๑๒ กันยายน ๒๕๕๘
ในโอกาสที่ผมได้เข้าไปทำงานในสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ได้เห็นข้อมูลเชิงสถานการณ์ของประเทศไทยเกี่ยวกับ “ผู้สูงอายุ” อย่างเป็นระบบ
โดยพบว่า
ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรมาเป็นลำดับ จนก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ที่มีคนที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ในสัดส่วนร้อยละ ๑๐ มานานหลายปีแล้ว
เมื่อ ๒ ปีก่อน ประเทศไทยเรามีผู้สูงอายุราว ๙.๖ ล้านคน หรือร้อยละ ๑๔.๗ และคาดหมายว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๒๐ หรือกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete aged society) ในปี ๒๕๖๔ และเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสูงสุด (Super aged society) ที่มีผู้สูงอายุร้อยละ ๓๐ ในปี ๒๕๗๘
การเพิ่มจำนวนสูงขึ้นของผู้สูงอายุย่อมส่งผลกระทบต่อสังคมไทย ทั้งผลกระทบต่อครอบครัว ด้านเศรษฐกิจ ด้านงบประมาณและการคลัง ด้านสังคม ด้านการเมือง และผลกระทบต่อตัวผู้สูงอายุเอง
ผู้สูงอายุไทยมีการศึกษาค่อนข้างน้อย โดยมีเพียงประมาณ ๑ ใน ๑๐ เท่านั้นที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป และการที่ผู้สูงอายุมีการศึกษาน้อยจะเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล บริการด้านสุขภาพและสังคม รวมทั้งโอกาสในการทำงานเชิงเศรษฐกิจตามมา
ด้านสุขภาพผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และมีภาวะทุพพลภาพเพิ่มขึ้นตามวัยที่เพิ่มขึ้น
ด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุไทยกว่าครึ่งหนึ่งมีรายได้เฉลี่ยอยู่ในช่วง ๔๐๐ – ๓,๓๐๐ บาทต่อเดือน ต้องพึ่งพิงรายได้จากบุตรหลานและการทำงานเป็นหลักสูงถึงร้อยละ ๘๗ โดยพึ่งพิงรายได้จากเบี้ยยังชีพ เงินบำเหน็จบำนาญ รายได้จากการออมและการลงทุนเป็นหลักมีเพียงร้อยละ ๑๐ และที่สำคัญผู้สูงอายุร้อยละ ๓๑ ไม่มีการเก็บออม และผู้สูงอายุสัดส่วนถึงร้อยละ ๔๒ มีปัญหารายได้ไม่เพียงพอ
ด้านสังคม ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ให้อยู่ตามลำพัง หรืออยู่กับบุตรหลานเกิดช่องว่างระหว่างวัย ขาดการนำคุณค่าไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางสังคม
ด้านสภาพแวดล้อม พบว่าผู้สูงอายุมักประสบอุบัติเหตุจากการลื่นล้มในบ้าน เพราะไม่มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับวัย
นอกจากนั้น ยังพบอีกว่า ในด้านการมีบุตรนั้นผู้สูงอายุยุคปัจจุบันมีบุตรน้อยกว่าในอดีต และมีแนวโน้มที่จะอยู่อาศัยกับบุตรน้อยลง อยู่กับคู่สมรสและอยู่ตามลำพังเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดต่ำลงมาก และรวมทั้งการย้ายถิ่นของบุตรที่อยู่ในวัยแรงงานไปทำงานในต่างพื้นที่
คนในรุ่นต่อไปจะยิ่งมีบุตรน้อยลงตามแนวโน้มภาวะเจริญพันธุ์ การหวังพึ่งพาบุตรในการเกื้อหนุนในยามสูงวัยก็จะเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น
และเมื่อค้นข้อมูลไปที่จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งเป็นจังหวัดที่ผมตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ พบว่าในปัจจุบันมีประชากรทั้งสิ้น ๑,๐๗๓,๑๔๒ คน มีประชากรสูงอายุ คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๙ ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของประเทศ
แต่หากวิเคราะห์รายอำเภอ พบว่าในอำเภอพยุหะคีรี มีประชากรสูงอายุสูงถึง ร้อยละ ๑๘.๓ และเมื่อมองแคบลงไปที่ตำบลเขาทอง เป็นตำบลหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอพยุหะคีรี มีประชากรผู้สูงอายุสูงถึง ๑,๕๒๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๓ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของจังหวัดและประเทศอย่างมาก
ข้อมูลเหล่านี้ จึงเป็นแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งอันนำมาซึ่งโครงการจัดทำ “ธรรมนูญสุขภาพผู้สูงอายุ” ในครั้งนี้ โดยหวังว่า จะทำให้คนในตำบลเขาทองตื่นตัวและใช้เป็นเครื่องมือในการเผชิญกับมหันตภัยเงียบที่กำลังถาโถมตำบลผู้สูงอายุอย่างรู้เท่าทันนั่นเอง
วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558
วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558
ฒ ผู้เฒ่าเขาทอง (๕)
๖ กันยายน ๒๕๕๘
ยังไม่ทันที่รอยยิ้มที่เกิดขึ้นจากความสุขที่ได้ชี้ให้เห็นคุณค่าของธรรมนูญสุขภาพว่าจะส่งผลอย่างไรกับคนในชุมชนจางหายไป คำถามที่สำคัญอีกคำถามหนึ่งก็ดังขึ้น
“แล้วมันทำยากไหมล่ะ อ้ายธรรมนูญสุขภาพเนี่ยะ”
ผมหันไปมองเจ้าของต้นเสียงนั้น พร้อมกับรู้สึกขอบคุณเจ้าของคำถามที่ตั้งคำถามตรงกับคำตอบที่ผมเตรียมไว้
ผมเริ่มอธิบายขั้นตอนการจัดทำและขับเคลื่อน “ธรรมนูญสุขภาพ” ว่าสามารถจำแนกเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะการจัดทำกับระยะการขับเคลื่อน
ระยะที่ ๑ เป็นขั้นตอนในระยะการจัดทำ “ธรรมนูญสุขภาพ” มีขั้นตอนที่สำคัญ ประกอบด้วย
ขั้นตอนที่ ๑ การจัดตั้งกลไกแบบมีส่วนร่วมในการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ เพื่อเป็นกลไกในการทำหน้าที่ตั้งแต่การจัดเตรียมข้อมูล การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น การยกร่างและการประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพ ที่ยึดการมีส่วนร่วม และสร้างความเป็นเจาของร่วมของคนในชุมชน
ขั้นตอนที่ ๒ การเสาะหาและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลที่มีอยู่แล้วตามหน่วยงานต่าง ๆ หรือข้อมูลที่ต้องจัดเก็บขึ้นมาใหม่
ขั้นตอนที่ ๓ การรับฟังความคิดเห็น ทั้งรายพื้นที่และรายกลุ่มที่สำคัญ โดยคำถามสำคัญที่ควรตั้งเพื่อให้ช่วยกันกำหนด นั่นก็คือ (๑) สิ่งที่อยากเห็น อยากเป็น อยากมี ในอีก ๕ ปี ๑๐ ปี ของประเด็นที่จะจัดทำธรรมนูญ (๒) สิ่งดี ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน และแนวทางรักษาหรือพัฒนาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น และ (๓) สิ่งที่ไม่ดีที่มีอยู่ในชุมชน และแนวทางการแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีนั้นให้กลับเป็นสิ่งดี ๆ
ขั้นตอนที่ ๔ การยกร่างธรรมนูญ โดยการประมวลข้อมูลจากขั้นตอนที่ ๑.๑ และ ๑.๒ มาทำการยกร่างโดยทีมทำงานที่ส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ โดยองค์ประกอบที่สำคัญ ควรมีสัก ๓ ส่วน คือ ส่วนนำ ที่กล่าวถึง ปรัชญา แนวคิดหลัก และความอยากเห็นอยากเป็น อยากมี ที่ได้มาจากการรับฟังความคิดเห็น ส่วนที่ ๒ คือ สาระสำคัญของประเด็น ซึ่งขึ้นอยู่กับประเด็นของธรรมนูญ และข้อมูลจากการรับฟังความคิดเห็นเห็น
ขั้นตอนที่ ๕ การรับฟังความคิดเห็นรวม โดยนำร่างธรรมนูญไปจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อผู้ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ โดยต้องให้ครอบคลุมผู้แทนทั้งระดับพื้นที่ และกลุ่มคน หน่วยงานที่มีอยู่ในชุมชน
ขั้นตอนที่ ๖ ปรับปรุงธรรมนูญ โดยแก้ไขเพิ่มเติมจากข้อมูลที่ได้มาจากขั้นตอนที่ ๔ และถ้าจะให้มีคุณภาพมากขึ้น ควรนำกลับไปจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ทุกภาคส่วนให้ความเห็นชอบ
ขั้นตอนที่ ๗ การประกาศใช้ธรรมนูญ โดยผมได้เสนอให้ (๑) เชื่อมโยงกับวันสำคัญของชุมชน หรือของชาติ (๒) จัดให้มี “สัจจะในที่แจ้ง” ซึ่งให้คนในชุมชนเปล่งวาจาออกมาพร้อม ๆ กัน (๓) มีพิธีกรรมที่สร้างความศักดิ์สิทธิ์ เช่น การใช้ด้ายสายสิญจน์ผูกข้อมือ การจัดทำธรรมนูญเป็นใบลาน เป็นต้น (๔) มีการจัดทำเป็นเอกสารประจำครอบครัว เพื่อให้ทุกครอบครัวได้ศึกษาเนื้อหาของธรรมนูญ และย้ำเตือนใจว่าเป็นสิ่งที่ตนเองได้กล่าว “สัจจะในที่แจ้งไว้”
ระยะที่ ๒ ระยะการขับเคลื่อนธรรมนูญไปปฏิบัติ มีขั้นตอนที่สำคัญ ประกอบด้วย
ขั้นตอนที่ ๑ การจัดทำแผนการขับเคลื่อน โดยการแปลงเนื้อหาธรรมนูญสุขภาพในแต่ละข้อมาเป็นแผนปฏิบัติการ ที่ระบุว่าจะมีวิธีการขับเคลื่อนอย่างไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ
ขั้นตอนที่ ๒ การติดตามและรายงานผล เพื่อให้เห็นผลและความก้าวหน้าในการนำธรรมนูญไปปฏิบัติ โดยการกำหนดวิธีการและเครื่องมือในการติดตามและรายงานผล
