิ่ง เมื่อ ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๖ ได้กล่าวเปิดการประชุมพร้อมกับเชิญชวนทุกท่านเข้าสู่เวทีในครั้งนี้อย่างพร้อมเพียงกัน
พร้อมทั้งแนะนำปาฐกถาเปิดงานในครั้งนี้ ภาพของ “นางพะโฉะ สิรินิพนธ์” เครือข่ายหมอปฏิวัติลุ่มน้ำแม่จัน จังหวัดตาก กำลังปาฐกถาด้วยภาษากะเหรี่ยงและเธอก็แต่งชุดกะเหรี่ยง ทำให้ผมพลันน้ำตาซึมไม่รู้ตัว นี้คือ “ที่ทางคนเล็กคนน้อยในการส่งเสียงเรื่องราวที่กำลังสร้างความเป็นธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ ด้วยภาษาของตนเอง ที่ไม่ใช่ภาษาหลักของคนในประเทศไทย” ต่อหน้าคนในเวทีประชุมนับพันที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาหลักและแต่งตัวด้วยชุดทางการ “มันยิ่งใหญ่เหลือเกินครับ”
นี้เป็นการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งแรกที่ต้องประสบเหตุการเลื่อนจัดมาถึง ๒ ครั้ง จากเหตุการณ์ทางการเมืองที่ร้อนระอุเมื่อธันวาคมปีที่แล้ว และมีนาคมในปีนี้ แม้ว่าเวทีลักษณะนี้จะมีการจัดมาถึง ๕ ครั้งแล้วในประเทศไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ เป็นต้นมาก็ตาม
นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้อธิบายต่ออย่างชัดเจนว่า “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” คือ กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ที่เกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐
๕ ปีที่ผ่านมามีมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่สมาชิกจาก ๓ ภาคส่วนคือ ภาครัฐและการเมือง ภาควิชาชีพและวิชาการ และภาคประชาชนและเอกชน ให้ความเห็นชอบร่วมกันไปแล้วรวม ๕๑ เรื่อง
สำหรับในครั้งที่ ๖ ได้จัดขึ้นภายใต้กรอบความคิดหลัก “สานพลัง สร้างสุขภาวะชุมชน” มีข้อเสนอเชิงนโยบายรวม ๙ เรื่อง ที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาของสมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ๒๓๔ กลุ่มเครือข่าย
มีรายละเอียดดังนี้
เรื่องที่ ๑ แผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติ ว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชน เป้าหมายของข้อเสนอเชิงนโยบายคือ การรวมพลังขององค์กร กว่า ๔๖ หน่วย ที่จะจับมือกันหนุนเสริมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยใช้ "แผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชน" เป็นเครื่องมือในการทำงานอย่างบูรณาการ เปรียบเหมือน “การรวมแสงเลเซอร์” ที่ทรงอานุภาพ โดยให้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง และรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของแผนงานร่วมกัน
เรื่องที่ ๒ แผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมาย ของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๖๑ เป้าหมายของข้อเสนอเชิงนโยบายคือ การมียุทธศาสตร์เพื่อจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมาย ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของสื่อรูปแบบใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้ง ทีวีดิจิตอล เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม โซเชียลมีเดีย และวิทยุชุมชน โดยเน้นที่ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันของหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง
เรื่องที่ ๓ ระบบการจัดการอาหารในโรงเรียน เป้าหมายของข้อเสนอเชิงนโยบายคือ การยกระดับการจัดการอาหารให้กับเด็กนักเรียนในรั้วของโรงเรียน ที่ให้มุ่งที่คุณภาพของอาหาร มีความปลอดภัย และสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กในวัยเรียนโดยตรง
เรื่องที่ ๔ นโยบายการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน เป้าหมายของข้อเสนอเชิงนโยบายคือ การให้มีการพัฒนาองค์ความรู้ และแนวปฏิบัติในการตรวจสุขภาพของประชาชนให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีความจำเป็นจริง ๆ
เรื่องที่ ๕ การกำกับดูแลสื่อและการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป้าหมายของข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ การริเริ่มให้มีการจัดทำข้อบังคับจริยธรรม และแนวปฏิบัติขององค์กรสื่อที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เพราะยาสูบและแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพที่ร้ายแรง
เรื่องที่ ๖ เป้าหมายในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของประเทศไทย เป้าหมายของข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ การรับรองตัวชี้วัดเป้าหมายการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้องรังที่กำลังคุกคามคนไทยอยู่ในขณะนี้ และนำไปสู่การมียุทธศาสตร์แบบบูรณาการในเรื่องนี้ในลำดับต่อไป
เรื่องที่ ๗ การสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อ "สุขภาพหนึ่งเดียว" ของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม เป้าหมายของข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ การสร้างความเข้าใจและร่วมมือกันทำงานป้องกันและรับมือกับโรคอุบัติใหม่ ที่สามารถติดต่อกันระหว่างตัวคน สัตว์ และสภาพแวดล้อม ภายใต้แนวคิด สุขภาพหนึ่งเดียว หรือ One Health
เรื่องที่ ๘ การป้องกันผลกระทบต่อสุขภาวะและสังคมจากการค้าเสรีระหว่างประเทศ เป้าหมายของข้อเสนอเชิงนโยบายคือ ทบทวนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๓ โดยให้มีกลไกและเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในการป้องกันผลกระทบจากการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
เรื่องที่ ๙ การปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย เป้าหมายของข้อเสนอเชิงนโยบายคือ การมีข้อเสนอเพื่อการปฎิรูประบบสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบท สถานการณ์ แนวโน้มที่จะเกิดขึ้น ต่อกลไกที่กำลังขับเคลื่อนปฏิรูประเทศไทยอยู่ในขณะนี้
นอกจากการพิจารณาข้อเสนอเชิงนโยบายใหม่ จำนวน ๙ เรื่องข้างต้นแล้ว ที่ประชุมยังจัดให้มีการรายงานความก้าวหน้าในการติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ผ่าน ๆ มาอีก ๑๐ มติ ซึ่งจะได้นำเสนอในลักษณะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันภูมิใจในสิ่งที่เดินหน้าไปได้ด้วยดี และช่วยกันหาทางขับเคลื่อนในประเด็นที่ยังไม่ขยับต่อไป
จากการทำงานมาระยะหนึ่ง ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เคยทำการประเมินกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติไว้ในช่วง ๔ ปีแรก ได้พบคุณค่าของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มี ๕ ประการ ได้แก่
คุณค่าด้านการพัฒนาหรือแก้ปัญหา : สมัชชาสุขภาพได้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนแก้ไขมาตรการสำคัญที่มีผลต่อสุขภาวะของสังคม คุณค่าของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมิได้หมายความเพียงการได้มาของมติที่นำไปปฏิบัติเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดแนวทางการจัดการปัญหาสังคมที่ต่อเนื่องเรื้อรัง และไม่สามารถดำเนินการโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพียงลำพัง
คุณค่าด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ : ก่อให้เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคีที่มีความแตกต่างในความเห็นและผลประโยชน์ ช่วยสร้างการเรียนรู้และเข้าใจในหน้าที่ความเป็นพลเมืองและความรับผิดชอบทางสังคม การตัดสินใจบนฐานข้อมูลความรู้ และก่อให้เกิดความเข้าใจสุขภาวะองค์รวม อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ประชาชนมามีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะมากขึ้น สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของประเด็นสุขภาวะนั้น ๆ ในพื้นที่ รวมทั้งเป็นการเปิดพื้นที่สาธารณะทางสังคมได้อย่างกว้างขวางและหลากหลาย ทำให้ทุกฝ่ายได้มีพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ค้นหาทางออกของปัญหาร่วมกัน ที่เน้นกระบวนการพัฒนาศักยภาพของผู้ที่เกี่ยวข้อง
คุณค่าด้านการสร้างเครือข่ายและกลไกการจัดการเครือข่าย : สร้างให้เกิดผู้อำนวยกระบวนการเรียนรู้นโยบาย เครือข่ายที่ขับเคลื่อนประเด็นเดียวกัน เครือข่ายที่ขับเคลื่อนต่างประเด็น และการพัฒนาความสัมพันธ์และความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างภาคีเครือข่าย เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้เครือข่ายได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมพลัง เพื่อนำไปสู่ข้อตกลงร่วมหรือปฏิญญาประกาศเจตนารมณ์ของภาคีเครือข่ายต่อสาธารณะ
คุณค่าด้านการพัฒนาองค์ความรู้ : มีการใช้ความรู้นำการเปลี่ยนแปลง ความรู้มิได้หมายถึงความรู้ทางวิชาการเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงความรู้เชิงประสบการณ์ คุณค่าด้านการพัฒนาองค์ความรู้จึงพิจารณาจากการมีชุดความรู้หรือเอกสารที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสมัชชาสุขภาพ และชุดความรู้ที่เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะแบบองค์รวม ผู้มีส่วนได้เสียในสมัชชาสุขภาพมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ผลสืบเนื่องจากการที่สมัชชาสุขภาพออกแบบให้มีกระบวนการเก็บเกี่ยวความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ สรุปความรู้ และใช้ความรู้ ก่อให้เกิดองค์ความรู้จากพื้นที่เชิงประเด็น และระดับชาติในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ
คุณค่าด้านผลต่อการขับเคลื่อนสมัชชาประเภทอื่น : ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดการรับรู้ ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะ และยังมีการถ่ายทอดรูปแบบ วิธีการไปสู่การขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาสังคมในเรื่องอื่น ๆ เช่น สมัชชาปฏิรูป สมัชชาคุณธรรม สมัชชาผู้สูงอายุ สมัชชาคนพิการ สมัชชาเด็กและเยาวชน เป็นต้น
แน่นอนครับ อย่างที่ผมบอกเสมอว่า “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ไม่ใช่ “แก้วสารพัดนึก” ที่จะดลบันดาลให้ได้ทุกประการตามที่มีมติออกมา แต่นี้คือ พื้นที่สำคัญที่ “พวกเราทุกคน” ต้องมาร่วมกันคิด ร่วมกันทำให้เกิดเข้มแข็งยิ่งขึ้น
เพราะความสำคัญของ “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” คือ การเปิดกว้างสำหรับทุกภาคส่วน โดยไม่มีข้อยกเว้น โดยเฉพาะเสียงเล็กเสียงน้อยที่เดิมถูกละเลย ให้ได้มีเวทีหรือพื้นที่เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมกับกระบวนการนโยบายสาธารณะนี้ได้อย่างทัดเทียมกัน
กระบวนการเช่นนี้จึงนับเป็นกระบวนการที่ยิ่งใหญ่ สร้าง “ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม” และทายท้าหัวใจของทุกคนที่นั่งอยู่ในที่ประชุมแห่งนี้อย่างยิ่ง แม้นระยะทางยังอีกยาวไกลก็ตาม ดั่งท่อนจบของเพลง "ชัยชนะ" ที่ว่า
"อย่ากลัวแม้ว่า ต้องเจอกับทางที่ดูมืดมน สักวันเธอจะผ่านพ้น หนทางที่แสนไกล จะยากเย็นสักเท่าไร และเพื่อให้รู้ว่า ชัยชนะนั้นคือ...อะไร"
"จึงอยากจะขอ ส่งเพลงนี้แทนพลัง ว่าอย่ากลับหลัง ขอให้เดินต่อไป สักวันต้องถึง จุดหมายที่เธอตั้งใจเอาไว้..."
เสียงเพลง "ชัยชนะ" โดย "กิตตินันท์ ชินสำราญ" กระหึ่มก้องดังห้องประชุมของศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร สร้างพลังให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าสู่เป้าหมายแม้นจะมีปัญหาอุปสรรคมาขวางกั้นได้อย่างดียิ่ง
นับตั้งแต่เวลา ๙ โมงเช้าเป็นต้นมาของวันนี้ (๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๗) พิธีเปิดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการนับแต่วินาทีนั้นจนถึงวันพรุ่งนี้ หลังจากเสียงเพลง “ชัยชนะ” จบลง นับเป็นช่วงเวลาอันสำคัญยิ่ง เมื่อ ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๖ ได้กล่าวเปิดการประชุมพร้อมกับเชิญชวนทุกท่านเข้าสู่เวทีในครั้งนี้อย่างพร้อมเพียงกัน
พร้อมทั้งแนะนำปาฐกถาเปิดงานในครั้งนี้ ภาพของ “นางพะโฉะ สิรินิพนธ์” เครือข่ายหมอปฏิวัติลุ่มน้ำแม่จัน จังหวัดตาก กำลังปาฐกถาด้วยภาษากะเหรี่ยงและเธอก็แต่งชุดกะเหรี่ยง ทำให้ผมพลันน้ำตาซึมไม่รู้ตัว นี้คือ “ที่ทางคนเล็กคนน้อยในการส่งเสียงเรื่องราวที่กำลังสร้างความเป็นธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ ด้วยภาษาของตนเอง ที่ไม่ใช่ภาษาหลักของคนในประเทศไทย” ต่อหน้าคนในเวทีประชุมนับพันที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาหลักและแต่งตัวด้วยชุดทางการ “มันยิ่งใหญ่เหลือเกินครับ”
นี้เป็นการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งแรกที่ต้องประสบเหตุการเลื่อนจัดมาถึง ๒ ครั้ง จากเหตุการณ์ทางการเมืองที่ร้อนระอุเมื่อธันวาคมปีที่แล้ว และมีนาคมในปีนี้ แม้ว่าเวทีลักษณะนี้จะมีการจัดมาถึง ๕ ครั้งแล้วในประเทศไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ เป็นต้นมาก็ตาม
นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้อธิบายต่ออย่างชัดเจนว่า “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” คือ กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ที่เกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐
๕ ปีที่ผ่านมามีมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่สมาชิกจาก ๓ ภาคส่วนคือ ภาครัฐและการเมือง ภาควิชาชีพและวิชาการ และภาคประชาชนและเอกชน ให้ความเห็นชอบร่วมกันไปแล้วรวม ๕๑ เรื่อง
สำหรับในครั้งที่ ๖ ได้จัดขึ้นภายใต้กรอบความคิดหลัก “สานพลัง สร้างสุขภาวะชุมชน” มีข้อเสนอเชิงนโยบายรวม ๙ เรื่อง ที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาของสมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ๒๓๔ กลุ่มเครือข่าย
มีรายละเอียดดังนี้
เรื่องที่ ๑ แผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติ ว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชน เป้าหมายของข้อเสนอเชิงนโยบายคือ การรวมพลังขององค์กร กว่า ๔๖ หน่วย ที่จะจับมือกันหนุนเสริมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยใช้ "แผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชน" เป็นเครื่องมือในการทำงานอย่างบูรณาการ เปรียบเหมือน “การรวมแสงเลเซอร์” ที่ทรงอานุภาพ โดยให้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง และรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของแผนงานร่วมกัน
เรื่องที่ ๒ แผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมาย ของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๖๑ เป้าหมายของข้อเสนอเชิงนโยบายคือ การมียุทธศาสตร์เพื่อจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมาย ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของสื่อรูปแบบใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้ง ทีวีดิจิตอล เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม โซเชียลมีเดีย และวิทยุชุมชน โดยเน้นที่ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันของหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง
เรื่องที่ ๓ ระบบการจัดการอาหารในโรงเรียน เป้าหมายของข้อเสนอเชิงนโยบายคือ การยกระดับการจัดการอาหารให้กับเด็กนักเรียนในรั้วของโรงเรียน ที่ให้มุ่งที่คุณภาพของอาหาร มีความปลอดภัย และสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กในวัยเรียนโดยตรง
เรื่องที่ ๔ นโยบายการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน เป้าหมายของข้อเสนอเชิงนโยบายคือ การให้มีการพัฒนาองค์ความรู้ และแนวปฏิบัติในการตรวจสุขภาพของประชาชนให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีความจำเป็นจริง ๆ
เรื่องที่ ๕ การกำกับดูแลสื่อและการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป้าหมายของข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ การริเริ่มให้มีการจัดทำข้อบังคับจริยธรรม และแนวปฏิบัติขององค์กรสื่อที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เพราะยาสูบและแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพที่ร้ายแรง
