๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐
พระสงฆ์ถือเป็นแก้วดวงหนึ่งในสามดวงแห่งพระรัตนตรัยในพระพุทธศาสนา จึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่ชาวพุทธต้องช่วยกันทำให้แก้วใบนี้สุกสกาวเพื่อทำหน้าที่เผยแพร่และสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนไปอย่างยาวนาน
ปัญหาหนึ่งที่กำลังถาโถมเข้ามาทำลายแก้วดวงนี้ให้มัวหมองและเสื่อมสลายลงนั่นคือ “ปัญหาสุขภาพ”
เคยมีการสำรวจเมื่อหลายปีก่อน ได้ทำการตรวจคัดกรองสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ทั่วประเทศเกือบหมื่นรูป พบว่า พระภิกษุเกือบ ๑ ใน ๓ มีภาวะเจ็บป่วย โดยป่วยเป็นโรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคปอด และโรคหัวใจและหลอดเลือด
นอกจากนั้นยังพบพระสงฆ์ที่มีพฤติกรรมสุขภาพเสี่ยงทั้งการสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอในสัดส่วนที่สูงมาก
ผมดีใจเป็นอย่างมากที่ทราบว่า ในคราวการประชุมมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐ ได้มีมติที่สำคัญเรื่องการดำเนินงานพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ กำหนดให้มีการดำเนินพัฒนาวัดให้เป็น “วัดส่งเสริมสุขภาพ” และให้มีการจัดทำ “ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ” ขึ้น
ในเรื่องการจัดทำธรรมนูญสุขภาวะพระสงฆ์แห่งชาตินั้น ได้กำหนดเป้าหมายไว้ ๓ ประการ คือ พระสงฆ์กับการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักพระธรรมวินัย ชุมชนและสังคมกับการดูแลอุปัฏฐากพระสงฆ์ที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย และบทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม โดยให้ยึดหลักการสำคัญคือ “การใช้ทางธรรมนำทางโลก”
ผมได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะที่เป็นกลไกดำเนินตามมติมหาเถรสมาคมดังกล่าว ให้เข้าไปร่วมเป็นคณะทำงานจัดทำธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติครั้งนี้
คณะทำงานชุดนี้มีพระพรหมวชิรญาณ และพระพรหมบัณฑิต เป็นที่ปรึกษา มีพระราชวรมุนี รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธาน และมีพระสงฆ์และคณาจารย์จาก มจร. และเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นฝ่ายเลขานุการ
คณะทำงานชุดนี้ทำงานกันอย่างหนัก ภายใต้ระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้น เป้าหมายคือการประกาศใช้ในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๒ ธันวาคม ศกนี้
กระบวนการทำงานเริ่มตั้งแต่การระดมสมองจากนักวิชาการด้านสุขภาพและด้านพระพุทธศาสนา จนได้ร่างธรรมนูญฯ แล้วนำไปเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ๕ เวที
จนเมื่อวันที่ ๒๗ – ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๐ ทีมวิชาการชุดเล็กได้มารวมตัวกัน ปรับปรุงร่างตามข้อเสนอแนะที่ได้จากเวทีรับฟังความคิดเห็นมา
เนื้อหาของธรรมนูญฉบับนี้แบ่งออกเป็น
บทนำ ประกอบด้วย คำปรารถ และคำนิยามศัพท์
หมวด ๑ ปรัชญาและแนวคิดหลักของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ มี ๖ ข้อ
หมวด ๒ พระสงฆ์กับการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักพระธรรมวินัย มี ๘ ข้อ
หมวด ๓ ชุมชนและสังคมกับการดูแลอุปัฏฐากพระสงฆ์ที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย มี ๑๐ ข้อ
หมวด ๔ บทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม มี ๕ ข้อ และ
หมวด ๕ การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติสู่การปฏิบัติ มี ๘ ข้อ
รวมทั้งสิ้น ๓๗ ข้อ
ในที่นี้ผมขอยกตัวอย่างสาระในธรรมนูญฯ ฉบับนี้ที่เกี่ยวข้องกับระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งเป็นองค์กรต้นสังกัดที่ผมทำงานอยู่ ได้แก่
“ข้อ ๑๑ วัดพึงส่งเสริมให้พระสงฆ์มีความรู้ ความเข้าใจในระบบบริการสาธารณสุข และชุดสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานในระบบหลักประกันสุขภาพเพื่อประโยชน์ในการดูแลสุขภาพตนเอง อุปัชฌาย์อาจารย์และสหธรรมิก”
“ข้อ ๑๘ รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพึงจัดชุดสิทธิประโยชน์พื้นฐานในระบบหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การควบคุมโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่พระสงฆ์อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม"