ขั้นตอนที่ ๓ การประเมินผลและทบทวนธรรมนูญ ที่หมายถึงการประเมินผลว่าผลลัพธ์ หรือผลกระทบจากการมีธรรมนูญสุขภาพนั้นได้ส่งผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบอย่างไร อะไรที่เป็นปัญหาอุปสรรคและความสำเร็จ ประเด็นไหนควรจะมีการทบทวนแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ที่ได้เห็นการขับเคลื่อน “ธรรมนูญสุขภาพ” ในหลายพื้นที่พบว่าบางพื้นที่นำไปจัดทำเป็นข้อบังคับขององค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อการผูกโยงกับงบประมาณประจำปีของท้องถิ่นไปด้วย ซึ่งก็เป็นอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อน
นอกจากนั้นงานหลักใน ๒ ระยะข้างต้นแล้ว ยังไม่ควรละทิ้งงานสนับสนุนที่จะทำให้ “ธรรมนูญ” มีการดำเนินทุกขั้นตอนเป็นไปด้วยดี ได้แก่ งานสื่อสารสาธารณะ งานจัดการความรู้ และงานบริหารจัดการ ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญ
ทุกจังหวะของเวลาที่ค่อย ๆ ผ่านไปแต่ละวินาทีที่ผมเล่าแต่ละขั้นตอน สายตาของผู้เข้าประชุมที่เรียกตัวเองว่า “คณะกรรมการจัดทำธรรมนูญสุขภาพผู้สูงอายุตำบลเขาทอง” ที่เป็นผู้คนที่อยู่ในพื้นที่กว่า ๓๐ คน นั้นบ่งบอกให้เห็นถึงแววของความตั้งใจอย่างเต็มเปี่ยมในการเรียนรู้ อีกทั้งยังร่วมกันแสดงความคิดเห็นกันอย่างคึกคัก ทำให้ผมในฐานะผู้เล่าเรื่องมีความสุขและเกิดปิติยิ่งที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมเล็ก ๆ ในครั้งนี้
ยังไม่ทันที่รอยยิ้มที่เกิดขึ้นจากความสุขที่ได้ชี้ให้เห็นคุณค่าของธรรมนูญสุขภาพว่าจะส่งผลอย่างไรกับคนในชุมชนจางหายไป คำถามที่สำคัญอีกคำถามหนึ่งก็ดังขึ้น
“แล้วมันทำยากไหมล่ะ อ้ายธรรมนูญสุขภาพเนี่ยะ”
ผมหันไปมองเจ้าของต้นเสียงนั้น พร้อมกับรู้สึกขอบคุณเจ้าของคำถามที่ตั้งคำถามตรงกับคำตอบที่ผมเตรียมไว้
ผมเริ่มอธิบายขั้นตอนการจัดทำและขับเคลื่อน “ธรรมนูญสุขภาพ” ว่าสามารถจำแนกเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะการจัดทำกับระยะการขับเคลื่อน
ระยะที่ ๑ เป็นขั้นตอนในระยะการจัดทำ “ธรรมนูญสุขภาพ” มีขั้นตอนที่สำคัญ ประกอบด้วย
ขั้นตอนที่ ๑ การจัดตั้งกลไกแบบมีส่วนร่วมในการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ เพื่อเป็นกลไกในการทำหน้าที่ตั้งแต่การจัดเตรียมข้อมูล การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น การยกร่างและการประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพ ที่ยึดการมีส่วนร่วม และสร้างความเป็นเจาของร่วมของคนในชุมชน
ขั้นตอนที่ ๒ การเสาะหาและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลที่มีอยู่แล้วตามหน่วยงานต่าง ๆ หรือข้อมูลที่ต้องจัดเก็บขึ้นมาใหม่
ขั้นตอนที่ ๓ การรับฟังความคิดเห็น ทั้งรายพื้นที่และรายกลุ่มที่สำคัญ โดยคำถามสำคัญที่ควรตั้งเพื่อให้ช่วยกันกำหนด นั่นก็คือ (๑) สิ่งที่อยากเห็น อยากเป็น อยากมี ในอีก ๕ ปี ๑๐ ปี ของประเด็นที่จะจัดทำธรรมนูญ (๒) สิ่งดี ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน และแนวทางรักษาหรือพัฒนาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น และ (๓) สิ่งที่ไม่ดีที่มีอยู่ในชุมชน และแนวทางการแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีนั้นให้กลับเป็นสิ่งดี ๆ
ขั้นตอนที่ ๔ การยกร่างธรรมนูญ โดยการประมวลข้อมูลจากขั้นตอนที่ ๑.๑ และ ๑.๒ มาทำการยกร่างโดยทีมทำงานที่ส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ โดยองค์ประกอบที่สำคัญ ควรมีสัก ๓ ส่วน คือ ส่วนนำ ที่กล่าวถึง ปรัชญา แนวคิดหลัก และความอยากเห็นอยากเป็น อยากมี ที่ได้มาจากการรับฟังความคิดเห็น ส่วนที่ ๒ คือ สาระสำคัญของประเด็น ซึ่งขึ้นอยู่กับประเด็นของธรรมนูญ และข้อมูลจากการรับฟังความคิดเห็นเห็น
ขั้นตอนที่ ๕ การรับฟังความคิดเห็นรวม โดยนำร่างธรรมนูญไปจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อผู้ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ โดยต้องให้ครอบคลุมผู้แทนทั้งระดับพื้นที่ และกลุ่มคน หน่วยงานที่มีอยู่ในชุมชน