เรื่องที่ ๖ เป้าหมายในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของประเทศไทย เป้าหมายของข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ การรับรองตัวชี้วัดเป้าหมายการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้องรังที่กำลังคุกคามคนไทยอยู่ในขณะนี้ และนำไปสู่การมียุทธศาสตร์แบบบูรณาการในเรื่องนี้ในลำดับต่อไป
เรื่องที่ ๗ การสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อ "สุขภาพหนึ่งเดียว" ของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม เป้าหมายของข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ การสร้างความเข้าใจและร่วมมือกันทำงานป้องกันและรับมือกับโรคอุบัติใหม่ ที่สามารถติดต่อกันระหว่างตัวคน สัตว์ และสภาพแวดล้อม ภายใต้แนวคิด สุขภาพหนึ่งเดียว หรือ One Health
เรื่องที่ ๘ การป้องกันผลกระทบต่อสุขภาวะและสังคมจากการค้าเสรีระหว่างประเทศ เป้าหมายของข้อเสนอเชิงนโยบายคือ ทบทวนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๓ โดยให้มีกลไกและเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในการป้องกันผลกระทบจากการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
เรื่องที่ ๙ การปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย เป้าหมายของข้อเสนอเชิงนโยบายคือ การมีข้อเสนอเพื่อการปฎิรูประบบสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบท สถานการณ์ แนวโน้มที่จะเกิดขึ้น ต่อกลไกที่กำลังขับเคลื่อนปฏิรูประเทศไทยอยู่ในขณะนี้
นอกจากการพิจารณาข้อเสนอเชิงนโยบายใหม่ จำนวน ๙ เรื่องข้างต้นแล้ว ที่ประชุมยังจัดให้มีการรายงานความก้าวหน้าในการติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ผ่าน ๆ มาอีก ๑๐ มติ ซึ่งจะได้นำเสนอในลักษณะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันภูมิใจในสิ่งที่เดินหน้าไปได้ด้วยดี และช่วยกันหาทางขับเคลื่อนในประเด็นที่ยังไม่ขยับต่อไป
จากการทำงานมาระยะหนึ่ง ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เคยทำการประเมินกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติไว้ในช่วง ๔ ปีแรก ได้พบคุณค่าของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มี ๕ ประการ ได้แก่
คุณค่าด้านการพัฒนาหรือแก้ปัญหา : สมัชชาสุขภาพได้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนแก้ไขมาตรการสำคัญที่มีผลต่อสุขภาวะของสังคม คุณค่าของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมิได้หมายความเพียงการได้มาของมติที่นำไปปฏิบัติเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดแนวทางการจัดการปัญหาสังคมที่ต่อเนื่องเรื้อรัง และไม่สามารถดำเนินการโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพียงลำพัง
คุณค่าด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ : ก่อให้เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคีที่มีความแตกต่างในความเห็นและผลประโยชน์ ช่วยสร้างการเรียนรู้และเข้าใจในหน้าที่ความเป็นพลเมืองและความรับผิดชอบทางสังคม การตัดสินใจบนฐานข้อมูลความรู้ และก่อให้เกิดความเข้าใจสุขภาวะองค์รวม อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ประชาชนมามีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะมากขึ้น สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของประเด็นสุขภาวะนั้น ๆ ในพื้นที่ รวมทั้งเป็นการเปิดพื้นที่สาธารณะทางสังคมได้อย่างกว้างขวางและหลากหลาย ทำให้ทุกฝ่ายได้มีพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ค้นหาทางออกของปัญหาร่วมกัน ที่เน้นกระบวนการพัฒนาศักยภาพของผู้ที่เกี่ยวข้อง
คุณค่าด้านการสร้างเครือข่ายและกลไกการจัดการเครือข่าย : สร้างให้เกิดผู้อำนวยกระบวนการเรียนรู้นโยบาย เครือข่ายที่ขับเคลื่อนประเด็นเดียวกัน เครือข่ายที่ขับเคลื่อนต่างประเด็น และการพัฒนาความสัมพันธ์และความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างภาคีเครือข่าย เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้เครือข่ายได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมพลัง เพื่อนำไปสู่ข้อตกลงร่วมหรือปฏิญญาประกาศเจตนารมณ์ของภาคีเครือข่ายต่อสาธารณะ
คุณค่าด้านการพัฒนาองค์ความรู้ : มีการใช้ความรู้นำการเปลี่ยนแปลง ความรู้มิได้หมายถึงความรู้ทางวิชาการเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงความรู้เชิงประสบการณ์ คุณค่าด้านการพัฒนาองค์ความรู้จึงพิจารณาจากการมีชุดความรู้หรือเอกสารที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสมัชชาสุขภาพ และชุดความรู้ที่เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะแบบองค์รวม ผู้มีส่วนได้เสียในสมัชชาสุขภาพมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ผลสืบเนื่องจากการที่สมัชชาสุขภาพออกแบบให้มีกระบวนการเก็บเกี่ยวความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ สรุปความรู้ และใช้ความรู้ ก่อให้เกิดองค์ความรู้จากพื้นที่เชิงประเด็น และระดับชาติในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ
คุณค่าด้านผลต่อการขับเคลื่อนสมัชชาประเภทอื่น : ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดการรับรู้ ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะ และยังมีการถ่ายทอดรูปแบบ วิธีการไปสู่การขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาสังคมในเรื่องอื่น ๆ เช่น สมัชชาปฏิรูป สมัชชาคุณธรรม สมัชชาผู้สูงอายุ สมัชชาคนพิการ สมัชชาเด็กและเยาวชน เป็นต้น
แน่นอนครับ อย่างที่ผมบอกเสมอว่า “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ไม่ใช่ “แก้วสารพัดนึก” ที่จะดลบันดาลให้ได้ทุกประการตามที่มีมติออกมา แต่นี้คือ พื้นที่สำคัญที่ “พวกเราทุกคน” ต้องมาร่วมกันคิด ร่วมกันทำให้เกิดเข้มแข็งยิ่งขึ้น
เพราะความสำคัญของ “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” คือ การเปิดกว้างสำหรับทุกภาคส่วน โดยไม่มีข้อยกเว้น โดยเฉพาะเสียงเล็กเสียงน้อยที่เดิมถูกละเลย ให้ได้มีเวทีหรือพื้นที่เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมกับกระบวนการนโยบายสาธารณะนี้ได้อย่างทัดเทียมกัน
กระบวนการเช่นนี้จึงนับเป็นกระบวนการที่ยิ่งใหญ่ สร้าง “ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม” และทายท้าหัวใจของทุกคนที่นั่งอยู่ในที่ประชุมแห่งนี้อย่างยิ่ง แม้นระยะทางยังอีกยาวไกลก็ตาม ดั่งท่อนจบของเพลง "ชัยชนะ" ที่ว่า
"อย่ากลัวแม้ว่า ต้องเจอกับทางที่ดูมืดมน สักวันเธอจะผ่านพ้น หนทางที่แสนไกล จะยากเย็นสักเท่าไร และเพื่อให้รู้ว่า ชัยชนะนั้นคือ...อะไร"
พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสไตล์บ้านทุ่ง ตอนที่ ๔
๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
ครั้งที่แล้วผมได้ทิ้งท้ายไว้ว่าจะนำเรื่อง “นิโรธ” ที่หมายถึง ภาวะที่ปราศจากทุกข์หรือนิพพาน มาวิเคราะห์เรื่องการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อ ในเมื่อ “นิโรธ คือ เป้าหมายที่อยากเห็นอยากเป็นอยากมี” หากลองนำมาเปรียบเทียบกับเป้าหมายชีวิตมนุษย์เรา จะพบว่ามีได้แตกต่างหลากหลายกันไป ขึ้นอยู่กับว่า “ใครเป็นคนกำหนด”
เช่น บางคนอาจเป็นพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ปู่ย่าตายาย พินัยกรรมที่ระบุไว้แล้ว ครู เพื่อน เจ้าอาวาสวัดที่ตนเองไปอาศัยอยู่ หรือแหล่งทุนที่ให้ทุนเราไปเรียน และยังอาจมีเหตุผลอีกมากมายที่เป็นตัวกำหนด แต่อย่างไรก็ตามสุดท้ายการตัดสินใจก็จะกลับมาอยู่ที่เจ้าของชีวิตนั้นเป็นผู้กำหนดในที่สุด
ไม่แตกต่างจากการกำหนด “นิโรธ” ในวงจรนโยบายสาธารณะ ที่จะมี “ข้อมูลที่หลากหลาย และอยู่ในระดับต่าง ๆ” มาสนับสนุนและประกอบการตัดสินใจในการกำหนด ผมขอจำแนกแบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ
หนึ่ง กรอบข้อมูลระดับโลก ได้แก่ หลักสิทธิมนุษยชน กฎบัตรหรือกฎหมายระหว่างประเทศ มติการประชุมของนานาชาติ เช่น มติสมัชชาสหประชาชาติ มติสมัชชาอนามัยโลก รวมถึงบทเรียนในเรื่องนั้น ๆ ของประเทศต่าง ๆ
สอง กรอบข้อมูลระดับชาติ ได้แก่ รัฐธรรมนูญ กฎหมาย (พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง) และยังรวมไปถึงนโยบายของรัฐบาล นโยบายของหน่วยงาน แผนยุทธศาสตร์ บทเรียนในเรื่องนั้น ๆ ของจังหวัดอื่น ๆ เป็นต้น
สาม กรอบข้อมูลระดับพื้นที่ (ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และชุมชน) ได้แก่ นโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัด นโยบายของหน่วยงานในจังหวัด นโยบายของ อปท. และยังรวมถึงข้อตกลงร่วมกันของสังคม อาทิ มติสมัชชาสุขภาพจังหวัด ตำบล และรวมถึงบทเรียนความสำเร็จของพื้นที่ที่อยู่ในจังหวัด
ผมขอยกตัวอย่างเรื่อง “การจัดการขยะโดย อปท.” ที่ได้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาไว้ในตอนที่แล้วว่า อาจมาจากปัญหาทั้งในขั้นตอนการเก็บรวบรวมขยะ การขนส่งขยะ และการจำกัดขยะ
ฉะนั้นข้อมูลที่ควรนำมาประกอบการตัดสินใจเพื่อกำหนดเป้าหมายของแต่ละสาเหตุ จึงต้องพิจารณาจาก
ข้อมูลที่เป็นกรอบระดับโลก ได้แก่ กฎบัตรขององค์กรระหว่างประเทศ ปฏิญญาความร่วมมือระดับโลกและระดับภูมิภาค (พหุภาคีและทวิภาคี) ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม หรือด้านการจัดการขยะ ที่เกี่ยวข้อง และอาจจะรวมถึงกรณีตัวอย่างที่ประเทศต่าง ๆ ได้ดำเนินการมาแล้ว
ข้อมูลที่เป็นกรอบระดับชาติ ได้แก่ รัฐธรรมนูญฉบับต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและมลพิษ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ พ.ร.บ.ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๓๕ พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (รวมถึงกฎหมายลูกด้วย) รวมทั้ง พ.ร.บ.จัดตั้ง อปท. ซึ่งระบุบทบาทหน้าที่ของ อปท.ในการจัดการขยะ นอกจากนั้นคงต้องไปดูนโยบายของรัฐบาลหรือของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม แผนยุทธศาสตร์การกำจัดซากผลิตภัณฑ์ฯ เป็นต้น และรวมถึงงานวิจัย และบทเรียนการจัดการขยะของ อปท. ในจังหวัดอื่น ๆ
ข้อมูลที่เป็นกรอบระดับพื้นที่ ได้แก่ นโยบายของจังหวัด เช่น ของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ของ อปท. ทุกระดับ และรวมถึงบทเรียนการจัดการขยะของ อปท.ในจังหวัดตนเอง
หลายท่านคงมีคำถามแล้วว่า “ทำไมต้องทบทวนข้อมูลมากมายขนาดนั้น และใครจะไปทำไหว ?”
ผมจึงต้องเน้นย้ำบ่อยครั้งว่า “นโยบายสาธารณะที่ดี” ควรประกอบด้วย “กุศล ๓ ประการ” คือ กุศลทางปัญญา กุศลทางสังคม และกุศลทางศีลธรรม และการให้ความสำคัญกับการศึกษาข้อมูลวิชาการข้างต้นนั้นก็คือการดำเนินการที่เป็นไปตามหลัก “กุศลทางปัญญา” เพื่อสร้างการยอมรับของทุกภาคส่วน หากมีการศึกษาข้อมูลวิชาการได้รอบด้านมากเท่าไรก็จะได้รับการยอมรับจากหน่วยงาน ภาคีที่เกี่ยวข้องมากขึ้นเท่านั้น
ทั้งนี้กระบวนการทบทวนข้อมูลดังกล่าว เราอาจจะประสานความร่วมมือไปยังนักวิชาการที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ ที่ทำงานอยู่ตามหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชน สถาบันการศึกษา และนักวิชาการอิสระ มาช่วยก็ย่อมทำได้
อีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายให้มีการวิเคราะห์สาเหตุ และการกำหนดกรอบข้อมูลเพื่อนำมากำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่รอบด้านก็คือ “การระดมสมอง” จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเชิงนโยบายนั้น ๆ
ด้วยเหตุนี้จึงได้เห็นจังหวัดต่าง ๆ ที่มีการจัดสมัชชาสุขภาพจังหวัด มีการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้มี “คณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็น” เพื่อทำหน้าที่ในการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการและยกร่างข้อเสนอเชิงนโยบายเป็นการเฉพาะ
ทั้งนี้การวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลยังมีความเกี่ยวข้องกับคำว่า “กินคำเล็ก” หรือ “กินคำใหญ่” อีกด้วย เพราะจะส่งผลต่อขอบเขตของข้อมูลวิชาการที่ต้องทำการศึกษาอย่างหนีไม่พ้น หากต้องการ “กินคำใหญ่” ข้อมูลทางวิชาการที่จะต้องทำการศึกษาก็จะมีขอบเขตกว้างขวาง สร้างความยุ่งยากและใช้เวลาในการทำงานมากกว่า “กินคำเล็ก” ด้วยเช่นเดียวกัน
ครั้งที่แล้วผมได้ทิ้งท้ายไว้ว่าจะนำเรื่อง “นิโรธ” ที่หมายถึง ภาวะที่ปราศจากทุกข์หรือนิพพาน มาวิเคราะห์เรื่องการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อ ในเมื่อ “นิโรธ คือ เป้าหมายที่อยากเห็นอยากเป็นอยากมี” หากลองนำมาเปรียบเทียบกับเป้าหมายชีวิตมนุษย์เรา จะพบว่ามีได้แตกต่างหลากหลายกันไป ขึ้นอยู่กับว่า “ใครเป็นคนกำหนด”
เช่น บางคนอาจเป็นพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ปู่ย่าตายาย พินัยกรรมที่ระบุไว้แล้ว ครู เพื่อน เจ้าอาวาสวัดที่ตนเองไปอาศัยอยู่ หรือแหล่งทุนที่ให้ทุนเราไปเรียน และยังอาจมีเหตุผลอีกมากมายที่เป็นตัวกำหนด แต่อย่างไรก็ตามสุดท้ายการตัดสินใจก็จะกลับมาอยู่ที่เจ้าของชีวิตนั้นเป็นผู้กำหนดในที่สุด
ไม่แตกต่างจากการกำหนด “นิโรธ” ในวงจรนโยบายสาธารณะ ที่จะมี “ข้อมูลที่หลากหลาย และอยู่ในระดับต่าง ๆ” มาสนับสนุนและประกอบการตัดสินใจในการกำหนด ผมขอจำแนกแบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ
หนึ่ง กรอบข้อมูลระดับโลก ได้แก่ หลักสิทธิมนุษยชน กฎบัตรหรือกฎหมายระหว่างประเทศ มติการประชุมของนานาชาติ เช่น มติสมัชชาสหประชาชาติ มติสมัชชาอนามัยโลก รวมถึงบทเรียนในเรื่องนั้น ๆ ของประเทศต่าง ๆ
สอง กรอบข้อมูลระดับชาติ ได้แก่ รัฐธรรมนูญ กฎหมาย (พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง) และยังรวมไปถึงนโยบายของรัฐบาล นโยบายของหน่วยงาน แผนยุทธศาสตร์ บทเรียนในเรื่องนั้น ๆ ของจังหวัดอื่น ๆ เป็นต้น
สาม กรอบข้อมูลระดับพื้นที่ (ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และชุมชน) ได้แก่ นโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัด นโยบายของหน่วยงานในจังหวัด นโยบายของ อปท. และยังรวมถึงข้อตกลงร่วมกันของสังคม อาทิ มติสมัชชาสุขภาพจังหวัด ตำบล และรวมถึงบทเรียนความสำเร็จของพื้นที่ที่อยู่ในจังหวัด
ผมขอยกตัวอย่างเรื่อง “การจัดการขยะโดย อปท.” ที่ได้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาไว้ในตอนที่แล้วว่า อาจมาจากปัญหาทั้งในขั้นตอนการเก็บรวบรวมขยะ การขนส่งขยะ และการจำกัดขยะ
ฉะนั้นข้อมูลที่ควรนำมาประกอบการตัดสินใจเพื่อกำหนดเป้าหมายของแต่ละสาเหตุ จึงต้องพิจารณาจาก
ข้อมูลที่เป็นกรอบระดับโลก ได้แก่ กฎบัตรขององค์กรระหว่างประเทศ ปฏิญญาความร่วมมือระดับโลกและระดับภูมิภาค (พหุภาคีและทวิภาคี) ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม หรือด้านการจัดการขยะ ที่เกี่ยวข้อง และอาจจะรวมถึงกรณีตัวอย่างที่ประเทศต่าง ๆ ได้ดำเนินการมาแล้ว
ข้อมูลที่เป็นกรอบระดับชาติ ได้แก่ รัฐธรรมนูญฉบับต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและมลพิษ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ พ.ร.บ.ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๓๕ พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (รวมถึงกฎหมายลูกด้วย) รวมทั้ง พ.ร.บ.จัดตั้ง อปท. ซึ่งระบุบทบาทหน้าที่ของ อปท.ในการจัดการขยะ นอกจากนั้นคงต้องไปดูนโยบายของรัฐบาลหรือของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม แผนยุทธศาสตร์การกำจัดซากผลิตภัณฑ์ฯ เป็นต้น และรวมถึงงานวิจัย และบทเรียนการจัดการขยะของ อปท. ในจังหวัดอื่น ๆ
ข้อมูลที่เป็นกรอบระดับพื้นที่ ได้แก่ นโยบายของจังหวัด เช่น ของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ของ อปท. ทุกระดับ และรวมถึงบทเรียนการจัดการขยะของ อปท.ในจังหวัดตนเอง
หลายท่านคงมีคำถามแล้วว่า “ทำไมต้องทบทวนข้อมูลมากมายขนาดนั้น และใครจะไปทำไหว ?”