“ข้อ ๑๙ อปท. และชุมชน พึงสนับสนุนให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การควบคุมโรค และการจัดการปัจจัยที่คุกคามสุขภาพของพระสงฆ์ โดยใช้งบประมาณของ อปท. และกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และแหล่งงบประมาณอื่น ๆ”
ในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติ ทีมงานวิชาการคุยกันว่า สมควรจัดตั้งกลไกที่เป็นทางการทำหน้าที่ขับเคลื่อน ติดตาม ประเมินผลรวมทั้งทบทวนธรรมนูญตามระยะเวลาที่เหมาะสม
นับเป็นความก้าวหน้าของประเทศไทยในการที่สังคมได้หันมาให้ความสำคัญกับพระสงฆ์ หนึ่งในสามแห่งพระรัตนตรัยครั้งนี้
พวกเราในฐานะพุทธศาสนิกชน สามารถมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของแก้วดวงนี้ได้ด้วยตนเอง ทั้งการถวายอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ไม่ถวายสิ่งที่ทำลายสุขภาพของพระสงฆ์ รวมทั้งเปิดโอกาสให้พระสงฆ์เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาชุมชนและสังคมในภารกิจที่ท่านทำอยู่ก็ถือเป็นการนำธรรมนูญสุขภาพไปสู่การปฏิบัติด้วย
เรามาร่วมมือกันขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมกันเถิด เพราะหากพระสงฆ์แข็งแรง ก็จะนำไปสู่วัดมั่นคง และชุมชนเข้มแข็งสืบไป
วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560
วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560
เขตสุขภาพเพื่อประชาชน
๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐
อะไรน่ะ ? ต้องเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในสมองของคุณอย่างแน่นอนเมื่ออ่านเจอคำคำนี้
แล้วมันคืออะไรกันล่ะ มันเป็นเรื่องของกระทรวงสาธารณสุขหรือ เราคงไม่เกี่ยว พลิกไปอ่านเรื่องอื่นดีกว่า และถ้าคุณคิดเช่นนั้น บอกได้เลยว่าคุณกำลังเสียโอกาสที่สำคัญยิ่งในชีวิตไป
เพราะเรื่อง “เขตสุขภาพเพื่อประชาชน” นี้สำคัญมากกับชีวิตของคุณ และรวมไปถึงครอบครัวคุณ ชุมชนของคุณ สังคมและประเทศชาติของคุณ เพราะเรื่องนี้มันอยู่กับตัวคุณไปทุกขณะ
ผมอยากกล่าวย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า เรื่องของสุขภาพนั้นในปัจจุบันได้ขยายวงออกไปกว้างขวางมาก ขยายทั้งเชิงความหมาย เชิงขอบเขตและเชิงผู้เล่น หรือผู้ที่ต้องเข้ามามีบทบาทในการสร้างสุขภาพ
แม้นคุณจะร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐี คุณจะทำหน้าที่หรือบทบาทใดในสังคม หรือคุณจะอายุเท่าใด ก็ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องของสุขภาพ แต่จะเกี่ยวข้องในฐานะผู้ถูกกระทำตั้งในฐานะเป็นผู้กระทำเท่านั้นเอง
รัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังขับเคลื่อนประเทศเราให้เป็นประเทศไทย ๔.๐ ที่มีเป้าหมายสำคัญคือ “มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน” จำเป็นอย่างยิ่งที่คนในชาติต้องช่วยกันขับเคลื่อน ไม่นอนรอรับผลจากการกระทำของคนอื่นแต่เพียงฝ่ายเดียว
และที่สำคัญการจะบรรลุเป้าหมายนั้นได้ คนไทยต้องเป็นคนที่มีสุขภาพที่ดีด้วย
ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้ามากในการปฏิรูประบบสุขภาพ จนมีการตรากฎหมายรับรองความหมายของคำว่า “สุขภาพ” ว่ามีขอบเขตกว้างครอบคลุมทั้งมิติทางกาย ทางใจ ทางปัญญาและทางสังคม ทำให้เกิดการขยายวงคนทำงานให้เข้ามาร่วมมือกันสร้างสุขภาพ ไม่จำกัดไว้แค่หน่วยงานและองค์กรภาครัฐเท่านั้น
ยุทธศาสตร์ “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” คือหลักการสำคัญในการสร้างสุขภาพของประเทศไทยที่หมายถึงต้องดึงพลังความรู้ พลังทางนโยบายและการเมืองและพลังทางสังคมเข้ามาร่วมกันเขยื้อนภูเขาหรือปัญหาอุปสรรคที่ขวางกั้นนั้นให้หมดหรือลดน้อยลง เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีของคนในชาติ
แนวคิดนี้จึงทำให้เกิดองค์กรของรัฐในประเทศไทยมากมายเพื่อไปหนุนเสริมการทำงานในการสานพลังทั้งสามนี้ให้เข้ามาทำงานด้วยกันอย่างพี่อย่างน้อง พูดคุยแบบปรึกษาหารือกัน ช่วยกันคิด ต่อเติมเสริมแต่งและช่วยกันไปขับเคลื่อนชุมชนสังคมตามที่แต่ละคนมีแต่ละคนถนัด
“องค์กรตระกูล ส.” เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เป็นรูปธรรม สวรส. หรือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข มีบทบาทหลักในการสร้างงานวิชาการและองค์ความรู้ สสส. หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ในการสร้างสุขภาพ สปสช. หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีหน้าที่สำคัญในเรื่องการสร้างหลักประกันด้านสุขภาพให้กับประชาชน สช. หรือสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ทำหน้าที่ในการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี โดยองค์กรเหล่านี้ต้องทำงานร่วมกับ สธ. หรือกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นองค์กรหลักในระบบสาธารณสุขของประเทศ