ขั้นตอนที่ ๖ ปรับปรุงธรรมนูญ โดยแก้ไขเพิ่มเติมจากข้อมูลที่ได้มาจากขั้นตอนที่ ๔ และถ้าจะให้มีคุณภาพมากขึ้น ควรนำกลับไปจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ทุกภาคส่วนให้ความเห็นชอบ
ขั้นตอนที่ ๗ การประกาศใช้ธรรมนูญ โดยผมได้เสนอให้ (๑) เชื่อมโยงกับวันสำคัญของชุมชน หรือของชาติ (๒) จัดให้มี “สัจจะในที่แจ้ง” ซึ่งให้คนในชุมชนเปล่งวาจาออกมาพร้อม ๆ กัน (๓) มีพิธีกรรมที่สร้างความศักดิ์สิทธิ์ เช่น การใช้ด้ายสายสิญจน์ผูกข้อมือ การจัดทำธรรมนูญเป็นใบลาน เป็นต้น (๔) มีการจัดทำเป็นเอกสารประจำครอบครัว เพื่อให้ทุกครอบครัวได้ศึกษาเนื้อหาของธรรมนูญ และย้ำเตือนใจว่าเป็นสิ่งที่ตนเองได้กล่าว “สัจจะในที่แจ้งไว้”
ระยะที่ ๒ ระยะการขับเคลื่อนธรรมนูญไปปฏิบัติ มีขั้นตอนที่สำคัญ ประกอบด้วย
ขั้นตอนที่ ๑ การจัดทำแผนการขับเคลื่อน โดยการแปลงเนื้อหาธรรมนูญสุขภาพในแต่ละข้อมาเป็นแผนปฏิบัติการ ที่ระบุว่าจะมีวิธีการขับเคลื่อนอย่างไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ
ขั้นตอนที่ ๒ การติดตามและรายงานผล เพื่อให้เห็นผลและความก้าวหน้าในการนำธรรมนูญไปปฏิบัติ โดยการกำหนดวิธีการและเครื่องมือในการติดตามและรายงานผล
ขั้นตอนที่ ๓ การประเมินผลและทบทวนธรรมนูญ ที่หมายถึงการประเมินผลว่าผลลัพธ์ หรือผลกระทบจากการมีธรรมนูญสุขภาพนั้นได้ส่งผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบอย่างไร อะไรที่เป็นปัญหาอุปสรรคและความสำเร็จ ประเด็นไหนควรจะมีการทบทวนแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ที่ได้เห็นการขับเคลื่อน “ธรรมนูญสุขภาพ” ในหลายพื้นที่พบว่าบางพื้นที่นำไปจัดทำเป็นข้อบังคับขององค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อการผูกโยงกับงบประมาณประจำปีของท้องถิ่นไปด้วย ซึ่งก็เป็นอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อน
นอกจากนั้นงานหลักใน ๒ ระยะข้างต้นแล้ว ยังไม่ควรละทิ้งงานสนับสนุนที่จะทำให้ “ธรรมนูญ” มีการดำเนินทุกขั้นตอนเป็นไปด้วยดี ได้แก่ งานสื่อสารสาธารณะ งานจัดการความรู้ และงานบริหารจัดการ ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญ
ทุกจังหวะของเวลาที่ค่อย ๆ ผ่านไปแต่ละวินาทีที่ผมเล่าแต่ละขั้นตอน สายตาของผู้เข้าประชุมที่เรียกตัวเองว่า “คณะกรรมการจัดทำธรรมนูญสุขภาพผู้สูงอายุตำบลเขาทอง” ที่เป็นผู้คนที่อยู่ในพื้นที่กว่า ๓๐ คน นั้นบ่งบอกให้เห็นถึงแววของความตั้งใจอย่างเต็มเปี่ยมในการเรียนรู้ อีกทั้งยังร่วมกันแสดงความคิดเห็นกันอย่างคึกคัก ทำให้ผมในฐานะผู้เล่าเรื่องมีความสุขและเกิดปิติยิ่งที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมเล็ก ๆ ในครั้งนี้
วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558
ฒ ผู้เฒ่าเขาทอง (๔)
๔ กันยายน ๒๕๕๘
ตะวันเริ่มลาลับจากพื้นโลก ความมืดเริ่มปกคลุมบริเวณมหาวิทยาลัยต้นมะขาม แสงไฟจากหลอดนีออนและไฟโคมเริ่มทยอยเปิด สว่างความสว่างไสวไปทั่วลานมหาวิทยาลัยแบบบ้าน ๆ
ท่ามกลางแสงสว่างใต้ต้นมะขามนั้น มีคำถามหนึ่ง ถูกยกขึ้นถามต่อทีมงาน
“ทำธรรมนูญสุขภาพแล้วได้อะไร”
นับเป็นคำถามที่แสนง่ายในการตั้งคำถาม แต่ช่างเป็นคำถามที่หาคำตอบยากจริง ๆ
อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ที่เคยฟังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากพื้นที่ที่มีการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ผมประมวลได้ว่า คุณค่าของธรรมนูญสุขภาพ มีอย่างน้อย ๔ ประการ คือ
หนึ่ง เป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางการพัฒนาชุมชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ที่สอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชนที่แท้จริง
สอง เป็นเครื่องมือในการยึดโยงให้ผู้คน หน่วยงาน องค์กร และเครือข่ายต่าง ๆ ในชุมชนให้เข้ามาทำงานด้วยกันภายใต้กรอบทิศทางเดียวกัน