ผมจึงต้องเน้นย้ำบ่อยครั้งว่า “นโยบายสาธารณะที่ดี” ควรประกอบด้วย “กุศล ๓ ประการ” คือ กุศลทางปัญญา กุศลทางสังคม และกุศลทางศีลธรรม และการให้ความสำคัญกับการศึกษาข้อมูลวิชาการข้างต้นนั้นก็คือการดำเนินการที่เป็นไปตามหลัก “กุศลทางปัญญา” เพื่อสร้างการยอมรับของทุกภาคส่วน หากมีการศึกษาข้อมูลวิชาการได้รอบด้านมากเท่าไรก็จะได้รับการยอมรับจากหน่วยงาน ภาคีที่เกี่ยวข้องมากขึ้นเท่านั้น
ทั้งนี้กระบวนการทบทวนข้อมูลดังกล่าว เราอาจจะประสานความร่วมมือไปยังนักวิชาการที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ ที่ทำงานอยู่ตามหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชน สถาบันการศึกษา และนักวิชาการอิสระ มาช่วยก็ย่อมทำได้
อีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายให้มีการวิเคราะห์สาเหตุ และการกำหนดกรอบข้อมูลเพื่อนำมากำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่รอบด้านก็คือ “การระดมสมอง” จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเชิงนโยบายนั้น ๆ
ด้วยเหตุนี้จึงได้เห็นจังหวัดต่าง ๆ ที่มีการจัดสมัชชาสุขภาพจังหวัด มีการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้มี “คณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็น” เพื่อทำหน้าที่ในการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการและยกร่างข้อเสนอเชิงนโยบายเป็นการเฉพาะ
ทั้งนี้การวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลยังมีความเกี่ยวข้องกับคำว่า “กินคำเล็ก” หรือ “กินคำใหญ่” อีกด้วย เพราะจะส่งผลต่อขอบเขตของข้อมูลวิชาการที่ต้องทำการศึกษาอย่างหนีไม่พ้น หากต้องการ “กินคำใหญ่” ข้อมูลทางวิชาการที่จะต้องทำการศึกษาก็จะมีขอบเขตกว้างขวาง สร้างความยุ่งยากและใช้เวลาในการทำงานมากกว่า “กินคำเล็ก” ด้วยเช่นเดียวกัน
วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557
พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสไตล์บ้านทุ่ง ตอนที่ ๓
๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๗
ในปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้าเมื่อเกือบ ๒,๖๐๐ ปีมาแล้ว ได้ทรงแสดงหลักธรรมสำคัญ ๒ ประการ คือ "อริยอัฏฐังคิกมัคค์หรือมรรคมีองค์ ๘" กับ "อริยสัจ ๔" หรือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
หลักอริยสัจ ๔ นี้เอง เมื่อนำมาพิจารณาเป็นหลักในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย จะสามารถอธิบายได้เป็นอย่างดีและชัดเจนที่สุด
ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ทุกข์ จึงคือ ปัญหาที่เราต้องการแก้ไข ซึ่งก็คือเป้าหมายของประเด็นเชิงนโยบายที่เราได้ร่วมกันกำหนดไว้
สมุทัย คือ สาเหตุของทุกข์ อันได้แก่ ตัณหาหรือความอยาก สมุทัย จึงคือ สาเหตุของปัญหา หรือสาเหตุที่เป็นปัญหาอุปสรรคที่จะทำให้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
นิโรธ คือ ภาวะที่ปราศจากทุกข์หรือนิพพาน นิโรธ จึงคือ เป้าหมายที่อยากเห็นอยากเป็นอยากมี ซึ่งในที่นี้ก็คือสิ่งที่เป็นเป้าหมายรายสาเหตุที่เราค้นหาได้จากการวิเคราะห์สมุทัย
มรรค คือ วิธีดับทุกข์หรือวิธีแก้ปัญหา มรรค จึงคือ วิธีที่จะเดินทางไปสู่เป้าหมาย หรือที่นิยมเรียกกันว่า ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี หรือมาตรการต่าง ๆ นั่นเอง
เมื่อเราได้ “กำหนดประเด็นเชิงนโยบาย” แล้ว ซึ่งหากเปรียบเทียบกับหลัก “อริยสัจ ๔” นั่นก็คือการกำหนด “ปัญหา” หรือ “ทุกข์” ซึ่ง “ปัญหา” ยังจำแนกได้อีก ๓ ประเภท คือ ปัญหาเชิงขัดข้อง ปัญหาเชิงป้องกัน และปัญหาเชิงพัฒนา ตามที่ผมได้อธิบายไปในตอนที่ ๑
การที่เราจะแก้ปัญหาได้ตรงจุด สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อมาก็คือ “การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา” ซึ่งการที่จะวิเคราะห์สาเหตุออกมาได้อย่างมีเหตุมีผล เป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วน ต้องใช้การทำงานเชิงวิชาการและการระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควบคู่กันไปร่วมด้วย
ตัวอย่างเช่นในเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดกาญจนบุรีได้หารือเรื่อง “การจัดการขยะของ อปท.”
สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจ คือ ขั้นตอนการจัดการขยะของ อปท. เสียก่อน ซึ่งในทางวิชาการก็จะประกอบไปด้วย “การเก็บรวบรวมขยะ” “การขนส่งขยะ” และ “การจำกัดขยะ” เมื่อเราเห็นขั้นตอนของการจัดการขยะแล้ว ก็จะนำแต่ละขั้นตอนนั้นมาวิเคราะห์ปัญหา ก็จะพบสภาพปัญหาในแต่ละขั้นตอน เช่น
ปัญหาในขั้นตอนการเก็บรวบรวมขยะ คือ ไม่มีที่ทิ้งขยะ ประชาชนทิ้งขยะไม่เป็นที่ทาง ไม่มีการแยกขยะ คนเก็บขยะไม่พอ ประชาชนไม่จ่ายค่าธรรมเนียม เป็นต้น
ปัญหาในขั้นตอนการขนส่งขยะ คือ ไม่มีรถเก็บขยะ รถเก็บขยะเก่าชำรุด รถเก็บขยะแบบแยกประเภทไม่มี เป็นต้น
ปัญหาในขั้นตอนการจำกัดขยะ เช่น ไม่มีกำจัดขยะ มีการต่อต้านจากประชาชนในการก่อสร้างที่กำจัดขยะ ไม่มีที่กำจัดขยะอันตราย เป็นต้น
ถ้าเราสามารถวิเคราะห์สาเหตุหรือสภาพปัญหาได้อย่างละเอียด การคิดหาทางกำจัดสภาพปัญหาเหล่านั้นก็จะง่ายและตรงประเด็นยิ่งขึ้น
ผมมักได้รับคำถามบ่อย ๆ ว่า “มีกรอบวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาแบบง่าย ๆ บ้างไหม”
กรอบที่ผมแนะนำไป คือ หลัก ๔ M ได้แก่ Man (คน) Money (เงิน) Material (วัสดุ-อุปกรณ์) และ Management (การจัดการ) เพราะสาเหตุของปัญหา มักจะข้องเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลาย ๆเรื่องในกรอบ ๔ M กล่าวคือ
มาจากปัญหาด้านคน เช่น จำนวนไม่พอ ไม่มีความรู้ ไม่มีทักษะ ไม่มีศักยภาพ ทำงานไม่เป็นทีม
มาจากปัญหาด้านเงิน เช่น ไม่มีเงินทำงาน ใช้เงินไม่ทัน ใช้เงินเกินงบ บริหารแบบไม่โปร่งใส
มาจากปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์ เช่น ไม่มีวัสดุอุปกรณ์ไว้ใช้งาน หรือเก่า ชำรุด ไม่ทันสมัย สูญหาย
มาจากปัญหาด้านการจัดการ เช่น ไม่มีแผน ไม่มีนโยบาย ไม่มีกฎข้อบังคับ ไม่มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่มีข้อมูล ไม่มีความรู้ ไม่มีผลการศึกษา เป็นต้น
นอกจากการวิเคราะห์ตามหลัก ๔ M แล้ว เครื่องมือที่นิยมนำมาใช้ช่วยวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาอีกชิ้นหนึ่ง คือ “แผนผังก้างปลา” หรือ “Fish Bone Diagram” ซึ่งมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เช่น “โปรแกรมมายด์แมป” (Mind Map) เป็นตัวช่วยจัดการแผนผังดังกล่าวให้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตามแม้มีเครื่องมือทันสมัยอย่างไร สุดท้ายก็หนีไม่พ้นหลัก “อริยสัจ ๔” ของพระพุทธเจ้าที่ทรงสอนไว้ว่า “ทุกข์” ย่อมเกิดมาจาก “สมุทัย” ไม่พ้น
ในตอนต่อไป ผมจะมาแนะนำการกำหนด “นิโรธ” และค้นหา “มรรค” คอยติดตามต่อกันนะครับ
ในปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้าเมื่อเกือบ ๒,๖๐๐ ปีมาแล้ว ได้ทรงแสดงหลักธรรมสำคัญ ๒ ประการ คือ "อริยอัฏฐังคิกมัคค์หรือมรรคมีองค์ ๘" กับ "อริยสัจ ๔" หรือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
หลักอริยสัจ ๔ นี้เอง เมื่อนำมาพิจารณาเป็นหลักในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย จะสามารถอธิบายได้เป็นอย่างดีและชัดเจนที่สุด
ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ทุกข์ จึงคือ ปัญหาที่เราต้องการแก้ไข ซึ่งก็คือเป้าหมายของประเด็นเชิงนโยบายที่เราได้ร่วมกันกำหนดไว้
สมุทัย คือ สาเหตุของทุกข์ อันได้แก่ ตัณหาหรือความอยาก สมุทัย จึงคือ สาเหตุของปัญหา หรือสาเหตุที่เป็นปัญหาอุปสรรคที่จะทำให้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
นิโรธ คือ ภาวะที่ปราศจากทุกข์หรือนิพพาน นิโรธ จึงคือ เป้าหมายที่อยากเห็นอยากเป็นอยากมี ซึ่งในที่นี้ก็คือสิ่งที่เป็นเป้าหมายรายสาเหตุที่เราค้นหาได้จากการวิเคราะห์สมุทัย
มรรค คือ วิธีดับทุกข์หรือวิธีแก้ปัญหา มรรค จึงคือ วิธีที่จะเดินทางไปสู่เป้าหมาย หรือที่นิยมเรียกกันว่า ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี หรือมาตรการต่าง ๆ นั่นเอง
เมื่อเราได้ “กำหนดประเด็นเชิงนโยบาย” แล้ว ซึ่งหากเปรียบเทียบกับหลัก “อริยสัจ ๔” นั่นก็คือการกำหนด “ปัญหา” หรือ “ทุกข์” ซึ่ง “ปัญหา” ยังจำแนกได้อีก ๓ ประเภท คือ ปัญหาเชิงขัดข้อง ปัญหาเชิงป้องกัน และปัญหาเชิงพัฒนา ตามที่ผมได้อธิบายไปในตอนที่ ๑
การที่เราจะแก้ปัญหาได้ตรงจุด สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อมาก็คือ “การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา” ซึ่งการที่จะวิเคราะห์สาเหตุออกมาได้อย่างมีเหตุมีผล เป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วน ต้องใช้การทำงานเชิงวิชาการและการระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควบคู่กันไปร่วมด้วย
ตัวอย่างเช่นในเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดกาญจนบุรีได้หารือเรื่อง “การจัดการขยะของ อปท.”
สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจ คือ ขั้นตอนการจัดการขยะของ อปท. เสียก่อน ซึ่งในทางวิชาการก็จะประกอบไปด้วย “การเก็บรวบรวมขยะ” “การขนส่งขยะ” และ “การจำกัดขยะ” เมื่อเราเห็นขั้นตอนของการจัดการขยะแล้ว ก็จะนำแต่ละขั้นตอนนั้นมาวิเคราะห์ปัญหา ก็จะพบสภาพปัญหาในแต่ละขั้นตอน เช่น
ปัญหาในขั้นตอนการเก็บรวบรวมขยะ คือ ไม่มีที่ทิ้งขยะ ประชาชนทิ้งขยะไม่เป็นที่ทาง ไม่มีการแยกขยะ คนเก็บขยะไม่พอ ประชาชนไม่จ่ายค่าธรรมเนียม เป็นต้น
ปัญหาในขั้นตอนการขนส่งขยะ คือ ไม่มีรถเก็บขยะ รถเก็บขยะเก่าชำรุด รถเก็บขยะแบบแยกประเภทไม่มี เป็นต้น
ปัญหาในขั้นตอนการจำกัดขยะ เช่น ไม่มีกำจัดขยะ มีการต่อต้านจากประชาชนในการก่อสร้างที่กำจัดขยะ ไม่มีที่กำจัดขยะอันตราย เป็นต้น
ถ้าเราสามารถวิเคราะห์สาเหตุหรือสภาพปัญหาได้อย่างละเอียด การคิดหาทางกำจัดสภาพปัญหาเหล่านั้นก็จะง่ายและตรงประเด็นยิ่งขึ้น
ผมมักได้รับคำถามบ่อย ๆ ว่า “มีกรอบวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาแบบง่าย ๆ บ้างไหม”
กรอบที่ผมแนะนำไป คือ หลัก ๔ M ได้แก่ Man (คน) Money (เงิน) Material (วัสดุ-อุปกรณ์) และ Management (การจัดการ) เพราะสาเหตุของปัญหา มักจะข้องเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลาย ๆเรื่องในกรอบ ๔ M กล่าวคือ
มาจากปัญหาด้านคน เช่น จำนวนไม่พอ ไม่มีความรู้ ไม่มีทักษะ ไม่มีศักยภาพ ทำงานไม่เป็นทีม
มาจากปัญหาด้านเงิน เช่น ไม่มีเงินทำงาน ใช้เงินไม่ทัน ใช้เงินเกินงบ บริหารแบบไม่โปร่งใส
มาจากปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์ เช่น ไม่มีวัสดุอุปกรณ์ไว้ใช้งาน หรือเก่า ชำรุด ไม่ทันสมัย สูญหาย
มาจากปัญหาด้านการจัดการ เช่น ไม่มีแผน ไม่มีนโยบาย ไม่มีกฎข้อบังคับ ไม่มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่มีข้อมูล ไม่มีความรู้ ไม่มีผลการศึกษา เป็นต้น
นอกจากการวิเคราะห์ตามหลัก ๔ M แล้ว เครื่องมือที่นิยมนำมาใช้ช่วยวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาอีกชิ้นหนึ่ง คือ “แผนผังก้างปลา” หรือ “Fish Bone Diagram” ซึ่งมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เช่น “โปรแกรมมายด์แมป” (Mind Map) เป็นตัวช่วยจัดการแผนผังดังกล่าวให้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตามแม้มีเครื่องมือทันสมัยอย่างไร สุดท้ายก็หนีไม่พ้นหลัก “อริยสัจ ๔” ของพระพุทธเจ้าที่ทรงสอนไว้ว่า “ทุกข์” ย่อมเกิดมาจาก “สมุทัย” ไม่พ้น
ในตอนต่อไป ผมจะมาแนะนำการกำหนด “นิโรธ” และค้นหา “มรรค” คอยติดตามต่อกันนะครับ
วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557
พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสไตล์บ้านทุ่ง ตอนที่ ๒
๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๗
“เป้าหมายมีไว้พุ่งชน” คำโฆษณาของเครื่องดื่มบำรุงร่างกายยี่ห้อหนึ่ง ที่สร้างความฮึกเหิม มุ่งมั่น ไปสู่เป้าหมายข้างหน้ามิใช่น้อย แต่นั่นล่ะครับ “จะพุ่งชนเป้าหมายได้นั้น” ก็ต้องรู้ว่า “เป้าหมายที่จะพุ่งชนคืออะไร”
เหมือนกับเป้าหมายชีวิตของแต่ละคนที่ย่อมแตกต่างกันไป บางคนอยากรวย อยากมีชื่อเสียง อยากเป็นดารา เป็นหมอ เป็นครู หรืออื่น ๆ อีกมากมาย
อย่างไรก็ตามเป้าหมายที่จะไปถึงได้นั้นต้อง “เป็นไปได้” เพราะมิฉะนั้นก็จะกลายเป็น “เป้าหมายเลื่อนลอย” แทน
เฉกเช่นเดียวกับ “การกำหนดประเด็นเชิงนโยบาย” ใน “วงจรนโยบายสาธารณะ” ก็ต้องมีการ “กำหนดเป้าหมาย” ของประเด็นเชิงนโยบายนั้น ๆ ด้วย
ผมขอยกตัวอย่างเรื่อง “กำแพง” อธิบายให้เห็นถึงการกำหนดเป้าหมายของประเด็นเชิงนโยบายที่ดีในกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัด ให้เห็นรูปธรรมเพิ่มขึ้น
เวลากล่าวถึงคำว่า “กำแพง” แต่ละคนคงนึกถึง “กำแพง” ที่แตกต่างกันไป เช่น “กำแพงเมืองจีน” “กำแพงกรุงเบอร์ลิน” “กำแพงวัด” หรือบางคนอาจนึกถึงแค่ “กำแพงบ้านไม้ธรรมดา ๆ”
เห็นไหมครับว่าเพียงแค่คำ ๆ เดียว คนฟังยังมีความคิดที่แตกต่างหลากหลาย เฉกเช่นเดียวกับการกำหนดเป้าหมายของประเด็นเชิงนโยบาย หากกำหนดไม่ชัดเจน ผลที่ออกมาก็ไม่ต่างจากคำว่า “กำแพง” ข้างต้น
ในเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดหลายจังหวัด ผมมักจะได้ยินชื่อ “ประเด็นเชิงนโยบาย” ที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะคล้าย ๆ กับคำว่า “กำแพง” ที่ “เป้าหมาย” ยังเบลอ ๆ ไม่ชัดเจน
เช่น คำว่า “ความมั่นคงด้านอาหาร” “สุขภาวะของผู้สูงอายุ” “การจัดการขยะ” เป็นต้น แต่เมื่อผมยกเรื่อง “กำแพง” ขึ้นมาเทียบเคียง เพื่อสอบถามถึง “เป้าหมาย” ในประเด็นเชิงนโยบายในแต่ละเรื่องที่แท้จริงคืออะไร ความชัดเจนของเป้าหมายก็จะเกิดขึ้นทันที
เช่น ในเรื่อง “ความมั่นคงด้านอาหาร” เป้าหมายที่แท้จริงคือ “การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์” หรือ “การลดละเลิกการใช้สารเคมี” หรือ “การวางผังเมืองกับพื้นที่เกษตรกรรม” เป็นต้น
หรือเรื่อง “สุขภาวะของผู้สูงอายุ” เป้าหมายคือ “การดูแลผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง” หรือ “การสร้างความเข้มแข็งชมรมผู้สูงอายุ” หรือ “บทบาทของผู้สูงอายุต่อการพัฒนาชุมชน” เป็นต้น
ดังนั้นการกำหนด “เป้าหมาย” ของ “ประเด็นเชิงนโยบาย” ให้ชัดเจน จึงมีความสำคัญต่อการทำงานเป็นอย่างมาก
คำว่า “กินคำเล็ก” เป็นอีกคำหนึ่งที่ผมมักใช้ตอบคำถามเรื่อง “ขอบเขตของประเด็นเชิงนโยบาย” ซึ่งหมายถึง “มีขนาดที่เหมาะสม” ทั้งความพร้อมเรื่องข้อมูล เวลาที่มี ความสามารถในการจัดการ รวมทั้งเหมาะสมกับงบประมาณ
ยกตัวอย่างเช่น
ที่จังหวัดกาญจนบุรีเริ่มแรกได้เสนอ “ประเด็นเชิงนโยบาย” เรื่อง “การสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ” แต่เมื่อได้ทบทวนและจำแนกแยกแยะเป้าหมายที่แท้จริงแล้ว ซึ่งก็ยังมีหลายเป้าหมายย่อย ๆ แต่เมื่อพิจารณาความพร้อมเรื่องข้อมูล เวลา งบประมาณแล้ว ได้ตกลงร่วมกันว่าจะกำหนดเป้าหมายการทำงานที่ “การสร้างเครือข่ายผู้สูงอายุ” ก่อน ซึ่งก็คือ “การกินคำเล็ก” นั้นเอง
ผมขอยกตัวอย่างให้ทุกท่านลองตอบคำถามว่า ชื่อประเด็นเชิงนโยบายใดเป็นไปตามหลัก “กินคำเล็ก”
(๑) “การจัดการขยะของ อปท.” กับ “การจัดการขยะอันตรายของ อปท.”