นอกเหนือจากองค์กรตระกูล ส. แล้วยังองค์กรมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของสุขภาพอีกมากมายทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อม อาทิ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน หรือ พอช. ที่มีบทบาทตามชื่อองค์กรคือการหนุนเสริมองค์กรชุมชนให้เข้ามามีส่วนในการสร้างสุขภาพ ผ่านงานชุมชนเข้มแข็ง งานสัมมาชีพ บ้านมั่นคง สภาองค์กรชุมชน รวมทั้งสวัสดิการชุมชน เป็นต้น
นอกจากองค์กรของรัฐที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีองค์กรภาควิชาการ อาทิ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย องค์กรภาคประชาสังคม ทั้งที่เป็นมูลนิธิ สมาคม ชมรม เครือข่าย ทั้งที่เป็นภาคธุรกิจ เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย องค์กรสื่อ และภาคประชาชนอีกนับหมื่นองค์กรกระจายตัวทำงานอยู่ในแต่ละจังหวัด
นี่คือความหลากหลายที่สวยงามของผู้เล่นในระบบสุขภาพ จนมีนักวิชาการบางท่านเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในประเทศไทยว่า “เป็นระบบพหุลักษณ์” ที่หมายถึงมีความหลากหลายและซับซ้อนมากมาย จากกรอบแนวคิดข้างต้นนี้ ทำให้การประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เมื่อในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย) เป็นประธาน ได้หยิบเรื่องนี้มาปรึกษาหารือกัน และในที่สุดก็ได้มีมติให้นำเรื่องนี้ไปขบคิดกันต่อระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และในวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ได้มีการนำประเด็นนั้นมาคุยกันต่อ และท้ายสุดที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกันว่าควรจะพัฒนากลไกหรือเครื่องมือเพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพ โดยในระยะเร่งด่วนเสนอให้มีการจัดตั้ง “เขตสุขภาพเพื่อประชาชน” ขึ้น
ข้อเสนอนี้ได้ถูกนำเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และหัวหน้า คสช. (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ได้อนุมัติในวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๗ ให้จัดตั้งกลไกนี้ตามที่เสนอได้ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ระยะเวลาที่ผ่านไปประมาณ ๒ ปี บัดนี้รัฐบาลได้มีการประกาศใช้ “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน พ.ศ. ๒๕๕๙” ผ่านทางราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๙ เรียบร้อยแล้ว
หลักการสำคัญของ “เขตสุขภาพเพื่อประชาชน” ได้ถูกกำหนดไว้ ๔ ประการ คือ (๑) การยึดประโยชน์สุข สุขภาวะประชาชนในเขตพื้นที่เป็นศูนย์กลาง (๒) การยึดหลักการ ทิศทางและแนวทางสำคัญของการปฏิรูประบบสุขภาพภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย ตามมติ ๖.๘ ของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นกรอบในการดำเนินการ (๓) กลไกนี้จะทำงานด้วยกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมตามภารกิจ โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน และ (๔) เน้นการประสานพลังปัญญา พลังสังคมและพลังรัฐตามยุทธศาสตร์ “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา”
เป้าประสงค์สำคัญก็คือต้องการให้กลไกนี้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพแบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในระดับพื้นที่ และสอดคล้องต่อความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชน ครอบครัวและชุมชนในพื้นที่
เห็นไหมล่ะ คุณคือคนหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับ “เขตสุขภาพเพื่อสุขภาพ” ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้อย่างแน่นอน
อะไรน่ะ ? ต้องเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในสมองของคุณอย่างแน่นอนเมื่ออ่านเจอคำคำนี้
แล้วมันคืออะไรกันล่ะ มันเป็นเรื่องของกระทรวงสาธารณสุขหรือ เราคงไม่เกี่ยว พลิกไปอ่านเรื่องอื่นดีกว่า และถ้าคุณคิดเช่นนั้น บอกได้เลยว่าคุณกำลังเสียโอกาสที่สำคัญยิ่งในชีวิตไป
เพราะเรื่อง “เขตสุขภาพเพื่อประชาชน” นี้สำคัญมากกับชีวิตของคุณ และรวมไปถึงครอบครัวคุณ ชุมชนของคุณ สังคมและประเทศชาติของคุณ เพราะเรื่องนี้มันอยู่กับตัวคุณไปทุกขณะ