สาม เป็นเครื่องมือในการระดมสรรพกำลังคน กำลังเงินจากแหล่งต่าง ๆ มาพัฒนางานภายใต้กรอบการพัฒนาเดียวกัน นำไปสู่การทำงานที่เสริมกำลังกัน ลดความซ้ำซ้อน เกิดการบูรณาการกันอย่างจริงจัง
สี่ เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความรักสามัคคีของคนในชุมชน
จากคุณค่า ๔ ประการข้างต้น หากเกิดในชุมชนใดชุมชนหนึ่ง ผลสุดท้ายก็ย่อมตกอยู่กับคนในชุมชนนั้น เพราะกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจะมีพื้นฐานมาจากความต้องการของคนในชุมชนที่เป็นปัญหาหรือภาพฝันที่แท้จริงของคนในชุมชน กิจกรรมไม่ได้จะฝากไว้ให้กับใครคนใดคนหนึ่ง แต่จะแบ่งหรือเป็นความรับผิดชอบของประชาชนในชุมชน ขององค์กร กลไกหรือหน่วยงานที่ทำงานหรือเข้าไปทำงานในชุมชนนั้น เกิดการบูรณาการงานกัน ขจัดความซ้ำซ้อน และนำไปสู่ความมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในที่สุด
และสิ่งเหล่านี้ก็คือ การจัดการตนเอง หรือการจัดการกันเองภายในชุมชน และจะนำไปสู่ความเป็น “ชุมชนเข้มแข็ง” ในที่สุด อันเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนที่เป็นภาพฝันที่ทุกคนใฝ่หา
แววตาของผู้ร่วมประชุมเริ่มให้การยอมรับถึงเป้าหมายว่าสิ่งที่เขาได้ฟังนั้น ผลประโยชน์ไม่ได้ตกอยู่กับผมและทีมงานที่เป็นคนนอกชุมชน แต่ผลประโยชน์สุดท้ายนั่นกลับตกอยู่กับคนในชุมชนนั้นเอง
มันเป็นความสุขที่ยากจะอธิบายได้หมดที่เกิดขึ้นในใจผมและทีมงาน
ตะวันเริ่มลาลับจากพื้นโลก ความมืดเริ่มปกคลุมบริเวณมหาวิทยาลัยต้นมะขาม แสงไฟจากหลอดนีออนและไฟโคมเริ่มทยอยเปิด สว่างความสว่างไสวไปทั่วลานมหาวิทยาลัยแบบบ้าน ๆ
ท่ามกลางแสงสว่างใต้ต้นมะขามนั้น มีคำถามหนึ่ง ถูกยกขึ้นถามต่อทีมงาน
“ทำธรรมนูญสุขภาพแล้วได้อะไร”
นับเป็นคำถามที่แสนง่ายในการตั้งคำถาม แต่ช่างเป็นคำถามที่หาคำตอบยากจริง ๆ
อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ที่เคยฟังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากพื้นที่ที่มีการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ผมประมวลได้ว่า คุณค่าของธรรมนูญสุขภาพ มีอย่างน้อย ๔ ประการ คือ
หนึ่ง เป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางการพัฒนาชุมชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ที่สอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชนที่แท้จริง
สอง เป็นเครื่องมือในการยึดโยงให้ผู้คน หน่วยงาน องค์กร และเครือข่ายต่าง ๆ ในชุมชนให้เข้ามาทำงานด้วยกันภายใต้กรอบทิศทางเดียวกัน
สาม เป็นเครื่องมือในการระดมสรรพกำลังคน กำลังเงินจากแหล่งต่าง ๆ มาพัฒนางานภายใต้กรอบการพัฒนาเดียวกัน นำไปสู่การทำงานที่เสริมกำลังกัน ลดความซ้ำซ้อน เกิดการบูรณาการกันอย่างจริงจัง
สี่ เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความรักสามัคคีของคนในชุมชน
จากคุณค่า ๔ ประการข้างต้น หากเกิดในชุมชนใดชุมชนหนึ่ง ผลสุดท้ายก็ย่อมตกอยู่กับคนในชุมชนนั้น เพราะกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจะมีพื้นฐานมาจากความต้องการของคนในชุมชนที่เป็นปัญหาหรือภาพฝันที่แท้จริงของคนในชุมชน กิจกรรมไม่ได้จะฝากไว้ให้กับใครคนใดคนหนึ่ง แต่จะแบ่งหรือเป็นความรับผิดชอบของประชาชนในชุมชน ขององค์กร กลไกหรือหน่วยงานที่ทำงานหรือเข้าไปทำงานในชุมชนนั้น เกิดการบูรณาการงานกัน ขจัดความซ้ำซ้อน และนำไปสู่ความมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในที่สุด
และสิ่งเหล่านี้ก็คือ การจัดการตนเอง หรือการจัดการกันเองภายในชุมชน และจะนำไปสู่ความเป็น “ชุมชนเข้มแข็ง” ในที่สุด อันเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนที่เป็นภาพฝันที่ทุกคนใฝ่หา
แววตาของผู้ร่วมประชุมเริ่มให้การยอมรับถึงเป้าหมายว่าสิ่งที่เขาได้ฟังนั้น ผลประโยชน์ไม่ได้ตกอยู่กับผมและทีมงานที่เป็นคนนอกชุมชน แต่ผลประโยชน์สุดท้ายนั่นกลับตกอยู่กับคนในชุมชนนั้นเอง
มันเป็นความสุขที่ยากจะอธิบายได้หมดที่เกิดขึ้นในใจผมและทีมงาน
วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558
ฒ ผู้เฒ่าเขาทอง (๓)
๑ กันยายน ๒๕๕๘
“ธรรมนูญสุขภาพ คืออะไร ?”