(๒) “การสร้างความมั่นคงทางอาหาร” กับ “การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์”
(๓) “การพัฒนางานสื่อสารสาธารณะ” กับ “การส่งเสริมบทบาทของวิทยุชุมชน”
(๔) “การพัฒนางานอนามัยการเจริญพันธุ์” กับ “การแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น”
จากตัวอย่างทั้ง ๔ กรณีข้างต้น ถ้าท่านตอบว่าชื่อประเด็นเชิงนโยบายอันหลัง แสดงว่าท่านเข้าใจกับคำว่า “กินคำเล็ก” แล้ว และย่อมหมายถึงมุมมองที่ชัดเจนต่อการกำหนด “ประเด็นเชิงนโยบาย” ในกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดดีขึ้นตามไปด้วย
อาจมีบางท่านมองว่า “การกินคำเล็ก” เป็น “การแก้ปัญหาแบบแยกส่วน” ซึ่งผมก็เห็นด้วยว่าแยกส่วน แต่ “หากต้องการแก้ปัญหาเชิงระบบ สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ก็คือ เรามีความพร้อมเพียงใด ทั้งความพร้อมทางด้านวิชาการ เวลา งบประมาณ และความพร้อมต่อการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย”
หากต้องแก้เชิงระบบ ต้องมีการทำงานด้านข้อมูลวิชาการที่มีขอบเขตกว้างขวางตามไปด้วย เรามีความพร้อมขนาดนั้นไหม
หากต้องแก้เชิงระบบ เรามีเวลาเพียงพอสำหรับการดำเนินการไหม
หากต้องแก้เชิงระบบ เรามีงบประมาณเพียงพอสำหรับการดำเนินการไหม
หากต้องแก้เชิงระบบ ต้องมีการสร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงาน องค์กร และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะขยายวงกว้างตามขอบเขตของประเด็นเชิงนโยบายตามไปด้วย เรามีความสามารถที่จะดำเนินการไหม
ตัวอย่างเช่น
หากจะกำหนดประเด็นเชิงนโยบายว่า “การสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ” ก็ต้องมีความพร้อมในการทำงานวิชาการ เวลา งบประมาณ และสร้างการมีส่วนร่วม ที่มากกว่าเรื่อง “การสร้างเครือข่ายผู้สูงอายุ” หรือ “การดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง” เป็นต้น
ประการสำคัญการเลือก “กินคำเล็ก” ก็คือ “โอกาสสำเร็จ” ที่ย่อมสำเร็จได้ง่ายกว่า “กินคำใหญ่” เป็นธรรมดา
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นก็ย่อมจะเป็นยาชูใจให้กับคนทำงาน ซึ่งดีกว่าจะแก้ปัญหาเชิงระบบที่เสมือน “การสร้างกำแพงเมืองจีน” ที่ไม่อาจคาดเดาได้เลยว่าเป้าหมายที่เราวางไว้จะสำเร็จได้เมื่อใด
“เป้าหมายมีไว้พุ่งชน” จึงเป็นเรื่องสำคัญมากในการกำหนดประเด็นเชิงนโยบาย ต้องชัดเจน มีขอบเขตที่เหมาะสม เป้าหมายที่ตั้งไว้จึงจะมีโอกาสพุ่งชนได้จริงครับ
“เป้าหมายมีไว้พุ่งชน” คำโฆษณาของเครื่องดื่มบำรุงร่างกายยี่ห้อหนึ่ง ที่สร้างความฮึกเหิม มุ่งมั่น ไปสู่เป้าหมายข้างหน้ามิใช่น้อย แต่นั่นล่ะครับ “จะพุ่งชนเป้าหมายได้นั้น” ก็ต้องรู้ว่า “เป้าหมายที่จะพุ่งชนคืออะไร”
เหมือนกับเป้าหมายชีวิตของแต่ละคนที่ย่อมแตกต่างกันไป บางคนอยากรวย อยากมีชื่อเสียง อยากเป็นดารา เป็นหมอ เป็นครู หรืออื่น ๆ อีกมากมาย
อย่างไรก็ตามเป้าหมายที่จะไปถึงได้นั้นต้อง “เป็นไปได้” เพราะมิฉะนั้นก็จะกลายเป็น “เป้าหมายเลื่อนลอย” แทน
เฉกเช่นเดียวกับ “การกำหนดประเด็นเชิงนโยบาย” ใน “วงจรนโยบายสาธารณะ” ก็ต้องมีการ “กำหนดเป้าหมาย” ของประเด็นเชิงนโยบายนั้น ๆ ด้วย
ผมขอยกตัวอย่างเรื่อง “กำแพง” อธิบายให้เห็นถึงการกำหนดเป้าหมายของประเด็นเชิงนโยบายที่ดีในกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัด ให้เห็นรูปธรรมเพิ่มขึ้น
เวลากล่าวถึงคำว่า “กำแพง” แต่ละคนคงนึกถึง “กำแพง” ที่แตกต่างกันไป เช่น “กำแพงเมืองจีน” “กำแพงกรุงเบอร์ลิน” “กำแพงวัด” หรือบางคนอาจนึกถึงแค่ “กำแพงบ้านไม้ธรรมดา ๆ”
เห็นไหมครับว่าเพียงแค่คำ ๆ เดียว คนฟังยังมีความคิดที่แตกต่างหลากหลาย เฉกเช่นเดียวกับการกำหนดเป้าหมายของประเด็นเชิงนโยบาย หากกำหนดไม่ชัดเจน ผลที่ออกมาก็ไม่ต่างจากคำว่า “กำแพง” ข้างต้น
ในเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดหลายจังหวัด ผมมักจะได้ยินชื่อ “ประเด็นเชิงนโยบาย” ที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะคล้าย ๆ กับคำว่า “กำแพง” ที่ “เป้าหมาย” ยังเบลอ ๆ ไม่ชัดเจน
เช่น คำว่า “ความมั่นคงด้านอาหาร” “สุขภาวะของผู้สูงอายุ” “การจัดการขยะ” เป็นต้น แต่เมื่อผมยกเรื่อง “กำแพง” ขึ้นมาเทียบเคียง เพื่อสอบถามถึง “เป้าหมาย” ในประเด็นเชิงนโยบายในแต่ละเรื่องที่แท้จริงคืออะไร ความชัดเจนของเป้าหมายก็จะเกิดขึ้นทันที
เช่น ในเรื่อง “ความมั่นคงด้านอาหาร” เป้าหมายที่แท้จริงคือ “การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์” หรือ “การลดละเลิกการใช้สารเคมี” หรือ “การวางผังเมืองกับพื้นที่เกษตรกรรม” เป็นต้น
หรือเรื่อง “สุขภาวะของผู้สูงอายุ” เป้าหมายคือ “การดูแลผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง” หรือ “การสร้างความเข้มแข็งชมรมผู้สูงอายุ” หรือ “บทบาทของผู้สูงอายุต่อการพัฒนาชุมชน” เป็นต้น
ดังนั้นการกำหนด “เป้าหมาย” ของ “ประเด็นเชิงนโยบาย” ให้ชัดเจน จึงมีความสำคัญต่อการทำงานเป็นอย่างมาก
คำว่า “กินคำเล็ก” เป็นอีกคำหนึ่งที่ผมมักใช้ตอบคำถามเรื่อง “ขอบเขตของประเด็นเชิงนโยบาย” ซึ่งหมายถึง “มีขนาดที่เหมาะสม” ทั้งความพร้อมเรื่องข้อมูล เวลาที่มี ความสามารถในการจัดการ รวมทั้งเหมาะสมกับงบประมาณ
ยกตัวอย่างเช่น
ที่จังหวัดกาญจนบุรีเริ่มแรกได้เสนอ “ประเด็นเชิงนโยบาย” เรื่อง “การสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ” แต่เมื่อได้ทบทวนและจำแนกแยกแยะเป้าหมายที่แท้จริงแล้ว ซึ่งก็ยังมีหลายเป้าหมายย่อย ๆ แต่เมื่อพิจารณาความพร้อมเรื่องข้อมูล เวลา งบประมาณแล้ว ได้ตกลงร่วมกันว่าจะกำหนดเป้าหมายการทำงานที่ “การสร้างเครือข่ายผู้สูงอายุ” ก่อน ซึ่งก็คือ “การกินคำเล็ก” นั้นเอง
ผมขอยกตัวอย่างให้ทุกท่านลองตอบคำถามว่า ชื่อประเด็นเชิงนโยบายใดเป็นไปตามหลัก “กินคำเล็ก”
(๑) “การจัดการขยะของ อปท.” กับ “การจัดการขยะอันตรายของ อปท.”
(๒) “การสร้างความมั่นคงทางอาหาร” กับ “การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์”
(๓) “การพัฒนางานสื่อสารสาธารณะ” กับ “การส่งเสริมบทบาทของวิทยุชุมชน”
(๔) “การพัฒนางานอนามัยการเจริญพันธุ์” กับ “การแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น”
จากตัวอย่างทั้ง ๔ กรณีข้างต้น ถ้าท่านตอบว่าชื่อประเด็นเชิงนโยบายอันหลัง แสดงว่าท่านเข้าใจกับคำว่า “กินคำเล็ก” แล้ว และย่อมหมายถึงมุมมองที่ชัดเจนต่อการกำหนด “ประเด็นเชิงนโยบาย” ในกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดดีขึ้นตามไปด้วย
อาจมีบางท่านมองว่า “การกินคำเล็ก” เป็น “การแก้ปัญหาแบบแยกส่วน” ซึ่งผมก็เห็นด้วยว่าแยกส่วน แต่ “หากต้องการแก้ปัญหาเชิงระบบ สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ก็คือ เรามีความพร้อมเพียงใด ทั้งความพร้อมทางด้านวิชาการ เวลา งบประมาณ และความพร้อมต่อการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย”
หากต้องแก้เชิงระบบ ต้องมีการทำงานด้านข้อมูลวิชาการที่มีขอบเขตกว้างขวางตามไปด้วย เรามีความพร้อมขนาดนั้นไหม
หากต้องแก้เชิงระบบ เรามีเวลาเพียงพอสำหรับการดำเนินการไหม
หากต้องแก้เชิงระบบ เรามีงบประมาณเพียงพอสำหรับการดำเนินการไหม
หากต้องแก้เชิงระบบ ต้องมีการสร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงาน องค์กร และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะขยายวงกว้างตามขอบเขตของประเด็นเชิงนโยบายตามไปด้วย เรามีความสามารถที่จะดำเนินการไหม
ตัวอย่างเช่น
หากจะกำหนดประเด็นเชิงนโยบายว่า “การสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ” ก็ต้องมีความพร้อมในการทำงานวิชาการ เวลา งบประมาณ และสร้างการมีส่วนร่วม ที่มากกว่าเรื่อง “การสร้างเครือข่ายผู้สูงอายุ” หรือ “การดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง” เป็นต้น
ประการสำคัญการเลือก “กินคำเล็ก” ก็คือ “โอกาสสำเร็จ” ที่ย่อมสำเร็จได้ง่ายกว่า “กินคำใหญ่” เป็นธรรมดา
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นก็ย่อมจะเป็นยาชูใจให้กับคนทำงาน ซึ่งดีกว่าจะแก้ปัญหาเชิงระบบที่เสมือน “การสร้างกำแพงเมืองจีน” ที่ไม่อาจคาดเดาได้เลยว่าเป้าหมายที่เราวางไว้จะสำเร็จได้เมื่อใด
“เป้าหมายมีไว้พุ่งชน” จึงเป็นเรื่องสำคัญมากในการกำหนดประเด็นเชิงนโยบาย ต้องชัดเจน มีขอบเขตที่เหมาะสม เป้าหมายที่ตั้งไว้จึงจะมีโอกาสพุ่งชนได้จริงครับ
วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557
พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสไตล์บ้านทุ่ง ตอนที่ ๑
๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๗
ไม่ใช่เรื่องง่ายนักเมื่อใครสักคนต้องลุกขึ้นมาทำ “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” เพราะแค่คำว่า “นโยบาย” ก็สามารถแปลความได้อย่างหลากหลาย นี้ไม่นับว่า “เขาพัฒนาเอกสารข้อเสนอเชิงนโยบายกันอย่างไร” ยิ่งยากขึ้นไปอีก
เพราะคำถามข้างต้นนี้เอง จึงทำให้ผมและน้องๆ ทีมงานจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จึงมีโอกาสมาร่วมเวทีเตรียมการจัดสมัชชาสุขภาพจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ที่ผ่านมา
ผมอยากจะเริ่มต้นว่าเราจำเป็นต้องเข้าใจเรื่อง “วงจรนโยบายสาธารณะ” ก่อน ซึ่งมีทั้งหมดมี ๕ ขั้นตอน (บางตำราอาจจำแนกแตกต่างออกไป อาจเป็น ๔ บ้าง ๖ บ้าง)คือ
ขั้นตอนที่ ๑ การกำหนดประเด็นเชิงนโยบาย
ขั้นตอนที่ ๒ การจัดทำทางเลือกเชิงนโยบาย
ขั้นตอนที่ ๓ การตัดสินใจเชิงนโยบาย
ขั้นตอนที่ ๔ การแปลงนโยบายไปสู่การปฎิบัติ
ขั้นตอนที่ ๕ การติดตาม ประเมินผลและทบทวนนโยบาย
เพื่อให้ง่ายขึ้น ผมขอยกตัวอย่างเรื่องราวในชีวิตประจำวันของเรามาเทียบเคียงสักเรื่องเพื่อให้เห็นและเข้าใจเรื่อง “วงจรนโยบายสาธารณะ” ข้างต้น
“ในช่วงวันหยุดยาวหนึ่ง ครอบครัวของนาย ก. ซึ่งนอกจากจะมีนาย ก. แล้ว ยังประกอบด้วย แม่ของนาย ก. ภรรยา และลูกชาย รวมเป็น ๔ ชีวิต ตัดสินใจจะเดินทางไปพักผ่อนที่ต่างจังหวัด ปรากฏว่าสมาชิกในครอบครัวทั้ง ๔ คน ต่างต้องการไปคนละสถานที่”
ถ้านำกรณีตัวอย่างนี้มาวิเคราะห์ตามวงจรนโยบายสาธารณะ จะเห็นได้ว่า
ขั้นตอนที่ ๑ การตัดสินใจว่า “จะไปพักผ่อนที่ไหนดี” ซึ่งสมาชิกทั้ง ๔ คน คงจะต้องยกเหตุผลมาแสดงว่าสถานที่ที่ตนเองอยากไปนั้นมีอะไรดี หรือมีอะไรสำคัญที่ทำให้ทุกคนต้องอยากไป ซึ่งในที่สุดสมาชิกต้องตัดสินใจให้ได้ว่า “เป้าหมายการพักผ่อนครั้งนี้คือที่ไหนและไปเพราะอะไร” ตัวอย่างนี้ก็คล้ายกับขั้นตอน “การกำหนดประเด็นเชิงนโยบาย” ที่จะต้องตัดสินใจประเด็นเชิงนโยบายที่มีอยู่มากมายให้ได้
ขั้นตอนที่ ๒ สมมติว่าสมาชิกในครอบครัวของนาย ก. ได้ตัดสินใจว่าจะเดินทางไปพักผ่อนที่จังหวัดเชียงใหม่ สิ่งที่สมาชิกต้องร่วมกันคิดต่อไป คือ “จะเดินทางด้วยวิธีใด” จะไปรถไฟ เครื่องบิน ขับรถยนต์ไปเอง หรือวิธีอื่น ๆ เช่น เหมารถยนต์ โบกรถ เป็นต้น ซึ่งการจะตัดสินใจว่าจะเดินทางด้วยวิธีการใด สมาชิกคงต้องพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียของการเดินทางในแต่ละวิธีก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงบประมาณ เวลา ความสะดวกสบาย ความเร่งรีบ และอื่น ๆ อีกมากมาย กระบวนการเหล่านี้ก็คล้ายกับขั้นตอน “การกำหนดทางเลือกเชิงนโยบาย” นั่นเอง
ขั้นตอนที่ ๓ เมื่อวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของวิธีการเดินทางแต่ละวิธีแล้ว สิ่งที่สมาชิกในครอบครัวทั้ง ๔ คน ต้องทำต่อมาก็คือ แล้วจะเลือกเดินทางด้วยวิธีใดจากทางเลือกที่มีหลากหลายวิธีในขั้นตอนที่ ๒ การตัดสินใจเลือกวิธีการเดินทางนี้เอง ก็เหมือนกับขั้นตอน “การตัดสินใจเชิงนโยบาย” ตามวงจรนโยบายสาธารณะนั่นเอง
ขั้นตอนที่ ๔ เมื่อทุกอย่างพร้อมก็เริ่มออกเดินทางไปตามสถานที่ได้ตัดสินใจไว้ อย่างไรก็ตามการเดินทางไปพักผ่อนครั้งนี้จะมีความสนุกสนานเพิ่มขึ้นได้ สิ่งที่ต้องดำเนินการให้พร้อมก่อนก็คือ การตรวจสภาพรถยนต์ การเตรียมด้านอาหาร ที่พัก เสื้อผ้า ยารักษาโรค และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่เป็นสิ่งจำเป็นในการเดินทางไปพักผ่อน เหล่านี้เราเรียกว่า “การดำเนินการตามนโยบาย” หรือ “การแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ”
ขั้นตอนที่ ๕ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย คือ การติดตามประเมินผล ว่าในการเดินทางครั้งนี้มีปัญหาอุปสรรคอะไรหรือไม่ มีอะไรสนุก พบเห็นอะไรดีๆ บ้าง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการเลือกเดินทางในครั้งต่อไป หรือนำไปบอกกล่าวหรือแนะนำกับเพื่อนบ้านได้ หรือในครั้งต่อไปหากจะเดินทางไปที่เดิมและวิธีการเดิมอีกจะต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมอะไรบ้าง
นี้คือตัวอย่างของการดำเนินการในชีวิตจริงที่สามารถนำมาเทียบเคียงกับวงจรนโยบายสาธารณะได้
ประการต่อมาผมอยากจะกลับมาที่ขั้นตอนแรกของ “วงจรนโยบายสาธารณะ” ซึ่งก็คือ “การกำหนดประเด็นเชิงนโยบาย”