ผมอยากกล่าวย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า เรื่องของสุขภาพนั้นในปัจจุบันได้ขยายวงออกไปกว้างขวางมาก ขยายทั้งเชิงความหมาย เชิงขอบเขตและเชิงผู้เล่น หรือผู้ที่ต้องเข้ามามีบทบาทในการสร้างสุขภาพ
แม้นคุณจะร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐี คุณจะทำหน้าที่หรือบทบาทใดในสังคม หรือคุณจะอายุเท่าใด ก็ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องของสุขภาพ แต่จะเกี่ยวข้องในฐานะผู้ถูกกระทำตั้งในฐานะเป็นผู้กระทำเท่านั้นเอง
รัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังขับเคลื่อนประเทศเราให้เป็นประเทศไทย ๔.๐ ที่มีเป้าหมายสำคัญคือ “มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน” จำเป็นอย่างยิ่งที่คนในชาติต้องช่วยกันขับเคลื่อน ไม่นอนรอรับผลจากการกระทำของคนอื่นแต่เพียงฝ่ายเดียว
และที่สำคัญการจะบรรลุเป้าหมายนั้นได้ คนไทยต้องเป็นคนที่มีสุขภาพที่ดีด้วย
ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้ามากในการปฏิรูประบบสุขภาพ จนมีการตรากฎหมายรับรองความหมายของคำว่า “สุขภาพ” ว่ามีขอบเขตกว้างครอบคลุมทั้งมิติทางกาย ทางใจ ทางปัญญาและทางสังคม ทำให้เกิดการขยายวงคนทำงานให้เข้ามาร่วมมือกันสร้างสุขภาพ ไม่จำกัดไว้แค่หน่วยงานและองค์กรภาครัฐเท่านั้น
ยุทธศาสตร์ “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” คือหลักการสำคัญในการสร้างสุขภาพของประเทศไทยที่หมายถึงต้องดึงพลังความรู้ พลังทางนโยบายและการเมืองและพลังทางสังคมเข้ามาร่วมกันเขยื้อนภูเขาหรือปัญหาอุปสรรคที่ขวางกั้นนั้นให้หมดหรือลดน้อยลง เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีของคนในชาติ
แนวคิดนี้จึงทำให้เกิดองค์กรของรัฐในประเทศไทยมากมายเพื่อไปหนุนเสริมการทำงานในการสานพลังทั้งสามนี้ให้เข้ามาทำงานด้วยกันอย่างพี่อย่างน้อง พูดคุยแบบปรึกษาหารือกัน ช่วยกันคิด ต่อเติมเสริมแต่งและช่วยกันไปขับเคลื่อนชุมชนสังคมตามที่แต่ละคนมีแต่ละคนถนัด
“องค์กรตระกูล ส.” เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เป็นรูปธรรม สวรส. หรือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข มีบทบาทหลักในการสร้างงานวิชาการและองค์ความรู้ สสส. หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ในการสร้างสุขภาพ สปสช. หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีหน้าที่สำคัญในเรื่องการสร้างหลักประกันด้านสุขภาพให้กับประชาชน สช. หรือสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ทำหน้าที่ในการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี โดยองค์กรเหล่านี้ต้องทำงานร่วมกับ สธ. หรือกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นองค์กรหลักในระบบสาธารณสุขของประเทศ
นอกเหนือจากองค์กรตระกูล ส. แล้วยังองค์กรมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของสุขภาพอีกมากมายทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อม อาทิ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน หรือ พอช. ที่มีบทบาทตามชื่อองค์กรคือการหนุนเสริมองค์กรชุมชนให้เข้ามามีส่วนในการสร้างสุขภาพ ผ่านงานชุมชนเข้มแข็ง งานสัมมาชีพ บ้านมั่นคง สภาองค์กรชุมชน รวมทั้งสวัสดิการชุมชน เป็นต้น
นอกจากองค์กรของรัฐที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีองค์กรภาควิชาการ อาทิ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย องค์กรภาคประชาสังคม ทั้งที่เป็นมูลนิธิ สมาคม ชมรม เครือข่าย ทั้งที่เป็นภาคธุรกิจ เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย องค์กรสื่อ และภาคประชาชนอีกนับหมื่นองค์กรกระจายตัวทำงานอยู่ในแต่ละจังหวัด
นี่คือความหลากหลายที่สวยงามของผู้เล่นในระบบสุขภาพ จนมีนักวิชาการบางท่านเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในประเทศไทยว่า “เป็นระบบพหุลักษณ์” ที่หมายถึงมีความหลากหลายและซับซ้อนมากมาย จากกรอบแนวคิดข้างต้นนี้ ทำให้การประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เมื่อในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย) เป็นประธาน ได้หยิบเรื่องนี้มาปรึกษาหารือกัน และในที่สุดก็ได้มีมติให้นำเรื่องนี้ไปขบคิดกันต่อระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และในวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ได้มีการนำประเด็นนั้นมาคุยกันต่อ และท้ายสุดที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกันว่าควรจะพัฒนากลไกหรือเครื่องมือเพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพ โดยในระยะเร่งด่วนเสนอให้มีการจัดตั้ง “เขตสุขภาพเพื่อประชาชน” ขึ้น