เป็นคำถามแรก ๆ ที่ผุดถามขึ้นภายใต้มหาวิทยาลัยต้นมะขาม ณ หน้ากุฏิเจ้าอาวาสวัดเขาทอง ซึ่งเป็นคำถามที่ดีมาก ๆ เพราะเป็นคำถามที่นำไปสู่การกำหนดเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน
หากจะตอบคำถามนี้ คงต้องย้อนกลับไปที่ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่บัญญัติไว้ให้มีการจัดทำ “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” เพื่อเป็นกรอบการพัฒนางานด้านสุขภาพขององค์กรต่าง ๆ ซึ่งคต่อมา ได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” ในปี ๒๕๕๒ และในคำปรารถของธรรมนูญระดับชาตินี้ได้เขียนไว้ว่า องค์กรหรือพื้นที่จะนำแนวคิดนี้ไปจัดทำ “ธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่” ได้
ซึ่งในปี ๒๕๕๒ ก็ได้เกิด “ธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่” ที่ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ซึ่งนับเป็นธรรมนูญสุขภาพตำบลแห่งแรกของประเทศไทย และในเวลาต่อ ๆ มา ก็เกิดธรรมนูญสุขภาพทั้งระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน รวมทั้งธรรมนูญสุขภาพเชิงประเด็นอีกมากมายนับร้อยแห่ง
และจากประสบการณ์การลงไปเรียนรู้จากพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีการจัดทำ “ธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่” ได้เห็นคนในชุมชนนั้น ๆ ได้ให้ความหมายไว้อย่างกว้างขวาง
บางชุมชนมองเป็นเป้าหมายหรือความฝันร่วม บางชุมชนมองเป็นข้อตกลง กฎ กติกา ร่วมกัน บางชุมชนมองเป็นศีลร่วม ในขณะที่บางชุมชนถือว่าเป็นวิสัยทัศน์ร่วมของคนในตำบลนั้น
และครั้งล่าสุด ได้มีโอกาสไปคุยกับคนภาคใต้ เขาเรียกธรรมนูญชุมชน ว่าคือ “ชันชี” หรือ “การตกลง หรือสัญญาร่วมกัน”
ฉะนั้นหากให้ผมนิยามความหมายของ “ธรรมนูญสุขภาพ” ก็สามารถให้ความหมายไว้ว่าเป็น “เป้าหมาย ความฝัน ศีล ข้อตกลง กฎ กติกา วิสัยทัศน์ ที่คนในชุมชนอยากเห็น อยากเป็น อยากมี ร่วมกัน อันนำไปสู่การมีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดี” นั่นเอง
แม้จะมอง “ธรรมนูญสุขภาพ” ของแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน แต่มีจุดที่เหมือนกันก็คือ “สิ่งเหล่านั้นต้องเป็นสิ่งที่คนในชุมชนอยากเห็น อยากเป็น อยากมี ร่วมกัน และเห็นว่าสิ่งนั้นจะนำไปสู่การมีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชุมชน”
ในเวทีครั้งนี้ ผมเน้นย้ำไว้ว่า “ไม่ว่าเราจะเรียกเครื่องมือนี้ว่าอะไรก็ตาม สาระสำคัญที่สุดคือ ธรรมนูญเป็นเครื่องมือที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ชุมชนท้องถิ่น เพราะเครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือที่มีชีวิตและทรงอำนาจมากกว่าเครื่องมือไหนๆ กฎหมายฉบับใดๆ เพราะถูกออกแบบด้วยคนในชุมชนผู้เป็นเจ้าของปัญหา ผ่านการมีเวทีและปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนนำไปสู่การจัดการสิ่งละอันพันละอย่างที่เป็นปัญหาในชุมชนร่วมกัน"
จากความหมายนี้ “ธรรมนูญสุขภาพ” จึงทำงานที่ยึดโยงกับหลักการสำคัญ อย่างน้อย ๔ ประการคือ
หนึ่ง : การสร้างการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่อย่างกว้างขวาง ทั้งท้องถิ่น (อบต. เทศบาล) ท้องที่ (ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน) ท้องทุ่ง (สมาคม มูลนิธิ เครือข่าย ชมรม กลุ่มคน) และหน่วยงานต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ (โรงเรียน วัด รพ.สต. เกษตรตำบล เป็นต้น)
สอง : ยึดโยงกับรากเหง้าและสอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนในแต่ละพื้นที่
สาม : ความเป็นเจ้าของร่วมกัน ไม่ใช่เป็นของใคร หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ทุกคนต้องจำเป็นต้องใช้ธรรมนูญชุมชนเป็นกรอบในการประพฤติปฏิบัติตัวตามเนื้อหาสาระที่เขียนไว้ในธรรมนูญชุมชน