การจะกำหนดประเด็นเชิงนโยบายได้ดี ต้องเข้าใจกับคำว่า “ปัญหา” เสียก่อนว่า คืออะไร เพราะตัว “ปัญหา” นี่เองเป็นที่มาของ “ประเด็นเชิงนโยบาย” ตามวงจรนโยบายสาธารณะ
“ปัญหา” คือ ช่องว่างระหว่างสิ่งที่อยากเห็น อยากเป็น อยากมี กับสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
เช่น เราอยากมีเงิน ๑๐๐ ล้านบาท แต่ขณะนี้เรามีเงินอยู่เพียง ๔๐ ล้านบาท ฉะนั้นปัญหาก็คือ ช่องว่างระหว่าง ๑๐๐ ล้านบาทกับ ๔๐ ล้านบาท
หรือถ้าย้อนกลับไปที่กรณีตัวอย่างครอบครัวของนาย ก ที่ยกมาก่อนหน้านี้ “ปัญหา” ของกรณีดังกล่าว ก็คือ ช่องว่างระหว่างสถานที่จะเดินทางไปพักผ่อน กับ บ้านพักที่ครอบครัวนาย ก. อาศัยอยู่ในปัจจุบัน
ผมอยากจะขออธิบายเพิ่มเติมว่า ปัญหา มีได้ ๓ ลักษณะ
ลักษณะที่ ๑ เรียกว่า “ปัญหาเชิงขัดข้อง” คือ ปัญหาที่เกิดจากการดำเนินงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้เสร็จสิ้นลงไปแล้ว เช่น ได้ก่อสร้างบ้านเสร็จไปแล้วมานั่งประมวลว่าในการก่อสร้างบ้านหลังนั้นมีปัญหาอะไรบ้าง ปัญหาลักษณะนี้จะไม่สามารถกลับไปแก้ไขบ้านหลังเดิมที่สร้างเสร็จไปแล้วได้ แต่จะมีประโยชน์สำหรับการก่อสร้างบ้านหลังใหม่ (ถ้าอยากจะสร้างอีก)
ลักษณะที่ ๒ อาจเรียกว่า “ปัญหาเชิงป้องกัน” เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการ ปัญหานี้เมื่อเกิดขึ้น ยังสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ทันที
ลักษณะที่ ๓ “ปัญหาเชิงพัฒนา” เป็นปัญหาที่เกิดจากความอยากเห็น อยากเป็น อยากมี เป็นเรื่องของอนาคต เช่น อยากบินได้ อยากไปดวงจันทร์ อยากขยายสิ่งดี ๆ ให้เต็มพื้นที่ เป็นต้น
ฉะนั้นเมื่อเข้าใจลักษณะของปัญหาแล้ว จะเห็นได้ว่าในจังหวัดหนึ่งๆ นั้นมีปัญหามากมายและหลายรูปแบบ
แต่คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าปัญหาจะมีเฉพาะปัญหาเชิงขัดข้องและปัญหาเชิงป้องกันเท่านั้น เช่น ปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พร้อม ผู้สูงอายุขาดที่พึ่ง มีการใช้สารเคมีในการเกษตร เป็นต้น
คนมักจะไม่ค่อยคิดถึงปัญหาเชิงพัฒนา เช่น อยากจะจัดทำธรรมนูญสุขภาพจังหวัด อยากจะขยายตำบลสุขภาพดีให้เต็มพื้นที่ เป็นต้น
“แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันเป็นปัญหา” เป็นคำถามที่ผู้ร่วมเวทีถามขึ้นมา
ปัญหามีที่มาได้จากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ของตนที่ทำงานในเรื่องนั้น จากงานศึกษาวิจัย จากข่าวทางหน้าสื่อ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ ทีวี วิทยุ จากนโยบายขององค์กรภาครัฐ จากสิ่งที่คนในพื้นที่อยากเป็น อยากเห็น อยากมี และจากแหล่งอื่น ๆ อีกหลายแหล่ง
เห็นไหมครับว่าที่มาของ “ปัญหา” หรือ “ประเด็นเชิงนโยบาย” มันวนเวียนอยู่รอบตัวเรานี่เอง
มีอีกคำถามหนึ่งที่มีคนถามขึ้นมา คือ “เราจะมีวิธีการอย่างไรในการรวบรวมปัญหาเหล่านี้”
หลักการสำคัญประการหนึ่งของกระบวนการ “สมัชชาสุขภาพจังหวัด” คือ การมีส่วนร่วม ฉะนั้นวิธีการรวบรวมปัญหาจึงควรเกิดจากการมีส่วนร่วมจากองค์กร หน่วยงานและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในจังหวัด
ทั้งนี้วิธีการที่จะได้ประเด็นปัญหา ก็จะมีหลายวิธี อาทิ ทำหนังสือไปเชิญชวน จัดเวทีระดมความคิดเห็น หรือทำงานเชิงรุกโดยการไปเชิญชวนให้องค์กรเหล่านั้นเสนอประเด็นปัญหาเข้ามา
เมื่อปัญหามีมากมายและได้ทำการรวบรวมปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว คำถามต่อมาก็คือ แล้วจะมีวิธีการคัดเลือกประเด็นปัญหาเหล่านั้นอย่างไร ที่จะนำมาเป็นประเด็นเชิงนโยบายที่จะกำหนดเป็นระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสุขภาพจังหวัด
กรอบการพิจารณาที่นิยมนำมาพิจารณาตามคำถามข้างต้น ประกอบด้วย ๔ เกณฑ์ใหญ่ ๆ ได้แก่
เกณฑ์ความรุนแรง โดยพิจารณาจากขนาดของผู้ที่จะได้รับผลกระทบ หรือระดับความรุนแรงต่อทรัพย์สิน ต่อสุขภาพ หรือต่อชีวิต หากเป็นประเด็นที่มีความรุนแรงมาก ก็ควรหยิบมากำหนดเป็นประเด็นเชิงนโยบายมากกว่าประเด็นที่มีความรุนแรงน้อยกว่า
เกณฑ์ความสำคัญ อาจจะดูว่าประเด็นปัญหาที่เสนอเข้ามานั้นเป็นประเด็นที่เป็นสาเหตุหลักหรือสาเหตุรองของปัญหา หากเป็นประเด็นที่เป็นสาเหตุผลัก ก็ควรจะหยิบมากำหนดเป็นประเด็นเชิงนโยบายมากกว่าประเด็นที่เป็นสาเหตุรอง
เกณฑ์ความสนใจ โดยพิจารณาว่าประเด็นปัญหานั้น มีกลุ่มคนให้ความสนใจอยู่ในวงจำกัดหรือวงกว้าง ซึ่งหากเป็นประเด็นที่มีผู้ในความสนใจในวงกว้าง ก็ควรจะหยิบมากำหนดเป็นประเด็นเชิงนโยบายมากกว่าประเด็นที่มีความสนใจน้อยกว่า
เกณฑ์ความเป็นไปได้ โดยดูที่ความพร้อมทั้งทางวิชาการ งบประมาณ เวลาและกำลังคน ว่าอยู่ในระดับใด หากประเด็นปัญหาใดมีความเป็นไปได้มากกว่า ก็น่าจะหยิบมากำหนดเป็นประเด็นเชิงนโยบายมากกว่าประเด็นที่มีความพร้อมน้อยกว่า
บางจังหวัดใช้วิธีให้น้ำหนักในแต่ละเกณฑ์ ปัญหาใดมีคะแนนรวมสูงสุดก็นำมากำหนดเป็นประเด็นเชิงนโยบาย แต่บางจังหวัดใช้วิธีดูเป็นภาพรวมแทน แต่บางจังหวัดดูที่เกณฑ์ความเป็นไปได้ก่อน ซึ่งวิธีหลังนี้ผมอยากแนะนำ เพราะถ้ามีความเป็นไปได้น้อยก็อย่าไปทำเลย อย่างไรก็ตาม จะเลือกวิธีการใดก็สามารถกระทำได้ขึ้นอยู่กับกลไกที่ทำหน้าที่พิจารณาจะตกลงร่วมกันว่าจะใช้วิธีพิจารณาอย่างไร
คำแนะนำเล็ก ๆ ที่ผมได้นำเสนอข้างต้นนี้ น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนักนโยบายสาธารณะมือสมัครเล่นไม่มากก็น้อย สำหรับในตอนต่อไปผมจะนำเสนอถึงวิธีการวิเคราะห์สาเหตุของประเด็นเชิงนโยบายและวิธีการกำหนดทางเลือกเชิงนโยบาย
“รออ่านกันนะครับ”
ไม่ใช่เรื่องง่ายนักเมื่อใครสักคนต้องลุกขึ้นมาทำ “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” เพราะแค่คำว่า “นโยบาย” ก็สามารถแปลความได้อย่างหลากหลาย นี้ไม่นับว่า “เขาพัฒนาเอกสารข้อเสนอเชิงนโยบายกันอย่างไร” ยิ่งยากขึ้นไปอีก
เพราะคำถามข้างต้นนี้เอง จึงทำให้ผมและน้องๆ ทีมงานจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จึงมีโอกาสมาร่วมเวทีเตรียมการจัดสมัชชาสุขภาพจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ที่ผ่านมา
ผมอยากจะเริ่มต้นว่าเราจำเป็นต้องเข้าใจเรื่อง “วงจรนโยบายสาธารณะ” ก่อน ซึ่งมีทั้งหมดมี ๕ ขั้นตอน (บางตำราอาจจำแนกแตกต่างออกไป อาจเป็น ๔ บ้าง ๖ บ้าง)คือ
ขั้นตอนที่ ๑ การกำหนดประเด็นเชิงนโยบาย
ขั้นตอนที่ ๒ การจัดทำทางเลือกเชิงนโยบาย
ขั้นตอนที่ ๓ การตัดสินใจเชิงนโยบาย
ขั้นตอนที่ ๔ การแปลงนโยบายไปสู่การปฎิบัติ
ขั้นตอนที่ ๕ การติดตาม ประเมินผลและทบทวนนโยบาย
เพื่อให้ง่ายขึ้น ผมขอยกตัวอย่างเรื่องราวในชีวิตประจำวันของเรามาเทียบเคียงสักเรื่องเพื่อให้เห็นและเข้าใจเรื่อง “วงจรนโยบายสาธารณะ” ข้างต้น
“ในช่วงวันหยุดยาวหนึ่ง ครอบครัวของนาย ก. ซึ่งนอกจากจะมีนาย ก. แล้ว ยังประกอบด้วย แม่ของนาย ก. ภรรยา และลูกชาย รวมเป็น ๔ ชีวิต ตัดสินใจจะเดินทางไปพักผ่อนที่ต่างจังหวัด ปรากฏว่าสมาชิกในครอบครัวทั้ง ๔ คน ต่างต้องการไปคนละสถานที่”
ถ้านำกรณีตัวอย่างนี้มาวิเคราะห์ตามวงจรนโยบายสาธารณะ จะเห็นได้ว่า
ขั้นตอนที่ ๑ การตัดสินใจว่า “จะไปพักผ่อนที่ไหนดี” ซึ่งสมาชิกทั้ง ๔ คน คงจะต้องยกเหตุผลมาแสดงว่าสถานที่ที่ตนเองอยากไปนั้นมีอะไรดี หรือมีอะไรสำคัญที่ทำให้ทุกคนต้องอยากไป ซึ่งในที่สุดสมาชิกต้องตัดสินใจให้ได้ว่า “เป้าหมายการพักผ่อนครั้งนี้คือที่ไหนและไปเพราะอะไร” ตัวอย่างนี้ก็คล้ายกับขั้นตอน “การกำหนดประเด็นเชิงนโยบาย” ที่จะต้องตัดสินใจประเด็นเชิงนโยบายที่มีอยู่มากมายให้ได้
ขั้นตอนที่ ๒ สมมติว่าสมาชิกในครอบครัวของนาย ก. ได้ตัดสินใจว่าจะเดินทางไปพักผ่อนที่จังหวัดเชียงใหม่ สิ่งที่สมาชิกต้องร่วมกันคิดต่อไป คือ “จะเดินทางด้วยวิธีใด” จะไปรถไฟ เครื่องบิน ขับรถยนต์ไปเอง หรือวิธีอื่น ๆ เช่น เหมารถยนต์ โบกรถ เป็นต้น ซึ่งการจะตัดสินใจว่าจะเดินทางด้วยวิธีการใด สมาชิกคงต้องพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียของการเดินทางในแต่ละวิธีก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงบประมาณ เวลา ความสะดวกสบาย ความเร่งรีบ และอื่น ๆ อีกมากมาย กระบวนการเหล่านี้ก็คล้ายกับขั้นตอน “การกำหนดทางเลือกเชิงนโยบาย” นั่นเอง
ขั้นตอนที่ ๓ เมื่อวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของวิธีการเดินทางแต่ละวิธีแล้ว สิ่งที่สมาชิกในครอบครัวทั้ง ๔ คน ต้องทำต่อมาก็คือ แล้วจะเลือกเดินทางด้วยวิธีใดจากทางเลือกที่มีหลากหลายวิธีในขั้นตอนที่ ๒ การตัดสินใจเลือกวิธีการเดินทางนี้เอง ก็เหมือนกับขั้นตอน “การตัดสินใจเชิงนโยบาย” ตามวงจรนโยบายสาธารณะนั่นเอง
ขั้นตอนที่ ๔ เมื่อทุกอย่างพร้อมก็เริ่มออกเดินทางไปตามสถานที่ได้ตัดสินใจไว้ อย่างไรก็ตามการเดินทางไปพักผ่อนครั้งนี้จะมีความสนุกสนานเพิ่มขึ้นได้ สิ่งที่ต้องดำเนินการให้พร้อมก่อนก็คือ การตรวจสภาพรถยนต์ การเตรียมด้านอาหาร ที่พัก เสื้อผ้า ยารักษาโรค และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่เป็นสิ่งจำเป็นในการเดินทางไปพักผ่อน เหล่านี้เราเรียกว่า “การดำเนินการตามนโยบาย” หรือ “การแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ”
ขั้นตอนที่ ๕ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย คือ การติดตามประเมินผล ว่าในการเดินทางครั้งนี้มีปัญหาอุปสรรคอะไรหรือไม่ มีอะไรสนุก พบเห็นอะไรดีๆ บ้าง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการเลือกเดินทางในครั้งต่อไป หรือนำไปบอกกล่าวหรือแนะนำกับเพื่อนบ้านได้ หรือในครั้งต่อไปหากจะเดินทางไปที่เดิมและวิธีการเดิมอีกจะต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมอะไรบ้าง
นี้คือตัวอย่างของการดำเนินการในชีวิตจริงที่สามารถนำมาเทียบเคียงกับวงจรนโยบายสาธารณะได้
ประการต่อมาผมอยากจะกลับมาที่ขั้นตอนแรกของ “วงจรนโยบายสาธารณะ” ซึ่งก็คือ “การกำหนดประเด็นเชิงนโยบาย”
การจะกำหนดประเด็นเชิงนโยบายได้ดี ต้องเข้าใจกับคำว่า “ปัญหา” เสียก่อนว่า คืออะไร เพราะตัว “ปัญหา” นี่เองเป็นที่มาของ “ประเด็นเชิงนโยบาย” ตามวงจรนโยบายสาธารณะ
“ปัญหา” คือ ช่องว่างระหว่างสิ่งที่อยากเห็น อยากเป็น อยากมี กับสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
เช่น เราอยากมีเงิน ๑๐๐ ล้านบาท แต่ขณะนี้เรามีเงินอยู่เพียง ๔๐ ล้านบาท ฉะนั้นปัญหาก็คือ ช่องว่างระหว่าง ๑๐๐ ล้านบาทกับ ๔๐ ล้านบาท
หรือถ้าย้อนกลับไปที่กรณีตัวอย่างครอบครัวของนาย ก ที่ยกมาก่อนหน้านี้ “ปัญหา” ของกรณีดังกล่าว ก็คือ ช่องว่างระหว่างสถานที่จะเดินทางไปพักผ่อน กับ บ้านพักที่ครอบครัวนาย ก. อาศัยอยู่ในปัจจุบัน
ผมอยากจะขออธิบายเพิ่มเติมว่า ปัญหา มีได้ ๓ ลักษณะ
ลักษณะที่ ๑ เรียกว่า “ปัญหาเชิงขัดข้อง” คือ ปัญหาที่เกิดจากการดำเนินงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้เสร็จสิ้นลงไปแล้ว เช่น ได้ก่อสร้างบ้านเสร็จไปแล้วมานั่งประมวลว่าในการก่อสร้างบ้านหลังนั้นมีปัญหาอะไรบ้าง ปัญหาลักษณะนี้จะไม่สามารถกลับไปแก้ไขบ้านหลังเดิมที่สร้างเสร็จไปแล้วได้ แต่จะมีประโยชน์สำหรับการก่อสร้างบ้านหลังใหม่ (ถ้าอยากจะสร้างอีก)
ลักษณะที่ ๒ อาจเรียกว่า “ปัญหาเชิงป้องกัน” เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการ ปัญหานี้เมื่อเกิดขึ้น ยังสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ทันที
ลักษณะที่ ๓ “ปัญหาเชิงพัฒนา” เป็นปัญหาที่เกิดจากความอยากเห็น อยากเป็น อยากมี เป็นเรื่องของอนาคต เช่น อยากบินได้ อยากไปดวงจันทร์ อยากขยายสิ่งดี ๆ ให้เต็มพื้นที่ เป็นต้น
ฉะนั้นเมื่อเข้าใจลักษณะของปัญหาแล้ว จะเห็นได้ว่าในจังหวัดหนึ่งๆ นั้นมีปัญหามากมายและหลายรูปแบบ
แต่คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าปัญหาจะมีเฉพาะปัญหาเชิงขัดข้องและปัญหาเชิงป้องกันเท่านั้น เช่น ปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พร้อม ผู้สูงอายุขาดที่พึ่ง มีการใช้สารเคมีในการเกษตร เป็นต้น
คนมักจะไม่ค่อยคิดถึงปัญหาเชิงพัฒนา เช่น อยากจะจัดทำธรรมนูญสุขภาพจังหวัด อยากจะขยายตำบลสุขภาพดีให้เต็มพื้นที่ เป็นต้น
“แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันเป็นปัญหา” เป็นคำถามที่ผู้ร่วมเวทีถามขึ้นมา
ปัญหามีที่มาได้จากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ของตนที่ทำงานในเรื่องนั้น จากงานศึกษาวิจัย จากข่าวทางหน้าสื่อ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ ทีวี วิทยุ จากนโยบายขององค์กรภาครัฐ จากสิ่งที่คนในพื้นที่อยากเป็น อยากเห็น อยากมี และจากแหล่งอื่น ๆ อีกหลายแหล่ง
เห็นไหมครับว่าที่มาของ “ปัญหา” หรือ “ประเด็นเชิงนโยบาย” มันวนเวียนอยู่รอบตัวเรานี่เอง
มีอีกคำถามหนึ่งที่มีคนถามขึ้นมา คือ “เราจะมีวิธีการอย่างไรในการรวบรวมปัญหาเหล่านี้”
หลักการสำคัญประการหนึ่งของกระบวนการ “สมัชชาสุขภาพจังหวัด” คือ การมีส่วนร่วม ฉะนั้นวิธีการรวบรวมปัญหาจึงควรเกิดจากการมีส่วนร่วมจากองค์กร หน่วยงานและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในจังหวัด
ทั้งนี้วิธีการที่จะได้ประเด็นปัญหา ก็จะมีหลายวิธี อาทิ ทำหนังสือไปเชิญชวน จัดเวทีระดมความคิดเห็น หรือทำงานเชิงรุกโดยการไปเชิญชวนให้องค์กรเหล่านั้นเสนอประเด็นปัญหาเข้ามา
เมื่อปัญหามีมากมายและได้ทำการรวบรวมปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว คำถามต่อมาก็คือ แล้วจะมีวิธีการคัดเลือกประเด็นปัญหาเหล่านั้นอย่างไร ที่จะนำมาเป็นประเด็นเชิงนโยบายที่จะกำหนดเป็นระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสุขภาพจังหวัด
กรอบการพิจารณาที่นิยมนำมาพิจารณาตามคำถามข้างต้น ประกอบด้วย ๔ เกณฑ์ใหญ่ ๆ ได้แก่
เกณฑ์ความรุนแรง โดยพิจารณาจากขนาดของผู้ที่จะได้รับผลกระทบ หรือระดับความรุนแรงต่อทรัพย์สิน ต่อสุขภาพ หรือต่อชีวิต หากเป็นประเด็นที่มีความรุนแรงมาก ก็ควรหยิบมากำหนดเป็นประเด็นเชิงนโยบายมากกว่าประเด็นที่มีความรุนแรงน้อยกว่า
เกณฑ์ความสำคัญ อาจจะดูว่าประเด็นปัญหาที่เสนอเข้ามานั้นเป็นประเด็นที่เป็นสาเหตุหลักหรือสาเหตุรองของปัญหา หากเป็นประเด็นที่เป็นสาเหตุผลัก ก็ควรจะหยิบมากำหนดเป็นประเด็นเชิงนโยบายมากกว่าประเด็นที่เป็นสาเหตุรอง
เกณฑ์ความสนใจ โดยพิจารณาว่าประเด็นปัญหานั้น มีกลุ่มคนให้ความสนใจอยู่ในวงจำกัดหรือวงกว้าง ซึ่งหากเป็นประเด็นที่มีผู้ในความสนใจในวงกว้าง ก็ควรจะหยิบมากำหนดเป็นประเด็นเชิงนโยบายมากกว่าประเด็นที่มีความสนใจน้อยกว่า
เกณฑ์ความเป็นไปได้ โดยดูที่ความพร้อมทั้งทางวิชาการ งบประมาณ เวลาและกำลังคน ว่าอยู่ในระดับใด หากประเด็นปัญหาใดมีความเป็นไปได้มากกว่า ก็น่าจะหยิบมากำหนดเป็นประเด็นเชิงนโยบายมากกว่าประเด็นที่มีความพร้อมน้อยกว่า
บางจังหวัดใช้วิธีให้น้ำหนักในแต่ละเกณฑ์ ปัญหาใดมีคะแนนรวมสูงสุดก็นำมากำหนดเป็นประเด็นเชิงนโยบาย แต่บางจังหวัดใช้วิธีดูเป็นภาพรวมแทน แต่บางจังหวัดดูที่เกณฑ์ความเป็นไปได้ก่อน ซึ่งวิธีหลังนี้ผมอยากแนะนำ เพราะถ้ามีความเป็นไปได้น้อยก็อย่าไปทำเลย อย่างไรก็ตาม จะเลือกวิธีการใดก็สามารถกระทำได้ขึ้นอยู่กับกลไกที่ทำหน้าที่พิจารณาจะตกลงร่วมกันว่าจะใช้วิธีพิจารณาอย่างไร
คำแนะนำเล็ก ๆ ที่ผมได้นำเสนอข้างต้นนี้ น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนักนโยบายสาธารณะมือสมัครเล่นไม่มากก็น้อย สำหรับในตอนต่อไปผมจะนำเสนอถึงวิธีการวิเคราะห์สาเหตุของประเด็นเชิงนโยบายและวิธีการกำหนดทางเลือกเชิงนโยบาย
“รออ่านกันนะครับ”
วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557
อนาคตโครงการน้ำ ๓.๕ แสนล้าน
๘ มิถุนายน ๒๕๕๗
“เพื่อให้การบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนตามนโยบายของ หน.คสช. จึงขอให้ทุกส่วนราชการ/ส่วนงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาน้ำ ได้ระงับการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการทั้งปวง (ในส่วนที่ได้รับอนุมัติแล้ว ในส่วนที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน และในส่วนที่อยู่ในแผนงาน) โดยให้รวบรวมข้อมูลแผนงาน/โครงการ/งบประมาณ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน ส่งให้สำนักงานฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. ภายในวันจันทร์ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ เพื่อพิจารณาทบทวนและกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมต่อไป”
นี้เป็นข้อความที่ปรากฏอยู่ในเอกสารฉบับหนึ่งที่ส่งออกมาจาก สลธ.คสช. ซึ่งผมเข้าใจว่า คือ คำย่อของ “สำนักงานเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ” และมีการเผยแพร่ผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ที่ผ่านมา
พลันที่ผมเห็นเอกสารฉบับนี้ อดไม่ได้ที่จะแสดงความขอบคุณ คสช. โดยเฉพาะจากข้อความที่ว่า “ให้ทุกส่วนราชการ/ส่วนงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาน้ำ ได้ระงับการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการทั้งปวง” เพราะนี้เป็นนิมิตหมายอันดีในการกำหนดทิศทางการจัดการโครงการน้ำ ๓.๕ แสนล้านบาท ต่อไปในอนาคตอีกครั้งหนึ่ง
เหตุผลสำคัญเนื่องมาจากจุดกำเนิดและกระบวนการพัฒนาโครงการนี้ถือได้ว่าผิดหลักการของ “กระบวนการนโยบายสาธารณะที่ดี” อย่างยิ่ง และก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้คนมหาศาล
ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้กล่าวไว้นานแล้วว่า กระบวนการนโยบายสาธารณะที่ดี ควรประกอบด้วย "กุศล ๓ ประการ" คือ
(๑) กุศลทางปัญญา คือ มีการใช้หลักฐานข้อเท็จจริงที่ผ่านการศึกษาวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างดีจนเป็นความรู้ที่เรียกว่า เป็นการสร้างนโยบายบนฐานของความรู้ (knowledge – based policy formulation)
(๒) กุศลทางสังคม เนื่องจากนโยบายสาธารณะกระทบสังคมทั้งหมดอย่างรุนแรง ดังนั้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ สังคม ควรได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมเรียนรู้ ร่วมกำหนดนโยบาย โดยทำเป็นกระบวนการที่เปิดเผย โปร่งใส ทุกฝ่ายเข้าร่วมได้
(๓) กุศลทางศีลธรรม นโยบายสาธารณะที่ดีต้องเป็นไปเพื่อความถูกต้องดีงาม และเพื่อประโยชน์สุขของคนทั้งสังคม ไม่แฝงเร้นเพื่อประโยชน์เฉพาะตนหรือเฉพาะกลุ่ม
เมื่อนำกรอบกุศล ๓ ประการ มาเปรียบเทียบกับโครงการน้ำ ๓.๕ แสนล้าน จะพบแต่ “อกุศล” ล้วน ๆ เริ่มตั้งแต่โครงการนี้ไม่มีข้อมูลทางวิชาการที่ชัดเจน ขาดการมีส่วนร่วม อีกทั้งยังมีผู้คนหลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่าเอื้อผลประโยชน์ให้กับกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งหรือไม่ อย่างไร นี้จึงนำมาสู่การต่อต้านจากประชาชนอย่างกว้างขวาง
หลังมหาอุทกภัยเมื่อปลายปี ๒๕๕๔ รัฐบาลสมัย "นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" เป็นนายกรัฐมนตรี ได้พยายามผลักดันโครงการนี้ โดยใช้เหตุผลว่าป้องกันการเกิดมหาอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นอีก
เริ่มแรกรัฐบาลได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ขึ้นมา และเสนอแนวคิดไว้ ๘ แผนงาน คือ (๑) การฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้และระบบนิเวศน์
(๒) การบริหารจัดการแหล่งเก็บกักน้ำหลัก (๓) การฟื้นฟูและพัฒนาประสิทธิภาพของสิ่งปลูกสร้างเดิมและก่อสร้างใหม่ตามแผนที่กำหนดไว้ (๔) คลังข้อมูลและระบบคาดการณ์ภัยพิบัติและระบบเตือนภัย (๕) การเตรียมแผนเผชิญเหตุเฉพาะพื้นที่ (๖) การกำหนดพื้นที่รับน้ำและมาตรการเยียวยา (๗) การพัฒนาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ และ (๘) การสร้างความรู้ความเข้าใจ การยอมรับ และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารจัดการอุทกภัยขนาดใหญ่
ทั้ง ๘ แผนงานครอบคลุมการบริหารจัดการน้ำและมีการเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคสังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากรัฐบาลดำเนินการตามแผนงานดังกล่าวก็จะทำให้ประเทศไทยมีแผนแม่บทการจัดการน้ำที่สมบูรณ์
แต่เมื่อคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ซึ่งมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เข้ามาทำโครงการโดยเอาแผนงาน ๘ ข้อของ กยน. มาจัดเป็น ๑๐ แผนงาน (โมดูล) แยกเป็น ๙ สัญญานั้น ไม่มีแผนงานส่วนไหนที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ภาคประชาชน และภาคสังคม จึงทำให้เกิดข้อโต้แย้งและข้อเสนอแนะทางวิชาการที่ต่อต้านแผนงานทั้ง ๑๐ มากมาย จนนำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาลปกครอง
จนในที่สุดเมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๗ ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งให้ กบอ. ต้องจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. ๒๕๔๘ อย่างจริงจัง
เนื่องจากก่อนหน้านี้ ทาง กบอ. ได้ไปจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นตามคำสั่งศาลปกครอง ปรากฏว่ามีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างมโหฬาร ดังเสียงสะท้อนหนึ่งจากเวทีเสวนา “ความล้มเหลวเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนและข้อเสนอแนวทางที่ถูกต้องในการบริหารจัดการอุทกภัย” เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๖ ที่จัดโดยสมาคมวิศกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชน
ผลสรุปของเวทีดังกล่าวนั้นระบุชัดเจนว่า “มีรูปแบบและพัฒนาการของเวทีที่ทวีความขัดแย้งและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ การปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ประชาชนยึดเวที จนกระทั่งประชาชนล้มเวที เนื่องจากแรงคัดค้านของภาคประชาชนและการไม่ยอมรับฟังเสียงประชาชนของภาครัฐบาล” อันมีเหตุมาจากปัญหาด้านกระบวนการ และด้านเนื้อหา
กล่าวคือ
ด้านกระบวนการ : ประชาชนที่ต้องการเข้าร่วมเวที ลงทะเบียนได้หลายช่องทาง ทั้งทางออนไลน์ ที่อำเภอ หรือลงทะเบียนหน้างานในวันงาน เมื่อประชาชนมาถึงต้องลงทะเบียนตามโต๊ะแยกตามประเภทการลงทะเบียนล่วงหน้า ประชาชนจะได้รับบัตรเข้างานสีต่างๆ กันไปตามประเภทของการลงทะเบียน
แต่จะมีเพียงสีเดียวเท่านั้นที่ได้เข้าห้องรับฟังความคิดเห็นและมีสิทธิกรอกแบบสำรวจความคิดเห็น นั่นก็คือกลุ่มเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ แต่ละจังหวัดมีจำนวนระหว่าง ๘๐๐ – ๑,๐๐๐ คน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชนมายื่นที่จุดลงทะเบียนด้วย เพื่อรับเงินค่าเดินทางคนละ ๔๐๐ บาท โดยกลุ่มเป้าหมายนี้คือประชาชนที่ลงทะเบียนกับอำเภอ ที่รัฐบาลกำหนดชัดเจนว่าอำเภอละกี่คน
ด้านเนื้อหา : มีการเผยแพร่ให้ประชาชนทราบผ่านการจัดนิทรรศการประชาสัมพันธ์บริเวณหน้างาน และแจกเอกสารประกอบ ซึ่งบอกเพียงภาพรวมของแผนงาน ไม่มีรายละเอียดของโครงการในพื้นที่ หรือจะมีก็เพียงแค่ ๒ บรรทัด คือข้อมูลที่ตั้ง และความจุเก็บกักน้ำ
ส่วนประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้เข้าห้องแสดงความคิดเห็น จะได้เห็นข้อมูลผ่านการฉายวีดิทัศน์ที่บอกภาพรวมของทั้ง ๑๐ แผนงาน ความยาวประมาณ ๑๕ –๒๐ นาที และภาพโครงการในพื้นที่อีก ๒ – ๓ นาที หลังจากนั้นให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น และซักถามวิทยากรได้เพียงเล็กน้อย แล้วก็แยกกันไปเข้าห้องประชุมย่อยๆ ซึ่งแต่ละห้องก็มีอาจารย์หรือวิทยากรประจำอยู่ เพื่อแจกแบบสำรวจความคิดเห็นให้ประชาชนตอบ
ผมได้เคยเขียนบรรยากาศการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นใน ๒ จังหวัด คือ ที่จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดพิจิตร ไว้ครั้งหนึ่ง รวม ๓ เรื่อง คือ “คนพิจิตรคัดค้านโครงการ ๓.๕ แสนล้านบาท” (http://bwisutttoto.blogspot.com/2013/11/blog-post_19.html ) “ตามไปดูเวทีรับฟังความเห็นแผนแม่บทจัดการน้ำที่พิจิตร” (http://bwisutttoto.blogspot.com/2013/11/blog-post_18.html ) และ “ไปดูเขาจัดเวทีรับฟังความเห็นเรื่องน้ำมา” (http://bwisutttoto.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html ) ซึ่งทั้ง ๓ เรื่อง ต่างยืนยันว่าเป็นการจัดเวทีที่ไม่สมบูรณ์ทั้งด้านกระบวนการและด้านเนื้อหา
หากย้อนกลับไปดูข้อความในเอกสารที่ออกมาจาก สลธ.คสช. ฉบับเดียวกันนี้ ยังมีข้อความที่ว่า “….เพื่อพิจารณาทบทวนและกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมต่อไป....” นั่นแปลว่าจะมีการนำโครงการนี้มาทบทวนและตัดสินใจที่จะเลือกหน้าไปในทิศทางใดอีกครั้งหนึ่ง
ประเด็นนี้มีนักวิชาการที่เกี่ยวข้องออกมาเสนอแนะแนวทางที่น่าสนใจ
เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๗ นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน และคณะ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อหัวหน้า คสช ซึ่งนอกจากเสนอให้ยกเลิกแผนงานทั้ง ๑๐ โมดูลแล้ว ยังเสนอให้ “คสช. จัดระบบทบทวนใหม่ โดยวางแผนเร่งด่วน เพื่อรับมือกับฤดูฝนที่จะมาถึง โดยไม่ให้นักการเมืองและข้าราชการที่รับประโยชน์มาแทรกแซง และใช้แผนบริหารจัดการน้ำที่กรมชลประทานศึกษาร่วมกับไจก้า และแนวทางที่ วสท. ศึกษาไว้ ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วม และมีส่วนตัดสินใจ ตรวจสอบบุคคลที่เข้ามาทำหน้าที่ในคณะทำงานชุดต่างๆ ไม่ให้มีส่วนเกี่ยวข้อง”
ในส่วนตัวผมเห็นด้วยกับประเด็น “การมีส่วนร่วม” ของประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะตรงกับกุศลทางสังคมตามกรอบ “กุศล ๓ ประการ” ที่ผมกล่าวไว้ข้างต้น
อย่างไรก็ตามผมขอเสนอต่อ คสช. เพิ่มเติม ก็คือ การทำให้โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี โดยให้ความสำคัญกับหลักกุศลอีก ๒ ประการ คือ กุศลทางปัญญา และกุศลทางศีลธรรม ที่จำเป็นต้องปฏิบัติไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหลัก “กุศลทางสังคม” ควบคู่ไปด้วย