ข้อเสนอนี้ได้ถูกนำเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และหัวหน้า คสช. (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ได้อนุมัติในวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๗ ให้จัดตั้งกลไกนี้ตามที่เสนอได้ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ระยะเวลาที่ผ่านไปประมาณ ๒ ปี บัดนี้รัฐบาลได้มีการประกาศใช้ “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน พ.ศ. ๒๕๕๙” ผ่านทางราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๙ เรียบร้อยแล้ว
หลักการสำคัญของ “เขตสุขภาพเพื่อประชาชน” ได้ถูกกำหนดไว้ ๔ ประการ คือ (๑) การยึดประโยชน์สุข สุขภาวะประชาชนในเขตพื้นที่เป็นศูนย์กลาง (๒) การยึดหลักการ ทิศทางและแนวทางสำคัญของการปฏิรูประบบสุขภาพภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย ตามมติ ๖.๘ ของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นกรอบในการดำเนินการ (๓) กลไกนี้จะทำงานด้วยกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมตามภารกิจ โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน และ (๔) เน้นการประสานพลังปัญญา พลังสังคมและพลังรัฐตามยุทธศาสตร์ “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา”
เป้าประสงค์สำคัญก็คือต้องการให้กลไกนี้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพแบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในระดับพื้นที่ และสอดคล้องต่อความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชน ครอบครัวและชุมชนในพื้นที่
เห็นไหมล่ะ คุณคือคนหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับ “เขตสุขภาพเพื่อสุขภาพ” ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้อย่างแน่นอน
หลักการทรงงานพระราชา
๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๐
ผ่านไปแล้วสำหรับเดือนตุลาคม ๒๕๖๐ ซึ่งถือเป็นเดือนที่ประชาชนคนไทยเศร้าอาลัยไปทั้งแผ่นดิน เพราะเป็นเดือนแห่งพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร หรือ พ่อหลวงอันเป็นที่รักยิ่งพวกเรา
ในโอกาสนี้ ผมใคร่ขอน้อมนำ “หลักการทรงงาน” ของพ่อหลวงซึ่งคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ได้ทำการรวบรวมหลักการทรงงานของพระองค์ท่านไว้ว่ามีรวมทั้งสิ้น ๒๓ หลักการ ประกอบด้วย
๑. จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ : ทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบจากข้อมูลเบื้องต้น ทั้งเอกสาร แผนที่ สอบถามจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และราษฎรในพื้นที่ให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้อง เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้จริงอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามเป้าหมาย
๒. ระเบิดจากภายใน : จะทำการใด ๆ ต้องเริ่มจากคนที่เกี่ยวข้องเสียก่อน ต้องสร้างความเข้มแข็งจากภายในให้เกิดความเข้าใจและอยากทำ ไม่ใช่การสั่งให้ทำ
๓. แก้ปัญหาจากจุดเล็ก : ควรมองปัญหาภาพรวมก่อนเสมอ แต่เมื่อจะลงมือแก้ปัญหานั้น ควรมองในสิ่งที่คนมักจะมองข้าม แล้วเริ่มแก้ปัญหาจากจุดเล็กๆ เสียก่อน เมื่อสำเร็จแล้วจึงค่อยๆ ขยับขยายแก้ไปเรื่อยๆ ทีละจุด
๔. ทำตามลำดับขั้น : เริ่มต้นจากการลงมือทำในสิ่งที่จำเป็นก่อน เมื่อสำเร็จแล้วก็เริ่มลงมือสิ่งที่จำเป็นลำดับต่อไป ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง ถ้าทำตามหลักนี้ได้ งานทุกสิ่งก็จะสำเร็จได้โดยง่าย
๕. ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ : การพัฒนาใดๆ ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศของบริเวณนั้นว่าเป็นอย่างไร และสังคมวิทยาเกี่ยวกับลักษณะนิสัยใจคอคน ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน
๖. ทำงานแบบองค์รวม : ใช้วิธีคิดเพื่อการทำงาน โดยวิธีคิดอย่างองค์รวม คือการมองสิ่งต่างๆ ที่เกิดอย่างเป็นระบบครบวงจร ทุกสิ่งทุกอย่างมีมิติเชื่อมต่อกัน มองสิ่งที่เกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง
๗. ไม่ติดตำรา : เมื่อเราจะทำการใดนั้น ควรทำงานอย่างยืดหยุ่นกับสภาพและสถานการณ์นั้นๆ ไม่ใช่การยึดติดอยู่กับแค่ในตำราวิชาการ เพราะบางที่ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด บางครั้งเรายึดติดทฤษฎีมากจนเกินไปจนทำอะไรไม่ได้เลย
๘. รู้จักประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด : ในการพัฒนาและช่วยเหลือราษฎร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงใช้หลักในการแก้ปัญหาด้วยความเรียบง่ายและประหยัด ราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้ในท้องถิ่นและประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นมาแก้ไข ปรับปรุง โดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากมากนัก
๙. ทำให้ง่าย : ทรงคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุงและแก้ไขงาน การพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริไปได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนและที่สำคัญอย่างยิ่งคือ สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนและระบบนิเวศโดยรวม “ทำให้ง่าย”
๑๐. การมีส่วนร่วม : ทรงเป็นนักประชาธิปไตย ทรงเปิดโอกาสให้สาธารณชน ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับได้มาร่วมแสดงความคิดเห็น “สำคัญที่สุดจะต้องหัดทำใจให้กว้างขวาง หนักแน่น รู้จักรับฟังความคิดเห็น แม้กระทั่งความวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นอย่างฉลาดนั้น แท้จริงคือ การระดมสติปัญญาละประสบการณ์อันหลากหลายมาอำนวยการปฏิบัติบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จที่สมบูรณ์นั่นเอง”
๑๑. ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม : พระองค์ทรงระลึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
๑๒. บริการที่จุดเดียว : ทรงจัดให้มีศูนย์ศึกษาการพัฒนาหลายแห่งทั่วประเทศโดยใช้หลักการ “การบริการรวมที่จุดเดียว : One Stop Service” โดยทรงเน้นเรื่องรู้รักสามัคคีและการร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันด้วยการปรับลดช่องว่างระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๑๓. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ : ทรงเข้าใจถึงธรรมชาติและต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับทรัพยากรธรรมชาติ ทรงมองปัญหาธรรมชาติอย่างละเอียด โดยหากเราต้องการแก้ไขธรรมชาติจะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือเราด้วย
๑๔. ใช้อธรรมปราบอธรรม : ทรงนำความจริงในเรื่องธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักการแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงสภาวะที่ไม่ปกติเข้าสู่ระบบที่ปกติ เช่น การบำบัดน้ำเน่าเสียโดยให้ผักตบชวา ซึ่งมีตามธรรมชาติให้ดูดซึมสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำ
๑๕. ปลูกป่าในใจคน : การจะทำการใดสำเร็จต้องปลูกจิตสำนึกของคนเสียก่อน ต้องให้เห็นคุณค่า เห็นประโยชน์กับสิ่งที่จะทำ
๑๖. ขาดทุนคือกำไร : หลักการที่พระองค์มีต่อพสกนิกรไทยคือ “การให้” และ “การเสียสละ” เป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร คือความอยู่ดีมีสุขของราษฎร
๑๗. การพึ่งพาตนเอง : การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ เพื่อการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นด้วยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้มีความแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตได้ต่อไป แล้วขั้นต่อไปก็คือ การพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อมและสามารถ พึ่งตนเองได้ในที่สุด
๑๘. พออยู่พอกิน : ให้ประชาชนสามารถอยู่อย่าง “พออยู่พอกิน” ให้ได้เสียก่อน แล้วจึงค่อยขยับขยายให้มีขีดสมรรถนะที่ก้าวหน้าต่อไป
๑๙. เศรษฐกิจพอเพียง : เป็นปรัชญาที่พระองค์พระราชทานชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต ให้ดำเนินไปบน “ทางสายกลาง” เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งปรัชญานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งระดับบุคคล องค์กร และชุมชน
๒๐. ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน : ผู้ที่มีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อย ก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ
๒๑. ทำงานอย่างมีความสุข : ทำงานต้องมีความสุขด้วย ถ้าเราทำอย่างไม่มีความสุขเราจะแพ้ แต่ถ้าเรามีความสุขเราจะชนะ สนุกกับการทำงานเพียงเท่านั้น ถือว่าเราชนะแล้ว หรือจะทำงานโดยคำนึงถึงความสุขที่เกิดจากการได้ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นก็สามารถทำได้
๒๒. ความเพียร : การเริ่มต้นทำงานหรือทำสิ่งใดนั้นอาจจะไม่ได้มีความพร้อม ต้องอาศัยความอดทนและความมุ่งมั่น ดังเช่นพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก”
๒๓. รู้ รัก สามัคคี : รู้ คือ รู้ปัญหาและรู้วิธีแก้ปัญหานั้น รัก คือ เมื่อเรารู้ถึงปัญหาและวิธีแก้แล้ว เราต้องมีความรัก ที่จะลงมือทำ ลงมือแก้ไขปัญหานั้น และ สามัคคี คือ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่สามารถลงมือทำคนเดียวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกัน
นับเป็นหลักการที่ล้วนมีคุณค่ายิ่ง ซึ่งหากท่านใดต้องการปฏิบัติตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ท่านสามารถนำหลักการทรงงานของพระองค์ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
หมายเหตุ : บทความนี้เขียนลงคอลัมภ์ "คุยสบายกับนายปฏิรูป" ทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์
ผ่านไปแล้วสำหรับเดือนตุลาคม ๒๕๖๐ ซึ่งถือเป็นเดือนที่ประชาชนคนไทยเศร้าอาลัยไปทั้งแผ่นดิน เพราะเป็นเดือนแห่งพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร หรือ พ่อหลวงอันเป็นที่รักยิ่งพวกเรา
ในโอกาสนี้ ผมใคร่ขอน้อมนำ “หลักการทรงงาน” ของพ่อหลวงซึ่งคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ได้ทำการรวบรวมหลักการทรงงานของพระองค์ท่านไว้ว่ามีรวมทั้งสิ้น ๒๓ หลักการ ประกอบด้วย
๑. จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ : ทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบจากข้อมูลเบื้องต้น ทั้งเอกสาร แผนที่ สอบถามจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และราษฎรในพื้นที่ให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้อง เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้จริงอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามเป้าหมาย
๒. ระเบิดจากภายใน : จะทำการใด ๆ ต้องเริ่มจากคนที่เกี่ยวข้องเสียก่อน ต้องสร้างความเข้มแข็งจากภายในให้เกิดความเข้าใจและอยากทำ ไม่ใช่การสั่งให้ทำ
๓. แก้ปัญหาจากจุดเล็ก : ควรมองปัญหาภาพรวมก่อนเสมอ แต่เมื่อจะลงมือแก้ปัญหานั้น ควรมองในสิ่งที่คนมักจะมองข้าม แล้วเริ่มแก้ปัญหาจากจุดเล็กๆ เสียก่อน เมื่อสำเร็จแล้วจึงค่อยๆ ขยับขยายแก้ไปเรื่อยๆ ทีละจุด
๔. ทำตามลำดับขั้น : เริ่มต้นจากการลงมือทำในสิ่งที่จำเป็นก่อน เมื่อสำเร็จแล้วก็เริ่มลงมือสิ่งที่จำเป็นลำดับต่อไป ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง ถ้าทำตามหลักนี้ได้ งานทุกสิ่งก็จะสำเร็จได้โดยง่าย
๕. ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ : การพัฒนาใดๆ ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศของบริเวณนั้นว่าเป็นอย่างไร และสังคมวิทยาเกี่ยวกับลักษณะนิสัยใจคอคน ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน
๖. ทำงานแบบองค์รวม : ใช้วิธีคิดเพื่อการทำงาน โดยวิธีคิดอย่างองค์รวม คือการมองสิ่งต่างๆ ที่เกิดอย่างเป็นระบบครบวงจร ทุกสิ่งทุกอย่างมีมิติเชื่อมต่อกัน มองสิ่งที่เกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง
๗. ไม่ติดตำรา : เมื่อเราจะทำการใดนั้น ควรทำงานอย่างยืดหยุ่นกับสภาพและสถานการณ์นั้นๆ ไม่ใช่การยึดติดอยู่กับแค่ในตำราวิชาการ เพราะบางที่ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด บางครั้งเรายึดติดทฤษฎีมากจนเกินไปจนทำอะไรไม่ได้เลย
๘. รู้จักประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด : ในการพัฒนาและช่วยเหลือราษฎร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงใช้หลักในการแก้ปัญหาด้วยความเรียบง่ายและประหยัด ราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้ในท้องถิ่นและประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นมาแก้ไข ปรับปรุง โดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากมากนัก
๙. ทำให้ง่าย : ทรงคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุงและแก้ไขงาน การพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริไปได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนและที่สำคัญอย่างยิ่งคือ สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนและระบบนิเวศโดยรวม “ทำให้ง่าย”