สี่ : พื้นที่จัดการกันเองเป็นหลัก โดยไม่ต้องรอองค์กรภายนอกมาจัดการให้
และจากการถอดบทเรียนจากพื้นที่ที่มีการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ จะพบว่ามีปัจจัยแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วย
หนึ่ง : ต้องกินได้ และเข้าใจง่าย อันหมายถึง เกิดประโยชน์กับคนในชุมชนนั้น ๆ และเมื่ออ่านแล้วเข้าใจทันที ไม่มีศัพท์แสงทางวิชาการที่ต้องตีความกันหลายตลบ
สอง : มาจากคนในพื้นที่ และเปิดกว้างให้ผู้คนในชุมชนได้เข้ามาร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมติดตาม ร่วมได้ประโยชน์ ฉะนั้นจึงไม่ควรคัดลอกเนื้อหาสาระมาจากธรรมนูญของพื้นที่อื่นมาใช้ และไม่ควรเชื่อความคิดเห็นจากบุคคลภายนอกที่เสนอให้เป็นแบบโน้นแบบนี้
สาม : การรับรู้เป็นเรื่องสำคัญ จึงควรมีการสื่อสารให้คนในพื้นที่รับรู้อย่างทั่วถึง โดยช่องทาง ๆ ที่เหมาะสมกับคนในชุมชน อาทิ แผ่นพับ ป้ายโปสเตอร์ หอกระจายข่าว วิทยุชุมชน การรณรงค์ในวาระสำคัญต่าง ๆ เป็นต้น
สี่ : ปรับปรุง ทบทวนและเพิ่มเติมได้ จึงไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องความสมบูรณ์ในเนื้อหามากนัก เพราะเมื่อใช้ธรรมนูญชุมชนไปสักระยะหนึ่ง ก็นำมาพิจารณาว่าจะปรับปรุง หรือทบทวนธรรมนูญในข้อใดก็ได้ หรืออาจจะขอเพิ่มเติมเนื้อหาบางประการลงไปใหม่ก็ได้ โดยยึดหลักการสำคัญ ๔ ประการข้างต้น
ห้า : มีคนเกาะติด โดยคน ๆ นั้น ควรเป็นคนที่มีจิตสำนึก จิตสาธารณะ จิตอาสา และจิตเข้มแข็ง ในการทำงาน
นี่คือความเป็นมา ความหมาย หลักการและปัจจัยแห่งความสำเร็จของ “ธรรมนูญสุขภาพ” ที่ได้นำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในมหาวิทยาลัยต้นมะขามในวันนั้น
“ธรรมนูญสุขภาพ คืออะไร ?”
เป็นคำถามแรก ๆ ที่ผุดถามขึ้นภายใต้มหาวิทยาลัยต้นมะขาม ณ หน้ากุฏิเจ้าอาวาสวัดเขาทอง ซึ่งเป็นคำถามที่ดีมาก ๆ เพราะเป็นคำถามที่นำไปสู่การกำหนดเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน
หากจะตอบคำถามนี้ คงต้องย้อนกลับไปที่ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่บัญญัติไว้ให้มีการจัดทำ “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” เพื่อเป็นกรอบการพัฒนางานด้านสุขภาพขององค์กรต่าง ๆ ซึ่งคต่อมา ได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” ในปี ๒๕๕๒ และในคำปรารถของธรรมนูญระดับชาตินี้ได้เขียนไว้ว่า องค์กรหรือพื้นที่จะนำแนวคิดนี้ไปจัดทำ “ธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่” ได้
ซึ่งในปี ๒๕๕๒ ก็ได้เกิด “ธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่” ที่ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ซึ่งนับเป็นธรรมนูญสุขภาพตำบลแห่งแรกของประเทศไทย และในเวลาต่อ ๆ มา ก็เกิดธรรมนูญสุขภาพทั้งระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน รวมทั้งธรรมนูญสุขภาพเชิงประเด็นอีกมากมายนับร้อยแห่ง
และจากประสบการณ์การลงไปเรียนรู้จากพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีการจัดทำ “ธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่” ได้เห็นคนในชุมชนนั้น ๆ ได้ให้ความหมายไว้อย่างกว้างขวาง
บางชุมชนมองเป็นเป้าหมายหรือความฝันร่วม บางชุมชนมองเป็นข้อตกลง กฎ กติกา ร่วมกัน บางชุมชนมองเป็นศีลร่วม ในขณะที่บางชุมชนถือว่าเป็นวิสัยทัศน์ร่วมของคนในตำบลนั้น
และครั้งล่าสุด ได้มีโอกาสไปคุยกับคนภาคใต้ เขาเรียกธรรมนูญชุมชน ว่าคือ “ชันชี” หรือ “การตกลง หรือสัญญาร่วมกัน”