เพียงเท่านี้อนาคตของอภิโครงการน้ำ ๓.๕ แสนล้านนี้ ก็จะเดินหน้าได้อย่าง “ตรงใจประชาชน” และท่านก็ไปนั่งอยู่ “ในใจประชาชน” แล้วครับ
“เพื่อให้การบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนตามนโยบายของ หน.คสช. จึงขอให้ทุกส่วนราชการ/ส่วนงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาน้ำ ได้ระงับการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการทั้งปวง (ในส่วนที่ได้รับอนุมัติแล้ว ในส่วนที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน และในส่วนที่อยู่ในแผนงาน) โดยให้รวบรวมข้อมูลแผนงาน/โครงการ/งบประมาณ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน ส่งให้สำนักงานฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. ภายในวันจันทร์ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ เพื่อพิจารณาทบทวนและกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมต่อไป”
นี้เป็นข้อความที่ปรากฏอยู่ในเอกสารฉบับหนึ่งที่ส่งออกมาจาก สลธ.คสช. ซึ่งผมเข้าใจว่า คือ คำย่อของ “สำนักงานเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ” และมีการเผยแพร่ผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ที่ผ่านมา
พลันที่ผมเห็นเอกสารฉบับนี้ อดไม่ได้ที่จะแสดงความขอบคุณ คสช. โดยเฉพาะจากข้อความที่ว่า “ให้ทุกส่วนราชการ/ส่วนงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาน้ำ ได้ระงับการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการทั้งปวง” เพราะนี้เป็นนิมิตหมายอันดีในการกำหนดทิศทางการจัดการโครงการน้ำ ๓.๕ แสนล้านบาท ต่อไปในอนาคตอีกครั้งหนึ่ง
เหตุผลสำคัญเนื่องมาจากจุดกำเนิดและกระบวนการพัฒนาโครงการนี้ถือได้ว่าผิดหลักการของ “กระบวนการนโยบายสาธารณะที่ดี” อย่างยิ่ง และก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้คนมหาศาล
ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้กล่าวไว้นานแล้วว่า กระบวนการนโยบายสาธารณะที่ดี ควรประกอบด้วย "กุศล ๓ ประการ" คือ
(๑) กุศลทางปัญญา คือ มีการใช้หลักฐานข้อเท็จจริงที่ผ่านการศึกษาวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างดีจนเป็นความรู้ที่เรียกว่า เป็นการสร้างนโยบายบนฐานของความรู้ (knowledge – based policy formulation)
(๒) กุศลทางสังคม เนื่องจากนโยบายสาธารณะกระทบสังคมทั้งหมดอย่างรุนแรง ดังนั้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ สังคม ควรได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมเรียนรู้ ร่วมกำหนดนโยบาย โดยทำเป็นกระบวนการที่เปิดเผย โปร่งใส ทุกฝ่ายเข้าร่วมได้
(๓) กุศลทางศีลธรรม นโยบายสาธารณะที่ดีต้องเป็นไปเพื่อความถูกต้องดีงาม และเพื่อประโยชน์สุขของคนทั้งสังคม ไม่แฝงเร้นเพื่อประโยชน์เฉพาะตนหรือเฉพาะกลุ่ม
เมื่อนำกรอบกุศล ๓ ประการ มาเปรียบเทียบกับโครงการน้ำ ๓.๕ แสนล้าน จะพบแต่ “อกุศล” ล้วน ๆ เริ่มตั้งแต่โครงการนี้ไม่มีข้อมูลทางวิชาการที่ชัดเจน ขาดการมีส่วนร่วม อีกทั้งยังมีผู้คนหลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่าเอื้อผลประโยชน์ให้กับกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งหรือไม่ อย่างไร นี้จึงนำมาสู่การต่อต้านจากประชาชนอย่างกว้างขวาง
หลังมหาอุทกภัยเมื่อปลายปี ๒๕๕๔ รัฐบาลสมัย "นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" เป็นนายกรัฐมนตรี ได้พยายามผลักดันโครงการนี้ โดยใช้เหตุผลว่าป้องกันการเกิดมหาอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นอีก
เริ่มแรกรัฐบาลได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ขึ้นมา และเสนอแนวคิดไว้ ๘ แผนงาน คือ (๑) การฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้และระบบนิเวศน์
(๒) การบริหารจัดการแหล่งเก็บกักน้ำหลัก (๓) การฟื้นฟูและพัฒนาประสิทธิภาพของสิ่งปลูกสร้างเดิมและก่อสร้างใหม่ตามแผนที่กำหนดไว้ (๔) คลังข้อมูลและระบบคาดการณ์ภัยพิบัติและระบบเตือนภัย (๕) การเตรียมแผนเผชิญเหตุเฉพาะพื้นที่ (๖) การกำหนดพื้นที่รับน้ำและมาตรการเยียวยา (๗) การพัฒนาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ และ (๘) การสร้างความรู้ความเข้าใจ การยอมรับ และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารจัดการอุทกภัยขนาดใหญ่
ทั้ง ๘ แผนงานครอบคลุมการบริหารจัดการน้ำและมีการเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคสังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากรัฐบาลดำเนินการตามแผนงานดังกล่าวก็จะทำให้ประเทศไทยมีแผนแม่บทการจัดการน้ำที่สมบูรณ์
แต่เมื่อคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ซึ่งมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เข้ามาทำโครงการโดยเอาแผนงาน ๘ ข้อของ กยน. มาจัดเป็น ๑๐ แผนงาน (โมดูล) แยกเป็น ๙ สัญญานั้น ไม่มีแผนงานส่วนไหนที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ภาคประชาชน และภาคสังคม จึงทำให้เกิดข้อโต้แย้งและข้อเสนอแนะทางวิชาการที่ต่อต้านแผนงานทั้ง ๑๐ มากมาย จนนำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาลปกครอง
จนในที่สุดเมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๗ ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งให้ กบอ. ต้องจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. ๒๕๔๘ อย่างจริงจัง
เนื่องจากก่อนหน้านี้ ทาง กบอ. ได้ไปจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นตามคำสั่งศาลปกครอง ปรากฏว่ามีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างมโหฬาร ดังเสียงสะท้อนหนึ่งจากเวทีเสวนา “ความล้มเหลวเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนและข้อเสนอแนวทางที่ถูกต้องในการบริหารจัดการอุทกภัย” เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๖ ที่จัดโดยสมาคมวิศกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชน
ผลสรุปของเวทีดังกล่าวนั้นระบุชัดเจนว่า “มีรูปแบบและพัฒนาการของเวทีที่ทวีความขัดแย้งและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ การปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ประชาชนยึดเวที จนกระทั่งประชาชนล้มเวที เนื่องจากแรงคัดค้านของภาคประชาชนและการไม่ยอมรับฟังเสียงประชาชนของภาครัฐบาล” อันมีเหตุมาจากปัญหาด้านกระบวนการ และด้านเนื้อหา
กล่าวคือ
ด้านกระบวนการ : ประชาชนที่ต้องการเข้าร่วมเวที ลงทะเบียนได้หลายช่องทาง ทั้งทางออนไลน์ ที่อำเภอ หรือลงทะเบียนหน้างานในวันงาน เมื่อประชาชนมาถึงต้องลงทะเบียนตามโต๊ะแยกตามประเภทการลงทะเบียนล่วงหน้า ประชาชนจะได้รับบัตรเข้างานสีต่างๆ กันไปตามประเภทของการลงทะเบียน
แต่จะมีเพียงสีเดียวเท่านั้นที่ได้เข้าห้องรับฟังความคิดเห็นและมีสิทธิกรอกแบบสำรวจความคิดเห็น นั่นก็คือกลุ่มเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ แต่ละจังหวัดมีจำนวนระหว่าง ๘๐๐ – ๑,๐๐๐ คน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชนมายื่นที่จุดลงทะเบียนด้วย เพื่อรับเงินค่าเดินทางคนละ ๔๐๐ บาท โดยกลุ่มเป้าหมายนี้คือประชาชนที่ลงทะเบียนกับอำเภอ ที่รัฐบาลกำหนดชัดเจนว่าอำเภอละกี่คน
ด้านเนื้อหา : มีการเผยแพร่ให้ประชาชนทราบผ่านการจัดนิทรรศการประชาสัมพันธ์บริเวณหน้างาน และแจกเอกสารประกอบ ซึ่งบอกเพียงภาพรวมของแผนงาน ไม่มีรายละเอียดของโครงการในพื้นที่ หรือจะมีก็เพียงแค่ ๒ บรรทัด คือข้อมูลที่ตั้ง และความจุเก็บกักน้ำ
ส่วนประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้เข้าห้องแสดงความคิดเห็น จะได้เห็นข้อมูลผ่านการฉายวีดิทัศน์ที่บอกภาพรวมของทั้ง ๑๐ แผนงาน ความยาวประมาณ ๑๕ –๒๐ นาที และภาพโครงการในพื้นที่อีก ๒ – ๓ นาที หลังจากนั้นให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น และซักถามวิทยากรได้เพียงเล็กน้อย แล้วก็แยกกันไปเข้าห้องประชุมย่อยๆ ซึ่งแต่ละห้องก็มีอาจารย์หรือวิทยากรประจำอยู่ เพื่อแจกแบบสำรวจความคิดเห็นให้ประชาชนตอบ
ผมได้เคยเขียนบรรยากาศการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นใน ๒ จังหวัด คือ ที่จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดพิจิตร ไว้ครั้งหนึ่ง รวม ๓ เรื่อง คือ “คนพิจิตรคัดค้านโครงการ ๓.๕ แสนล้านบาท” (http://bwisutttoto.blogspot.com/2013/11/blog-post_19.html ) “ตามไปดูเวทีรับฟังความเห็นแผนแม่บทจัดการน้ำที่พิจิตร” (http://bwisutttoto.blogspot.com/2013/11/blog-post_18.html ) และ “ไปดูเขาจัดเวทีรับฟังความเห็นเรื่องน้ำมา” (http://bwisutttoto.blogspot.com/2013/11/blog-post_4.html ) ซึ่งทั้ง ๓ เรื่อง ต่างยืนยันว่าเป็นการจัดเวทีที่ไม่สมบูรณ์ทั้งด้านกระบวนการและด้านเนื้อหา
หากย้อนกลับไปดูข้อความในเอกสารที่ออกมาจาก สลธ.คสช. ฉบับเดียวกันนี้ ยังมีข้อความที่ว่า “….เพื่อพิจารณาทบทวนและกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมต่อไป....” นั่นแปลว่าจะมีการนำโครงการนี้มาทบทวนและตัดสินใจที่จะเลือกหน้าไปในทิศทางใดอีกครั้งหนึ่ง
ประเด็นนี้มีนักวิชาการที่เกี่ยวข้องออกมาเสนอแนะแนวทางที่น่าสนใจ
เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๗ นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน และคณะ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อหัวหน้า คสช ซึ่งนอกจากเสนอให้ยกเลิกแผนงานทั้ง ๑๐ โมดูลแล้ว ยังเสนอให้ “คสช. จัดระบบทบทวนใหม่ โดยวางแผนเร่งด่วน เพื่อรับมือกับฤดูฝนที่จะมาถึง โดยไม่ให้นักการเมืองและข้าราชการที่รับประโยชน์มาแทรกแซง และใช้แผนบริหารจัดการน้ำที่กรมชลประทานศึกษาร่วมกับไจก้า และแนวทางที่ วสท. ศึกษาไว้ ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วม และมีส่วนตัดสินใจ ตรวจสอบบุคคลที่เข้ามาทำหน้าที่ในคณะทำงานชุดต่างๆ ไม่ให้มีส่วนเกี่ยวข้อง”
ในส่วนตัวผมเห็นด้วยกับประเด็น “การมีส่วนร่วม” ของประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะตรงกับกุศลทางสังคมตามกรอบ “กุศล ๓ ประการ” ที่ผมกล่าวไว้ข้างต้น
อย่างไรก็ตามผมขอเสนอต่อ คสช. เพิ่มเติม ก็คือ การทำให้โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี โดยให้ความสำคัญกับหลักกุศลอีก ๒ ประการ คือ กุศลทางปัญญา และกุศลทางศีลธรรม ที่จำเป็นต้องปฏิบัติไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหลัก “กุศลทางสังคม” ควบคู่ไปด้วย
เพียงเท่านี้อนาคตของอภิโครงการน้ำ ๓.๕ แสนล้านนี้ ก็จะเดินหน้าได้อย่าง “ตรงใจประชาชน” และท่านก็ไปนั่งอยู่ “ในใจประชาชน” แล้วครับ
วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557
“สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” : อีกเส้นทางการพัฒนานโยบายสาธารณะที่มีชีวิต
๕ มิถุนายน ๒๕๕๗
อีกไม่กี่วันข้างหน้าจะถึงวันจัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๖ ซึ่งจะจัดในวันที่ ๑๗-๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๗ ที่จะถึงนี้ ณ ศูนย์การประชุมและนิทรรศการอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
“สมัชชาสุขภาพ” เป็นเครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่เน้นความเป็นระบบและการมีส่วนร่วม เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งได้ถูกจำแนกออกเป็น ๓ ประเภท คือ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ สมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น
มาถึงวันนี้ ผมคิดว่าทุกคนคงไม่ปฏิเสธแล้วว่าเครื่องมือที่เรียกว่า “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” และ “สมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่” ที่มีการขับเคลื่อนอย่างจริงจังมาหลายปี กลายเป็นคำตอบหนึ่งของสังคมไทยในการแสวงหาทางเลือกทางนโยบายในเรื่องต่างๆ ที่เอื้อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามากำหนดทิศทางและอนาคตของตนเองร่วมกัน
ในช่วงที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ยังได้มีการขับเคลื่อน “สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” เพื่อเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนานโยบายสาธารณะที่มีชีวิต เป็นนโยบายที่กินได้และเข้าถึง “หัวจิตหัวใจ” คนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องหรือประเด็นนั้น ๆ มาไม่น้อย ตัวอย่างเช่น
• สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ว่าด้วยแผนยุทธศาสตร์ระบบข้อมูลข่าวสารแห่งชาติ
• สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ว่าด้วยร่าง พ.ร.บ คุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ พ.ศ.....
• สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ว่าด้วยแผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไทย สุขภาพวิถีไทย ฉบับที่ ๒
• สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ว่าด้วยแผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี (พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๙)
• สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ว่าด้วยการปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย
• สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ว่าด้วยแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิต พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๙
อย่างไรก็ตามผู้คนหรือสังคมยังรับรู้กระบวนการขับเคลื่อนดังกล่าวไม่มากนัก จึงทำให้หลายท่านอาจยังไม่คุ้นชินว่า “สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” คืออะไร
“สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” คือ สมัชชาสุขภาพที่ใช้ประเด็นสาธารณะเป็นขอบเขตในการดำเนินงาน
ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นรูปธรรมมากขึ้น ผ่านคำพูดของ “ดร.ศิริศักดิ์ เทพาคำ” รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ที่ได้อธิบายคำว่า “สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” นี้ไว้ในเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ “ยกระดับการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เครื่องมือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดขึ้นในวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๗ ณ โรงแรมเอบีน่าเฮ้าส์ หลักสี่ กรุงเทพมหานคร ไว้อย่างน่าสนใจว่า
“สมัชชาได้เริ่มมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว ในสมัยนั้นพระพุทธเจ้าเห็นความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดจากพระสงฆ์ที่ไปเหยียบย่ำไร่นาทำให้ต้นข้าวและพืชผักที่ปลูกไว้เสียหาย จึงได้จัดประชุมปรึกษาหารือกัน และเห็นว่าควรกำหนดข้อกำหนดให้พระสงฆ์อยู่กับที่ในช่วงต้นฤดูฝน จึงเป็นที่มาของวันเข้าพรรษา-วันออกพรรษา”
หากวิเคราะห์ตามคำพูดข้างต้น จะพบว่า ดร.ศิริศักดิ์ฯ ได้จำแนกแยกแยะให้เห็นขั้นตอนหรือองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการ “สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” ได้อย่างชัดเจน
โดยชี้ให้เห็นถึงการมีประเด็นที่ต้องการแก้ไขที่มีข้อมูลรองรับ ชี้ให้เห็นกระบวนการที่มีการใช้การปรึกษาหารือเป็นเครื่องมือ ชี้ให้เห็นผลลัพธ์การตัดสินใจที่เลือกใช้วิธีการใดในการแก้ปัญหา และที่สำคัญยังชี้ให้เห็นผลการนำผลลัพธ์การตัดสินใจนั้นมาปฏิบัติ ซึ่งได้ปฏิบัติสืบต่อกันมากว่า ๒,๖๐๐ ปี จนถึงทุกวันนี้
เหตุผลสำคัญที่เกิดเวทีในวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๗ ขึ้นมานั้น สืบเนื่องมาจากการเตรียมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๗ ซึ่งกำหนดจะจัดขึ้นในปลายปีนี้ ได้มีการเปิดรับประเด็นเชิงนโยบายจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ปรากฏว่ามีภาคีเครือข่ายหลายกลุ่มที่สนใจเครื่องมือนี้ ได้เสนอเรื่องเข้ามายัง สช. เพื่อขอกำหนดเป็นระเบียบวาระในการประชุม “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ครั้งที่ ๗ นี้
จากการพิจารณาของกลไกทางวิชาการของคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เห็นว่าหลายประเด็นที่เสนอเข้ามาควรนำเครื่องมือ “สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” มาขับเคลื่อนจะตรงกับแนวทางในการแก้ไขปัญหามากกว่า เวทีการประชุมในครั้งนี้จึงเกิดขึ้นมา และเชิญชวนแกนนำแต่ละกลุ่มที่เสนอประเด็นเหล่านั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำความเข้าใจเครื่องมือนี้ร่วมกัน
๑๘ ประเด็นที่เสนอมานั้นมีความหลากหลายอย่างยิ่ง ได้แก่
• การแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนไทยพลัดถิ่น
• การจัดการลุ่มน้ำท่าจีน
• การจัดการศึกษาทางเลือกไทย
• การตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือวัดทางการแพทย์
• การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากการขุดเจาะปิโตรเลียม
• การสร้างเสริมสุขภาพพัฒนาเด็กปฐมวัยจากการอ่าน
• คนไร้สัญชาติ
• ธรรมนูญโรงเรียน
• ประมงเรือเล็ก
• มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี และพยาธิใบไม้ในตับ
• เยาวชนกับยาเสพติด
• ระบบบริการสุขภาพวิถีมุสลิม
• ระบบผังเมืองที่คุ้มครองสุขภาวะประชาชน
• สภาพลเมืองปฏิรูปประเทศไทย
• สวัสดิการชุมชน
• สุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์
• สุขภาวะผู้สูงอายุ
• อ่าว ก. ไก่
ในเวทีดังกล่าว นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้ชี้ให้เห็นว่าคุณค่าและกระบวนการของ “สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” นั้นเป็นเครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม เฉกเช่นเดียวกับ “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” และ “สมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่”
มีการนำบทเรียนการนำสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นไปทำงานต่อเนื่องในอีก ๓ เรื่อง คือ
• “แผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี่ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙” นำเสนอโดย ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ
• “การปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย” นำเสนอโดย ผศ.ดร.วีระศักดิ์ พุทธาศรี นักวิชาการจากสำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
• “การปฏิรูปนโยบายและกฎหมายเพื่อลดการผูกขาดและสนับสนุนการแข่งขันในเศรษฐกิจไทย” นำเสนอโดย ดร.วณี ปิ่นประทีป ผู้อำนวยการสำนักประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ
ในช่วงบ่ายของการจัดเวที มีการแบ่งกลุ่มออกเป็น ๔ กลุ่ม และจัดสรรประเด็นทั้ง ๑๘ เรื่อง เข้าไปอยู่ในแต่ละกลุ่ม โดยตั้งโจทย์สำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ เป้าหมายการพัฒนาหรือสิ่งที่ต้องการแก้ไขคืออะไร และจะออกแบบการทำงานร่วมกันอย่างไร ส่งผลให้แกนนำแต่ละประเด็น/แต่ละพื้นที่ได้มีโอกาสเรียนรู้ข้ามกลุ่ม และช่วยกันกำหนดคำตอบตามโจทย์ที่วางไว้
ผมได้มีโอกาสสะท้อนความคิดเห็น ๓ ประการ ในช่วงท้ายของการจัดเวทีในวันนี้
ประการแรก : การจัดเวทีวันนี้ คือ การแสดงเจตจำนงของกลุ่มคนที่มี “จิตสาธารณะ” เห็นประโยชน์ของบ้านเมืองร่วมกัน ที่เป็นเรื่องของ “การอภิบาลระบบ” ที่หมายถึง “การดูแลสังคม” ซึ่ง ศ.ดร.สุริชัย หวันแก้ว ได้เคยอธิบายไว้ว่ามี ๓ ระบบ คือ การอภิบาลโดยรัฐ การอภิบาลโดยทุนหรือตลาด และการอภิบาลโดยเครือข่าย ซึ่งงานในวันนี้เป็นกระบวนการที่สอดคล้องกับแนวคิดของ “การอภิบาลโดยเครือข่าย” ที่เกิดขึ้นจากคนตัวเล็กตัวน้อยมารวมกัน มาคิดด้วยกันเพื่อที่จะดูแลสังคมในแต่ละประเด็นร่วมกัน
ประการที่สอง : ได้เห็นรูปธรรมของการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของระบบสุขภาพ ซึ่งจากเดิมเมื่อเข้าไปในเวทีที่เกี่ยวข้องกับ “สุขภาพ” จะพบผู้คนที่อยู่ในวงการแพทย์และสาธารณสุขเป็นส่วนใหญ่ แต่ในวันนี้คนส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมาจากคนนอกวงการแพทย์และสาธารณสุข ได้เห็นทั้งกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนงานชาติพันธุ์ คนไร้รัฐ ได้พบกลุ่มคนที่นับถือศาสนาอิสลาม กลุ่มคนที่สนใจงานด้านพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่งกลุ่มคนที่สนใจในงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในช่วงวัยต่างๆ จึงนับเป็นคุณูปการของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่ได้บัญญัติความหมายของคำว่า “สุขภาพ” ว่าเป็นเรื่องของ “สุขภาวะ” จึงทำให้คนทุกกลุ่มทุกระดับได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของในการสร้างสุขภาวะของคน ของชุมชนและสังคมไทยเฉกเช่นภาพที่ปรากฏในเวทีนี้
ประการที่สาม : กระบวนการขับเคลื่อน“สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” นอกเหนือจากการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายแล้ว ยังมีเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีกลไกการทำงานที่มีหน้าที่ในการจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นที่ต้องยึดหลักการมีส่วนร่วม, การวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ครอบคลุมกับประเด็นนั้นๆ, การสื่อสารสาธารณะที่กว้างขวาง, การจัดการความรู้เพื่อสรุปบทเรียนและยกระดับการทำงานต่อไปอย่างต่อเนื่อง และการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องพึงพิจารณาต่อไปในกระบวนการทำงาน
ว่าไปแล้วการเริ่มต้นออกสตาร์ทในวันนี้ จึงเป็นอีกเส้นทางสำคัญของการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม เคียงคู่ไปกับเครื่องมือที่เรียกว่า “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” และ “สมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่” ซึ่งวันหนึ่งดอกผลของสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นคงจะเบ่งบานไปทั่วสังคมไทยทุกหย่อมหญ้าและก่อให้เกิดนโยบายสาธารณะที่ดี เฉกเช่นมติสมัชชาครั้งพุทธกาลที่กำหนดให้พระสงฆ์อยู่กับที่ ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา และมีการนำมาปฏิบัติจนถึงทุกวันนี้
อีกไม่กี่วันข้างหน้าจะถึงวันจัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๖ ซึ่งจะจัดในวันที่ ๑๗-๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๗ ที่จะถึงนี้ ณ ศูนย์การประชุมและนิทรรศการอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
“สมัชชาสุขภาพ” เป็นเครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่เน้นความเป็นระบบและการมีส่วนร่วม เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งได้ถูกจำแนกออกเป็น ๓ ประเภท คือ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ สมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น
มาถึงวันนี้ ผมคิดว่าทุกคนคงไม่ปฏิเสธแล้วว่าเครื่องมือที่เรียกว่า “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” และ “สมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่” ที่มีการขับเคลื่อนอย่างจริงจังมาหลายปี กลายเป็นคำตอบหนึ่งของสังคมไทยในการแสวงหาทางเลือกทางนโยบายในเรื่องต่างๆ ที่เอื้อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามากำหนดทิศทางและอนาคตของตนเองร่วมกัน
ในช่วงที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ยังได้มีการขับเคลื่อน “สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” เพื่อเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนานโยบายสาธารณะที่มีชีวิต เป็นนโยบายที่กินได้และเข้าถึง “หัวจิตหัวใจ” คนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องหรือประเด็นนั้น ๆ มาไม่น้อย ตัวอย่างเช่น
• สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ว่าด้วยแผนยุทธศาสตร์ระบบข้อมูลข่าวสารแห่งชาติ
• สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ว่าด้วยร่าง พ.ร.บ คุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ พ.ศ.....
• สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ว่าด้วยแผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไทย สุขภาพวิถีไทย ฉบับที่ ๒
• สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ว่าด้วยแผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี (พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๙)
• สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ว่าด้วยการปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย
• สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ว่าด้วยแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิต พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๙
อย่างไรก็ตามผู้คนหรือสังคมยังรับรู้กระบวนการขับเคลื่อนดังกล่าวไม่มากนัก จึงทำให้หลายท่านอาจยังไม่คุ้นชินว่า “สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” คืออะไร
“สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” คือ สมัชชาสุขภาพที่ใช้ประเด็นสาธารณะเป็นขอบเขตในการดำเนินงาน
ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นรูปธรรมมากขึ้น ผ่านคำพูดของ “ดร.ศิริศักดิ์ เทพาคำ” รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ที่ได้อธิบายคำว่า “สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” นี้ไว้ในเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ “ยกระดับการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เครื่องมือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดขึ้นในวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๗ ณ โรงแรมเอบีน่าเฮ้าส์ หลักสี่ กรุงเทพมหานคร ไว้อย่างน่าสนใจว่า
“สมัชชาได้เริ่มมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว ในสมัยนั้นพระพุทธเจ้าเห็นความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดจากพระสงฆ์ที่ไปเหยียบย่ำไร่นาทำให้ต้นข้าวและพืชผักที่ปลูกไว้เสียหาย จึงได้จัดประชุมปรึกษาหารือกัน และเห็นว่าควรกำหนดข้อกำหนดให้พระสงฆ์อยู่กับที่ในช่วงต้นฤดูฝน จึงเป็นที่มาของวันเข้าพรรษา-วันออกพรรษา”
หากวิเคราะห์ตามคำพูดข้างต้น จะพบว่า ดร.ศิริศักดิ์ฯ ได้จำแนกแยกแยะให้เห็นขั้นตอนหรือองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการ “สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” ได้อย่างชัดเจน
โดยชี้ให้เห็นถึงการมีประเด็นที่ต้องการแก้ไขที่มีข้อมูลรองรับ ชี้ให้เห็นกระบวนการที่มีการใช้การปรึกษาหารือเป็นเครื่องมือ ชี้ให้เห็นผลลัพธ์การตัดสินใจที่เลือกใช้วิธีการใดในการแก้ปัญหา และที่สำคัญยังชี้ให้เห็นผลการนำผลลัพธ์การตัดสินใจนั้นมาปฏิบัติ ซึ่งได้ปฏิบัติสืบต่อกันมากว่า ๒,๖๐๐ ปี จนถึงทุกวันนี้
เหตุผลสำคัญที่เกิดเวทีในวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๗ ขึ้นมานั้น สืบเนื่องมาจากการเตรียมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๗ ซึ่งกำหนดจะจัดขึ้นในปลายปีนี้ ได้มีการเปิดรับประเด็นเชิงนโยบายจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ปรากฏว่ามีภาคีเครือข่ายหลายกลุ่มที่สนใจเครื่องมือนี้ ได้เสนอเรื่องเข้ามายัง สช. เพื่อขอกำหนดเป็นระเบียบวาระในการประชุม “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ครั้งที่ ๗ นี้
จากการพิจารณาของกลไกทางวิชาการของคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เห็นว่าหลายประเด็นที่เสนอเข้ามาควรนำเครื่องมือ “สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” มาขับเคลื่อนจะตรงกับแนวทางในการแก้ไขปัญหามากกว่า เวทีการประชุมในครั้งนี้จึงเกิดขึ้นมา และเชิญชวนแกนนำแต่ละกลุ่มที่เสนอประเด็นเหล่านั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำความเข้าใจเครื่องมือนี้ร่วมกัน
๑๘ ประเด็นที่เสนอมานั้นมีความหลากหลายอย่างยิ่ง ได้แก่
• การแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนไทยพลัดถิ่น
• การจัดการลุ่มน้ำท่าจีน
• การจัดการศึกษาทางเลือกไทย
• การตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือวัดทางการแพทย์
• การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากการขุดเจาะปิโตรเลียม
• การสร้างเสริมสุขภาพพัฒนาเด็กปฐมวัยจากการอ่าน
• คนไร้สัญชาติ
• ธรรมนูญโรงเรียน
• ประมงเรือเล็ก
• มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี และพยาธิใบไม้ในตับ
• เยาวชนกับยาเสพติด
• ระบบบริการสุขภาพวิถีมุสลิม
• ระบบผังเมืองที่คุ้มครองสุขภาวะประชาชน
• สภาพลเมืองปฏิรูปประเทศไทย
• สวัสดิการชุมชน
• สุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์
• สุขภาวะผู้สูงอายุ
• อ่าว ก. ไก่
ในเวทีดังกล่าว นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้ชี้ให้เห็นว่าคุณค่าและกระบวนการของ “สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” นั้นเป็นเครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม เฉกเช่นเดียวกับ “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” และ “สมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่”
มีการนำบทเรียนการนำสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นไปทำงานต่อเนื่องในอีก ๓ เรื่อง คือ
• “แผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี่ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙” นำเสนอโดย ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ
• “การปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย” นำเสนอโดย ผศ.ดร.วีระศักดิ์ พุทธาศรี นักวิชาการจากสำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
• “การปฏิรูปนโยบายและกฎหมายเพื่อลดการผูกขาดและสนับสนุนการแข่งขันในเศรษฐกิจไทย” นำเสนอโดย ดร.วณี ปิ่นประทีป ผู้อำนวยการสำนักประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ
ในช่วงบ่ายของการจัดเวที มีการแบ่งกลุ่มออกเป็น ๔ กลุ่ม และจัดสรรประเด็นทั้ง ๑๘ เรื่อง เข้าไปอยู่ในแต่ละกลุ่ม โดยตั้งโจทย์สำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ เป้าหมายการพัฒนาหรือสิ่งที่ต้องการแก้ไขคืออะไร และจะออกแบบการทำงานร่วมกันอย่างไร ส่งผลให้แกนนำแต่ละประเด็น/แต่ละพื้นที่ได้มีโอกาสเรียนรู้ข้ามกลุ่ม และช่วยกันกำหนดคำตอบตามโจทย์ที่วางไว้
ผมได้มีโอกาสสะท้อนความคิดเห็น ๓ ประการ ในช่วงท้ายของการจัดเวทีในวันนี้
ประการแรก : การจัดเวทีวันนี้ คือ การแสดงเจตจำนงของกลุ่มคนที่มี “จิตสาธารณะ” เห็นประโยชน์ของบ้านเมืองร่วมกัน ที่เป็นเรื่องของ “การอภิบาลระบบ” ที่หมายถึง “การดูแลสังคม” ซึ่ง ศ.ดร.สุริชัย หวันแก้ว ได้เคยอธิบายไว้ว่ามี ๓ ระบบ คือ การอภิบาลโดยรัฐ การอภิบาลโดยทุนหรือตลาด และการอภิบาลโดยเครือข่าย ซึ่งงานในวันนี้เป็นกระบวนการที่สอดคล้องกับแนวคิดของ “การอภิบาลโดยเครือข่าย” ที่เกิดขึ้นจากคนตัวเล็กตัวน้อยมารวมกัน มาคิดด้วยกันเพื่อที่จะดูแลสังคมในแต่ละประเด็นร่วมกัน
ประการที่สอง : ได้เห็นรูปธรรมของการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของระบบสุขภาพ ซึ่งจากเดิมเมื่อเข้าไปในเวทีที่เกี่ยวข้องกับ “สุขภาพ” จะพบผู้คนที่อยู่ในวงการแพทย์และสาธารณสุขเป็นส่วนใหญ่ แต่ในวันนี้คนส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมาจากคนนอกวงการแพทย์และสาธารณสุข ได้เห็นทั้งกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนงานชาติพันธุ์ คนไร้รัฐ ได้พบกลุ่มคนที่นับถือศาสนาอิสลาม กลุ่มคนที่สนใจงานด้านพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่งกลุ่มคนที่สนใจในงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในช่วงวัยต่างๆ จึงนับเป็นคุณูปการของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่ได้บัญญัติความหมายของคำว่า “สุขภาพ” ว่าเป็นเรื่องของ “สุขภาวะ” จึงทำให้คนทุกกลุ่มทุกระดับได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของในการสร้างสุขภาวะของคน ของชุมชนและสังคมไทยเฉกเช่นภาพที่ปรากฏในเวทีนี้
ประการที่สาม : กระบวนการขับเคลื่อน“สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” นอกเหนือจากการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายแล้ว ยังมีเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีกลไกการทำงานที่มีหน้าที่ในการจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นที่ต้องยึดหลักการมีส่วนร่วม, การวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ครอบคลุมกับประเด็นนั้นๆ, การสื่อสารสาธารณะที่กว้างขวาง, การจัดการความรู้เพื่อสรุปบทเรียนและยกระดับการทำงานต่อไปอย่างต่อเนื่อง และการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องพึงพิจารณาต่อไปในกระบวนการทำงาน
ว่าไปแล้วการเริ่มต้นออกสตาร์ทในวันนี้ จึงเป็นอีกเส้นทางสำคัญของการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม เคียงคู่ไปกับเครื่องมือที่เรียกว่า “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” และ “สมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่” ซึ่งวันหนึ่งดอกผลของสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นคงจะเบ่งบานไปทั่วสังคมไทยทุกหย่อมหญ้าและก่อให้เกิดนโยบายสาธารณะที่ดี เฉกเช่นมติสมัชชาครั้งพุทธกาลที่กำหนดให้พระสงฆ์อยู่กับที่ ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา และมีการนำมาปฏิบัติจนถึงทุกวันนี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)