๑๐. การมีส่วนร่วม : ทรงเป็นนักประชาธิปไตย ทรงเปิดโอกาสให้สาธารณชน ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับได้มาร่วมแสดงความคิดเห็น “สำคัญที่สุดจะต้องหัดทำใจให้กว้างขวาง หนักแน่น รู้จักรับฟังความคิดเห็น แม้กระทั่งความวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นอย่างฉลาดนั้น แท้จริงคือ การระดมสติปัญญาละประสบการณ์อันหลากหลายมาอำนวยการปฏิบัติบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จที่สมบูรณ์นั่นเอง”
๑๑. ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม : พระองค์ทรงระลึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
๑๒. บริการที่จุดเดียว : ทรงจัดให้มีศูนย์ศึกษาการพัฒนาหลายแห่งทั่วประเทศโดยใช้หลักการ “การบริการรวมที่จุดเดียว : One Stop Service” โดยทรงเน้นเรื่องรู้รักสามัคคีและการร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันด้วยการปรับลดช่องว่างระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๑๓. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ : ทรงเข้าใจถึงธรรมชาติและต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับทรัพยากรธรรมชาติ ทรงมองปัญหาธรรมชาติอย่างละเอียด โดยหากเราต้องการแก้ไขธรรมชาติจะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือเราด้วย
๑๔. ใช้อธรรมปราบอธรรม : ทรงนำความจริงในเรื่องธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักการแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงสภาวะที่ไม่ปกติเข้าสู่ระบบที่ปกติ เช่น การบำบัดน้ำเน่าเสียโดยให้ผักตบชวา ซึ่งมีตามธรรมชาติให้ดูดซึมสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำ
๑๕. ปลูกป่าในใจคน : การจะทำการใดสำเร็จต้องปลูกจิตสำนึกของคนเสียก่อน ต้องให้เห็นคุณค่า เห็นประโยชน์กับสิ่งที่จะทำ
๑๖. ขาดทุนคือกำไร : หลักการที่พระองค์มีต่อพสกนิกรไทยคือ “การให้” และ “การเสียสละ” เป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร คือความอยู่ดีมีสุขของราษฎร
๑๗. การพึ่งพาตนเอง : การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ เพื่อการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นด้วยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้มีความแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตได้ต่อไป แล้วขั้นต่อไปก็คือ การพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อมและสามารถ พึ่งตนเองได้ในที่สุด
๑๘. พออยู่พอกิน : ให้ประชาชนสามารถอยู่อย่าง “พออยู่พอกิน” ให้ได้เสียก่อน แล้วจึงค่อยขยับขยายให้มีขีดสมรรถนะที่ก้าวหน้าต่อไป
๑๙. เศรษฐกิจพอเพียง : เป็นปรัชญาที่พระองค์พระราชทานชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต ให้ดำเนินไปบน “ทางสายกลาง” เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งปรัชญานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งระดับบุคคล องค์กร และชุมชน
๒๐. ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน : ผู้ที่มีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อย ก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ
๒๑. ทำงานอย่างมีความสุข : ทำงานต้องมีความสุขด้วย ถ้าเราทำอย่างไม่มีความสุขเราจะแพ้ แต่ถ้าเรามีความสุขเราจะชนะ สนุกกับการทำงานเพียงเท่านั้น ถือว่าเราชนะแล้ว หรือจะทำงานโดยคำนึงถึงความสุขที่เกิดจากการได้ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นก็สามารถทำได้
๒๒. ความเพียร : การเริ่มต้นทำงานหรือทำสิ่งใดนั้นอาจจะไม่ได้มีความพร้อม ต้องอาศัยความอดทนและความมุ่งมั่น ดังเช่นพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก”
๒๓. รู้ รัก สามัคคี : รู้ คือ รู้ปัญหาและรู้วิธีแก้ปัญหานั้น รัก คือ เมื่อเรารู้ถึงปัญหาและวิธีแก้แล้ว เราต้องมีความรัก ที่จะลงมือทำ ลงมือแก้ไขปัญหานั้น และ สามัคคี คือ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่สามารถลงมือทำคนเดียวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกัน
นับเป็นหลักการที่ล้วนมีคุณค่ายิ่ง ซึ่งหากท่านใดต้องการปฏิบัติตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ท่านสามารถนำหลักการทรงงานของพระองค์ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
หมายเหตุ : บทความนี้เขียนลงคอลัมภ์ "คุยสบายกับนายปฏิรูป" ทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)