ฉะนั้นหากให้ผมนิยามความหมายของ “ธรรมนูญสุขภาพ” ก็สามารถให้ความหมายไว้ว่าเป็น “เป้าหมาย ความฝัน ศีล ข้อตกลง กฎ กติกา วิสัยทัศน์ ที่คนในชุมชนอยากเห็น อยากเป็น อยากมี ร่วมกัน อันนำไปสู่การมีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดี” นั่นเอง
แม้จะมอง “ธรรมนูญสุขภาพ” ของแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน แต่มีจุดที่เหมือนกันก็คือ “สิ่งเหล่านั้นต้องเป็นสิ่งที่คนในชุมชนอยากเห็น อยากเป็น อยากมี ร่วมกัน และเห็นว่าสิ่งนั้นจะนำไปสู่การมีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชุมชน”
ในเวทีครั้งนี้ ผมเน้นย้ำไว้ว่า “ไม่ว่าเราจะเรียกเครื่องมือนี้ว่าอะไรก็ตาม สาระสำคัญที่สุดคือ ธรรมนูญเป็นเครื่องมือที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ชุมชนท้องถิ่น เพราะเครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือที่มีชีวิตและทรงอำนาจมากกว่าเครื่องมือไหนๆ กฎหมายฉบับใดๆ เพราะถูกออกแบบด้วยคนในชุมชนผู้เป็นเจ้าของปัญหา ผ่านการมีเวทีและปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนนำไปสู่การจัดการสิ่งละอันพันละอย่างที่เป็นปัญหาในชุมชนร่วมกัน"
จากความหมายนี้ “ธรรมนูญสุขภาพ” จึงทำงานที่ยึดโยงกับหลักการสำคัญ อย่างน้อย ๔ ประการคือ
หนึ่ง : การสร้างการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่อย่างกว้างขวาง ทั้งท้องถิ่น (อบต. เทศบาล) ท้องที่ (ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน) ท้องทุ่ง (สมาคม มูลนิธิ เครือข่าย ชมรม กลุ่มคน) และหน่วยงานต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ (โรงเรียน วัด รพ.สต. เกษตรตำบล เป็นต้น)
สอง : ยึดโยงกับรากเหง้าและสอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนในแต่ละพื้นที่
สาม : ความเป็นเจ้าของร่วมกัน ไม่ใช่เป็นของใคร หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ทุกคนต้องจำเป็นต้องใช้ธรรมนูญชุมชนเป็นกรอบในการประพฤติปฏิบัติตัวตามเนื้อหาสาระที่เขียนไว้ในธรรมนูญชุมชน
สี่ : พื้นที่จัดการกันเองเป็นหลัก โดยไม่ต้องรอองค์กรภายนอกมาจัดการให้
และจากการถอดบทเรียนจากพื้นที่ที่มีการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ จะพบว่ามีปัจจัยแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วย
หนึ่ง : ต้องกินได้ และเข้าใจง่าย อันหมายถึง เกิดประโยชน์กับคนในชุมชนนั้น ๆ และเมื่ออ่านแล้วเข้าใจทันที ไม่มีศัพท์แสงทางวิชาการที่ต้องตีความกันหลายตลบ
สอง : มาจากคนในพื้นที่ และเปิดกว้างให้ผู้คนในชุมชนได้เข้ามาร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมติดตาม ร่วมได้ประโยชน์ ฉะนั้นจึงไม่ควรคัดลอกเนื้อหาสาระมาจากธรรมนูญของพื้นที่อื่นมาใช้ และไม่ควรเชื่อความคิดเห็นจากบุคคลภายนอกที่เสนอให้เป็นแบบโน้นแบบนี้
สาม : การรับรู้เป็นเรื่องสำคัญ จึงควรมีการสื่อสารให้คนในพื้นที่รับรู้อย่างทั่วถึง โดยช่องทาง ๆ ที่เหมาะสมกับคนในชุมชน อาทิ แผ่นพับ ป้ายโปสเตอร์ หอกระจายข่าว วิทยุชุมชน การรณรงค์ในวาระสำคัญต่าง ๆ เป็นต้น
สี่ : ปรับปรุง ทบทวนและเพิ่มเติมได้ จึงไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องความสมบูรณ์ในเนื้อหามากนัก เพราะเมื่อใช้ธรรมนูญชุมชนไปสักระยะหนึ่ง ก็นำมาพิจารณาว่าจะปรับปรุง หรือทบทวนธรรมนูญในข้อใดก็ได้ หรืออาจจะขอเพิ่มเติมเนื้อหาบางประการลงไปใหม่ก็ได้ โดยยึดหลักการสำคัญ ๔ ประการข้างต้น
ห้า : มีคนเกาะติด โดยคน ๆ นั้น ควรเป็นคนที่มีจิตสำนึก จิตสาธารณะ จิตอาสา และจิตเข้มแข็ง ในการทำงาน
นี่คือความเป็นมา ความหมาย หลักการและปัจจัยแห่งความสำเร็จของ “ธรรมนูญสุขภาพ” ที่ได้นำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในมหาวิทยาลัยต้นมะขามในวันนั้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)